โตชิบา

โตชิบา คว้าอันดับ 1 แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้า ครองใจชาวไทยต่อเนื่องยาวนาน 12 ปี

โตชิบา คว้าอันดับ 1 แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้า ครองใจชาวไทยต่อเนื่องยาวนาน 12 ปี

นายบุนยรัตน์ ไตรสิริสมบัติ หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์การตลาด บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด (ซ้าย) พร้อมด้วย นายเอกดนัย ตันติภูมิอมร ผู้จัดการผลิตภัณฑ์หมวดเครื่องซักผ้า เป็นตัวแทนรับรางวัลเกียรติยศ แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าอันดับ 1 ที่ได้รับความน่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคสูงสุดทั้งในกลุ่มเครื่องซักผ้าและตู้เย็น บนเวที Thailand’s Most Admired Brand & Where we buy 2020 ที่จัดขึ้นโดยนิตยสาร BrandAge ซึ่งนับว่าเป็นความภาคภูมิใจของโตชิบา ที่ได้มุ่งมั่นในการพัฒนาสินค้าและบริการ เพื่อนำสิ่งที่ดีสู่ชีวิตอย่างไม่หยุดยั้ง จนสามารถครองใจผู้บริโภคชาวไทยได้อย่างต่อเนื่องมายาวนานถึง 12 ปี ณ เซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว

โตชิบาเร่งพัฒนาประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าเสมือนด้วยเทคโนโลยี IoT และปัญญาประดิษฐ์

โตชิบาเร่งพัฒนาประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าเสมือนด้วยเทคโนโลยี IoT และปัญญาประดิษฐ์

Virtual หรือ โลกเสมือน เป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เช่น Virtual Reality – ความจริงเสมือน ซึ่งเป็นการจำลองสภาพแวดล้อมจริงที่สามารถตอบสนองกับผู้ใช้ได้ หรือ Virtual Currency – สกุลเงินเสมือนอย่าง บิทคอยน์ (Bitcoin) และในตอนนี้ โลกเสมือนก็ได้ก้าวเข้ามาสู่โลกของพลังงานแล้ว นั่นก็คือการพัฒนาโรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plant: VPP) ซึ่งกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โรงไฟฟ้าเสมือนคืออะไร โดยธรรมชาติแล้ว ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตจะต้องเท่ากันกับปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ นั่นหมายความว่าบริษัทพลังงานทั้งหลายที่ดูแลเรื่องการผลิต การส่ง และการกระจายพลังงานไฟฟ้าจะต้องคอยปรับเพิ่ม-ลดปริมาณการผลิตให้เพียงพอต่อการบริโภคตามที่คาดการณ์ไว้ และคอยรักษาสมดุลระหว่างค่าอุปสงค์และอุปทานซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะหากเกิดความผิดพลาดก็อาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าขัดข้องได้ https://www.youtube.com/watch?v=u6PUYTmGCYs แน่นอนว่าบริษัทที่ดำเนินงานด้านพลังงานย่อมต้องมีความเชี่ยวชาญในการจัดการปริมาณ อุปสงค์-อุปทานสำหรับการผลิตอยู่แล้ว แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูงในการเปิดระบบให้ทำงานอยู่ตลอดเวลา เพราะไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคที่ต้องดำเนินงานโดยมีกำลังการผลิตสำรองอยู่เสมอ เพื่อรองรับการใช้พลังงานในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้งานสูงเกินกำลังการผลิตปกติ เช่น ในช่วงฤดูร้อน หรือยามเกิดพายุหิมะ ตามข้อกำหนดขององค์กร Energy Information Administration แห่งสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ว่า ผู้ผลิตสาธารณูปโภคด้านพลังงานจะต้องมีกำลังสำรองไว้ 13-15%* และบริษัทส่วนใหญ่ก็มีกำลังสำรองสูงเกินกว่านั้นอีก ซึ่งเป็นพลังงานปริมาณมหาศาลที่แทบไม่ถูกใช้งานเลยในยามปกติ แต่ก็ยังต้องมีการดูแลรักษาอยู่ตลอดเวลาเพื่อที่จะสามารถนำมาใช้ได้ทันที การรักษากำลังการผลิตสำรองนี้จึงเป็นกรรมวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงทางพลังงาน […]

โตชิบาเพิ่มขีดสมรรถนะคลาวด์ให้สูงกว่าที่เคยด้วยฮีเลียม รองรับปริมาณข้อมูลที่ขยายตัวแบบก้าวกระโดด

โตชิบาเพิ่มขีดสมรรถนะคลาวด์ให้สูงกว่าที่เคยด้วยฮีเลียม รองรับปริมาณข้อมูลที่ขยายตัวแบบก้าวกระโดด

ทุกวันนี้ ไม่ว่าเราจะเก็บภาพสถานที่ที่เราไปมาหรืออาหารที่เรารับประทาน เก็บบันทึกเอกสารต่างๆ หรือส่งเอกสารการประชุมให้เพื่อนร่วมงาน เราก็มักเคยชินกับการใส่ข้อมูลเหล่านี้ไว้ในคลาวด์เพื่อเก็บไว้ให้ปลอดภัยจนกว่าจะต้องใช้หรือบางครั้งก็เก็บจนลืมไปเลยเสียด้วย ลักษณะการใช้งานเช่นนี้ทำให้ข้อมูลเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมหาศาล และจำเป็นต้องมีสิ่งที่มาใช้เก็บข้อมูลเหล่านี้ แม้ “คลาวด์” จะฟังดูห่างไกลและจับต้องไม่ได้ แต่อันที่จริงแล้ว คลาวด์ คือ แผงฮาร์ดดิสก์จำนวนมหาศาลที่อยู่ในศูนย์ข้อมูลต่างๆ ภายในมีจานแม่เหล็กที่ทำหน้าที่เสมือนสมุดที่ใช้บันทึกข้อมูล และเข็มอ่านแม่เหล็กที่ทำหน้าที่เสมือนปากกา ฮาร์ดดิสก์ในศูนย์ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่า เนียร์ไลน์ (nearline) เป็นคำผสมระหว่าง เนียร์ (near) ที่หมายถึง เกือบ และ ออนไลน์ (online) รวมกันหมายถึง เกือบออนไลน์ ดังนั้น ฮาร์ดดิกส์ประเภทนี้จึงเป็นกึ่งแหล่งเก็บข้อมูลออนไลน์ที่รองรับการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วซ้ำๆ และกึ่งแหล่งเก็บข้อมูลออฟไลน์ที่ใช้เพื่อสำรองข้อมูลหรือบันทึกข้อมูลที่ไม่ต้องเรียกใช้บ่อยนักในระยะยาว เนื่องจากบริการและกิจกรรมต่างๆ ที่เราทำย้ายเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ ปริมาณข้อมูลที่เกิดขึ้นนับวันจึงมีแต่จะเพิ่มขึ้น จึงทำให้ต้องขยายขนาดคลาวด์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเก็บข้อมูล วิธีหนึ่งที่จะทำเช่นนี้ได้คือการเพิ่มจำนวนเซิร์ฟเวอร์ แต่ถึงแม้วิธีนี้จะแก้ปัญหาได้ แต่ก็มาพร้อมกับปัญหาเช่นกัน เพราะเซิร์ฟเวอร์นอกจากจะกินพื้นที่แล้ว ยังต้องติดตั้งในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมอย่างรัดกุมและใช้พลังงานมหาศาล อีกวิธีที่ดีกว่าคือการเพิ่มความจุของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งอาจฟังดูง่ายแต่อันที่จริงแล้วเป็นเรื่องท้าท้ายไม่น้อยเลยทีเดียว การเพิ่มจานแม่เหล็กเข้าไปในฮาร์ดดิสก์เนียร์ไลน์ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากจานแม่เหล็กหมุนด้วยความเร็ว 7,200 รอบต่อนาที ดังนั้น การเพิ่มจานแม่เหล็กจึงไม่เพียงแต่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องพลังงานที่ใช้ แต่ยังส่งผลต่อความคงทนและการทำงานอย่างราบรื่นของตัวฮาร์ดดิสก์ด้วย นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องพื้นที่บรรจุจานแม่เหล็กด้วย เพราะฮาร์ดดิสก์ปกติผลิตมาตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อใส่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์และแทบไม่มีพื้นที่เหลือให้ใส่จานแม่เหล็กเพิ่มแล้ว ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด การประกาศเปิดตัวฮาร์ดดิสก์ชนิดบรรจุจานแม่เหล็ก 9 […]

ตู้เย็นและเครื่องซักผ้าโตชิบา… ครองรางวัลหนึ่งในใจผู้บริโภคปี 2018

ตู้เย็นและเครื่องซักผ้าโตชิบา… ครองรางวัลหนึ่งในใจผู้บริโภคปี 2018

นายบุนยรัตน์ ไตรสิริสมบัติ ผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด ขึ้นรับรางวัล Thailand’s Most Admired Brand 2018 ในหมวดสินค้าเครื่องซักผ้า และตู้เย็น ซึ่งโตชิบาได้ครองแชมป์ความเป็นหนึ่งในใจผู้บริโภคเกือบ 10 ปี การันตีความเป็นสินค้าคุณภาพโดดเด่นด้านการประหยัดพลังงาน ดีไซน์สวยงามทันสมัย รวมถึงการรับประกันสินค้าและบริการหลังการหลังการขาย จากนิตยสารแบรนด์เอจ นิตยสารด้านการตลาดอันดับหนึ่งของประเทศไทย ผ่านการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ เมื่อเร็วๆ นี้

ไปรษณีย์ชุงฮวา นำระบบการคัดแยกจดหมาย และพัสดุอัตโนมัติ ที่พัฒนาโดย โตชิบา มาเริ่มใช้งานจริงแล้ว

ไปรษณีย์ชุงฮวา นำระบบการคัดแยกจดหมาย และพัสดุอัตโนมัติ ที่พัฒนาโดย โตชิบา มาเริ่มใช้งานจริงแล้ว

เช่นเดียวกับเศรษฐกิจเอเชียที่กำลังอยู่ในช่วงที่ตลาดกำลังเติบโต รวมถึงประเทศไต้หวันที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้เข้ามาช่วยให้การดำเนินชีวิตของผู้บริโภคมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการกระจายสินค้าของบริษัท ไปรษณีย์ชุงฮวา จำกัด (Chunghwa post co.,LTD ต่อจากนี้ขอใช้ชื่อย่อ “CHP”) ซึ่งเป็นองค์กรทางด้านการกระจายสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไต้หวัน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อกันยายน 2558 CHP ได้ทำสัญญากับไปรษณีย์ท้องถิ่นเพื่อนำระบบการคัดแยกจดหมายและพัสดุอัตโนมัติความเร็วสูงและประสิทธิภาพสูงมาทดแทนระบบเดิมที่มีอยู่ที่ศูนย์ไปรษณีย์กลางเมืองไทจง ไทนาน และ เกาสง โครงการนี้ได้ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2560 โดยปัจจุบันระบบทั้งหมดได้ถูกนำมาใช้ปฏิบัติงานจริง โดยได้นำมาใช้งานครั้งแรกเมื่อเทศกาลไหว้พระจันทร์ซึ่งเป็นเทศกาลส่งมอบของขวัญที่มากที่สุดเทศกาลหนึ่ง ทั้งระบบนี้ประกอบด้วยเครื่องคัดแยกจดหมาย และเครื่องคัดแยกพัสดุ ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบการจัดการข้อมูลที่สำนักงานใหญ่ CHP ที่เมืองไทเป ด้วยระบบการจดจำตัวอักษรที่ล้ำหน้าของโตชิบา สามารถยกระดับขีดความสามารถในการทำงานโดยการอ่านรหัสไปรษณีย์และที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษรภาษาจีน และบาร์โค้ดบนซองจดหมายและพัสดุ (เฉพาะรหัสไปรษณีย์และบาร์โค้ดเท่านั้น) เครื่องคัดแยกจดหมายสามารถคัดแยกจดหมายได้มากถึง 42,500 ฉบับต่อชั่วโมง และเครื่องคัดแยกพัสดุสามารถคัดแยกพัสดุได้มากถึง 8,500 ชิ้นต่อชั่วโมง ทั้งสองอย่างคือการพัฒนาที่เห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับระบบคัดแยกเดิม ระบบคัดแยกจดหมายใหม่นี้สามารถคัดแยกจดหมายได้รวดเร็วขึ้นถึง 20% – 30% อีกทั้งยังมีความแม่นยำสูง นอกจากนั้นแล้วระบบยังมีการอ่านบาร์โค้ด และระบบป้อนรหัสวีดีโอประสิทธิภาพสูงสำหรับคัดแยกพัสดุได้อัตโนมัติ โตชิบาสนับสนุนการพัฒนาโครงการนี้ในระบบเทิร์นคีย์โปรเจ็ค ซึ่งเป็นมากกว่าการส่งมอบระบบ การสนับสนุนครั้งนี้ยังช่วยตรวจสอบการคัดแยกและรื้อถอนระบบการคัดแยกเดิม รวมถึงสนับสนุนแนวทางการบำรุงรักษาอย่างมืออาชีพแบบลงพื้นที่จริงเป็นระยะเวลานานถึง 10 ปี เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการบริหารจัดการและการบำรุงรักษาที่ถูกต้องแก่พนักงานในท้องที่ “โครงการของไปรษณีย์ชุงฮวาถือเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของเรา” นาย […]