หัวเว่ยขับเคลื่อนการจัดการจราจรดิจิทัลทั่วโลกด้วยโซลูชันอัจฉริยะล้ำสมัย

หัวเว่ยจัดงานประชุมออนไลน์เรื่องโซลูชันการจัดการจราจรอัจฉริยะ (ITMS) ภายใต้ธีม “Transform the Way We Move” ขึ้นในวันนี้ จากการเล็งเห็นการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมืองจนทำให้ประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ความต้องการเทคโนโลยีการสื่อสารและข้อมูลเพื่อลดอุบัติเหตุทางจราจร และการยกระดับประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายมีความจำเป็นมากขึ้นตามไปด้วย ในการประชุมครั้งนี้ หัวเว่ยจึงเชิญชวนลูกค้าและพันธมิตรทั่วโลกมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และข้อมูลเชิงลึกเพื่อรับมือกับ “ชีวิตวิถีใหม่” ในยุคหลังการแพร่ระบาด

หัวเว่ยได้เปิดตัวโซลูชัน Traffic Management Solution (ITMS) สำหรับตลาดต่างประเทศออกมา เพื่อมาช่วยแก้ปัญหาความยากลำบากในการบังคับใช้และตรวจสอบการละเมิดกฎจราจร ผ่านการควบคุมการจราจรด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง เช่น บิ๊กดาต้า, AI, คลาวด์, 5G และอื่น ๆ

ระบบขนส่งที่ดีและปลอดภัยมีความสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังการแพร่ระบาด

เทคโนโลยี ICT เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง บิ๊กดาต้า และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด จึงทำให้รัฐบาลและองค์กรทั่วโลกรับรู้ได้ว่าไม่อาจหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลได้ ดังนั้น ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและตลาดที่กำลังกลับมาเปิดซื้อขายอีกครั้ง ระบบขนส่งที่ปลอดภัยและใช้งานได้นั้นจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น

York Yuekun ประธานหน่วยธุรกิจรัฐบาลทั่วโลกของหัวเว่ยกล่าวว่า “การจราจรที่ราบรื่นและเป็นระเบียบถือเป็นกุญแจสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในขั้นต่อไป โซลูชัน ITMS ของหัวเว่ยจึงนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ อาทิ AI และบิ๊กดาต้า มาใช้ในการเปลี่ยนแปลงการจัดการจราจรจากระบบอิงประสบการณ์เป็นระบบอัจฉริยะ และจาก “การงมเข็มในมหาสมุทร” เป็น “การให้คำแนะนำอย่างแม่นยำ” เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการจราจร, ปกป้องความปลอดภัยบนท้องถนน, แก้ปัญหาจราจรในเมือง และช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กับประเทศต่าง ๆ

ณ เมืองยันบู ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ได้มีการนำเอาโซลูชัน ITMS ของหัวเว่ยไปใช้งานตั้งแต่ปี 2562 โดยวิศวกร Thamer Anwar Noori ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายสื่อสารและระบบฉุกเฉิน ความปลอดภัยและความมั่นคงอุตสาหกรรม และราชกรรมาธิการของเมือง กล่าวว่า “เป้าหมายของเราคือการสร้างยันบูให้เป็นหนึ่งในเมืองที่ปลอดภัยที่สุดในโลก และเพื่อให้เป้าหมายนี้ลุล่วง เราจำเป็นที่จะต้องทำให้แน่ใจว่าท้องถนนของเรามีความปลอดภัย มีสภาพแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ และเอื้ออำนวยต่อการเดินทางสัญจรโดยสวัสดิภาพสำหรับประชาชน ซึ่งหลังจากการใช้งานโซลูชัน ITMS ของหัวเว่ยในปี 2562 เราก็ได้รับผลสำเร็จที่น่าพึงพอใจในเวลาเพียงไม่กี่เดือน”

การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลด้านการจัดการและความปลอดภัยทางจราจรบนท้องถนนผ่านโซลูชัน ITMS ของหัวเว่ย

การจัดการและความปลอดภัยทางจราจรบนท้องถนนเป็นหนึ่งในประเด็นที่รัฐบาลทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ๆ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิต หัวเว่ยจึงทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาโซลูชัน ITMS มาสนับสนุนการรวมระบบบนแพลตฟอร์มแบบเปิด

Hawkie Zhang รองประธานของ E-Hualu International Technology Co., Ltd. ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ใช้โซลูชัน ITMS ของหัวเว่ยกล่าวว่า “การจราจรและทรัพยากรมนุษย์ไม่สามารถแยกออกจากกัน แต่การบังคับใช้กฎหมายนอกสถานที่ที่มีความชาญฉลาดจะเข้ามาช่วยลดความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในด้านการจัดการจราจรลงได้ ในอนาคต เราจะใช้บิ๊กดาต้าเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงลึกในส่วนของธุรกิจหลักและใช้ AI เพื่อเข้าสู่ยุคใหม่ของการจัดการจราจรในเมือง”

Augustine Chiew หัวหน้าหน่วยธุรกิจรัฐบาลประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและรัสเซียของหัวเว่ย กล่าวถึงโซลูชัน ITMS ของหัวเว่ยว่า “เป็นโซลูชันที่มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ‘Sharp Eyes’, ‘Powerful Brain’ และ ‘O&M ที่อัจฉริยะและใช้งานง่าย”

โมดูล ‘Sharp Eyes’ จะเข้ามาแทนที่เซ็นเซอร์หน้าที่เดี่ยวแบบเดิมด้วยเซ็นเซอร์อัจฉริยะที่รองรับการใช้งานอัลกอริทึมหลายตัวเพื่อให้สามารถตรวจจับการฝ่าฝืนและรวบรวมข้อมูลการจราจรที่ครอบคลุมได้ ส่วนโมดูล ‘Powerful Brain’ จะทำหน้าที่ในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลจราจรจำนวนมากแบบเรียลไทม์ เพื่อยกระดับความสามารถในการจัดการจราจรสำหรับมอบการตัดสินใจที่ดีและแม่นยำขึ้น ขณะที่โมดูล ‘O&M ซึ่งมาพร้อมความชาญฉลาดและใช้งานง่าย’ จะช่วยรวบรวมสถานที่ต่าง ๆ และแพลตฟอร์ม eSight O&M มาสนับสนุนการใช้งานที่รวดเร็วและราบรื่น รวมถึงการจัดการ E2E หลายมิติ”

สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://e.huawei.com/topic/intelligent-traffic-2020/en/

เผยแพร่ข่าวโดย:

พีอาร์ บุฟเฟ่ต์ www.prbuffet.com ข่าวประชาสัมพันธ์ online







Leave a Reply

Your email address will not be published.

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.