“เรนเมทิกซ์” คว้าเงินลงทุน 14 ล้านดอลลาร์จาก “บิล เกตส์” และบริษัทพลังงานระดับโลก “โททาล”

Renmatix Cellulosic Sugar Infographic

ฟิลาเดลเฟีย–15 ก.ย.–พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

เรนเมทิกซ์ (Renmatix) ผู้นำระดับโลกด้านการผลิตน้ำตาลเซลลูโลสราคาย่อมเยาสำหรับทำเชื้อเพลิงชีวภาพ คว้าเงินลงทุน 14 ล้านดอลลาร์จากกลุ่มนักลงทุนซึ่งนำโดยบิล เกตส์ มหาเศรษฐีระดับโลก

รูปภาพ – http://photos.prnewswire.com/prnh/20160913/407416-INFO

ภาคอุตสาหกรรมกำลังต้องการตัวเลือกทดแทนในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ แม้ว่าจะได้รับแรงกดดันจากตลาดก็ตาม เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว เทคโนโลยี Plantrose(R) ของเรนเมทิกซ์ จึงเข้ามามีบทบาทเพื่อสร้างกำไรให้กับบรรดาโรงกลั่นชีวภาพ การลงทุนในเทคโนโลยี Plantrose ครั้งนี้ จะผลักดันให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจากเรนเมทิกซ์สามารถสร้างโรงกลั่นชีวภาพได้ในตลาดต่างๆทั่วโลก ทั้งแคนาดา อินเดีย มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา และอื่นๆ นอกจากนี้ ยังเป็นการสนับสนุนการพัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์ชีวภาพปลายน้ำด้วย

บิล เกตส์ กล่าวว่า “เพื่อจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมีราคาประหยัด ที่สำคัญคือต้องช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคอุตสาหกรรม และก่อให้เกิดการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีต้นทุนต่ำด้วย ซึ่งเรนเมทิกซ์ได้มอบนวัตกรรมอันเป็นแนวทางในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้”

บิล เกตส์ ลงทุนในรอบนี้ร่วมกับบริษัทพลังงานระดับโลกอย่างโททาล (NYSE: TOT) ซึ่งเข้ามาลงทุนในเรนเมทิกซ์เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2557 และได้ขยายการลงทุนพร้อมกับทำข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในการผลิตน้ำตาลเซลลูโลสปริมาณ 1 ล้านตันต่อปี ซึ่งจะสร้างรายได้มหาศาลให้กับเรนเมทิกซ์ตลอดระยะเวลาของข้อตกลง

ปาทริค ปูยานน์ ประธานและซีอีโอของโททาล กล่าวว่า “โททาลต้องการเป็นผู้ผลิตพลังงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เราจะทำให้ธุรกิจที่ใช้คาร์บอนต่ำเป็นตัวสร้างกำไรของบริษัทให้ได้ในสัดส่วน 20% ภายใน 20 ปี ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงสร้างและขยายความร่วมมือกับเรนเมทิกซ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้”

กระบวนการ Plantrose ที่จดสิทธิบัตรอย่างถูกต้อง ใช้เทคโนโลยีการแยกสารสกัดด้วยของไหลยิ่งยวดเพื่อลดต้นทุนในการแปลงชีวมวลเป็นน้ำตาลเซลลูโลส อันเป็นส่วนสำคัญในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและชีวเคมี เทคโนโลยีการแยกสารสกัดด้วยของไหลยิ่งยวดของเรนเมทิกซ์มีปฏิกิริยารวดเร็วและไม่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลือง จึงช่วยสนับสนุนกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ ก่อเกิดเป็นน้ำตาลเซลลูโลสที่มีปริมาณมาก ต้นทุนต่ำ และเข้าถึงได้ในวงกว้าง ทั้งนี้ บริษัทมีรากฐานที่แข็งแกร่งในด้านน้ำตาลสำหรับอุตสาหกรรม และยังคงเดินหน้าขยายความครอบคลุมของผลิตภัณฑ์ต่อไป ด้วยการพยุงราคาของผลิตภัณฑ์ชีวภาพอื่นๆ รวมถึง Omno(R) polymers และ crystalline cellulose

ไมค์ แฮมิลตัน ซีอีโอของเรนเมทิกซ์ กล่าวว่า “ความก้าวหน้าในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าการพัฒนาเชื้อเพลิงจากน้ำตาลเป็นไปอย่ารวดเร็ว เหนือกว่าการพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งยังสะอาดกว่าและมีความยั่งยืนมากกว่า เราได้ร่วมมือกับเหล่าพันธมิตรเพื่อคว้าโอกาสในการปฏิวัติเชื้อเพลิงชีวภาพในตลาดหลายแห่ง เช่น สหรัฐอเมริกาและอินเดีย และเงินลงทุนจากคุณเกตส์และโททาลได้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จด้านเทคโนโลยีของเรา ทั้งยังช่วยตอกย้ำกระแสตอบรับในเชิงพาณิชย์ด้วย การเป็นที่ยอมรับและการบรรลุข้อตกลงกับโททาลเป็นตัวบ่งชี้การเติบโตของเทคโนโลยี Plantrose ในระดับโรงกลั่นชีวภาพ”

เกี่ยวกับ เรนเมทิกซ์

เรนเมทิกซ์ เป็นบริษัทชั้นนำผู้ออกใบอนุญาตด้านเทคโนโลยีสำหรับการแปลงชีวมวลเป็นน้ำตาลเซลลูโลส ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้สำหรับเชื้อเพลิงปิโตรเลียมทางเลือกที่ใช้งานในตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพและชีวเคมีทั่วโลก กรรมวิธี Plantrose(R) ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท สร้างความท้าทายให้แก่ตลาดน้ำตาลด้วยการแปลงมวลชีวภาพที่มีเนื้อเยื่อที่ได้มาจากเศษไม้ไปจนถึงกากวัตถุดิบจากการเกษตรมาเป็นน้ำตาล Plantro(R) ที่มีราคาถูกและมีประโยชน์ด้วยกระบวนการที่มีต้นทุนต่ำ เทคโนโลยีการแยกสารสกัดด้วยของไหลยิ่งยวดของเรนเมทิกซ์ช่วยแยกชีวมวลที่ไม่ใช่อาหารได้รวดเร็วกว่ากระบวนการอื่นๆเป็นอย่างมาก และยกระดับข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุนด้วยการไม่ใช้วัสดุสิ้นเปลืองจำนวนมาก ทั้งนี้ เรนเมทิกซ์เป็นบริษัทของเอกชน โดยมีศูนย์เทคนิคระดับโลกที่เพนซิลเวเนีย มีโรงงานแปรรูปวัตถุดิบตั้งต้น (FPF) ในนิวยอร์ก และดำเนินการผลิตที่ Integrated Plantrose Complex (IPC) ในรัฐจอร์เจีย รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.renmatix.com

ติดต่อ
ดันแคน ครอส
รองประธานฝ่ายพัฒนาองค์กร
เรนเมทิกซ์
อีเมล: renmatix@missionc2.com

เผยแพร่ข่าวโดย:

พีอาร์ บุฟเฟ่ต์ www.prbuffet.com ข่าวประชาสัมพันธ์ online







Leave a Reply

Your email address will not be published.

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.