การสำรวจทั่วโลกระบุว่าผู้พัฒนาแอปพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

– ผู้นำไอทีทั่วเอเชียแปซิฟิกเผย มีความกังวลด้านการขาดแคลนผู้มีความสามารถ , งานค้างปริมาณมาก และโครงสร้างพื้นฐานที่เสื่อมสภาพ

OutSystems ได้ออกรายงานการวิจัยประจำปีฉบับที่ 6 เกี่ยวกับสถานะของการพัฒนาแอพพลิเคชันและความท้าทายที่ทีมพัฒนาและบริการต้องเผชิญ ที่มีชื่อว่า The State of Application Development, 2019: Is IT Ready for Disruption? ซึ่งได้เปิดเผยรายละเอียดผลการสำรวจความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีกว่า 3,300 รายจากทุกกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจราว 17% มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC)

Steve Rotter, CMO ของ OutSystems กล่าวว่า “การสำรวจของเราในปี 2562 นี้ แสดงให้เห็นว่าแผนกไอที จำนวนมากกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างหนักเมื่อเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลและการพัฒนาแอพพลิเคชัน ผลกระทบที่มากจากการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว ตลอดจนความต้องการในการเปลี่ยนระบบการทำงานมาสู่ระบบดิจิทัลกลายเป็นสิ่งควบคุมทิศทางกลยุทธ์ด้าน ไอที มาเป็นเวลาหลายปี และเมื่อรวมเข้ากับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังคงไม่แน่นอนในปัจจุบัน ยิ่งทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าทำไมบรรดาผู้นำธุรกิจถึงมีความกังวลเกี่ยวกับ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีความคล่องตัวเพื่อตอบรับกับตลาดในปัจจุบัน ”

นายสตีฟอธิบายว่า รายงานการวิจัยฉบับใหม่ได้พบข้อมูลเชิงลึกที่มาจากผู้จัดการฝ่ายไอที, สถาปนิกองค์กร และนักพัฒนาเพื่อรับมือกับปัญหาที่มีอยู่มากมาย อีกทั้งยังพบอีกว่าการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลได้ส่งอิทธิพลต่อกลยุทธ์ธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งนั่นคือสาเหตุที่ความต้องการในการพัฒนาเว็บไซต์และอุปกรณ์เคลื่อนที่เพิ่มสูงขึ้น และยิ่งไปกว่านั้น ความเร็วและความคล่องตัวก็มีความสำคัญกว่าที่เคยเป็นมา

รายงานของ OutSystems ยังได้สำรวจความสำคัญและความท้าทายของการพัฒนาและส่งมอบแอพพลิเคชัน รวมถึงกลยุทธ์ที่ทีมไอทีใช้เพื่อเร่งความเร็วการส่งมอบแอพพลิเคชั่นเหล่านั้นด้วย

การค้นพบ 6 ข้อสำคัญที่มีผลกระทบต่อผู้เชี่ยวชาญไอทีทุกคน:

– ความต้องการนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพิ่มสูงขึ้น: จากผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลกพบว่า จำนวนแอพพลิเคชันที่มีกำหนดส่งมอบในปี 2562 ได้เพิ่มขึ้นถึง 60% โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 38% ที่วางแผนจะส่งมอบแอพพลิเคชัน 25 แอปหรือมากกว่านั้นในปีนี้ และเมื่อพิจารณาเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผู้ตอบแบบสำรวจ 69% มีแผนที่จะส่งมอบแอพพลิเคชัน 10 แอปหรือมากกว่านั้นในปี 2562 ขณะที่อีก 52% ตั้งเป้าที่จะส่งมอบแอพพลิเคชัน 50 แอปหรือมากกว่านั้นในปีหน้า
– เวลาการพัฒนาที่นานเกินไป: 46% ของผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า พวกเขาต้องใช้เวลาเฉลี่ยในการส่งมอบเว็บหรือแอพพลิเคชันมือถือถึง 5 เดือนหรือนานกว่านั้น
– งานที่ยังค้างอยู่: 63% ของผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า พวกเขายังมีงานในการพัฒนาแอปค้างอยู่ในมือ โดย 16% ในจำนวนนั้นระบุว่ามีงานค้างอยู่มากกว่า 10 แอพพลิเคชันในตอนนี้
– คนที่มีความสามารถในการพัฒนาทั้งหายากและรักษาไว้ยาก: ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เคยจ้างนักพัฒนา โดย 75% ของผู้ตอบแบบสำรวจจากทั่วโลกอธิบายว่า ผู้ที่มีความสามารถในการพัฒนาแอปนั้นหายาก ขณะที่มีองค์กรในเอเชียแปซิฟิกเพียง 36% ที่มีทีมพัฒนาแอปที่ขนาดใหญ่ขึ้นจากปีที่แล้ว ซึ่งตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการเก็บรักษานักพัฒนาแอปผู้มีความสามารถไว้นั้นเป็นเรื่องที่น่ากังวล
– การทำงานที่ยังบรรลุผลช้ากว่ากำหนด: แม้องค์กรในเอเชียแปซิฟิกถึง 69% จะมีการลงทุนในเครื่องมือและบริการอย่างรวดเร็วในปีที่ผ่านมา แต่คะแนนความรวดเร็วในการเสร็จสมบูรณ์โดยเฉลี่ยนั้นกลับย่ำแย่ โดยได้เพียง 2.76 จาก 5 คะแนน นั่นหมายถึงองค์กรส่วนใหญ่ในภูมิภาคยังคงอยู่ในกระบวนการของการกำหนดความคล่องตัวในการทำงาน
– การให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง: องค์กรกว่า 69% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการลงทุนไปกับการปฏิบัติงานที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางในปีที่ผ่านมา เช่น การเก็บข้อมูลการใช้งานของลูกค้า ความคิดริเริ่มนวัตกรรม และการสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ใช้งานง่าย โดยที่แอปใหม่ๆ ที่มีเป้าหมายจะพัฒนาขึ้นในปี 2019 ล้วนให้ความสำคัญกับการใช้งานโดยตรงของพันธมิตรธุรกิจและลูกค้ามากที่สุด

ดังนั้น Low-Code จึงกลายเป็นกระแสหลักของยุคดิจิตัล

อีกหนึ่งข้อค้นพบที่สำคัญจากงานวิจัยฉบับนี้คือ low-code ไม่ได้มีไว้สำหรับนักนวัตกรรมและผู้ใช้งานในช่วงแรกอีกต่อไป โดยผู้ตอบแบบสำรวจที่อยู่ในเอเชียแปซิฟิก 43% ระบุว่า องค์กรของพวกเขามีการใช้งานแพลตฟอร์ม low-code อยู่แล้ว และ 12% กล่าวว่าองค์กรพวกเขามีแผนที่จะเริ่มใช้งานในอีกไม่นานนี้

การวิเคราะห์ในรายงานระบุว่าองค์กรที่ใช้ low-code มีแนวโน้มดังนี้:

– 26% มีแนวโน้มที่จะบอกว่าพวกเขาพึงพอใจหรือค่อนข้างพอใจกับความเร็วในการพัฒนาแอพพลิเคชันขององค์กรตัวเอง
– 11% มีแนวโน้มที่จะส่งมอบแอพพลิเคชันบนเว็บภายใน 4 เดือนหรือน้อยกว่า
– 15% มีแนวโน้มที่จะส่งมอบแอพพลิเคชันบนมือถือภายใน 4 เดือนหรือน้อยกว่า
– 20% มีแนวโน้มที่จะได้คะแนนความรวดเร็วต่อความสมบูรณ์ที่ระดับ 3, 4 หรือ 5
– 12% มีแนวโน้มที่จะบอกว่างานที่นักพัฒนาแอปค้างอยู่มีการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว
– 16% มีการรายงานว่าคะแนนการประเมินตนเองสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลอย่างสมบูรณ์อยู่ในระดับสูงกว่าปกติ

“จากรายงานสถานะการพัฒนาแอปพลิเคชั่นประจำปี 2562 ได้ค้นพบข้อสรุปแนวโน้มที่สังเกตเห็นในช่วงปีหลังๆ นั่นคือความเข้าใจที่ว่าแพลตฟอร์มการพัฒนาแบบ low-code จะเข้ามาช่วยรองรับนวัตกรรม สานต่อการบริการ และการจัดการบุคลากรที่มีความสามารถในองค์กรให้ดีขึ้น” Mark Weaser รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ OutSystems กล่าว “แพลตฟอร์มการพัฒนา low-code จึงไม่ถูกสงวนไว้เฉพาะสำหรับนักนวัตกรรมและผู้ใช้งานในช่วงแรกอีกต่อไป เพราะมันได้ก้าวข้ามช่องว่างเหล่านี้มาแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายโดยสมาชิกส่วนใหญ่ที่อยู่ในเอเชียแปซิฟิก”

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://www.outsystems.com/1/state-app-development-trends/

เกี่ยวกับ OutSystems – ลูกค้าหลายพันรายจากทั่วโลกให้ความไว้วางใจ OutSystems แพลตฟอร์ม low code อันดับหนึ่งที่ช่วยให้สามารถพัฒนาแอพพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว ทีมวิศวกรที่พิถีพิถันเป็นผู้รังสรรค์ทุกรายละเอียดของแพลตฟอร์ม OutSystems เพื่อช่วยเหลือองค์กรต่างๆ ในการสร้างแอประดับองค์กร และช่วยให้การพลิกโฉมธุรกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น OutSystems เป็นโซลูชั่นหนึ่งเดียวที่ผนวกพลังในการพัฒนา low code เข้ากับประสิทธิภาพสุดล้ำของโทรศัพท์มือถือ ทำให้สามารถพัฒนาแอพพลิเคชันที่ใช้งานร่วมกับระบบต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิมได้อย่างง่ายดาย รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.outsystems.com หรือติดตามเราได้ทางทวิตเตอร์ @OutSystems หรือลิงก์อิน https://www.linkedin.com/company/outsystems

โลโก้ – https://photos.prnasia.com/prnh/20171116/1994802-1LOGO

เผยแพร่ข่าวโดย:

พีอาร์ บุฟเฟ่ต์ www.prbuffet.com ข่าวประชาสัมพันธ์ online







Leave a Reply

Your email address will not be published.

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.