ผลการศึกษาชี้การรักษาความปลอดภัยออนไลน์เป็น ตัวแปรสำคัญสร้างพื้นฐานรองรับยุคเศรษฐกิจ แอพพลิเคชั่น

ผลการศึกษาชี้การรักษาความปลอดภัยออนไลน์เป็น ตัวแปรสำคัญสร้างพื้นฐานรองรับยุคเศรษฐกิจ แอพพลิเคชั่น

ไทยมีศักยภาพน่าสนใจหลายอย่าง
เช่นการใช้งานโซเชี่ยลมีเดียสูงกว่ามาตรฐานและแผนงานภาครัฐในเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอล

บริษัทซีเอ เทคโนโลยี ประกาศผลการจัดทำดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ประจำปี 2016 หรือ Application Economy Index (AEI) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อชี้วัดความพร้อมของ 10 ชาติในเอเชียแปซิฟิกที่จะก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่น ซึ่งโลกดิจิตอลในยุคปัจจุบันที่โลกของเราเชื่อมต่อกันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ สามารถพูดคุยติดต่อกันเอง ในขณะที่ร้านค้าแบบเดิมได้กลายมาเป็นร้านออนไลน์ที่พกอยู่ในกระเป๋า เซอร์วิสต่างๆสามารถเข้าถึงได้ผ่านการใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต แอพพลิเคชั่นมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง นี่หมายความว่าทุกธุรกิจคือธุรกิจซอฟต์แวร์ และจำเป็นที่จะต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิตอล

ผลการศึกษาครั้งนี้ซึ่งพัฒนาขึ้นและดูแลโดยบริษัทซีเอ เทคโนโลยี ดำเนินการโดยบริษัทวิจัย TRPC ได้พบว่า ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับ 8 ของภูมิภาคนี้ ในเรื่องของความพร้อม ในการรองรับ การพัฒนา และประโยชน์ที่ได้จากการใช้งานแอพพลิเคชั่น โดยนำหน้าอินเดียและอินโดนีเซียแต่ตามหลังสิงคโปร์ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง มาเลเซียและประเทศจีน

“ไม่ว่าจะเป็น ประเทศที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มผู้นำเทคโนโลยี ผู้ท้าทายเทคโนโลยี และกลุ่มเทคโนโลยีกระแสหลัก ทุกประเทศจำเป็นที่ต้องการสร้าง สภาพพื้นฐานที่เหมาะสมให้ธุรกิจเจริญเติบโตในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่นและทำได้โดยการเดินหน้าต่อในแง่มุมสำคัญที่ประสบความสำเร็จของตน ในขณะที่ต้องสกัดจุดอ่อนทั้งในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต” ลิม เมย์-แอนน์ ผู้อำนวยการบริหารบริษัทวิจัย TRPC กล่าว

Application Economy Index 2016
COUNTRY / RANK AEI#01: Government Use of Technology AEI#02: Strength of Intellectual Property Protection AEI#03: Innovation AEI#04: Internet Penetration AEI#05: Average Mobile Connection Speed (Mbps) AEI#06: Smartphone Penetration AEI#07: Time Taken to Set Up a Business AEI#08: Debit and Credit Card Penetration AEI#09: Mobile Payments Readiness AEI#10: Strength of Cybersecurity TOTAL AEI 2016 SCORE
Disruptors 1. Singapore 8.857 8.857 5.940 7.300 8.169 7.170 10.00 8.94 4.560 6.765 7.66
2. Australia 7.286 8.286 5.520 8.300 8.310 6.460 10.00 8.89 3.530 7.647 7.42
3. South Korea 8.143 6.000 5.630 8.480 10.00 7.300 9.790 6.68 3.970 7.059 7.30
4. Japan 7.714 8.714 5.400 8.630 8.451 2.470 8.853 8.81 3.960 7.059 7.01
5. Hong Kong 6.714 8.571 5.720 7.420 6.761 6.280 10.00 6.99 3.370 6.176 6.80
Challengers 6. Malaysia 7.714 7.714 4.600 6.700 1.408 3.450 9.580 4.12 3.430 7.647 5.64
7. China 6.714 5.714 4.750 4.580 4.225 4.690 5.958 4.86 3.650 4.412 4.95
Mainstream 8. Thailand 5.286 4.571 3.810 2.890 1.127 3.100 6.503 5.48 3.160 4.118 4.00
9. India 5.857 6.000 3.170 1.510 1.549 1.280 6.378 2.21 3.150 7.059 3.82
10. Indonesia 5.857 6.143 2.980 1.580 0.000 1.400 3.007 2.59 2.400 4.706 3.07

ตาราง – ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่น จะประเมิน 3 หัวข้อหลักที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในยุคแอพพลิเคชั่น

ดัชนีนี้จะประเมินตัวแปรสำคัญ ที่มีผลอย่างยิ่งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจยุคแอพพลิเคชั่นโดยแต่ละหัวข้อจะมีตัวแปรวัดสำคัญต่างๆ ดังนี้
• การใช้งานภาครัฐและการสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ถ้ารัฐบาลมี นโยบายทางเทคโนโลยีที่ถูกต้อง รวมทั้งจะสามารถโปรโมทนวัตกรรมต่างๆได้ ทางภาครัฐเองจะต้องเข้าใจในเรื่องการใช้งานซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่นด้วย

• โครงสร้างพื้นฐานทางอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ ถ้าไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเหล่านี้และการสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวได้ เศรษฐกิจยุคแอพพลิเคชั่น จะไม่สามารถเติบโตขึ้นมาได้อย่างเต็มรูปแบบ. ดังนั้นหัวใจหลักของการเชื่อมต่อและเครือข่ายเน็ตเวิร์กความเร็วสูงจำเป็นจะต้องมีอยู่และเกิดขึ้น รวมทั้งต้องมีสภาพแวดล้อมต่างๆที่ส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจและการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี
• ความยืดหยุ่นทางธุรกิจ คือขีดความสามารถในการ ขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงและยึดกุมโอกาสในการเป็นผู้นำตลาดในด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งเรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อในแต่ละประเทศจำเป็นจะต้องมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบการทางธุรกิจและรูปแบบใหม่ของการค้าเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้

จากข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ค่อนข้างต่ำตามตัวแปรสวนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการใช้งานภาครัฐและการส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆตลอดจนในหัวข้ออินเทอร์เน็ตและ โครงสร้างพื้นฐานโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้รับการจัดอันดับสุดท้ายในภูมิภาคนี้ในด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งข้อมูลตรงนี้ชี้ให้เห็นว่าจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นการใช้งานทางนวัตกรรมใหม่ๆ ในอีกด้านหนึ่ง โครงสร้างพื้นฐานทางอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยยังจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมเพราะว่าได้อันดับที่ 9 ตามค่าเฉลี่ยของความเร็วการเข้าใช้งานเครือข่ายมือถือและได้อันดับที่ 8 ในเรื่องการขยายตัวครอบคลุมของการใช้งานอินเทอร์เน็ต และอันดับที่ 7 ในเรื่องการขยายตัวของโครงข่ายใช้งานสมาร์ทโฟน สำหรับในหัวข้อความยืดหยุ่นปรับตัวทางธุรกิจนั้น ประเทศไทยควรจะเน้นความสำคัญในการ ยกระดับการรักษาความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ตและส่งเสริมความพร้อม ของระบบการจ่ายเงินโมไบล์ มากขึ้น ซึ่งทั้งสองด้านนี้ประเทศไทยได้รับจากการจัดอันดับเป็นอันดับสุดท้ายและอันดับ 8 ถ้ามีการพัฒนาในด้านต่างๆเหล่านี้จะช่วยสร้างบรรยากาศที่เอื้อหนุนต่อการดำเนินงานทางธุรกิจและพัฒนาอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย

“ผลการจัดอันดับปัจจุบันที่ออกมาไม่ได้สะท้อนถึงศักยภาพที่ควรจะเป็นในกรณีของประเทศไทย “ นิค ลิม รองประธาน ประจำภูมิภาคเอเชียเซาธ์ บริษัทซีเอ เทคโนโลยีกล่าวพร้อมกับเสริมว่า “ผลการสำรวจข่าวนี้ได้แสดงให้เห็นภาพรวมที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้และชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของเอเชีย ในประเทศต่างๆเป็นอย่างไรในปัตจจุบัน โดยดูจากเงื่อนไขของสภาพทางธุรกิจที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาแอปพลิเคชันและการเข้าถึงตลาด ดังนั้นภาคธุรกิจต่างๆจะพบว่าซอฟต์แวร์มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจะช่วยให้แข่งขันได้และอยู่รอดในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในขณะที่ทางภาครัฐก็ควรเร่งเข้าแก้ปัญหาจุดอ่อนในด้านนโยบายและโครงสร้างพื้นฐานเช่นกัน”

ในส่วนที่ 2 ของการศึกษาเรียกว่าคราวนี้ได้สำรวจ ความเป็นไปได้ของอนาคตผู้นำตลาดในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่นโดยมองจากการใช้ดัชนีตัวเร่งศักยภาพตลาด Market Potential Accelerators (MPA) ซึ่งดัชนีนี้จะประเมินค่าตัวแปรต่างๆที่มีศักยภาพที่จะส่งผลและเร่งศักยภาพการขยายตัวของตลาดของแต่ละประเทศ ในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่นใหม่ซึ่งได้แก่

1)จำนวนของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในตลาดของแต่ละประเทศ
2) จำนวนของผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตมือถือในชีวิตประจำวัน
3) การใช้งานโซเชียลเนํตเวิร์ก
4) จำนวนการใช้ งานแอพพลิเคชั่นโมไบล์ในแต่ละวัน
5) ขนาดของจำนวนประชากรที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวของแต่ละประเทศ

Application Economy Market Potential Accelerators
COUNTRY / RANK No of Smartphone Users Daily General Mobile Internet Use Use of virtual social networks Daily Use of Apps Youth Demographic Score – Population Between 15-24 Application Economy Market Potential Score
Accelerators 1. China
(7) +6 10.000 9.30 6.714 6.24 1.47 6.74
2. India
(9) +7 4.206 9.19 6.286 7.74 1.81 5.85
Achievers 3. Indonesia (10) +7 1.041 9.29 8.571 8.21 1.71 5.76
4. Singapore (1) -3 0.000 9.31 9.286 8.24 1.78 5.72
5. Hong Kong (5) – 0.009 9.56 9.000 8.78 1.15 5.70
6. Thailand (8) +2 0.383 9.20 8.857 8.16 1.50 5.62
7. South Korea
(3) -4 0.369 9.17 8.571 8.07 1.35 5.51
8. Australia
(2) -6 0.132 9.03 9.143 7.40 1.33 5.41
Incubators 9. Malaysia
(6) -3 0.163 8.80 8.714 7.41 1.69 5.36
10. Japan
(4) -6 0.635 9.38 8.429 5.57 0.97 5.00
ดัชนีตัวเร่งศักยภาพตลาดจะช่วยประเมินผลตัวแปรต่างๆที่มีผลต่อศักยภาพของตลาดแต่ละชาติในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่น

ซึ่งจะเห็นว่าเมื่อเอาตัวดัชนี mpa เข้ามาคำนวณร่วมด้วยลำดับของประเทศไทยได้เลื่อนขึ้นมา 2 อันดับเข้ามาอยู่ในตำแหน่งที่ 6 โดยประเทศไทยยังมีโอกาสหลายด้านที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ตัวอย่างเช่น จำนวนฐานผู้ใช้งานมือถือสมาร์ทโฟนที่ค่อนข้างใหญ่ มีจำนวนกว่า 42 ล้านคน รวมทั้ง จำนวนประชากรที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวที่มีมากกว่าค่าเฉลี่ยและกำลังจะเข้าสู่ตลาด นอกจากนี้ ประชากรไทยยังคุ้นเคยกับการใช้งานและมีปฏิสัมพันธ์ต่างๆ โดยมีการจัดอันดับเป็นที่ 4 ในเรื่องของการใช้งานแอพพลิเคชั่น และการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ก

นอกจากนี้ทางภาครัฐอย่างมีขั้นตอน ในการเตรียมออก พระราชบัญญัติเศรษฐกิจดิจิตอลซึ่งจะครอบคลุม หัวข้อต่างๆเช่นการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคลการรักษาความปลอดภัยอินเตอร์เน็ตและการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น

การเลื่อนอันดับของประเทศไทยในการใช้ดัชนีวัดแบบMPA ได้แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีใหม่ๆที่มีสร้างความพลิกผัน สามารถช่วยให้ แต่ละประเทศสามารถก้าวต่อไปในยุคเศรษฐกิจแอปพลิเคชันได้ถึงแม้จะดูเหมือนเริ่มต้นได้ช้าในตอนแรก และบริษัทธุรกิจต่างๆจะต้องเดินหน้าอย่างรวดเร็วเพื่อชิงส่วนแบ่งทางตลาดและรัฐบาลก็ควรจะรุดหน้าขยายผลทางนโยบายเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ก้าวล้ำทันความต้องการในตลาดต่อไป

ระเบียบวิธีวิจัย
การสำรวจในครั้งนี้ได้ใช้ตัวแปร ที่ได้มาจากค่าสถิติต่างๆที่เป็นข้อมูลสาธารณะและมีการเปิดเผยในแต่ละประเทศ

อย่างไรก็ตามตัวชี้วัดที่ได้มานั้น ในบางกรณีมีการใช้หน่วยวัดและค่าลำดับที่ต่างกัน ดังนั้นจะมีการปรับค่าตัวชี้วัดใดที่ไม่ได้ใช้ตารางการวัดที่อยู่ในหน่วยหลัก 10 เพื่อให้ผลตัวชี้วัดต่างๆสามารถเปรียบเทียบกันได้รวมทั้งสร้างคะแนนรวมสำหรับแต่ละประเทศ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดัชนีเศรษฐกิจยุคแอพพลิเคชั่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นของบริษัทซีเอ เทคโนโลยีได้ที่ลิงค์ดังต่อไปนี้ (รอ link)

เกี่ยวกับ ซีเอ เทคโนโลยี
ซีเอ เทคโนโลยี (NASDAQ: CA) เป็นผู้จัดหาโซลูชั่นเพื่อการบริหารจัดการไอที ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการและรักษาความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมของระบบไอทีที่ซับซ้อนเพื่อรองรับการให้บริการธุรกิจได้อย่างคล่องตัว ทั้งนี้ องค์กรต่างๆ ใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์และโซลูชั่นในกลุ่ม SaaS ของซีเอ เทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรม ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน และรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและอัตลักษณ์ต่างๆ นับตั้งแต่ระดับดาต้าเซ็นเตอร์ไปจนถึงระบบคลาวด์ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซีเอ เทคโนโลยี ได้ที่ www.ca.com

เผยแพร่ข่าวโดย:

พีอาร์ บุฟเฟ่ต์ www.prbuffet.com ข่าวประชาสัมพันธ์ online







Leave a Reply

Your email address will not be published.

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.