รพ.สุขุมวิท พร้อมดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาตแบบ “องค์รวม” นำเข้า “หุ่นยนต์” เสริมแรง และเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นตัว

เพิ่มศักยภาพ-ความพร้อมในการฟื้นฟู
สภาพของผู้ป่วยหลังจากเจอภาวะเส้นเลือดสมองแตกหรือเส้นเลือดตีบซึ่งผ่านการดูแลรักษาพ้นอันตรายแล้ว แทบจะร้อยละร้อยยังได้รับผลกระทบที่ตามมาคือ “อัมพฤกษ์ อัมพาต” ต้องเผชิญปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเคลื่อนไหว การพูดการจาที่เปลี่ยนไปโดยบางรายจะมีปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารที่ล้วนเป็นเรื่องน่าเห็นใจอย่างยิ่ง โดยเป็นที่ทราบกันดีว่าการฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยนั้นนอกจากจะมิใช่เรื่องง่ายแล้ว ยังไม่อาจบอกได้ว่า…จะมีโอกาสหายหรือไม่…เมื่อไหร่จะหาย? ส่วนผู้ดูแล “ญาติผู้ใกล้ชิด” ก็ต้องคอยดูแลร่วมด้วย โชคดีที่เทคโนโลยีก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันได้ช่วยให้มีพัฒนาการของอุปกรณ์การแพทย์หลายอย่างที่เกิดประโยชน์ต่อการฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ดังเช่นที่ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูโรงพยาบาลสุขุมวิทที่นอกจากจะมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยแล้ว ยังมีทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพ พร้อมดูแลร่วมกัน ร่วมทั้งอุปกรณ์เสริมประสิทธิภาพการฟื้นฟูผู้ป่วยจากโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต ด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดิน

โดยอาศัยกระบวนการที่เรียกว่า Regenerative Rehabilitation Medicine โดยอาศัยการแพทย์ผสมผสาน หรือแบบองค์รวม เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยให้กลับมาใช้ชีวิตได้อีกครั้งพร้อมทีมสหสาขาวิชาชีพซึ่งประกอบด้วย
แพทย์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด ร่วมดูแลและวางแผนกับผู้ป่วย โดยให้ญาติผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อจะได้ประเมินถึงศักยภาพการฟื้นตัวว่าดีมากน้อยเพียงใด ควรต้องวางโปรแกรมอย่างไรต่อไป เพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน

โรคหลอดเลือดสมอง” ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก ส่วนในประเทศไทยในปี 2560 พบผู้ป่วย “โรคหลอดเลือดสมอง” ถึง 304,807 ซึ่งเพิ่มจากปีก่อนหน้าอีก 6,500 กว่าคน เฉลี่ยว่าสถิติผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองมีถึงประมาณ 30,000 รายต่อปีตามที่ “กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข” ได้รวบรวมไว้ระบุชัดว่า… โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทย!!!… แต่ผู้ที่ได้รับการรักษาทันเวลาก็ต้องมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมานต่อไปอีกเป็นจำนวนไม่น้อย “โรงพยาบาลสุขุมวิท” จึงเล็งเห็นความสำคัญถึงการรองรับผู้ป่วยที่ต้องการรับบริการในด้านนี้ อีกทั้งยังสามารถพร้อมดูแลผู้ป่วยอีกหลายโรคหลายปัญหาเช่นกัน กับ “ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู” พร้อมกับจัดกระบวนการดูแลแบบ “องค์รวม” โดยใช้สหวิชาชีพมาช่วยกันดูแลบำบัดผู้ป่วยควบคู่ไปกับการเตรียมอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีก้าวหน้าหลายชนิดเพื่อผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ โดยศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ที่โรงพยาบาลสุขุมวิทแห่งนี้ พร้อมในการดูแลผู้ป่วย 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้

1. โรคความปวด (Pain Clinic) เน้นให้การรักษาในกลุ่มผู้ที่มีอาการปวด หรือบาดเจ็บจากการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย หรือการใช้งานเป็นเวลานานๆ จนกล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ รวมไปถึงกลุ่มที่มีอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งสามารถช่วยฟื้นฟูเซลล์ที่มีความผิดปกติได้อย่างตรงจุด ลดอาการปวดต่างๆ ด้วยเครื่องมือมีอการแพทย์ที่ทันสมัย และหลากหลายให้ตรงกับปัญหาของผู้ป่วย อาทิ ออฟฟิศซินโดรม ปวดตามคอ บ่า หลัง หรือกลุ่มเล่นกีฬา รวมถึงกลุ่มที่ปวดเรื้อรัง มีความซับซ้อน ก็พร้อมรองรับรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพให้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน
2. กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ (Cardiac Rehab) การฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจ ที่ได้รับการรักษาทั้งจากการสวนหลอดเลือดหัวใจ และผ่าตัดหัวใจ ซึ่งปรับเปลี่ยนรูปแบบ Lifestyle Activity ต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงของหลอดเลือดหัวใจ และทำให้คนไข้ได้รู้ถึงขีดจำกัดของตนเอง ในการทำกิจกรรมต่างๆ ว่าสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหน
3. โรคหลอดเลือดสมอง มีความผิดปกติเกี่ยวกับเส้นประสาท (Stroke Clinic) พร้อมดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยทั้งจากเรื่องอัมพฤกษ์ อัมพาต จากปัญหาเส้นเลือดสมอง การบาดเจ็บของสมอง การบาดเจ็บของไขสันหลัง อาทิ โรคหลอดเลือดสมอง โรคแขนขาอ่อนแรง ผ่าตัดกระดูกสันหลัง ปลอกประสาทเปลือกแข็ง ภาวะสมองพิการมีปัญหาเคลื่อนไหว หรือแม้แต่ผู้สูงอายุ อัลไซเมอร์ และพาร์กินสัน ด้วยคอนเซ็ปต์ Regenerative Rehabilitation Medicine ซึ่งเหมือนเป็นการดูแลบรรดาเซลล์หรือ ตัวเนื้อเยื่อที่เสียหายไปแล้วให้กลับฟื้นฟูขึ้นมาโดยใช้สหวิทยาการต่าง ๆ ด้วยการใช้เครื่องมือที่นำสมัย หรือใช้เทคนิคของกายภาพบำบัด เรียกได้ว่าเป็นทั้งไฮเทคและไฮทัช…คือใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้เทคนิคพิเศษจากบุคลากรของทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟูในการร่วมรักษาผู้ป่วยให้เกิดประสิทธิภาพให้มากที่สุด รวมถึงการใช้ “หุ่นยนต์” ร่วมรักษาเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้เลียนแบบลักษณะการเดินโดยได้ความรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเขาได้เดินอยู่บนพื้นจริง ๆ แม้ว่าจะไม่ได้เดินด้วยกำลังกล้ามเนื้อของตัวเอง ซึ่งความรู้สึกเหมือนกับว่าเดินจริง ๆ เดินได้ตัวเอง มีสัญญาณของกระแสประสาทส่งกลับไปยังที่สมอง และก่อให้เกิดการเร่งฟื้นตัวของสมองได้ดีมากกว่าหุ่นยนต์แบบอื่นที่ได้รับการพัฒนามาก่อน โดยหุ่นยนต์ที่ “รพ.สุขุมวิท” นำมาใช้ประโยชน์ตัวนี้จะช่วยในการฝึกการทรงตัวและการเดินให้ผู้ป่วยได้มีท่วงท่าของการเคลื่อนไหวที่ใกล้เคียงกับปกติ ซึ่งถ้าจะให้ดี ควรฝึกด้วยหุ่นยนต์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ต่อเนื่องไปประมาณ 1- 2 เดือน โดยมีข้อแม้ว่าผู้ป่วยที่เหมาะกับการฝึกแบบนี้ควรต้องมีความสามารถในการร่วมมือในระดับหนึ่งโดยทำตามสั่งได้ตามที่นักกายภาพให้คำแนะนำ และสามารถมีใจจดจ่อกับการฝึกได้อย่างต่ำ 30 นาที ส่วนผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวจะไม่เหมาะกับการฝึกเดินแบบนี้ โดยปกติแล้วการวางแผนการรักษาจะต้องคุยกับทั้งคนป่วยและคนดูแลหรือญาติ เพื่อให้เข้าใจถึงเป้าหมายในการฝึก ซึ่งเวลาที่มาพบแพทย์ก็จะได้รับการประเมินศักยภาพก่อนว่ามีศักยภาพในการฟื้นตัวที่ดีมากน้อยแค่ไหน เพราะแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ซึ่งหลังจากรวบรวมแล้วจึงจะคุยกับคนไข้และญาติเพื่อตั้งเป้าหมายในการฟื้นตัว หรือในการฝึกในแต่ละครั้งว่าสัปดาห์หนึ่งจะตั้งเป้าเท่าไหร่ แล้วจึงวางโปรแกรมการฝึกไปด้วยกัน ก็เหมือนกับการบอกให้ญาติหรือครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาคนไข้ร่วมมกัน
“ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู…โรงพยาบาลสุขุมวิท”มิใช่จะมีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูดูแลเท่านั้น แต่จะมีทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพ ทั้งแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสมองและระบบประสาท อายุรแพทย์ และศัลยแพทย์ รวมถึงแพทย์แผนกอื่น ๆ มาร่วมดูแลวางแผนการรักษาให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยนั่นเอง”

เผยแพร่ข่าวโดย:

พีอาร์ บุฟเฟ่ต์ www.prbuffet.com ข่าวประชาสัมพันธ์ online







Leave a Reply

Your email address will not be published.

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.