ลินเด้ เฮลธ์แคร์ แนะยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพก๊าซทางการแพทย์เพื่อสุขภาวะของผู้ป่วย

การยกระดับมาตรฐานการใช้งานก๊าซทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในประเทศไทยจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาวะของผู้ป่วย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงและการยอมรับของไทยในฐานะศูนย์กลางการให้บริการ ทางการแพทย์ชั้นนำในเอเชีย

ก๊าซทางการแพทย์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะในห้องผู้ป่วยหนัก ห้องผ่าตัด และห้องฉุกเฉินภายในโรงพยาบาล ดังนั้นสิ่งสำคัญคือก๊าซทางการแพทย์จะต้องได้คุณภาพเพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและ ลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดกับโรงพยาบาล ในขณะเดียวกันจะช่วยส่งเสริม การแพทย์ของไทยไปพร้อมๆ กัน

นางสาว ชวีว์ ฟุ้น ลิม ผู้อำนวยการ ลินเด้ เฮลธ์แคร์, เอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า ปัจจุบันก๊าซทางการแพทย์ในประเทศไทยต้องผ่านมาตรฐานที่กำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเพียงมาตรฐานขั้นต้นเพื่อความปลอดภัยเท่านั้น นางสาวลิมแนะเพิ่มเติมว่า ยังมีโอกาสในอนาคตที่ก๊าซทางการแพทย์อาจถูกพิจารณาเป็นผลิตภัณฑ์ยาเนื่องจากที่ก๊าซทางการแพทย์ถูกนำมาใช้งานเพื่อการช่วยชีวิตและการรักษาในภาวะวิกฤต

ตลาดเฮลธ์แคร์ชั้นนำทั่วโลกมีการควบคุมก๊าซทางการแพทย์ที่เข้มงวด โดยสหรัฐอเมริกาและยุโรปใช้มาตรฐาน Good Manufacturing Practice (GMP) เพื่อกำกับดูแลก๊าซทางการแพทย์ และประเทศต่างๆ ในเอเชียเริ่มปฏิบัติตามมากขึ้น อาทิ จีนกำหนดใช้มาตรฐาน GMP มาแล้วเกือบทศวรรษและเกาหลีใต้ก็กำลังจะประกาศใช้มาตรฐาน GMP

“ประเทศไทยมีชื่อเสียงด้านโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานระดับโลก ดังนั้นการมีมาตรฐานการใช้งานก๊าซทางการแพทย์ที่เข้มงวดจะยิ่งส่งเสริมภาพลักษณ์โรงพยาบาลของไทยยิ่งขึ้น และเนื่องจากประเทศไทย ได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางการให้บริการทางการแพทย์ชั้นนำในเอเชีย ดังนั้นการเปลี่ยนมาใช้มาตรฐานสากลในการควบคุมก๊าซทางการแพทย์จะยิ่งส่งเสริมการเป็นผู้นำของไทยในด้านนี้” นางสาว ลิมกล่าว

ตัวอย่างมาตรฐานต่างๆ สำหรับก๊าซทางการแพทย์ประกอบด้วยคำแนะนำในการผลิต การจัดเก็บ ขนส่ง บำรุงรักษา จัดทำเอกสารกำกับการใช้งานก๊าซทางการแพทย์และคุณลักษณะของก๊าซทางการแพทย์ อนึ่ง ลินเด้ให้ความสำคัญในสามด้านที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและคุณภาพของก๊าซทางการแพทย์ ได้แก่ กระบวนการผลิตที่ชัดเจนแน่นอน ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรมและเข้าใจในข้อกำหนดด้านคุณภาพและความปลอดภัยอย่างลึกซึ้ง ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีที่จำเป็นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และความวางใจในการจัดส่งเพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีปริมาณก๊าซทางการแพทย์เพียงพอในการใช้งานของโรงพยาบาล

ลินเด้มีมาตรฐานภายในที่เข้มงวด ในประเทศไทยก๊าซทางการแพทย์ของลินเด้เป็นไปตามมาตรฐานเภสัชของยุโรป (European Pharmacopeia) ซึ่งรับรองความปลอดภัยและคุณภาพสำหรับการใช้งานทางการแพทย์

“เราควรกำหนดมาตรฐานของก๊าซทางการแพทย์อย่างเข้มงวดเพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย” นางสาวลิม กล่าว พร้อมเสริมว่า ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมก๊าซต้องปรับตัวและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ลินเด้มีศูนย์วิจัยและค้นคว้านวัตกรรมอยู่ในยุโรป ที่ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ นักคลินิกวิทยา ตลอดจนนักวิจัยในสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมก๊าซทางการแพทย์ในทุกมิติผ่านการคิดค้นนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2558 ลินเด้คิดค้นผลิตภัณฑ์ถังออกซิเจนสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยรุ่นใหม่ ซึ่งมีชุดควบคุมแรงดันและชุดปรับอัตราการไหลของก๊าซประกอบเป็นชุดเดียวกันกับวาล์ว ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของลินเด้ ผลิตภัณฑ์ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน ชุดควบคุมแรงดัน ไม่ต้องกังวลในการจัดการเรื่องการอัดท่อก๊าซแรงดันสูงจึงทำให้การดูแลผู้ป่วย ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น

นางสาวลิม กล่าวว่า “ลินเด้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อนำเสนอบริการด้านเฮลธ์แคร์ที่ดีกว่า และการใช้รับข้อมูลแบบเรียลไทม์นี้เองเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับทั้งโรงพยาบาลและผู้ป่วย”

ตัวอย่างเช่น ถังเก็บก๊าซของลินเด้ที่โรงพยาบาลมีการติดตั้งเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อบอกปริมาณก๊าซที่พร้อมใช้งาน การติดตามแบบเรียลไทม์นี้ช่วยให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลบริหารจัดการซัพพลายเชนได้ง่ายขึ้น และในกรณีฉุกเฉินที่ต้องการก๊าซทางการแพทย์อย่างเร่งด่วน ด้วยข้อมูลแบบเรียลไทม์นี้จะช่วยให้สามารถจัดส่งก๊าซได้อย่างรวดเร็วและตอบสนองความต้องการได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น พาหนะขนส่งสินค้าของลินเด้ ประเทศไทย มีการติดตั้งอุปกรณ์จีพีเอสเพื่อการขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

นางสาวลิม กล่าวว่า “ไม่มีโอกาสครั้งที่สองในสถานการณ์ฉุกเฉินด้านการแพทย์ ก๊าซทางการแพทย์ต้องได้คุณภาพและต้องพร้อมเสมอเมื่อแพทย์และคนไข้ต้องการ”

ลินเด้ เฮลธ์แคร์ ทั่วโลกยังคิดค้นโมเดลในการดูแลผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ COPD และโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ที่พบมากในหมู่ประชากรสูงอายุ ในสหราชอาณาจักรและยุโรป ลินเด้ร่วมกับรัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลด้านสาธารณสุขต่างๆ ในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการการดูแลด้านระบบทางเดินหายใจในระยะยาว นวัตกรรมเหล่านี้ช่วยให้โรงพยาบาลมีพื้นที่สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาฉุกเฉินมากขึ้น

เผยแพร่ข่าวโดย:

พีอาร์ บุฟเฟ่ต์ www.prbuffet.com ข่าวประชาสัมพันธ์ online







Leave a Reply

Your email address will not be published.

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.