สัตว์เลี้ยงของเราสามารถเป็นโรคไตได้จริงหรือ?

13002576_468011949990289_7538070787016466813_o

“ไต” มีหน้าที่ขับของเสียต่างๆ ของร่างกายโดยการกรองของเสียอออกจากเลือด ขับทิ้งทางปัสสาวะและรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญและมีความสามารถสูงในการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้าง ดังนั้นกว่าที่ไตเริ่มทำงานผิดปกติไปก็ต่อเมื่อ 2 ใน 3 ของเนื้อเยื่อไตทั้ง 2 ข้างเสียหายไปแล้ว
ในประเทศสหรัฐอเมริกาสุนัขมากกว่า 20% ที่อายุ 5 ปีขึ้นไป มีอาการของโรคไตและไตวายเป็นสาเหตุการตายมากที่สุดในสุนัขและแมว

ไตวาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. ไตวายเฉียบพลัน จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น
– เสียเลือดมาก
– ช็อก
– เครียดจากการผ่าตัด
– ขาดน้ำอย่างรวดเร็ว
– ได้รับการกระทบกระเทือนต่างๆ เช่น จากอุบัติเหตุ
– ได้รับสารพิษต่างๆ ที่มีผลต่อไต
– ยา
– มีสิ่งอุดตันในทางเดินปัสสาวะ
– การติดเชื้อในกระแสเลือด

2. ไตวายเรื้อรัง มักเกิดจจากระบบอื่นๆ ที่ทำให้ไตเสียหายทีละน้อยหรือเกิดขึ้นนตามมาหลังจากภาวะไตวายเฉียบพลันที่ไม่ได้รับการรักษา รวมถึงอาหารที่ได้รับและความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน

อาการของโรคไตจะไม่ปรากฎจนกระทั่ง 2 ใน 3 ของเนื้อเยื่อไตถูกทำลาย ของเสียที่ร่างกายควรขับทิ้งไป จะยังอยู่ในกระแสเลือดและสัตว์เลี้ยงอาจมีอาการเหล่านี้
– เบื่ออาหาร
– น้ำหนักลด
– ซึม
– ปัสสาวะบ่อย หรือไม่ปัสสาวะ
– ขนร่วง
– อาเจียน
– ท้องเสีย
– เหงือกซีด
– ค่าไต จากการตรวจเลือดสูงขึ้น

อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ ก็ได้ และอาจเกิดขึ้นจากผลของโรคอื่นๆ ต่อเนื่องมาก็ได้

การวินิจฉัย
สัตวแพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยทั่วไป ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และตรวจการทำงานของหัวใจ เพื่อทำให้ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดไตวาย ซึ่งจะช่วยให้สามารถรักษา และพยากรณ์โรคได้อย่างถูกต้อง

การรักษาและการจัดการ
ไตวายเรื้อรังเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ไตไม่สามารถกลับมาทำงานได้ปกติ แต่สามารถช่วยทำให้สัตว์เลี้ยงมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น
การรักษาโรคไต สัตว์เลี้ยงควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และอาหารที่เหมาะสมจากสัตวแพทย์ อาจมีการตรวจเลือดเป็นระยะเพื่อประเมินการทำงานของไต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการดูแลพิเศษในเรื่องต่างๆ ไม่ให้สัตว์ทรมานจากโรคไต เมื่อสัตว์เลี้ยงอาการดีขึ้นจนสามารถกลับบ้านไดด้ สัตว์เลี้ยงต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษโดยการแนะนำจากสัตวแพทย์ เช่น
– หลีกเลี่ยงไม่ให้สัตว์เกิดความเครียด
– จัดให้มีน้ำสะอาดกินตลอดเวลา
– จำกัดการออกกำลังกาย
– พาไปพบสัตวแพทย์เมื่อถึงเวลานัด
– รายงานสิ่งต่างๆ ที่พบให้สัตวแพทย์ทราบ

โดย….โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ
Tel : 02-7126301-4 Fax : 02-7125273
FB : โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ
Line : @jaothonglor

เผยแพร่ข่าวโดย:

พีอาร์ บุฟเฟ่ต์ www.prbuffet.com ข่าวประชาสัมพันธ์ online







Leave a Reply

Your email address will not be published.

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.