การเมือง ราชการ รัฐวิสาหกิจ

นักวิจัยองค์การสวนพฤกษศาสตร์ คิดค้นผลิตภัณฑ์ทรงคุณค่าจากพืชสกุลมหาหงส์

นักวิจัยองค์การสวนพฤกษศาสตร์ คิดค้นผลิตภัณฑ์ทรงคุณค่าจากพืชสกุลมหาหงส์

พรรณพืชวงศ์ขิงข่า (Zingiberaceae) ประกอบด้วยชนิดพืชที่มีความหลากหลายสูง สำหรับในประเทศไทยมีความหลากหลายของพืชวงศ์ขิงข่ามากที่สุดในโลก โดยพบพืชในวงศ์นี้ 24 สกุลจาก 48 สกุล ประมาณ 300 ชนิดจาก 1,400 ชนิด โดยมนุษย์ได้นำพืชในวงศ์ขิงข่านี้มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งในด้านอาหาร สมุนไพร เครื่องเทศ ยารักษาโรค ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ แบบรุ่นสู่รุ่น และมีการสืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน หลังจากที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาการใช้พืชสมุนไพรเหล่านี้ในรูปของสารสกัดจากพืช (plant extracts) น้ำมันหอมระเหย (essential oil) ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง น้ำหอม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องดื่ม แม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทำให้มีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยมีส่วนผสมของพืชสมุนไพรเกิดขึ้นมากมายและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายเนื่องจากปลอดภัยกว่าการใช้สารสังเคราะห์ทางเคมีไม่มีพิษต่อผู้ใช้และสภาพแวดล้อม ประกอบกับประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และมีพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายชนิด สำหรับพืชในสกุล “มหาหงส์” (Hedychium) ซึ่งจัดเป็นพืชสกุลหนึ่งในวงศ์ขิงข่าที่พบในประเทศไทยประมาณ 23 ชนิด สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้มีการรวบรวมพันธุ์ของมหาหงส์ชนิดต่างๆ และได้ทำการศึกษาวิจัยโดยดร. รัชชุพร สุขสถาน นักวิจัยขององค์การพฤกษศาสตร์ และทีมงาน เพื่อพัฒนาความรู้และการใช้ประโยชน์ของพืชในสกุลนี้ร่วมกับผู้ร่วมวิจัยพันธมิตรจากมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน โดยจากการศึกษาวิจัยได้ทำการคัดเลือกพืชในสกุลมหาหงส์จำนวน 3 ชนิด […]

ประชุมการชี้แจงแนวทางการปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ณ โรงแรมเบสท์เวสเทิร์นพลัสแวนด้าแกรนด์

ประชุมการชี้แจงแนวทางการปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ณ โรงแรมเบสท์เวสเทิร์นพลัสแวนด้าแกรนด์

(กรุงเทพมหานคร – 6 กุมภาพันธ์ 2560) อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เปิดการบรรยาย “แนวทางการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินในสถานพยาบาล” และ “บทบาทของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อความยั่งยืนของคุณภาพระบบการรักษาพยาบาลฉุกเฉินสู่ประชาชน” โดย สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประธานอนุกรรมการบริหารระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในสถานพยาบาล ในวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 ตั้งแต่เวลา 8.30 – 16.30น. ณ ห้องแวนด้าแกรนด์บอลรูม เอ โรงแรมเบสท์เวสเทิร์นพลัสแวนด้าแกรนด์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายขาย โรงแรมเบสท์เวสเทิร์นพลัสแวนด้าแกรนด์ โทร 02-582-8282 หรือ เยี่ยมชมเว็บไซต์www.bwpluswandagrand.com

เรียนรู้กล้วยไม้ผ่านชุดหนังสือพรรณไม้เมืองไทย องค์การสวนพฤกษศาสตร์

เรียนรู้กล้วยไม้ผ่านชุดหนังสือพรรณไม้เมืองไทย องค์การสวนพฤกษศาสตร์

กล้วยไม้เป็นพืชที่มีความสวยงาม สามารถพบได้ทุกภูมิภาคในโลก ยกเว้นพื้นที่ขั้วโลกมีจำนวนรวมกันทั่วโลกประมาณ 350 สกุล 30,000 ชนิด โดยในบริเวณเขตร้อนชื้นจะมีความหลากหลายของกล้วยไม้มากที่สุด ในประเทศไทยมีกล้วยไม้พื้นเมืองอยู่ประมาณ 1,200 ชนิด จากลักษณะลำต้น ใบ ดอก ที่มีอยู่หลากหลายและสวยงามทำให้กล้วยไม้เป็นที่นิยมสำหรับผู้คนจำนวนไม่น้อย ในการปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับหรือการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ อาทิ การใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง น้ำหอม รวมถึงใช้แต่งกลิ่นอาหาร สำหรับหนังสือชุดกล้วยไม้เล่ม 1-4 ขององค์การสวนพฤกษศาสตร์นั้น เป็นหนึ่งในหนังสือชุดพรรณไม้เมืองไทย ซึ่งจัดทำขึ้นโดย สุรางค์รัชต์ อินทะมุสิก และสันติ วัฒฐานะ นักวิชาการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ เพื่อรวบรวมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้ไทย โดยเนื้อหาในแต่ละเล่มประกอบด้วยชื่อพฤกษศาสตร์และข้อมูลกล้วยไม้ไทยจำนวน 50 ชนิด และบทนำที่ให้ความรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้ในแง่มุมต่างๆ อาทิ กล้วยไม้เล่ม 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการแบ่งกลุ่มกล้วยไม้ทั้งการแบ่งกลุ่มตามลักษณะวิสัยที่พบในสภาพธรรมชาติหรือการแบ่งกลุ่มตามลักษณะการเจริญเติบโต การจัดจำแนกกล้วยไม้ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกล้วยไม้ การอนุรักษ์กล้วยไม้พื้นเมือง การนำกล้วยไม้จิ๋วออกขวดเพาะเลี้ยงและหลักในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เบื้องต้น กล้วยไม้เล่ม 2 ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับเรื่องชื่อของกล้วยไม้ ทั้งชื่อท้องถิ่น ชื่อสามัญและชื่อพฤกษศาสตร์ ซึ่งชื่อเหล่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการสื่อความหมายถึงกล้วยไม้ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าชื่อนั้นหมายถึงกล้วยไม้ชนิดใด โดยส่วนใหญ่แล้วชื่อของกล้วยไม้มักจะแฝงความหมายของลักษณะเฉพาะหรือลักษณะเด่นเพื่อให้สามารถจดจำได้ง่ายหรือสื่อถึงประวัติความสำคัญของกล้วยไม้ชนิดนั้นๆ อีกด้วย กล้วยไม้เล่ม 3 […]

กสอ. จัดอบรม Co-Design Workshop กิจกรรม สร้างนักออกแบบ Innoneering

กสอ. จัดอบรม Co-Design Workshop กิจกรรม สร้างนักออกแบบ Innoneering

1 ก.พ.60 กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดกิจกรรม Co-Design Workshop และนำเสนอแนวคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ Co-design Supply chain ในกิจกรรมสร้างนักออกแบบ Innoneering Designers ยุคใหม่ ภายใต้โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ SMEs สู่ตลาดโลก (Global Reach) โดยมี ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวต้อนรับ ณ ห้องแชมเบอร์ ชั้น B โรงแรม S31 สุขุมวิท 31 โดยกิจกรรมดังกล่าวได้มีการเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ คือ ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต นักออกแบบ เพื่อร่วมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รวมทั้งหมด 35 ราย ซึ่งได้มีการแบ่งกลุ่มนำเสนอแนวคิดผลิตภัณฑ์ต้นแบบเป็น 10 กลุ่ม จากนั้นจะพัฒนาเข้าสู่กระบวนการผลิตจริงและนำไปจัดแสดงผลงานในพื้นที่ค้าปลีกเพื่อทดสอบตลาด และเตรียมความพร้อมต่อยอดสู่การขายจริง

เปิดตัวหนังสือ “ดอกไม้กินได้ในภาคเหนือ” ฤดูฝน ในงานนักเขียนพบผู้อ่าน มช.

เปิดตัวหนังสือ “ดอกไม้กินได้ในภาคเหนือ” ฤดูฝน ในงานนักเขียนพบผู้อ่าน มช.

วันที่ 27 มกราคม 2560 ดร.รัชชุพร สุขสถาน ผู้จัดการห้องปฏิบัติการพฤกษเคมี พร้อมด้วย นายเมธี วงศ์หนัก นักวิชาการ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ร่วมเปิดตัวหนังสือ “ดอกไม้กินได้ในภาคเหนือ” ฤดูฝน (Edible Flowers in Northern Thailand: the Rainy season edition) ในงาน นักเขียนพบผู้อ่าน CMU Book Fair ครั้งที่ 23 ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย หนังสือ “ดอกไม้กินได้ในภาคเหนือ” ฤดูฝน ได้จัดทำร่วมกับ ดร.สรณะ สมโน อ.ยุทธศักดิ์ ฉัตรแก้วนภานนท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีเนื้อหาเป็น 2 ภาษา เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ นำเสนอความรู้ด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน และพฤกษเคมี ผ่านแง่มุมของวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย และทำให้วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่จับต้องได้

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดโครงการ “เก๋ายกก๊วนฯ” เยี่ยมชมสวนพฤกษศาสตร์ฯ

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดโครงการ “เก๋ายกก๊วนฯ” เยี่ยมชมสวนพฤกษศาสตร์ฯ

วันที่ 28 มกราคม 2560 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ ร่วมกับ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ จัดคาราวานส่งเสริมการท่องเที่ยวโครงการ “เก๋ายกก๊วน ชวนวัดใจ เยือนยอดไม้ แลขุนเขานครพิงค์” เพื่อส่งเสริมกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายผ่านกิจกรรมเส้นทางตามรอยพระบาทในพื้นที่อำเภอแม่ริม และอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน เยี่ยมชมสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งรวบรวมและอนุรักษ์พรรณพืชไทย โดยมีเจ้าหน้าที่ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ ให้การต้อนรับและนำชมสวนพฤกษศาสตร์ฯ #เก๋ายกก๊วนนครพิงค์ #ททท

ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ประกาศเจตจำนง ในการบริหารงานและปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใสและตรวจสอบได้ ภายใต้ “กระทรวงดิจิทัลฯ ใสสะอาด ปราศจากทุจริต”

ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ประกาศเจตจำนง ในการบริหารงานและปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  โปร่งใสและตรวจสอบได้ ภายใต้ “กระทรวงดิจิทัลฯ ใสสะอาด ปราศจากทุจริต”

วันนี้ (30 ม.ค. 60) นางสาววิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วย นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการและบุคลากรของปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมประกาศเจตจำนงในการบริหารงานและปฏฺบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใสและตรวจสอบได้ พร้อมรับผิดเมื่อเกิดความผิดพลาด ภายใต้ “กระทรวงดิจิทัลฯ ใสสะอาด ปราศจากทุจริต” โดยยึดหลัก 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความโปร่งใส ด้านความพร้อมรับผิด ด้านการปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน ด้านวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร ด้านคุณธรรม การทำงานในหน่วยงาน และด้านการสื่อสารภายในหน่วยงาน ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น 6 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ โดยนางสาววิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล “คาดว่าการประกาศเจตจำนงในวันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการรณรงค์ให้บุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สร้างวัฒนธรรมขององค์กรและค่านิยมซื่อสัตย์สุจริต ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และมีพฤติกรรมในทางสร้างสรรค์สิ่งดีต่อสังคม เพื่อนำไปสู่องค์กรที่มีคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน เกิดความตระหนักถึงภัยจากการทุจริตคอร์รัปชันและเกิดแนวร่วมในการต่อต้านการทุจริต ไม่ยอมรับให้มีการทุจริตในสังคม ชุมชน โดยปฏิเสธการทุจริต คอร์รัปชันทุกรูปแบบ อันจะส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร และประเทศชาติ ต่อไป”

ประกาศความพร้อม โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560 (SETA 2017)

ประกาศความพร้อม โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560 (SETA 2017)

ประกาศความพร้อม โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560 (SETA 2017) ธรรมยศ ศรีช่วย (กลาง) รองปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมกับ รศ.สรนิต ศิลธรรม (ที่สามจากขวา) ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กอบกุล โมทนา (ที่สองจากขวา) ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม ธาตรี ริ้วเจริญ (ที่สามจากซ้าย) ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร (ที่สองจากขวา) ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560 สุเทพ เรืองพรวิสุทธิ์ (ซ้าย) ผู้จัดการฝ่ายบริหารกลยุทธ์ กลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและบริหารความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นภปฎล สุขเกษม (ขวา) ซีอีโอ บริษัท แกท อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด แถลงข่าวประกาศความพร้อมจัดงาน “โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560 หรือ SETA 2017” ภายใต้ธีม “Towards […]

พาณิชย์ฯ จัดงาน “พาณิชย์ 4.0 สู่โลกการค้ายุคใหม่” เปิดตัวสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (New Economy Academy : NEA) ปั้นผู้ประกอบการไทยสู่ Smart SMEs ยกระดับเศรษฐกิจประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0

พาณิชย์ฯ จัดงาน “พาณิชย์ 4.0 สู่โลกการค้ายุคใหม่” เปิดตัวสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (New Economy Academy : NEA) ปั้นผู้ประกอบการไทยสู่ Smart SMEs ยกระดับเศรษฐกิจประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเตรียมจัดงาน “พาณิชย์ 4.0 สู่โลกการค้ายุคใหม่” เพื่อเปิดตัวสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (New Economy Academy : NEA) หวังเป็นศูนย์กลาง องค์ความรู้หลักสูตรการพัฒนาและอบรมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่การเป็นสมาร์ท เอสเอ็มอี (Smart SMEs) ตามนโยบายของรัฐบาลในการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน โดยการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก และเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในประเทศกับเศรษฐกิจโลก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยนำ ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วยสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ ขยาย ช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในเวทีการค้าโลก โดยมี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยปาฐกถาพิเศษเรื่อง “New Start” ผู้ประกอบการ SMEs ในโลกการค้ายุคใหม่ โดยนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมการบรรยายให้ความรู้และการเสวนาในหัวข้อต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อ การดำเนินธุรกิจในโลกการค้ายุคใหม่ เช่น เรื่อง SMEs 4.0 เจาะโลกการค้าออนไลน์ เถ้าแก่ยุคดิจิทัลแชร์จริงไม่มีกั๊ก และเคล็ดไม่ลับสู่ความสำเร็จจาก Local to Global […]

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เดินหน้าติวเข้มนักศึกษาสู่เส้นทางนักออกแบบมืออาชีพเชิงสร้างสรรค์ ในพื้นที่ภาคเหนือรองรับอุตสาหกรรม 4.0

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เดินหน้าติวเข้มนักศึกษาสู่เส้นทางนักออกแบบมืออาชีพเชิงสร้างสรรค์ ในพื้นที่ภาคเหนือรองรับอุตสาหกรรม 4.0

18 ม.ค 60 (เชียงใหม่) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เร่งสานต่อนโยบายรัฐ พัฒนานักศึกษาด้านออกแบบปี3 และ ปี 4 ในพื้นที่ภาคเหนือ จัดอบรมการออกแบบสร้างสรรค์-ทันเทรนด์โลก หลักสูตรใหม่ ปูเส้นทาง Start Up และมุ่งสู่นักออกแบบเชิงสร้างสรรค์รองรับอุตสาหกรรม 4.0 พร้อมเปิดโอกาสนำเสนอผลงานชิงเงินรางวัลรวมกว่า 150,000 บาท นางอนงค์ ไพจิตร ประภาภรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดอบรมหลักสูตร ออกแบบสร้างสรรค์-ทันเทรนด์โลก พร้อม ร่วมเป็นประธานในการแสดงความร่วมมือเชิงสัญลักษณ์ ระหว่าง สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสถาบันการศึกษาเครือข่ายในพื้นที่ภาคเหนือ ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยณเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพ เชื่อมโยง ส่งเสริม และขยายผลองค์ความรู้สู่การศึกษาด้านออกแบบ ภายใต้กิจกรรมการพัฒนานักออกแบบแฟชั่นเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษา (Fashion Smart Start Up 2016 […]

1 40 41 42 43 44 55