สุขภาพ การแพทย์ ความงาม

“The Meg 2 : The Trench หนังฟอร์มยักษ์ที่ได้รับ Incentive ประเทศไทย”

“The Meg 2 : The Trench หนังฟอร์มยักษ์ที่ได้รับ Incentive ประเทศไทย”

จากการรายงานจากสื่อต่างประเทศ รายได้ของภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ “The Meg 2: The Trench เม็ก 2: อภิมหาโคตรหลามร่องนรก” ในช่วงสัปดาห์แรกของการเข้าฉาย สามารถสร้างรายได้รวมทั่วโลกอยู่ที่ 154.98 ล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่าเงินลงทุนที่ 130 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะตลาดภาพยนตร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ได้รับกระแสตอบรับดีมาก และคาดการณ์รายได้น่าจะมากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ The Meg 2 : The Trench เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาลงทุนถ่ายทำตามสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 เมษายน – 18 พฤษภาคม 2565 โดยคณะถ่ายทำได้ปักหลักถ่ายทำในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และยังมีบางส่วนถ่ายทำในพื้นที่จังหวัดกระบี่และจังหวัดสมุทรปราการ อาทิ หาดพาราไดซ์ อำเภอกระทู้ (Paradise Beach) ภูเก็ต แอร์พาร์ค อำเภอถลาง ถลางมณีคราม อำเภอเมืองภูเก็ต เกาะห้อง อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี จังหวัดกระบี่ และเดอะ สตูดิโอ พาร์ค อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ […]

GC และ GCM ร่วมกับพันธมิตร คู่ค้าผู้ประกอบการพลาสติก 84 ราย มอบนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบครบวงจรช่วยผู้ป่วยโควิด-19 ให้กับโรงพยาบาลสนาม และศูนย์พักคอย ในพื้นที่เสี่ยงสูง จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ และ ระยอง

GC และ GCM ร่วมกับพันธมิตร คู่ค้าผู้ประกอบการพลาสติก 84 ราย มอบนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบครบวงจรช่วยผู้ป่วยโควิด-19  ให้กับโรงพยาบาลสนาม และศูนย์พักคอย ในพื้นที่เสี่ยงสูง จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ และ ระยอง

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยติดเชื้อมากกว่า 20,000 คนต่อวัน ส่งผลให้สถานพยาบาลไม่เพียงพอ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่เสียสละในการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงยังมีความต้องการชุดและอุปกรณ์เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง ด้วยเหตุนี้ GC ผู้นำนวัตกรรมเคมีภัณฑ์และพลาสติก และ GCM ผู้ดำเนินกิจกรรมทางการตลาดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ได้ร่วมมือกับพันธมิตร คู่ค้าผู้ประกอบการจำนวน 84 บริษัท ส่งมอบผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆ จากนวัตกรรมพลาสติกที่มีคุณภาพแบบครบวงจรให้แก่โรงพยาบาลสนาม และศูนย์พักคอยในพื้นที่ที่มีการระบาดสูง ภายใต้โครงการ “Greater Care Charity by GC & Customers” จากการแพร่ระบาดของโควิด 19 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC และ บริษัท จีซี มาร์เก็ตติ้ง โซลูชั่นส์ จำกัด หรือ GCM ร่วมกับลูกค้าและคู่ค้าผู้ประกอบการพลาสติก 84 บริษัท ส่งมอบนวัตกรรมพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบครบวงจรให้แก่โรงพยาบาลสนามแห่งใหม่ และศูนย์พักคอย รวม 4 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร […]

บุคลากรสาธารณสุขหลากรุ่น หลายสถาบัน ชวนคุยออนไลน์ ระดมสมองฝ่าโควิด-19 บอกต่อความรู้สู่สังคม

บุคลากรสาธารณสุขหลากรุ่น หลายสถาบัน ชวนคุยออนไลน์ ระดมสมองฝ่าโควิด-19 บอกต่อความรู้สู่สังคม

การส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อผนึกกำลังของสหวิชาชีพด้านสุขภาพทั้งคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเพื่อควบคุมและป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่หรืออุบัติซ้ำ รวมถึงโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน เป็นภารกิจที่เครือข่ายมหาวิทยาลัยสุขภาพหนึ่งเดียว หรือ THOHUN (Thailand One Health University Network) ยึดมั่นปฏิบัติมาตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีนับแต่ก่อตั้งเครือข่ายเมื่อปี 2555 เป็นที่รู้กันว่า ในขณะนี้ทั่วโลกกำลังประสบกับปัญหาการระบาดของโควิด-19 ที่สั่นคลอนความมั่นคงทางสุขภาพ และยังไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลายได้ในอนาคตอันใกล้ ในสถานการณ์เช่นนี้ การยึดมั่นในความรู้ที่ถูกต้องและมีหลักฐานอ้างอิงเป็นสิ่งที่ THOHUN ใช้เป็นรากฐานในรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ และเชื้อกลายพันธุ์ แม้กระทั่งข้อกังขาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน วันนี้ THOHUN จึงขยายบทบาทจากการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเครือข่ายนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา สู่การริเริ่มกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบการเสวนาออนไลน์ “One Health in the Virtual Park” เพื่อกระจายความรู้ ความเข้าใจสู่สาธารณชนวงกว้าง ผศ.ดร.แสงเดือน มูลสม ผู้ประสานงานเครือข่ายมหาวิทยาลัยสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งประเทศไทย (THOHUN) กล่าวว่า “ในตอนแรก เราตั้งใจที่จะจัดกิจกรรม One Health in the Park ซึ่งเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นทางสุขภาพ ระหว่างคนในแวดวงการแพทย์และสาธารณสุขในสวนสาธารณะสักแห่ง […]

ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิต สู้วิกฤติ COVID-19 ครั้งที่ 32

ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิต สู้วิกฤติ COVID-19 ครั้งที่ 32

ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิต สู้วิกฤติ COVID-19 ครั้งที่ 32 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ยังคงประสบภาวะวิกฤติโลหิตไม่เพียงพออย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทยประสบปัญหาขาดแคลนเลือดทุกกรุ๊ปถึงขั้นวิกฤติ เพราะจำนวนการใช้เลือดในแต่ละวันยังคงมีมากเท่าเดิม แต่ในขณะที่มีผู้มาบริจาคเลือดน้อยลง หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตได้ คุณก็เป็นผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ได้ มาเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ช่วยเหลือคนอื่นกันเถอะ โรงพยาบาลรามคำแหงร่วมกับสภากาชาดไทย ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิต สู้วิกฤติ COVID-19 ครั้งที่ 32 วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00-15.00 น. (พักเที่ยง 12.00-13.00 น.) ณ ห้องประชุมอาคาร 3 ชั้น 10 โรงพยาบาลรามคำแหง โดยโลหิตทุกยูนิตที่ได้รับบริจาคจากท่าน สภากาชาดไทย จะนำไปใช้ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วประเทศ โรงพยาบาลรามคำแหงขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการรับบริจาคเลือดนอกพื้นที่ให้กับสภากาชาดไทย โรงพยาบาลรามคำแหงมีมาตราการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลระดับสูงสุด ท่านไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย… เพียงเตรียมร่างกายให้พร้อมแล้วมาบริจาคเลือดกันนะครับ คำแนะนำการเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1000.

นอนกรนสัญญาณอันตราย!.. อาจหยุดหายใจขณะหลับ

นอนกรนสัญญาณอันตราย!.. อาจหยุดหายใจขณะหลับ

นอนกรนสัญญาณอันตราย!.. อาจหยุดหายใจขณะหลับ ส่วนใหญ่เรามักจะเข้าใจว่าการนอนกรนเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะคุณผู้ชายที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาไปซะแล้วแต่รู้ไหมครับว่า? การนอนกรนบางครั้งก็อันตรายกว่าที่เราคิดอีกนะครับ นอนกรน เกิดจากระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่ตีบแคบลงขณะที่เรานอนหลับสนิท ซึ่งในขณะนอนหลับนอกจากอาการกรนแล้วยังพบว่าอาจมีภาวะหยุดหายใจเกิดขึ้นร่วมด้วย ซึ่งเป็นภาวะผิดปกติของการหายใจ คือมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ขณะนอนหลับ จึงทำให้คุณภาพการนอนไม่ดี การนอนหลับไม่ต่อเนื่อง กลายเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย สมาธิและความจำไม่ดี การเผาผลาญด้อยประสิทธิภาพลง อาจทำให้เกิดโรคอ้วนและเบาหวานได้ รวมไปถึงการเกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับสมองและหลอดเลือดหัวใจ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดสมอง และยังอาจทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้อีกด้วย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นมีหลายประการด้วยกัน เช่น ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเยอะ มีอาการของโรคภูมิแพ้บริเวณจมูก สันจมูกเบี้ยวหรือคด รูปหน้าหรือคางผิดปกติ ต่อมทอนซิลโต การรับประทานยาที่ทำให้ง่วง และผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่เป็นประจำ การรักษาโรคนอนกรนมีหลายวิธีด้วยกันครับ ขึ้นอยู่กับสาเหตุผิดปกติที่ตรวจพบและความรุนแรง แบ่งเป็นการรักษาทางยา เช่น การรักษาภาวะภูมิแพ้ การปรับพฤติกรรม เช่น การปรับท่านอน ลดน้ำหนักตัว, ไปจนถึงการรักษาด้วยเครื่องมือพิเศษ เช่น การใช้พลังจากคลื่นวิทยุกระชับเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปากและคอที่หย่อนตัว หรือการผ่าตัดรักษา  นอกจากนี้ปัจจุบันยังมี Application ( SnoreLab ) ที่ช่วยตรวจจับและบันทึกการกรนของเราในเบื้องต้น ก่อนจะมาพบแพทย์ […]

ผื่นแดงหลังรับวัคซีน Covid-19

ในช่วงปี 2564 มีวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 หลายชนิด และคนไทยได้เริ่มรับการฉีดวัคซีนไปบ้างแล้ว ในหลายท่านยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีนนี้เพราะวัคซีนเพิ่งเข้ามาใหม่ ซึ่งส่งผลให้มีคนไข้เข้ารับการปรึกษาเรื่องผื่นที่เกิดขึ้นหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 บ่อยมากขึ้น Q: ผื่นแบบไหนบ้างที่สามารถเกิดได้หลังจากการฉีดวัคซีน? A : ผื่นที่เกิดหลังจากการฉีดวัคซีนนั้นไม่ได้มีลักษณะจำเพาะ ผื่นสามารถขึ้นเป็นตุ่มนูน ผื่นราบเป็นปื้น หรือลมพิษก็ได้  แต่สิ่งที่มักจะพบก็คือ ผื่นมักจะขึ้นบริเวณที่ฉีดหรือกระจายไปทั่วตัว โดยผื่นจะขึ้นภายในสัปดาห์แรกหลังจากการได้รับวัคซีน โดยเฉพาะวันที่ 1-3 Q : ผื่นหลังจากการฉีดวัคซีนเป็นอันตรายหรือไม่? A : ไม่อันตรายค่ะ โดยเป็นผลข้างเคียงที่สามารถพบได้  ผื่นจะค่อยๆ หายไปเองโดยไม่ต้องรับการรักษา ซึ่งจริงๆ แล้วผื่นเหล่านี้สามารถพบได้กับทุกวัคซีน ไม่ใช่เฉพาะวัคซีนโควิด 19 นอกจากนี้ยังสามารถพบอาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีด ไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัวได้อีกด้วย Q : ถ้ามีผื่นหลังฉีดวัคซีนควรทำอย่างไร? A : ไม่ต้องตกใจ แนะนำให้บันทึกไว้ว่าผื่นขึ้นกี่วันหลังจากฉีดวัคซีน ถ่ายรูปเก็บไว้ และพยายามถ่ายรูปไว้ทุกวัน ส่วนใหญ่เป็นผลข้างเคียงของวัคซีน แต่ถ้าหากผื่นเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะเกิน 1 […]

สสดย. – สสส. แนะทางออกเผชิญหน้า ‘วิกฤติสุขภาพใจที่อ่อนล้าโควิด’ ด้วยหลัก 3i เน้น ‘สร้างพลังบวก – เปิดพื้นที่รับฟัง – รู้เท่าทันสื่อ’ พาสังคมผ่านพ้นวิกฤติไปด้วยกัน

สสดย. – สสส. แนะทางออกเผชิญหน้า ‘วิกฤติสุขภาพใจที่อ่อนล้าโควิด’ ด้วยหลัก 3i เน้น ‘สร้างพลังบวก – เปิดพื้นที่รับฟัง – รู้เท่าทันสื่อ’ พาสังคมผ่านพ้นวิกฤติไปด้วยกัน

สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานเสวนาออนไลน์ FAM TALK : สื่อสารสร้างสรรค์กับประเด็นสำคัญที่ครอบครัวควรรู้ เพื่อรับมือและเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิดที่ยังคงวิกฤติทั้งสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยมีการจับคู่ซักถามพูดคุยอย่างออกรสใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นหนี้สาธารณะวิกฤตจริงหรือ โดย ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก นายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) ซักถาม คุณแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ประเด็นครอบครัวอ่อนล้าจากวิกฤต…มีทางออกอย่างไร โดยคุณนภาพร ไตรวิทย์วารีกุล (ดีเจพี่อ้อย) ซักถาม นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิตและที่ปรึกษาสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ประเด็นสื่อสารทันสมัย สำหรับคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล โดยคุณปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา รองประธานสภาเด็กและเยาวชน กรุงเทพฯ ซักถาม ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงประเด็นแรกของการเสวนา คุณแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้ให้ความรู้ด้านภาวะหนี้สาธารณะของประเทศในขณะนี้ว่า หนี้สาธารณะอธิบายง่ายๆ คือหนี้ของประเทศ เป็นหนี้ของรัฐบาลที่กู้มาเพื่อเติมเต็มและช่วยให้ประเทศสามารถใช้มาตรการทางการคลังได้ดีขึ้น ขณะนี้สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศไทยอยู่ที่ 55% […]

โรงพยาบาลนครธน ชวนสังคม “สูงวัย” ปรับพฤติกรรมเสี่ยง ป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม

โรงพยาบาลนครธน  ชวนสังคม “สูงวัย” ปรับพฤติกรรมเสี่ยง ป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม

ในปัจจุบัน ประเทศไทยพบผู้ป่วยมากกว่า 6 ล้านคน ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปพบได้ถึงร้อยละ 50 ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุคือโรคกระดูกและข้อ อายุที่เพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่สะท้อนความสามารถในการซ่อมแซมของกระดูกอ่อนกำลังลดลงไปทุกที อาการข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมของเราในชีวิตประจำวันเองเช่นกัน . นายแพทย์นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน เผยว่าเมื่อร่างกายถูกใช้งานเป็นเวลาก็อาจมีความเสื่อมไปตามกาลเวลา การเสื่อมตามธรรมชาติของร่างกายมักจะเริ่มเกิดกับบุคคลที่มีอายุ 40 ขึ้นไป ซึ่ง “โรคข้อเข่าเสื่อม”(Knee osteoarthritis) เกิดจากการใช้งานผิวกระดูกอ่อนที่อยู่ในข้อเข่าเริ่มมีการสึก อาการปวดข้อเข่านั้นจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่า เป็นสิ่งที่รบกวนการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็น การนั่ง การเดิน การยืน เป็นต้น ดังนั้นควรปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง เพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมช่วยชะลอกระดูกข้อเข่าให้ใช้งานได้นานมากขึ้น ทั้งนี้ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ ก็สามารถสังเกตและดูแลพฤติกรรมของผู้สูงอายุในบ้านได้อีกด้วย . วิธีป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม • การนั่ง สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือ การนั่งยอง ๆ นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ การนั่งในอิริยาบถเหล่านี้จะทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักมากขึ้น ท่าที่พับงอกระดูกอ่อนจะเสียดสีกันสูงกว่าปกติ อาจจะต้องปรับด้วยการนั่งบนเก้าอี้ ด้วยอิริยาบถที่เหมาะสมหากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถสลับมานั่งเก้าอี้ที่ห้อยขาหรือสลับมานั่งเหยียดขา รวมไปถึงการเข้าห้องน้ำ ควรหลีกเลี่ยงการนั่งสุขภัณฑ์นั่งยองเพื่อลดแรงกดทับในข้อเข่าลง การใช้งานหนักติดต่อกันต่อเนื่องแบบนี้ก็ย่อมเสื่อมสมรรถภาพไปอย่างรวดเร็ว • การนอน […]

รพ.บางมด มอบชุดตรวจโควิดแรพิดเทสต์ ให้ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ และ รพ.ตำรวจ เพื่อการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อ

นพ. เทวเดช อัศดามงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลบางมด มอบชุดตรวจโควิด-19 ประเภทแรพิดเทสต์ (Rapid Test) ให้กับบุคลากร คณาจารย์ และนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีฯ เป็นตัวเเทนรับมอบ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังส่งมอบอีก 200 ชุด ให้กับโรงพยาบาลตำรวจ เพื่อการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อในพื้นที่เสี่ยงสำหรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

“ปวดคอ” อาการปวดทั่วไป ที่อาจเป็นอันตราย

“ปวดคอ” อาการปวดทั่วไป ที่อาจเป็นอันตราย

“ปวดคอ” อาการปวดทั่วไป ที่อาจเป็นอันตราย ในยุคที่คนต้องทำงานอยู่กับคอมพิวเตอร์นั่งท่าเดิมๆ หรือเล่นมือถือ ก้มหน้า เงยหน้าอยู่ตลอด รวมถึงความเครียดที่เกิดขึ้นจึงทำให้เราเกิดอาการปวดคอเอาได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะปวดแบบเป็นๆ หายๆ หรือปวดเรื้อรัง ซึ่งถ้าอาการปวดมาจากกล้ามเนื้อก็ไม่มีอะไรน่าห่วง แต่ถ้าอาการปวดนั้นเกิดจากหมอนรองกระดูกคอเสื่อมไปกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง แบบนี้ไม่ดีแน่ๆ ให้สังเกตว่าถ้าเป็นการปวดกล้ามเนื้อคอธรรมดาจะมีอาการเมื่อใช้งาน หรือเวลาก้มคอลงอาการปวดจะยิ่งชัดเจนขึ้นพอได้พักการใช้กล้ามเนื้อคออาการจะดีขึ้น แต่ถ้ามาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น หมอนรองกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท เวลาก้มคอลงจะรู้สึกสบาย แต่ถ้าแหงนคอขึ้นจะรู้สึกปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาทแม้จะพักการใช้งานแล้วอาการก็ยังไม่ดีขึ้นและยังคงปวดต่อเนื่อง หากอาการปวดคอเป็นแค่อาการเคลื่อนของหมอนรองกระดูก ก็อาจรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการนั่งทำงาน ไม่นั่งท่าเดียวนานๆ จัดท่านั่งให้เหมาะสม ลุกเดินเปลี่ยนอิริยาบท หรือทำกายบริหารยืดกล้ามเนื้อคอผ่อนคลายความเมื่อยล้า การทำกายบริหารกล้ามเนื้อบริเวณโดยรอบคอเป็นประจำ จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อคอและลดอาการปวดคอได้ “ ท่ากายบริหารลดอาการปวดคอ ” https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/114 แต่หากอาการปวดคอเรื้อรังนั้นเกิดจากหมอนรองกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท การรักษาที่ดี คือการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกคอเทียม โดยเมื่อผ่าตัดแล้วอาการปวดที่เคยมีก็จะหายไปได้

1 2 3 347