วัคซีน

บุคลากรสาธารณสุขหลากรุ่น หลายสถาบัน ชวนคุยออนไลน์ ระดมสมองฝ่าโควิด-19 บอกต่อความรู้สู่สังคม

บุคลากรสาธารณสุขหลากรุ่น หลายสถาบัน ชวนคุยออนไลน์ ระดมสมองฝ่าโควิด-19 บอกต่อความรู้สู่สังคม

การส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อผนึกกำลังของสหวิชาชีพด้านสุขภาพทั้งคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเพื่อควบคุมและป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่หรืออุบัติซ้ำ รวมถึงโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน เป็นภารกิจที่เครือข่ายมหาวิทยาลัยสุขภาพหนึ่งเดียว หรือ THOHUN (Thailand One Health University Network) ยึดมั่นปฏิบัติมาตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีนับแต่ก่อตั้งเครือข่ายเมื่อปี 2555 เป็นที่รู้กันว่า ในขณะนี้ทั่วโลกกำลังประสบกับปัญหาการระบาดของโควิด-19 ที่สั่นคลอนความมั่นคงทางสุขภาพ และยังไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลายได้ในอนาคตอันใกล้ ในสถานการณ์เช่นนี้ การยึดมั่นในความรู้ที่ถูกต้องและมีหลักฐานอ้างอิงเป็นสิ่งที่ THOHUN ใช้เป็นรากฐานในรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ และเชื้อกลายพันธุ์ แม้กระทั่งข้อกังขาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน วันนี้ THOHUN จึงขยายบทบาทจากการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเครือข่ายนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา สู่การริเริ่มกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบการเสวนาออนไลน์ “One Health in the Virtual Park” เพื่อกระจายความรู้ ความเข้าใจสู่สาธารณชนวงกว้าง ผศ.ดร.แสงเดือน มูลสม ผู้ประสานงานเครือข่ายมหาวิทยาลัยสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งประเทศไทย (THOHUN) กล่าวว่า “ในตอนแรก เราตั้งใจที่จะจัดกิจกรรม One Health in the Park ซึ่งเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นทางสุขภาพ ระหว่างคนในแวดวงการแพทย์และสาธารณสุขในสวนสาธารณะสักแห่ง […]

โมเดอร์ฟอร์มเฮลท์แอนด์แคร์ ส่งมอบครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ให้แก่ทีมแพทย์และสาธารณสุขต่อสู้ภัยโควิด

โมเดอร์ฟอร์มเฮลท์แอนด์แคร์ ส่งมอบครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ให้แก่ทีมแพทย์และสาธารณสุขต่อสู้ภัยโควิด

โมเดอร์ฟอร์มเฮลท์แอนด์แคร์ ส่งมอบครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ให้แก่ทีมแพทย์และสาธารณสุขต่อสู้ภัยโควิด บริษัท โมเดอร์ฟอร์มเฮลท์แอนด์แคร์ จำกัด (มหาชน) ส่งมอบครุภัณฑ์ทางการแพทย์แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลบางปะอิน โรงพยาบาลราชธานี โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี โรงพยาบาลสนามจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดหนองคาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดกาฬสินธุ์ อาทิ ห้อง Cohort Ward แรงดันลบ จำนวน 1 ห้อง ปลอกเครื่องวัดอุณหภูมิ จำนวน 10,000 ชิ้น เจลแอลกอฮอล์ จำนวน 200 แกลลอน หน้ากากอนามัยชนิด KN95 จำนวน 1,000 ชิ้น เพื่อใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด- 19 ผู้ป่วยวิกฤต และผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเร่งด่วน โมเดอร์ฟอร์มเฮลท์แอนด์แคร์ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการส่งมอบกำลังใจให้กับคณะแพทย์ พยาบาล และผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงผู้ป่วยทุกท่านให้ต่อสู้กับวิกฤติครั้งนี้ให้ผ่านไปได้ด้วยดี และผ่านพ้นสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ไปด้วยกัน

ฉีดวัคซีน HPV ตั้งแต่เด็ก ลดเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

ฉีดวัคซีน HPV ตั้งแต่เด็ก ลดเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่พบมากในหญิงไทยเป็นอันดับที่ 2 รองจากมะเร็งเต้านม ข้อมูลระบาดวิทยาปี 2560 พบว่าหญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงถึง 8,184 คนต่อปี และมีอัตราเสียชีวิตเกิน 50% นับว่าเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ การป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นแนวทางการป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด หลักการที่สำคัญคือควรฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์และร่างกายอยู่ในวัยที่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ขวบขึ้นไปจนถึงอายุ 26 ปี นอกจากป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในเด็กผู้หญิงแล้ว วัคซีนยังป้องกันโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนักในเด็กผู้ชายได้อีกด้วย อ่านบทความต่อ >>> https://bcaremedicalcenter.com/Articles-detail/27 – – – – – – – – – – – 💕ทาง รพ.บี.แคร์ฯ ขอแนะนำ #แพคเกจวัคซีนมะเร็งปากมดลูก – Package A วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ชนิด 4 สายพันธ์ Gardasil (ตั้งแต่อายุ 9-15 ปี) 2 Dose ราคา 5,590 […]

ครั้งแรกของไทย…หุ่นยนต์ “เอไอ-อิมมูไนเซอร์ ” ทดสอบภูมิคุ้มกันอัจฉริยะ หนุนการพัฒนาวัคซีนให้เร็วขึ้นและปลอดภัย

ครั้งแรกของไทย…หุ่นยนต์ “เอไอ-อิมมูไนเซอร์ ” ทดสอบภูมิคุ้มกันอัจฉริยะ หนุนการพัฒนาวัคซีนให้เร็วขึ้นและปลอดภัย

ครั้งแรกของไทย…หุ่นยนต์ “เอไอ-อิมมูไนเซอร์ ” ทดสอบภูมิคุ้มกันอัจฉริยะ หนุนการพัฒนาวัคซีนให้เร็วขึ้นและปลอดภัย ในสถานะการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ทั่วโลกและประเทศไทยยังคงฝากความหวังไว้กับการเร่งพัฒนาวัคซีนนั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล คิดค้นนวัตกรรม “หุ่นยนต์เอไอ- อิมมูไนเซอร์ (AI-Immunizer)” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ทดสอบภูมิคุ้มกันอัจฉริยะในการพัฒนาวัคซีน ครั้งแรกของไทย เพื่อเร่งสนับสนุนและยกระดับการพัฒนาวัคซีนของไทยสู่ระดับโลก โดยผสานเทคโนโลยี เอไอ ทั้งระบบจนจบครบวงจร ช่วยผลักดันการพัฒนาวัคซีนของศูนย์วิจัยวัคซีนที่มีกว่า 50 แห่งในประเทศไทย สู่เป้าหมายความสำเร็จได้เร็วขึ้นและปลอดภัย ผศ.ดร.จำรัส พร้อมมาศ ที่ปรึกษาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า วัคซีนในยุคนิวนอร์มอลต้องใช้เวลาให้สั้น ยิ่งคิดค้นได้เร็ว ก็จะยิ่งปลอดภัยในชีวิตและลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ หากย้อนไปในประวัติศาสตร์การพัฒนาวัคซีนกว่า 224 ปี หลังจากการค้นพบวัคซีนแรกที่ป้องกันโรคฝีดาษ ใน ปีค.ศ.1796, กรอบเวลาที่เร็วที่สุดที่เคยมีมาอยู่ที่ 4 ปี ซึ่งเป็นวัคซีนรักษาโรคคางทูมที่ทำสำเร็จในปี ค.ศ. 1967 แต่ส่วนใหญ่แล้วการวิจัยพัฒนาวัคซีนใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 10 -15 ปี, สำหรับไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 นั้นผู้เชี่ยวชาญในนานาประเทศคาดการณ์กันว่า มนุษย์เราจะสามารถพัฒนาวัคซีน COVID-19 […]

รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่.. เรื่องใหญ่สร้างเกราะคุ้มกัน

รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่.. เรื่องใหญ่สร้างเกราะคุ้มกัน

  ไข้หวัดใหญ่เป็นไข้หวัดที่มีความรุนแรงว่าไข้หวัดปกติ ทำให้ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคประจำตัวเกิด ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง อาจทำให้หลอดลมอักเสบ ภาวะปอดบวม หรือมีผลกระทบต่อหัวใจ การฉีดวัคซีนจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ 70-80 เปอร์เซ็นต์ โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า ไวรัสอินฟลูเอนซ่า (influenza virus) จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ influenza A และ influenza B  หลายท่านอาจเข้าใจว่าการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพียงแค่ครั้งเดียวจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดเหมือนวัคซีนชนิดอื่นซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด เพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะมีการกลายพันธุ์อยู่ตลอด มีการเกิดเชื้อใหม่ๆ อยู่เป็นระยะเป็นเหตุให้ภูมิคุ้มกันที่มีอยู่เดิมอาจไม่สามารถป้องกันโรคได้ และด้วยภูมิคุ้มกันจะค่อยๆ ลดลงอยู่เสมอ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันเหมาะสมกับเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่มาใหม่ในแต่ละปี ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่และลดอัตราการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่  ข้อมูลดีๆ จาก..พญ.ธารินทิพย์  ทีงาม กุมารแพทย์ ศูนย์แม่และเด็ก โรงพยาบาลหัวเฉียว

มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยร่วมชมรมคนรักสัตว์อุบลตามหาเจ้าของสุนัขจากเหตุอุทกภัย

มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยร่วมชมรมคนรักสัตว์อุบลตามหาเจ้าของสุนัขจากเหตุอุทกภัย

มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยร่วมกับชมรมคนรักสัตว์อุบล ตามหาเจ้าของของสุนัขที่พลัดหลงในช่วงเหตุอุทกภัยที่อุบลราชธานี โดยขณะนี้มูลนิธิได้ย้ายสุนัขจำนวน 60 ตัวไปไว้ที่บ้านของนางอรทัย สายเสนา (ผู้ใช้ชื่อเฟสบุ๊คว่า เดียว ดาย) ชาวอุบลราชธานี ซึ่งช่วยเหลือสุนัขจรในจังหวัดอยู่เป็นประจำ เพื่อพักพิงชั่วคราวและช่วยเหลือให้ได้พบเจ้าของ รวมถึงสุนัขในพื้นที่อีกจำนวนมากซึ่งอยู่กระจัดกระจายหลังจากน้ำลด โดยก่อนหน้านี้ มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยได้ร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ จังหวัดอุบลราชธานีลงพื้นที่ช่วยเหลือสัตว์ในเหตุอุทกภัย มุ่งเน้นไปที่สวัสดิภาพและความเป็นอยู่ของสัตว์ซึ่งได้รับผลกระทบโดยเฉพาะสุนัข และร่วมเป็นกระบอกเสียงเพื่อระดมความช่วยเหลือผ่านแฮชแท็ก #SaveUbon ด้วยโพสของแฟนเพจเฟสบุ๊คมูลนิธิ ซึ่งสามารถระดมทุนเพื่อจัดหาอาหารสุนัขและแมวจำนวน 10.8 ตันได้สำเร็จ และจัดหาศาลาไม้ไผ่จำนวน 5 หลังสำหรับสุนัขพักหลบแดดที่บริเวณลานวัดท่ากกแห่ อำเภอเมือง ขณะนี้ยังมีสุนัขต้องการความช่วยเหลืออีกเป็นจำนวนมาก หลังจากการช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว ได้จัดหน่วยทำหมันเคลื่อนที่เพื่อให้บริการทำหมันและฉีดวัคซีนแก่สุนัขในพื้นที่อ.เมืองต่อเนื่องตลอดเดือนตุลาคม ตั้งเป้าหมายทำหมันจำนวน 900 ตัว ซึ่งสุนัขเหล่านี้มีทั้งสุนัขจรและมีเจ้าของซึ่งพลัดหลงช่วงน้ำท่วม ขณะนี้ดำเนินการเพื่อให้สุนัขเหล่านี้ได้พบเจ้าของและกลับบ้าน ท่านใดพบสุนัขพลัดหลงหรือต้องการตามหาสุนัข สามารถตรวจสอบได้ที่แฟนเพจเฟสบุ๊ค มีสัตว์หายบอกด้วย อุบลราชธานี

ซอยด็อก ร่วมจัดกิจกรรมวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก พร้อมวัคซีนฟรี

ซอยด็อก ร่วมจัดกิจกรรมวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก พร้อมวัคซีนฟรี

วันที่ 28 กันยายน 2562 มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย ได้เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก (World Rabies Day 2019) ภายใต้คำขวัญ “โรคพิษสุนัขบ้า ติดเชื้อถึงตาย ป้องกันได้ด้วยวัคซีน” จัดโดยกลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ณ แจ้งวัฒนะฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็ลทรัลพลาซ่าแจ้งวัฒนะ โดยมีนายจอห์น ดัลลีย์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิและน.สพ. ตันติกร รุ่งพัฒนะ ผู้อำนวยการด้านสวัสดิภาพสัตว์ประจำศูนย์กรุงเทพฯ เข้าเฝ้าและทูลเกล้าฯ ถวายของที่ระลึกมูลนิธิแด่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ซึ่งเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธี กิจกรรมของมูลนิธิประกอบด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีนรวมให้แก่สัตว์เลี้ยงโดยทีมสัตวแพทย์ของมูลนิธิ และกิจกรรมตอบคำถามเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าในไทย การป้องกันและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการขจัดโรคพิษสุนัขบ้าของมูลนิธิผ่านกระบวนการ CNVR (จับ,ทำหมัน,ฉีดวัคซีน,ปล่อยคืนถิ่นที่อยู่เดิม) ซึ่งเป็นวิธิที่มีมนุษยธรรมและยังช่วยควบคุมปริมาณสุนัขและแมวจรได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

ซอยด็อก ร่วมจัดกิจกรรมวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก พร้อมวัคซีนฟรี

ซอยด็อก ร่วมจัดกิจกรรมวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก พร้อมวัคซีนฟรี

วันที่ 28 กันยายน 2562 มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย ได้เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก (World Rabies Day 2019) ภายใต้คำขวัญ “โรคพิษสุนัขบ้า ติดเชื้อถึงตาย ป้องกันได้ด้วยวัคซีน” จัดโดยกลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ณ แจ้งวัฒนะฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็ลทรัลพลาซ่าแจ้งวัฒนะ โดยมีนายจอห์น ดัลลีย์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิและน.สพ. ตันติกร รุ่งพัฒนะ ผู้อำนวยการด้านสวัสดิภาพสัตว์ประจำศูนย์กรุงเทพฯ เข้าเฝ้าและทูลเกล้าฯ ถวายของที่ระลึกมูลนิธิแด่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ซึ่งเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธี กิจกรรมของมูลนิธิประกอบด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีนรวมให้แก่สัตว์เลี้ยงโดยทีมสัตวแพทย์ของมูลนิธิ และกิจกรรมตอบคำถามเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าในไทย การป้องกันและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการขจัดโรคพิษสุนัขบ้าของมูลนิธิผ่านกระบวนการ CNVR (จับ,ทำหมัน,ฉีดวัคซีน,ปล่อยคืนถิ่นที่อยู่เดิม) ซึ่งเป็นวิธิที่มีมนุษยธรรมและยังช่วยควบคุมปริมาณสุนัขและแมวจรได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ร่วมมือนานาชาติชู “นวัตกรรมฟาสต์แทร็ก” ลดเวลาพัฒนาวัคซีนไข้มาลาเรียจาก 30 ปี เหลือ 10 ปี

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือนักวิจัยด้านไข้มาลาเรียจากนานาชาติดำเนินโครงการ “การศึกษาการติดเชื้อมาลาเรียในประเทศไทย” ด้วยนวัตกรรมฟาสต์แทร็ก ชี้ลดเวลาการพัฒนาและประเมินวัคซีนจาก 30 ปี เหลือ 10 ปี สร้างแพลทฟอร์มใหม่การพัฒนาวัคซีนของโลก รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประตาป สิงหศิวานนท์ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึง โครงการ “การศึกษาการติดเชื้อมาลาเรียในประเทศไทย” (Malaria Infection Study Thailand: MIST) ว่าเป็นความร่วมมือของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน โดยหน่วยวิจัยมหิดลไวแว็กซ์ (MVRU) และหน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดล-อ๊อกซ์ฟอร์ด (MORU) กับนักวิจัยนานาชาติ พัฒนากระบวนการในการประเมินวัคซีนด้วยการใช้ “นวัตกรรมแบบเร่งด่วน หรือ ฟาสต์แทร็ก” มาช่วยลดระยะเวลาจากเดิมที่ต้องใช้เวลาถึง 20 – 30 ปี ให้เหลือเพียง 10 – 15 ปี โครงการนี้จะเริ่มจากการพัฒนากระบวนการในการทดสอบวัคซีนไข้มาลาเรียสายพันธุ์ไวแว็กซ์ ซึ่งเป็นการตัดตอนที่ต้นเหตุของโรค หากประสบความสำเร็จกระบวนการนี้จะถูกนำไปใช้กับการพัฒนาวัคซีนของโรคชนิดอื่นๆ ซึ่งจะช่วยยกระดับการพัฒนาวัคซีนของโลกและประเทศไทยได้รวดเร็วขึ้น “สาเหตุที่เริ่มจากการทดสอบวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรีย เพราะปัจจุบันทั่วโลกกำลังวิตกกับสถานการณ์เชื้อดื้อยาของไข้มาลาเรียที่กลับมาแพร่ระบาด ขณะที่รัฐบาลไทยก็ให้ความสำคัญและตั้งเป้ากำจัดไข้มาลาเรียให้หมดจากประเทศภายในปี 2567 สอดคล้องกับที่องค์การอนามัยโลกตั้งเป้าจะให้ไข้มาลาเรียหมดไปจากโลกภายในปี 2573 […]

เอ็ทน่าห่วงใยคนไทย

เอ็ทน่าห่วงใยคนไทย

บริษัท เอ็ทน่า ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการด้านประกันสุขภาพระดับโลก จัดโครงการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ฟรี 4 สายพันธุ์ จำนวน 88,000 เข็ม ให้กับสมาชิกประกันสุขภาพเอ็ทน่า เข้ารับบริการในโรงพยาบาล 59 แห่งทั่วประเทศ