คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เลือกเทคโนโลยีเอ็นเตอร์ไพรซ์คลาวด์ของนูทานิคซ์

นวัตกรรุ่นใหม่วิศวะมหิดล สร้างหุ่นยนต์หยอดเมล็ดข้าวโพดอัตโนมัติ

ข้าวโพดเป็นอีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย มี 4 ชนิด คือ ข้าวโพดไร่หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน และข้าวโพดข้าวเหนียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพดหวานและผลิตภัณฑ์ที่การส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไทยครองแชมป์ส่งออกอันดับ 1 ของโลกมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรที่ทำไร่ข้าวโพดมีจำนวนมากในทุกภาค เป็นแรงบันดาลใจให้ทีมวิจัยนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คิดค้น “หุ่นยนต์หยอดเมล็ดข้าวโพดอัตโนมัติ” เพื่อช่วยชุมชนเกษตรกรได้ผ่อนแรงพร้อมไปกับเพิ่มคุณภาพผลผลิตด้วยนวัตกรรม ดร.สุพรรณ ทิพย์ทิพากร หัวหน้าภาควิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทีมนักวิจัยคนรุ่นใหม่ได้ตอบโจทย์สมาร์ทฟาร์มยุคนิวนอร์มอล โดยได้ออกแบบ “หุ่นยนต์หยอดเมล็ดข้าวโพดอัตโนมัติ” เพื่อช่วยลดภาระของเกษตรกรและทำหน้าที่หยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดได้แม่นยำมากขึ้น ทีมประกอบด้วย นายธัชนนท์ ภูผิวเดือน, นายธีรภัทร ศรีสุข และ นายเจตณัฐ ปัญญาหอมโดยมี ผศ.เดชา วิไลรัตน์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และเป็นที่น่ายินดีที่นวัตกรรมนี้ได้รับรางวัลจากการประกวดนักเทคโนโลยีและนวัตกรรุ่นเยาว์ด้านอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทนักศึกษา ประจำปี 2563 อีกด้วย ธัชนนท์ ภูผิวเดือน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 […]

ครั้งแรกของไทย…หุ่นยนต์ “เอไอ-อิมมูไนเซอร์ ” ทดสอบภูมิคุ้มกันอัจฉริยะ หนุนการพัฒนาวัคซีนให้เร็วขึ้นและปลอดภัย

ครั้งแรกของไทย…หุ่นยนต์ “เอไอ-อิมมูไนเซอร์ ” ทดสอบภูมิคุ้มกันอัจฉริยะ หนุนการพัฒนาวัคซีนให้เร็วขึ้นและปลอดภัย

ครั้งแรกของไทย…หุ่นยนต์ “เอไอ-อิมมูไนเซอร์ ” ทดสอบภูมิคุ้มกันอัจฉริยะ หนุนการพัฒนาวัคซีนให้เร็วขึ้นและปลอดภัย ในสถานะการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ทั่วโลกและประเทศไทยยังคงฝากความหวังไว้กับการเร่งพัฒนาวัคซีนนั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล คิดค้นนวัตกรรม “หุ่นยนต์เอไอ- อิมมูไนเซอร์ (AI-Immunizer)” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ทดสอบภูมิคุ้มกันอัจฉริยะในการพัฒนาวัคซีน ครั้งแรกของไทย เพื่อเร่งสนับสนุนและยกระดับการพัฒนาวัคซีนของไทยสู่ระดับโลก โดยผสานเทคโนโลยี เอไอ ทั้งระบบจนจบครบวงจร ช่วยผลักดันการพัฒนาวัคซีนของศูนย์วิจัยวัคซีนที่มีกว่า 50 แห่งในประเทศไทย สู่เป้าหมายความสำเร็จได้เร็วขึ้นและปลอดภัย ผศ.ดร.จำรัส พร้อมมาศ ที่ปรึกษาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า วัคซีนในยุคนิวนอร์มอลต้องใช้เวลาให้สั้น ยิ่งคิดค้นได้เร็ว ก็จะยิ่งปลอดภัยในชีวิตและลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ หากย้อนไปในประวัติศาสตร์การพัฒนาวัคซีนกว่า 224 ปี หลังจากการค้นพบวัคซีนแรกที่ป้องกันโรคฝีดาษ ใน ปีค.ศ.1796, กรอบเวลาที่เร็วที่สุดที่เคยมีมาอยู่ที่ 4 ปี ซึ่งเป็นวัคซีนรักษาโรคคางทูมที่ทำสำเร็จในปี ค.ศ. 1967 แต่ส่วนใหญ่แล้วการวิจัยพัฒนาวัคซีนใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 10 -15 ปี, สำหรับไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 นั้นผู้เชี่ยวชาญในนานาประเทศคาดการณ์กันว่า มนุษย์เราจะสามารถพัฒนาวัคซีน COVID-19 […]

ครีเอตุส ผนึกพลังความร่วมมือวิศวะมหิดล พัฒนาสตาร์ทอัพ อะคาเดมี

ครีเอตุส ผนึกพลังความร่วมมือวิศวะมหิดล พัฒนาสตาร์ทอัพ อะคาเดมี

อนาคตประเทศไทยขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและสตาร์ทอัพเปลี่ยนโลก บริษัท ครีเอตุส คอร์โปเรชั่น จำกัด โดย นายไตรนุภาพ จิระไตรธาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้นำธุรกิจโซลูชั่นและนวัตกรรม ลงนาม MOU บันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนมุ่งสร้างวิศวกรเปลี่ยนโลกและโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี ตอบรับโลกอนาคต ณ อินโนจีเนียร์ สตูดิโอ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เศรษฐกิจใหม่มีความต้องการบุคคลากรที่ก้าวหน้าด้วยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มีไอเดียสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ สามารถต่อยอดร้างนวัตกรรมได้ ซึ่งทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการพัฒนาการศึกษา Active Learning อย่างต่อเนื่อง ทั้งภาคทฤษฎีและทักษะห้องปฏิบัติการ รวมทั้ง Maker Space ต่างๆ เพื่อเจนเนอเรชั่นใหม่ทุกคน ความร่วมมือครั้งนี้ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับบริษัท ครีเอตุส คอร์โปเรชั่น จำกัด ในฐานะองค์กรภาคธุรกิจชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้านโซลูชั่นครบวงจร (End-to-End […]

รามาฯ จับมือวิศวะ มหิดล ผนึกพลังผลิตแพทย์นวัตกร ครั้งแรกในประเทศไทย

รามาฯ จับมือวิศวะ มหิดล ผนึกพลังผลิตแพทย์นวัตกร ครั้งแรกในประเทศไทย

ครั้งแรกในประเทศไทย มุ่งสร้าง”แพทย์นวัตกร” ตอบโจทย์ยุคดิสรัพชั่น โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวหลักสูตรร่วมแพทย์–วิศวะ (พ.บ. – วศ. ม.) และลงนามบันทึกความร่วมมือในโครงการร่วม“หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต – วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์” เรียน 3-1-3 ปี สองปริญญา ศักยภาพใหม่ของคนไทยและประเทศไทยในการก้าวเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต โดยตอบรับเป้าหมายเมดิคัลฮับ และนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์.ใน EEC ศ. นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงความสำคัญและความร่วมมือในการจัดตั้งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต – วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ว่า เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการนำดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในทางการแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แพทย์จึงจำเป็นต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นอกจากความรู้ด้านการแพทย์ที่ดีแล้ว ทักษะและความเข้าใจทางด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแพทย์ยุคใหม่ อีกทั้ง คนรุ่นใหม่มีความสามารถและความสนใจทั้งในด้านการแพทย์และวิศวกรรม ดังนั้น หลักสูตรร่วมแพทย์–วิศวะ (พ.บ. – วศ. ม.) จะช่วยดึงศักยภาพและเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ในการสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ จากความรู้ทางด้านแพทย์และวิศวกรรม จุดเด่นของหลักสูตรร่วมแพทย์–วิศวะ (พ.บ. – […]

วิศวะมหิดล – NIA เฟ้นสตาร์ทอัพ จัด Global HealthTech Hackathon 2019

วิศวะมหิดล – NIA เฟ้นสตาร์ทอัพ จัด Global HealthTech Hackathon 2019

ความก้าวหน้าของเฮลท์เทค (HealthTech) เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันและสุขภาพยุคดิสรัพชั่น ทั้งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลมุ่งสนับสนุนรับเทรนด์เติบโตของตลาดโลก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรม รองรับสังคมสูงวัยและเศรษฐกิจดิจิทัล โดยในปี 2020 คาดว่ามูลค่าเฮลท์เทค ในตลาดโลกจะสูงถึง 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนในประเทศไทยตลาดส่งออกและนำเข้า มีมูลค่าปีละกว่า 1.6 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น แต่ประเทศไทยยังขาดบุคคลากรสตาร์ทอัพด้านนี้อีกมาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และ Royal Academy of Engineering แห่งประเทศอังกฤษ จัดแข่งสุดยอดไอเดียเฮลท์เทค Global HealthTech Hackathon Challenges 2019 ณ ศูนย์บ่มเพาะและพัฒนานวัตกรรม (Innogineer Studio)โดยมีผู้สมัครกว่า 200 คน คุณมณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า NIA มุ่งผลักดันประเทศไทยให้เป็น ชาติแห่งสตาร์ทอัพ หรือ Startup Nation โดยมีกรุงเทพมหานครเป็น […]

METRO EXCHANGE 2019 วิศวะมหิดลเปิดประสบการณ์เรียนรู้…ระบบรางในนิวคาสเซิลและลอนดอน

METRO EXCHANGE 2019 วิศวะมหิดลเปิดประสบการณ์เรียนรู้…ระบบรางในนิวคาสเซิลและลอนดอน

ภายใต้โครงการ Metro Exchange 2019 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เทคโนโลยีระบบรางระหว่างประเทศไทย-อังกฤษคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.ดร. ภูมินท์ กิระวานิช และ ผศ.ดร.วเรศรา วีระวัฒน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรนานาชาติ สาขาวิชาระบบขนส่งทางราง (Rail Transportation) กลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง (CLARE) นำนักศึกษาปริญญาโท 15 คน เดินทางสัมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบราง ณ ประเทศอังกฤษ ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ระบบรางและรถไฟฟ้าได้กลายเป็นทางเลือกของการพัฒนาเมืองของไทยและทั่วโลกที่ตอบโจทย์การประหยัดพลังงานและเวลา พัฒนาคุณภาพชีวิตและเชื่อมโยงโครงข่ายทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยมีโครงการลงทุนสร้างมากมายทั้งรถไฟฟ้าในเมือง รถไฟระหว่างเมือง และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งต้องการกำลังคนและผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก โครงการความร่วมมือ Metro Exchange 2019 ระหว่างไทยและอังกฤษมาจากการผนึกกำลังสนับสนุนของ Newton Fund (UK) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ประเทศไทย) ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University) , มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล […]

เปิดสมัคร ทีมแข่งไอเดียสู่สตาร์ทอัพ Global HealthTech Hackathon Challenges 2019

เปิดสมัคร ทีมแข่งไอเดียสู่สตาร์ทอัพ Global HealthTech Hackathon Challenges 2019

ไม่ว่าคุณจะมีไอเดียและทีมอยู่แล้ว หรือกำลังเรียนรู้โลกธุรกิจ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Royal Academy of Engineering แห่งประเทศอังกฤษ ภายใต้โครงการ Global Grand Challenges Summit 2019 เมืองลอนดอน จัดการแข่งขัน “Global HealthTech Hackathon Challenges 2019 ” เชิญร่วมประชันความคิดสร้างสรรค์เฮลท์เทคด้านสุขภาพของคุณให้สามารถเปลี่ยนโลกทั้งใบ ภายในงานเฮลท์เทคแฮคกาธอนครั้งนี้ จะได้พบกับทีมวิชาการและโค้ชระดับแนวหน้าของประเทศ ในสาย Deep-Tech ที่มาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ ระหว่าง วันที่ 20-22 กันยายน 2562 ณ ห้องอินโนจีเนียร์ สตูดิโอ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ถนนพุทธมณฑล สาย 4 เปิดรับสมัครภายในวันที่ 19 ก.ย. 62 โดยผู้สนใจต้องลงทะเบียนล่วงหน้า ได้ที่ https://do.eg.mahidol.ac.th/regisForm/register/ และสอบถามข้อมูลได้ที่ […]

วิศวะมหิดลคิดค้น แผ่นปูทางเท้า – ผนังไฟเบอร์บอร์ด…จากขยะโฟม

วิศวะมหิดลคิดค้น แผ่นปูทางเท้า – ผนังไฟเบอร์บอร์ด…จากขยะโฟม

ขยะล้นเมืองเป็นปัญหาทั่วโลก โดยเฉพาะปริมาณขยะจากภาชนะโฟม ที่เรียกว่า โฟมพอลิสไตรีน (Polystyrene Foam) ซึ่งมีสารก่อมะเร็งและสารอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งใช้เวลาย่อยสลายยาวนานถึง 450 ปี จากสถิติของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าในปี 2558 มีปริมาณขยะโฟมพอลิสไตรีนถึง 3,678 ตันต่อวัน และในปี 2559 มีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่า 3,704 ตันต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขณะนี้ขยะเป็นปัญหาใหญ่ในสิ่งแวดล้อมทั้งบนบก ทะเลและอากาศ นักวิจัยและวิศวกรทั่วโลกต่างหาทางที่จะลดขยะที่ก่ออันตรายต่อสิ่งแวดล้อม วัสดุศาสตร์ หรือ Material Science ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาหลายเทคโนโลยี โดยใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุและกระบวนการจากพหุศาสตร์หลายสาขา ตั้งแต่เตรียมวัตถุดิบ กระบวนการขึ้นรูป จนถึงการออกแบบคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุที่ผลิตออกมา โลกของวัสดุศาสตร์ในประเทศไทยวันนี้ก้าวไกลด้วยพลังชองทีมนักวิจัยรุ่นใหม่จากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยอาจารย์และทีมนักศึกษา ได้คิดค้นจากแนวความคิดในการนำขยะโฟมพอลิสไตรีนมารีไซเคิล ด้วยวิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาสร้างนวัตกรรม แผ่นปูทางเท้าเพื่อผู้พิการทางสายตาและไฟเบอร์บอร์ดจากขยะโฟมรีไซเคิล ซึ่งคว้ารางวัลสุดยอดนวัตกรรม Mahidol Engineering Awards 2019 มาแล้ว นายกายสิทธิ์ […]

ม.มหิดล -สวทช. EECi ผนึกกำลังขับเคลื่อนเฮลท์เทค – แผนแม่บทอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์

ม.มหิดล -สวทช. EECi ผนึกกำลังขับเคลื่อนเฮลท์เทค – แผนแม่บทอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์

ม.มหิดล -สวทช. EECi ผนึกกำลัง ขับเคลื่อนเฮลท์เทคและแผนแม่บทอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ หนุนพัฒนาเฮลท์เทคไทยก้าวสู่เมดิคัลฮับ (Medical Hub) มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนาม MOA ความร่วมมือกับสนง.พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)โดย เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ผนึกกำลังขับเคลื่อนแผนแม่บท EECi ด้านอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทย มหิดลเผยแนวคิดพัฒนาโครงการ ศาลายา สตาร์ทอัพ ทาวน์ ให้เป็นเมืองแห่งสตาร์ทอัพเฮลท์เทคและเฮลท์แคร์ เชื่อมโยง EECi ทั้งรองรับระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา และการขยายตัวของศาลายา ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการ สนง.พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ ผู้อำนวยการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า EECi มุ่งสร้างนวัตกรรมและเป็นพื้นที่ต้นแบบในการนำนวัตกรรมเข้าไปผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (New S-Curve) สู่เป้าหมายไทยแลนด์ 4.0 สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต รองรับสังคมสูงวัยที่กำลังมาถึง และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ประเทศ เนื่องจากเป็นตลาดที่มีศักยภาพกว้างไกล มูลค่าHealth Tech ในตลาดโลก ปี 2020 คาดว่าจะสูงถึง 2 […]

วิศวะมหิดล ลงนาม MOU กับร.ร.สตรีวิทยา พัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยสู่ศตวรรษที่ 21

วิศวะมหิดล ลงนาม MOU กับร.ร.สตรีวิทยา พัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยสู่ศตวรรษที่ 21

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี และ รศ.ดร.ดวงพรรณ ศฤงคารินทร์ รักษาการหัวหน้าศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ โรงเรียนสตรีวิทยา โดย ดร.วรรณดี นาคสุขปาน ผู้อำนวยการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผนึกความร่วมมือกันทางวิชาการและร่วมพัฒนางานวิจัย สร้างเสริมศักยภาพการเรียนรู้และการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 ณ หอประชุมสตรีวิทยา ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การศึกษายุคใหม่เป็นการเตรียมความพร้อมของเยาวชนไทย สู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งการเชื่อมต่อระหว่างโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเป็นกลไกสำคัญที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยความร่วมมือตาม MOU นี้ จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมมือระหว่างกัน และส่งเสริมการผลิตบัณฑิตในอนาคตที่ตอบสนองต่อกลยุทธ์การพัฒนาประเทศไทย 4.0 และสร้างสรรค์คนรุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับความต้องการของประเทศและโลกที่เปลี่ยนแปลง ผนึกความร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสตรีวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ โดยเป็นโรงเรียนประเภทสตรีล้วนที่มีชื่อเสียงและประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 119 ปี เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้น ม.1 ถึง ม.6 ภายในงานได้จัดกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นใหม่ ในหัวข้อ […]