สตาร์ทอัพ

Yedpay ใช้ฟอร์ติเน็ตสร้างศักยภาพธุรกิจฟินเทคสตาร์ทอัพก้าวสู่คลาวด์

Yedpay ใช้ฟอร์ติเน็ตสร้างศักยภาพธุรกิจฟินเทคสตาร์ทอัพก้าวสู่คลาวด์

ฟอร์ติเน็ตผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบครบวงจรแบบอัตโนมัติและครบวงจรประกาศในวันนี้ว่า YedPay (เหย็ดเปย์) ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำในฮ่องกงดำเนินธุรกิจให้บริการโซลูชั่นด้านการชำระเงินแก่สถานการค้าต่างๆ ได้เลือกใช้โซลูชั่นซีเคียวริตี้แฟบริคของฟอร์ติเน็ต (Fortinet Security Fabric) ในการปกป้องโครงข่ายทั้งหมดของตนตั้งแต่ต้นทางจนปลายทางขณะที่ย้ายไปสู่คลาวด์ ทั้งนี้ โซลูชั่นความปลอดภัยบนคลาวด์ที่มีความคล่องตัวสูงนี้ช่วยให้ YedPay สามารถปกป้องการปฏิบัติงานในปัจจุบันให้พ้นภัยคุกคาม รู้ทันภัย และช่วยพัฒนาธุรกิจของตนได้อย่างมั่นใจ YedPay เป็นธุรกิจฟินเทคสตาร์ทอัพด้านการเงิน ตั้งกิจการขึ้นที่ฮ่องกงในปีพ.ศ. 2557 ให้บริการแพลตฟอร์มธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ปลอดภัยสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กนับพันแห่ง แพลทฟอร์มดังกล่าวเป็นสื่อกลางเชื่อมโยงระหว่างสถานการค้า (Merchants) อันรวมถึงคนขับรถแท็กซี่และร้านค้าเอสเอ็มอีอื่นๆ เข้ากับองค์กรผู้รับการชำระเงิน (Payment issuers) และเครื่องมือด้านการวิเคราะห์และการตลาดต่างๆ เช่นเดียวกับองค์กรชั้นนำอื่นๆ ในธุรกิจให้บริการทางการเงินในปัจจุบัน ที่ YedPay เน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเสมือนจริงและการประมวลผลบนคลาวด์ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นและบริการของตนเองให้มีความรวดเร็วและยืดหยุ่นสูงมากยิ่งขี้น YedPay พัฒนานวัตกรรมด้านบริการที่ต้องการความรวดเร็วและคล่องตัวสูง ซึ่งโซลูชั่นซีเคียวริตี้แฟบริคของฟอร์ติเน็ตเท่านั้นที่มีศักยภาพสูง สามารถรองรับนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นายจอห์น แมดิสัน รองประธานอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด แห่งฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า“ในการย้ายไปใช้งานบนคลาวด์นั้น หากองค์กรมิได้รวมกระบวนการรักษาความปลอดภัยให้เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการก้าวสู่คลาวด์ตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว จะยิ่งเพิ่มความซับซ้อนและความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ในกรณีเยดเปย์ที่เลือกใช้ฟอร์ติเน็ตตั้งแต่ตอนต้นแล้วนี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่า โซลูชันทั้งหมดของฟอร์ติเน็ตทำงานบูรณาการรวมเข้ากับโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่ของ YedPay ได้อย่างไร้รอยต่อ จัดการอย่างง่ายดายและทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน จึงให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายของผู้ค้าอีนซับซ้อนมีฮาร์ดแวร์ต่างๆ ที่แตกต่างกัน รวมถึงสภาพแวดล้อมแบบเสมือนและสภาพแวดล้อมบนคลาวด์ได้อย่างราบรื่น” ทั้งนี้ ฟอร์ติเน็ตมีความเชี่ยวชาญในการทำงานกับองค์กรฟินเทคที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจและบริษัทให้บริการทางการเงินอื่นๆ […]

ค้นหาสุดยอดสตาร์ทอัพแห่งอาเซียนเข้าร่วมงาน Pitch@Palace Global ประเทศอังกฤษ

ค้นหาสุดยอดสตาร์ทอัพแห่งอาเซียนเข้าร่วมงาน Pitch@Palace Global ประเทศอังกฤษ

กรุงเทพฯ – สตาร์ทอัพ 17 บริษัทจากกลุ่มประเทศอาเซียนร่วมชิงตำแหน่งสุดยอดสตาร์ทอัพแห่งภูมิภาคอาเซียนประจำปีในงาน “Pitch@Palace ASEAN” เพื่อเป็นตัวแทนของภูมิภาคเข้าแข่งขันในรอบ ชิงชนะเลิศระดับโลกในงาน “Pitch@Palace Global” เดือนธันวาคมนี้ ณ พระราชวังเซนต์เจมส์ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร งาน “Pitch@Palace ASEAN” จัดขึ้นโดยองค์กรเครือข่ายผู้ประกอบการระดับโลกในประเทศไทย (Global Entre-preneurship Network) ร่วมกับ Pitch@Palace Global เป็นครั้งแรกในประเทศไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพการจัดงานในปีนี้ที่มีขึ้นในระหว่างวันที่ 3 – 4 พฤศจิกายน 2562 โดยในวันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายนจะมีการฝึกอบรมอย่างเข้มข้น (Boot Camp) ณ C ASEAN และในส่วนของการนำเสนอแผนธุรกิจรอบสุดท้ายเพื่อค้นหาตัวแทนสุดยอดธุรกิจสตาร์ทอัพจากกลุ่มประเทศอาเซียนจะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน ณ โรงภาพยนตร์ IMAX ศูนย์การค้าไอคอนสยาม ทั้งนี้ รอบชิงชนะเลิศในระดับภูมิภาคอาเซียนมีสตาร์ทอัพ 17 บริษัทจากกลุ่มอุตสาหกรรมหลากหลายที่ได้รับการคัดเลือกจากธุรกิจสตาร์ทอัพกว่า 100 บริษัทของ 10 ประเทศ […]

วิศวะมหิดล – NIA เฟ้นสตาร์ทอัพ จัด Global HealthTech Hackathon 2019

วิศวะมหิดล – NIA เฟ้นสตาร์ทอัพ จัด Global HealthTech Hackathon 2019

ความก้าวหน้าของเฮลท์เทค (HealthTech) เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันและสุขภาพยุคดิสรัพชั่น ทั้งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลมุ่งสนับสนุนรับเทรนด์เติบโตของตลาดโลก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรม รองรับสังคมสูงวัยและเศรษฐกิจดิจิทัล โดยในปี 2020 คาดว่ามูลค่าเฮลท์เทค ในตลาดโลกจะสูงถึง 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนในประเทศไทยตลาดส่งออกและนำเข้า มีมูลค่าปีละกว่า 1.6 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น แต่ประเทศไทยยังขาดบุคคลากรสตาร์ทอัพด้านนี้อีกมาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และ Royal Academy of Engineering แห่งประเทศอังกฤษ จัดแข่งสุดยอดไอเดียเฮลท์เทค Global HealthTech Hackathon Challenges 2019 ณ ศูนย์บ่มเพาะและพัฒนานวัตกรรม (Innogineer Studio)โดยมีผู้สมัครกว่า 200 คน คุณมณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า NIA มุ่งผลักดันประเทศไทยให้เป็น ชาติแห่งสตาร์ทอัพ หรือ Startup Nation โดยมีกรุงเทพมหานครเป็น […]

ททท. จับมือ ๒๔ สตาร์ทอัพไทยแนวรบหน้าใหม่รุกตลาดนอร์ดิก

ททท. จับมือ ๒๔ สตาร์ทอัพไทยแนวรบหน้าใหม่รุกตลาดนอร์ดิก

ททท. จับมือ ๒๔ สตาร์ทอัพไทยแนวรบหน้าใหม่รุกตลาดนอร์ดิก ททท. สำนักงานสตอกโฮล์ม นำร่องนำ ๒๔ สตาร์ทอัพไทย เป็นแนวหน้ารุกตลาดนอร์ดิกแบบคุณภาพด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม ภายใต้โครงการ Bringing the New Shades of Thailand to Nordics Travelers มั่นใจช่วยเปิดมุมมองใหม่ในการเดินทางท่องเที่ยว เดินหน้าเฟสแรกตุลาคม ๒๕๖๒ มั่นใจกระตุ้นค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวกลุ่ม Revisit นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ททท. ได้จัดทำโครงการ Bringing the New Shades of Thailand to Nordic Travelers โดยคัดเลือกผู้ประกอบการ กลุ่มสตาร์ทอัพ จำนวน ๒๔ ราย เป็นทีมนำร่องในการทำตลาดในกลุ่มประเทศนอร์ดิก ซึ่งประกอบด้วยประเทศสวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก และฟินแลนด์ โดยกล่าวว่า ในระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม ที่ผ่านมา […]

ไทยยูเนี่ยนจับมือภาครัฐ รับสมัครสตาร์ทอัพเข้าโครงการ SPACE-F ปั้นนวัตกรรมอาหารระดับโลก

ไทยยูเนี่ยนจับมือภาครัฐ รับสมัครสตาร์ทอัพเข้าโครงการ SPACE-F ปั้นนวัตกรรมอาหารระดับโลก

โค้งสุดท้ายกับการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการปั้นสตาร์ทอัพฟู้ดเทคครั้งสำคัญของประเทศไทย 22 กรกฎาคม 2562, กรุงเทพมหานคร – บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยมหิดล หลังจากประกาศความร่วมมือในการสนับสนุนปั้นสตาร์ทอัพนวัตกรรมอาหารร่วมกันแล้ว ได้เปิดรับสมัครสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมอาหารที่สนใจเข้าร่วมโครงการ SPACE-F แล้ววันนี้ โดยผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดใบสมัครและดูรายละเอียดได้ที่ www.space-f.co หรือ https://www.facebook.com/spaceffoodtech/ ปิดรับสมัครวันที่ 31 กรกฎาคม 2562

วิศวะมหิดล เปิด Innogineer Studio ศูนย์เมคเกอร์อัจฉริยะทันสมัยที่สุดในไทย

วิศวะมหิดล เปิด Innogineer Studio ศูนย์เมคเกอร์อัจฉริยะทันสมัยที่สุดในไทย

ในวาระครบรอบ 131 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล และตอบรับโลกยุคดิสรัปทีฟ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี ดีเดย์เปิด “อินโนจีเนียร์ สตูดิโอ ( Innogineer Studio)” ศูนย์เมคเกอร์สเปซอัจฉริยะที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย โดยได้รับเกียรติจาก ศ.คลินิค นายแพทย์อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิด รองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยศักยภาพของเมคเกอร์และสตาร์ทอัพในการสร้างนวัตกรรมและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งเปิดเวที เสวนาเรื่อง “Maker Power 2019 … พลังไทยบนเวทีโลก” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ดร.สักกเวท ยอแสง หน.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น สนง.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA), คุณอภิโชค ประเสริฐรุ่งเรือง สตาร์ทอัพผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Airportel จำกัด และ รศ.ดร. พลังพล คงเสรี คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ศ.คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร (Udom Kachintorn) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ […]

พิธีมอบรางวัลเกียรติคุณพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ การแข่งขันประกวดแผนธุรกิจสตาร์ทอัพระดับโลก SCG Bangkok Business Challenge @Sasin 2019

พิธีมอบรางวัลเกียรติคุณพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ การแข่งขันประกวดแผนธุรกิจสตาร์ทอัพระดับโลก SCG Bangkok Business Challenge @Sasin 2019

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ มอบรางวัลเกียรติคุณแก่ทีมชนะเลิศการแข่งขันการประกวดแผนธุรกิจระดับโลก SCG Bangkok Business Challenge @ Sasin 2019 ให้แก่ทีม BetterLife Monitor จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University) ประเทศสิงคโปร์ ทั้งนี้ได้รับเงินรางวัล 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับแผนธุรกิจที่นำเสนอเกี่ยวกับอุปกรณ์เพื่อตรวจเช็คระดับน้ำตาลกลูโคสโดยไม่ต้องใช้วิธีการแบบเดิม คือการเจาะทางปลายนิ้ว ช่วยลดความเจ็บปวดในขั้นตอนกาตรวจเช็คด้วยตนเอง อุปกรณ์นี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้น และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นอกจากนี้ ทีม Amplify Infra จาก Indian School of Business ประเทศอินเดีย ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกทั้งได้รับรางวัลเงินสดมูลค่า 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณกว่า 2 ล้านบาท โดยสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]

“สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น” คว้ารางวัลธุรกิจสตาร์ทอัพยอดเยี่ยม ในงาน THAILAND TOP SME AWARDS 2018

“สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น” คว้ารางวัลธุรกิจสตาร์ทอัพยอดเยี่ยม ในงาน THAILAND TOP SME AWARDS 2018

“สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น” คว้ารางวัลธุรกิจสตาร์ทอัพยอดเยี่ยม ในงาน THAILAND TOP SME AWARDS 2018 นายนำชัย สกุลฎ์โชคนำชัย ประธานกลุ่มบริษัทโชคนำชัย และกรรมการบริหาร บริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด ผู้ผลิตเรืออลูมิเนียมสัญชาติไทยรับ “รางวัลธุรกิจสตาร์ทอัพยอดเยี่ยม” ในงาน THAILAND TOP SME AWARDS 2018 เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ที่ประสบความสำเร็จ สร้างความได้เปรียบในยุคธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันจากกระแสของดิจิทัล โดยมี นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขยาดย่อมแห่งประเทศไทย, นางสาวภิญญาพัชญ์ สกุลฎ์โชคนำชัย, นายวีรพลน์ เตชะผาสุขสันติ ร่วมแสดงความยินดี ณ โรงแรมดุสิตธานี เมื่อวันก่อน

“สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น” คว้ารางวัลธุรกิจสตาร์ทอัพยอดเยี่ยม THAILAND TOP SME AWARDS 2018

“สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น” คว้ารางวัลธุรกิจสตาร์ทอัพยอดเยี่ยม THAILAND TOP SME AWARDS 2018

“สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น” คว้ารางวัลธุรกิจสตาร์ทอัพยอดเยี่ยม THAILAND TOP SME AWARDS 2018 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี มอบรางวัลธุรกิจสตาร์ทอัพยอดเยี่ยม ให้แก่ นายนำชัย สกุลฎ์โชคนำชัย ประธานกลุ่มบริษัท โชคนำชัย และกรรมการบริหาร บริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด ผู้ผลิตเรืออลูมิเนียมสัญชาติไทย ในงาน THAILAND TOP SME AWARDS 2018 เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ที่ประสบความสำเร็จ สร้างความได้เปรียบในยุคธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันจากกระแสของดิจิทัล ณ โรงแรมดุสิตธานี เมื่อเร็วๆ นี้

ทีมวิศวลาดกระบัง ประชัน Deeptech ในโครงการระดับชาติ UREKA

ทีมวิศวลาดกระบัง ประชัน Deeptech ในโครงการระดับชาติ UREKA

ดิจิทัล เวนเจอร์ส ผู้ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมทางการเงินในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ จัดงาน Deeptech Bootcamp หนึ่งในกิจกรรมโครงการ U.REKA เพื่อเฟ้นหาผู้ที่มีไอเดียในการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมที่แปลกใหม่ ทันสมัย และสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพได้ ในโอกาสนี้ รศ.ดร. นวภัทรา หนูนาค หัวหน้าศูนย์พัฒนานวัตกรรมและบริการทางวิศวกรรม (EIDTs) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) พร้อมด้วย รศ.ดร.ทวีพล ซื่อสัตย์ ที่ปรึกษาศูนย์ ได้เข้าร่วมงาน และให้กำลังใจทีม IOT Machine ซึ่งมี รศ.ดร.สุพรรณ กุลพาณิชย์ และ ทีม Easy Rice ซึ่งมี ผศ.ดร.ศรวัฒน์ ชิวปรีชา ตัวแทนคณะวิศวลาดกระบังโชว์ศักยภาพในการพัฒนาและวิจัยนวัตกรรมตอบสนองธุรกิจสตาร์อัพจนได้เป็นหนึ่งใน 32 ทีมที่ผ่านเข้ารอบแรก และเตรียมแข่งขันในรอบสุดท้ายที่เหลือเพียง 11 ทีม ในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ โครงการ U.REKA (ยูเรก้า) เป็นโครงการระดับชาติจากความร่วมมือของคณะวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 7 แห่งของไทย และดิจิทัล […]

1 2 3