สมาคมอารักขาพืชไทย

ความท้าทายใหม่เกษตรกรเอเชีย

ความท้าทายใหม่เกษตรกรเอเชีย

น.ส.วัชรีภรณ์ พันธุ์ภูมิพฤกษ์ นายกสมาคมอารักขาพืชไทย (ที่ 7 จากซ้าย) ให้การต้อนรับ ศจ.ดร.เดวิด ซารุค ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารความเสี่ยงนโยบายสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และที่ปรึกษาด้านจริยธรรมคณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรป(ที่ 3 จากซ้าย) ในโอกาสมาบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “ความท้าทายใหม่ของเกษตรกรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค” ร่วมด้วย ดร.นาโอกิ โมโตะยามา ศ.เกียรติคุณ แห่งมหาวิทยาลับชิบะ อดีตกรรมการสมาพันธ์การขึ้นทะเบียนสารกำจัดศัตรูพืชประเทศญี่ปุ่น (ที่ 4 จากซ้าย) ณ ห้องรีทรีท โรงแรมพูลแมนจี สีลม เมื่อเร็วๆ นี้ +++++++++++++++++++++++++++++ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : (นก) วัชรินทร์ :081-573-0636

ก.เกษตรฯผนึก 7 สมาคมการค้าปัจจัยผลิต ประสานพลังประชารัฐช่วยเกษตรกร

ก.เกษตรฯผนึก 7 สมาคมการค้าปัจจัยผลิต ประสานพลังประชารัฐช่วยเกษตรกร

เกษตรฯประสานพลังประชารัฐยกระดับปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รับฤดูเพาะปลูก 59/60 ผนึก 7 สมาคมการค้าปัจจัยการผลิต และธ.ก.ส. เปิด 5 ช่องทางหลัก ช่วยเกษตรกรใช้ปุ๋ย สารเคมีการเกษตร เมล็ดพันธุ์พืชคุณภาพ ในราคาเป็นธรรม พร้อมลดต้นทุน- เพิ่มผลผลิต หวังสร้างร้านต้นแบบมาตรฐาน Q-Shop ขยายผลทั่วประเทศ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า นับแต่ปี 2557 ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก จึงทำให้เกษตรกรไม่สามารถทำการเกษตรได้ เกษตรกรขาดรายได้ขาดเงินทุนในฤดูการผลิตใหม่ รัฐบาลจึงมุ่งช่วยเหลือเกษตรกรผ่านความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับสมาคมที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิตทางการเกษตร โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร,กรมการข้าว และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมกับ 7 สมาคมการค้าปัจจัยการผลิต และธ.ก.ส. เร่งบูรณาการขับเคลื่อน “โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร” เพื่อวางแผนการรองรับฤดูการผลิตปี 2559/2560 ให้เกษตรกรได้ใช้ปัจจัยการผลิตค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานในราคาที่เป็นธรรม พร้อมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตปัจจัยการผลิตคุณภาพโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันเกษตรกร และมุ่งสร้างต้นแบบความร่วมมือด้านปัจจัยการผลิตภายใต้แนวทางประชารัฐ เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร “การขับเคลื่อนโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร มีแนวทางดำเนินการ 5 กิจกรรมหลัก คือ 1.การสร้างเครือข่ายผู้ผลิตปัจจัยการผลิตคุณภาพ 2. พัฒนาต้นแบบความร่วมมือด้านปัจจัยการผลิตตามแนวทางประชารัฐในพื้นที่แปลงใหญ่ 3.จัดตลาดนัดปัจจัยการผลิตคุณภาพประชารัฐ 4. […]

มูลนิธิโครงการหลวงจับมือสมาคมอารักขาพืชไทย เร่งสร้างมาตรฐาน Global GAP แก่เกษตรกรพื้นที่สูง เตรียมพร้อมสู่ตลาดพรีเมี่ยม

มูลนิธิโครงการหลวงจับมือสมาคมอารักขาพืชไทย เร่งสร้างมาตรฐาน Global GAP แก่เกษตรกรพื้นที่สูง เตรียมพร้อมสู่ตลาดพรีเมี่ยม

มูลนิธิโครงการหลวงผนึกสมาคมอารักขาพืชไทย เดินหน้าให้ความรู้การใช้สารอารักขาพืชอย่างถูกต้องปลอดภัยแก่เกษตรกรพื้นที่สูง ในกลุ่มผักผลไม้เมืองหนาว ตั้งเป้าสิ้นปีเกษตรกรได้รับรองมาตรฐานGlobal GAP 90%รองรับตลาดลูกค้านำมาตรฐานของ EU มาใช้ระบบนำเข้า-ส่งออก นางชุติมา รัตนเสถียร ผู้อำนวยการสมาคมอารักขาพืชไทย เปิดเผยถึงความร่วมมือกับมูลนิธิโครงการหลวง ภายใต้โครงการฝึกอบรมเกษตรกรเชิงปฏิบัติการ ในเรื่องการใช้สารกำจัดศัตรูพืช เครื่องพ่นสารกำจัดศัตรูพืชและอุปกรณ์ป้องกันที่ถูกต้องและปลอดภัย ให้แก่เกษตรกร สมาชิกของมูลนิธิโครงการหลวงในพื้นที่จ.เชียงใหม่ โดยมีเกษตรกรในโครงการเกษตรพันธสัญญา หรือ Contact Farmingจำนวน250 ราย จากศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 4 สถานีในพื้นที่จ.เชียงใหม่เข้าร่วมรับการอบรม การลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรภายใต้โครงการครั้งนี้ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารอารักขาพืช อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เครื่องฉีดพ่นสารอารักขาพืชรวมถึงการใช้สารอารักขาพืชอย่างเข้าใจ ถูกต้อง ปลอดภัยแก่เกษตรกรที่ผลิตผักและผลไม้เมืองหนาวในมูลนิธิโครงการหลวง จาก 4 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง แม่สาใหม่- หนองหอย ,ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก,ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ทุ่งหลวงและศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ ที่เดิมเกษตรกรเหล่านี้ผลิตภายใต้มาตรฐาน GAPหรือมาตรฐานการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช แต่เนื่องจากแนวโน้มของตลาดพืชผักและผลไม้เมืองหนาว ของไทยในปัจจุบัน ลูกค้าหลายรายได้มีการนำเอามาตรฐาน Global GAPเข้ามาเป็นเกณฑ์ในการประเมินตรวจรับสินค้า ที่จะซื้อจากโครงการหลวง โดยเป็นระบบมาตรฐานการเกษตร ที่เข้มงวดขึ้นกับระบบการบริหารจัดการภายในฟาร์ม ที่ต้องปลอดภัยสำหรับผู้ผลิต สิ่งแวดล้อม และผู้บริโภค มากขึ้น เช่น […]

กรมส่งเสริมวิชาการเกษตรจับมือสมาคมอารักขาพืชไทย เร่งให้ความรู้ใช้สารปลอดภัยแก่เกษตรกรผู้ผลิตพืชเศรษฐกิจ หวังสร้างความเชื่อมั่นสินค้าไทย

กรมส่งเสริมวิชาการเกษตรจับมือสมาคมอารักขาพืชไทย เร่งให้ความรู้ใช้สารปลอดภัยแก่เกษตรกรผู้ผลิตพืชเศรษฐกิจ หวังสร้างความเชื่อมั่นสินค้าไทย

นางชุติมา รัตนเสถียร ผู้อำนวยการสมาคมอารักขาพืชไทย เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรภายใต้โครงการ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกษตรกร 9 จังหวัด” ซึ่งได้ร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารอารักขาพืช เครื่องมือป้องกัน การใช้สารอารักขาพืชอย่างเข้าใจ ถูกต้อง ปลอดภัยแก่เกษตรกรในพื้นที่ 9 จังหวัดที่มีการปลูกพืช และผักเศรษฐกิจ เพื่อการบริโภคและส่งออก ว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการต่อเนื่อง ได้เริ่มให้การอบรมมาตั้งแต่เริ่มต้นปีงบประมาณที่ผ่านมาเดือนกันยายน 2557 และจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2558 กำหนดให้เกษตรกรเป้าหมายใน 9 จังหวัดที่ผ่านการคัดเลือกจากสำนักงานเกษตรจังหวัด ว่าเป็นเกษตรกรผู้ผลิตเพื่อการบริโภคและการส่งออกในพื้นที่ ต้องรับการอบรมการใช้สารอารักขาพืชและอุปกรณ์ป้องกันทั้งหมด 2 หลักสูตร และหลังจากเข้ารับการอบรมแล้วจะมีการประเมินผลติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารอารักขาพืช เพื่อให้กรมวิชาการเกษตรออกใบรับรอง GAP ให้ในปี 2559 โดยพื้นที่เป้าหมาย 9 จังหวัด ได้แก่ เกษตรกรสวนผัก ในจ.กาญจนบุรี เกษตรกรชาวไร่สตรอเบอรี่ ใน จ.เชียงใหม่ เกษตรกรชาวไร่กระหล่ำปลี ในจ.ตาก ,ชาวนาใน จ.ชัยนาท และจ.นครสวรรค์ เกษตรกรชาวสวนลำไยในจ.สระแก้ว เกษตรกรชาวสวนทุเรียน จ.จันทบุรี เกษตรกรชาวไร่แตงโม ในจ.ขอนแก่น […]

กรมส่งเสริมวิชาการเกษตรจับมือสมาคมอารักขาพืชไทย เร่งให้ความรู้ใช้สารปลอดภัยแก่เกษตรกรผู้ผลิตพืชเศรษฐกิจ หวังสร้างความเชื่อมั่นสินค้าไทย

นางชุติมา รัตนเสถียร ผู้อำนวยการสมาคมอารักขาพืชไทย เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรภายใต้โครงการ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกษตรกร 9 จังหวัด” ซึ่งได้ร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารอารักขาพืช เครื่องมือป้องกัน การใช้สารอารักขาพืชอย่างเข้าใจ ถูกต้อง ปลอดภัยแก่เกษตรกรในพื้นที่ 9 จังหวัดที่มีการปลูกพืช และผักเศรษฐกิจ เพื่อการบริโภคและส่งออก ว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการต่อเนื่อง ได้เริ่มให้การอบรมมาตั้งแต่เริ่มต้นปีงบประมาณที่ผ่านมาเดือนกันยายน 2557 และจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2558 กำหนดให้เกษตรกรเป้าหมายใน 9 จังหวัดที่ผ่านการคัดเลือกจากสำนักงานเกษตรจังหวัด ว่าเป็นเกษตรกรผู้ผลิตเพื่อการบริโภคและการส่งออกในพื้นที่ ต้องรับการอบรมการใช้สารอารักขาพืชและอุปกรณ์ป้องกันทั้งหมด 2 หลักสูตร และหลังจากเข้ารับการอบรมแล้วจะมีการประเมินผลติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารอารักขาพืช เพื่อให้กรมวิชาการเกษตรออกใบรับรอง GAP ให้ในปี 2559 โดยพื้นที่เป้าหมาย 9 จังหวัด ได้แก่ เกษตรกรสวนผัก ใน จ.กาญจนบุรี เกษตรกรชาวไร่สตรอเบอรี่ ใน จ.เชียงใหม่ เกษตรกรชาวไร่กระหล่ำปลี ใน จ.ตาก ,ชาวนาใน จ.ชัยนาท และ จ.นครสวรรค์ เกษตรกรชาวสวนลำไยใน จ.สระแก้ว […]