หลอดเลือดหัวใจตีบ

เจ็บหน้าอกแบบไหน? ใช่สัญญาณเตือนหลอดเลือดหัวใจตีบ

เจ็บหน้าอกแบบไหน? ใช่สัญญาณเตือนหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบในระยะแรกมักไม่แสดงอาการผิดปกติ จนกระทั่งหลอดเลือดเริ่มตีบมากขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง จึงทำให้มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนถูกบีบรัดแน่นบริเวณตรงกลางหน้าอก อาจร้าว

เมื่อเราเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบทำไงดี?

เมื่อเราเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบทำไงดี?

หัวใจทำงานหนักมากนะครับ เริ่มต้นประโยคแบบนี้เพราะว่าหัวใจต้องทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายตลอดเวลา ต้องการเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงในปริมาณสูง หากเกิดภาวะขาดเลือด หรือสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่ได้ โดยเฉพาะอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง ปอด ไต รวมถึงตัวหัวใจเอง นั่นหมายถึงอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตเลยทีเดียวครับ โดยหลักแล้ว โรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบ่งเป็น 2 กลุ่มครับ 1. แบบเฉียบพลัน มักเกิดจากลิ่มเลือดหรือไขมันที่หลุดจากผนังหลอดเลือดลอยไปอุดตั้น ก่อให้เกิดอาการรุนแรง หากปล่อยไว้อาจถึงแก่ชีวิต 2. แบบเรื้อรังมักเกิดจากการค่อยๆ ตีบตันของผนังหลอดเลือด มักมีอาการเมื่อต้องออกแรง ระยะแรกมักเป็นๆ หายๆ แต่ก็มีโอกาสจะกลายเป็นแบบเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน การตรวจสุขภาพหลอดเลือดหัวใจอย่างน้อยปีละ1 ครั้ง จะทำให้เราสามารถรู้ตัวเองก่อนว่าเกิดอะไรกับร่างกายเราบ้าง เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดูแลสุขภาพควบคุมอาหารการกินให้เหมาะสมกับร่างกาย ออกกำลังกาย เพียงเท่านี้ก็ลดความเสี่ยงของโรคภัยต่าง ๆ ได้แล้วครับ …^-^ แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี้เลยครับ https://goo.gl/oKUPPr

หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคร้ายใกล้ตัว

หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคร้ายใกล้ตัว

“หลอดเลือดหัวใจตีบ” โรคร้ายใกล้ตัว ที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็ง!! โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากภาวะหลอดเลือดตีบจากไขมันในเลือดสูง ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกและหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น ร่วมกับเกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดที่มีการสะสมไขมันจนทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน จนเสียชีวิตได้ ในระยะเริ่มแรกผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บหน้าอกในขณะออกแรง เมื่อได้พักอาการก็จะหายไป หรือในบางคนอาจมีแค่เพียงอาการเจ็บตรงไหล่หรือกรามอย่างเดียว จนถึงไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้ ในโรคที่มีอาการไม่ชัดเจนแบบนี้ หมอบอกเลยครับว่าอันตรายมาก เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าเมื่อไหร่อาการจะกำเริบ นอกจากจะป้องกันโดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดบุหรี่และความเครียดแล้ว การเข้ารับการตรวจเช็คสุขภาพหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงนี้ไปได้มาก ในเบื้องต้นจะมีการตรวจไขมันในเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และความยืดหยุ่นของหลอดเลือดด้วยเครื่อง ABI ก่อน หากพบว่ามีความเสี่ยงหมอจะวินิจฉัยให้เข้ารับการตรวจต่อด้วยวิธีวัดการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย เพื่อดูว่าเริ่มมีภาวะหัวใจขาดเลือดหรือไม่ หากพบความผิดปกติ หมอจะทำการตรวจด้วยการฉีดสีหรือเอ็กซเรย์ความละเอียดสูง เพื่อดูตำแหน่งของเส้นเลือดหัวใจที่อุดตัน และจะทำการรักษาให้ทันท่วงทีก่อนที่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดเป็นเวลานาน และเสียชีวิตลงนั่นเองครับ หลายคนอาจมองว่าการตรวจสุขภาพเป็นสิ่งไม่สำคัญ แต่ใครจะรู้ล่ะว่าแค่การตรวจสุขภาพครั้งเดียว อาจช่วยชีวิตเราไว้ทั้งชีวิตเลยก็ได้ เริ่มต้นปีนี้ด้วยสุขภาพดีๆ กันเถอะครับ #อบอุ่น #เชี่ยวชาญ #โรงพยาบาลรามคำแหง