อินฟอร์

การปรับปรุงประสิทธิภาพคลังสินค้าให้เหมาะสมในช่วงการแพร่ระบาด

การปรับปรุงประสิทธิภาพคลังสินค้าให้เหมาะสมในช่วงการแพร่ระบาด

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน ประจำภูมิภาคอาเชียน บริษัท อินฟอร์ การแพร่ระบาดในขณะนี้ได้ผลักดันให้มีการเร่งนำเทคโนโลยีไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรมจำนวนมาก จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าบางธุรกิจอาจไม่ทันได้เตรียมพร้อมรับมือเมื่อเกิดโควิด-19 ที่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ดูได้จากปริมาณอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มสูงขึ้น การลดจำนวนพนักงานให้เหลือน้อยที่สุดสำหรับการทำงานในบางพื้นที่ และการปิดธุรกิจเป็นระยะ ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดจำหน่ายมืออาชีพผลิตภัณฑ์เพื่อการค้าและการอุตสาหกรรม หรืออุปกรณ์ความปลอดภัยและการแพทย์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้หมายความว่าจะต้องมีการปรับปรุงการดำเนินงานคลังสินค้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่การปรับปรุงนี้แท้จริงแล้วหมายถึงอะไร ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่งที่ผู้จัดจำหน่ายต้องคำนึงถึง คือ กิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในคลังสินค้าส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งความท้าทายในที่นี้ คือ เป้าหมายและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ได้ทำให้การดำเนินงานคลังสินค้าเกิดความท้าทายหลายอย่างขึ้นพร้อม ๆ กัน ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ การแพร่ระบาดทำให้เกิดความไม่แน่นอนด้านกำลังคน เนื่องจากสมาชิกในทีมต้องรับมือกับความเจ็บป่วย ต้องถูกกักตัว หรือต้องดูแลบุตรหลาน ส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อทีมและทำให้เกิดความล่าช้าในการผลิต อีกปัจจัยหนึ่ง คือ การเติบโตของอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มขึ้นมาก จนแซงหน้ายอดประมาณการสูงสุดที่ตั้งไว้ก่อนหน้านี้ จากการที่ลูกค้าได้สร้างมาตรฐานประสบการณ์ด้าน omni-channel ไว้ค่อนข้างสูง ในปี 2564 นี้ หากคุณไม่มีกลยุทธ์การตลาดแบบ omni-channel ที่ได้ผล คุณก็เสี่ยงต่อการสูญเสียธุรกิจจำนวนมาก ดังนั้นกุญแจสำคัญ คือ คุณจะต้องมีคลังสินค้าที่สามารถรองรับการขายแบบหลายช่องทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งความท้าทายนี้นับว่าตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น […]

คลังสินค้าอัจฉริยะคือหัวใจของดิจิทัลซัพพลายเชนในอาเซียน

คลังสินค้าอัจฉริยะคือหัวใจของดิจิทัลซัพพลายเชนในอาเซียน

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน และผู้นำประจำภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมค้าปลีกในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา รวมถึงจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีแนวโน้มไปที่การตลาดแบบทุกช่องทางหรือที่เรียกว่าออมนิแชนเนล (Omnichannel) และการซื้อขายทางออนไลน์มากขึ้น จริง ๆ แล้ว eMarketer เคยคาดการณ์ไว้ว่า การเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียแปซิฟิคจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 25% และจะแตะระดับ 2.271 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 แม้ว่าสิ่งที่กล่าวมานี้จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมมากที่สุด แต่อุตสาหกรรมและองค์กรอื่น ๆ ก็จำเป็นต้องปรับความสามารถของตนเองให้รับมือกับผลกระทบดังกล่าวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของรูปแบบการขายและส่งสินค้าตรงถึงลูกค้า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการซัพพลายเชนอย่างมาก ซึ่งรวมถึงการที่ธุรกิจต้องหาวิธีเพื่อจัดการกับระบบโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าของตน ระบบซัพพลายเชนมีการพัฒนาตลอดเวลา ยกกรณีคลังสินค้าเป็นตัวอย่าง ศูนย์ภูมิภาคซึ่งทำหน้าที่เก็บสต็อคสินค้าให้กับซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ มีการดำเนินงานที่แตกต่างจากศูนย์คลังสินค้าที่พร้อมจัดส่งที่ให้บริการเก็บ-แพ็ค-ส่ง (fulfillment) และส่งสินค้าตรงถึงบ้านของลูกค้า แต่เดิมรูปแบบการขายแบบ B2B และแบบ B2C มีวิธีการทำงานที่แตกต่างกัน แต่เมื่อความต้องการเปลี่ยนจากการซื้อขายล็อตใหญ่ ๆ ไปเป็นการซื้อขายเป็นชิ้น ๆ ผู้ประกอบการด้านคลังสินค้าจึงต้องเริ่มคิดหาวิธีที่ดีที่สุดที่จะรองรับการทำงานทั้งสองรูปแบบได้ในคราวเดียวกัน การจัดส่งสินค้าทั้งแบบ B2B และ B2C ได้จากแหล่งเดียวกันมีข้อดีหลายประการ เช่นสามารถใช้คนทำงานกลุ่มเดียวกัน ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และลดระยะเวลาในการจัดส่ง […]

เติบโตไปด้วยกันในอนาคตที่เปิดกว้าง

เติบโตไปด้วยกันในอนาคตที่เปิดกว้าง

โดยนายแอนดรูว์ แฮปกู๊ด ผู้อำนวยการอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายหุ้นส่วนและพันธมิตร เร้ดแฮท เอเชียแปซิฟิก ครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2563 นี้ เราได้เห็นการพึ่งพาเทคโนโลยีมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน และพัฒนาไปเร็วกว่าการพัฒนาอื่นใดที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ในขณะที่ดิจิทัลดิสรัปชั่นยังคงดำเนินอยู่นี้ โอเพ่นซอร์สยังคงเป็นพลังขับเคลื่อนทิศทางต่าง ๆ ทั้งทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้เราจึงคาดการณ์ได้อย่างค่อนข้างแม่นยำว่าจะยังคงมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อความต้องการบริการด้านดิจิทัลที่ต้องพร้อมใช้งาน และการเชื่อมต่อที่ต้องเป็นปัจจุบันตลอดเวลาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในระหว่างที่มีการพัฒนา ปรับตัว และยังคงเผชิญการเปลี่ยนแปลง เร้ดแฮทให้น้ำหนักกับพันธสัญญาของเราที่มีต่อพาร์ทเนอร์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทฯ พาร์ทเนอร์ทุกรายคือส่วนสำคัญต่อกลยุทธ์ go-to-market ของเรา และเร้ดแฮทจะไม่ใช่เร้ดแฮทที่่เป็นอยู่ทุกวันนี้หากปราศจากฐานด้านพันธมิตรที่่แข็งแกร่งนี้ เร้ดแฮทได้ประกาศความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์หลายราย ในขณะเดียวกันก็เกิดการแลกเปลี่ยน การสร้างแรงบันดาลใจ และการเปิดให้เห็นโอกาสทางธุรกิจที่ไม่จำกัดภายใต้แนวคิด “Future that is OPEN” พลังของการทำงานร่วมกัน องค์กรธุรกิจในภูมิภาคนี้ได้ใช้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจของตน ไม่ใช่เพียงเพื่อการเติบโตแต่เพื่อการคงไว้ซึ่งความคงอยู่และความสามารถในการแข่งขัน เร้ดแฮทต้องการช่วยพาร์ทเนอร์ของเราด้วยการทำในสิ่งที่เราทำอยู่เสมอ นั่นคือ การทำงานร่วมกันอย่างเปิดกว้าง เร้ดแฮทเดินเคียงข้างพาร์ทเนอร์ในอีโคซิสเต็มผ่านการทำงานร่วมกัน ความโปร่งใส และการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญได้อย่างอิสระ เพื่อสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สให้กับธุรกิจต่าง ๆ ในทุกอุตสาหกรรม เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจเหล่านั้นจะสามารถนำความทันสมัยไปใช้ควบคุมและขจัดความซับซ้อนในการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลได้ สิ่งสำคัญมากในขณะที่เราเสาะหาโอกาสใหม่ ๆ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในความเป็นจริงด้วยกัน คือเราต้องสร้างความแข็งแกร่งในการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับใช้และก้าวข้ามความท้าทายทางธุรกิจต่าง ๆ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ก้าวต่อไปด้วยกัน […]

ผู้บริโภคเพิ่มแรงกดดันทำให้เกิดนวัตกรรม ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

ผู้บริโภคเพิ่มแรงกดดันทำให้เกิดนวัตกรรม ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานบริษัท อินฟอร์ อาเชียน ผู้บริโภคจำนวนมากเอาจริงเอาจังกับเรื่องคุณภาพอาหารที่จะบริโภค ผลกระทบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องถึงสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผู้ผลิตอาหาร เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจึงจำต้องเร่งให้มีการแนะนำ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองที่เปลี่ยนไปในเรื่องของความสดใหม่ ผลดีต่อสุขภาพ และความใส่ใจในกระบวนการผลิต เทคโนโลยีสามารถเข้ามาช่วยทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยเรื่องอาหารการกินในทุกวันนี้ ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องรสชาติ ความสดใหม่ และความสะดวกสบายเท่านั้น เมื่อต้องเลือกซื้ออาหารให้กับครอบครัว ผู้บริโภคจะใช้วิจารณญาณให้ความสำคัญในประเด็นสุขภาพ ประโยชน์ต่อร่างกายและเหตุปัจจัยทางสังคมอีกด้วย โดยพวกเขาจะอ่านฉลากโภชนาการ หาข้อมูลตัวตนหรือความเป็นมาของซัพพลายเออร์ การคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ และการรักษาความยั่งยืนของสภาพแวดล้อม มาตรฐานต่าง ๆ ที่ผู้บริโภคคาดหวังไว้เหล่านี้ ล้วนเพิ่มแรงกดดันให้กับผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ทว่าบริษัททั้งหลายที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยก็ควรจะไขว่คว้าโอกาสนี้ไว้ เพราะการตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีความตระหนักรู้และรับผิดชอบต่อสังคม จะช่วยให้บริษัทสร้างความแตกต่างที่คุ้มค่าได้ ความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในด้านต่าง ๆ เริ่มต้นจากแหล่งเพาะปลูก – ปัจจุบันผู้บริโภคต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของอาหารและเส้นทางที่เริ่มต้น จากแหล่งเพาะปลูกมาจนถึงจานอาหารมากขึ้น จากรายงาน “แนวโน้มทิศทางอุตสาหกรรมอาหารของตลาดประเทศอาเซียนและจีน” ระบุถึงการที่ประชากรในเขตเมืองจะยอมจ่ายเพิ่มเพื่อคุณภาพที่ดีกว่า รวมถึงการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุชาวไทยและชาวสิงคโปร์ ทำให้ประชากรใส่ใจเรื่องสุขภาพและข้อมูลอาหารมากขึ้น มูลนิธิ The International Food Information Council (IFIC) […]

Gartner จัด Infor อยู่ในกลุ่มผู้นำด้าน Multienterprise Supply Chain ในรายงาน Gartner Magic Quadrant Business Networks เป็นปีที่สองติดต่อกัน

Gartner จัด Infor อยู่ในกลุ่มผู้นำด้าน Multienterprise Supply Chain  ในรายงาน Gartner Magic Quadrant Business Networks  เป็นปีที่สองติดต่อกัน

ด้วยวิสัยทัศน์ที่เพียบพร้อมและความสามารถในการดำเนินงาน กรุงเทพฯ – 18 พฤษภาคม 2563 – อินฟอร์ ผู้นำด้านโซลูชั่นซอฟต์แวร์คลาวด์สำหรับอุตสาหกรรมระดับแนวหน้าของโลกประกาศว่า ในรายงาน Magic Quadrant ของการ์ทเนอร์ อิงค์ จัดให้อินฟอร์เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นำด้าน Multienterprise Supply Chain Business Networks เป็นปีที่สองติดต่อกัน เป็นผลจากความสามารถในการดำเนินการ และวิสัยทัศน์ที่เพียบพร้อมรอบด้านของอินฟอร์ ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay รายงานดังกล่าวระบุว่า “ระบบเครือข่ายธุรกิจซัพพลายเชนข้ามองค์กร (Multienterprise Supply Chain Business Networks: MESCBNs) เป็นองค์ประกอบทางเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อความสำเร็จในการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์ ผู้บริหารองค์กรต้องเข้าใจให้ได้ว่าบริษัทของตนจำเป็นต้องทำงานภายในระบบเครือข่ายลักษณะนี้เพื่อให้แข่งขันได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือเพื่อลดความเสี่ยง เพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย และใช้โอกาสต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครือข่ายนี้ให้เป็นประโยชน์” ไฮดี้ เบ็นโก รองประธานฝ่ายกลยุทธ์โซลูชั่นธุรกิจบริหารจัดการซัพพลายเชนของอินฟอร์กล่าวว่า “บริษัทต่าง ๆ กำลังหาวิธีการเพิ่มระดับความเร็ว ความคล่องตัว และความยืดหยุ่น ให้กับระบบซัพพลายเชนของตน และแอปพลิเคชั่นทางธุรกิจที่องค์กรหลายแห่งทำงานร่วมกัน (MEBAs)” […]

การขจัดปัญหาความซับซ้อนของระบบซัพพลายเชน ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

การขจัดปัญหาความซับซ้อนของระบบซัพพลายเชน ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานบริษัท อินฟอร์ อาเชียน อุตสาหกรรมด้านอาหารและเครื่องดื่มต่างต้องต่อกรกับความต้องการที่ไม่เหมือนใครมาอย่างยาวนาน เช่น การที่ต้องบริหารจัดการกับอายุสินค้า ความซับซ้อนในการจัดตารางการผลิตรุ่นต่าง ๆ การตรวจสอบย้อนกลับ และปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนด้านภาษี แนวคิดเรื่องการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน และกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความซับซ้อนมากขึ้น ปัญหาและแนวโน้มนานัปการเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบซัพพลายเชนที่บริษัทใช้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการจัดหา การผลิต จนถึงการจัดส่ง เชื่อมต่อกับตลาดโลก เรามักจำกัดตัวเราและให้ความสำคัญกับสิ่งที่สามารถควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม ถึงเวลาแล้วที่เราควรพิจารณากระบวนการด้านซัพพลายเชนที่บริษัทใช้อยู่เสียใหม่ เพราะมันอาจไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น สองปีที่ผ่านมา อินฟอร์ได้สำรวจบริษัทที่อยู่ในเครือข่ายซัพพลายเชนทั่วโลกบนแพลตฟอร์ม Infor Nexus และพบว่าประมาณ 46% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าพวกเขาใช้เวลานานถึงสามวันเพื่อมองหาว่ามีผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ อยู่ที่ใดบ้าง และจะมีพร้อมวางตลาดเมื่อใด นั่นแสดงให้เห็นได้ชัดว่ายังไม่มีข้อมูลที่ทำให้บริษัทเหล่านั้น สามารถตัดสินใจได้อย่างสมเหตุสมผลในทันที นอกจากนี้ ยังมีช่องว่างเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ผลิตใช้ติดต่อกับลูกค้า ซัพพลายเออร์ และผู้ให้บริการภายนอกองค์กร เช่นการเชื่อมต่อแบบ point-to-point ที่หลากหลายผ่านการเชื่อมต่อผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับร่วมกัน (Electronic Data Interchange: EDI), พอร์ทัลที่ใช้ หรือสเปรดชีต หรืออีเมล […]

ผู้บริโภคยุคดิจิทัล กับสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค

ผู้บริโภคยุคดิจิทัล กับสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค

โดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานบริษัท อินฟอร์ อาเชียน เราเห็นข่าวพาดหัวตามสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมของธุรกิจค้าปลีกตลอดเวลา และเราทุกคนต่างทราบดีว่าสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้น การเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น ความโปร่งใสอันเนื่องมาจากการใช้อินเทอร์เน็ตและอื่น ๆ เมื่อพิจารณาถึงร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภคแล้ว การช็อปปิ้งในร้านเหล่านี้ยังคงเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงถึง 1 ใน 3 ของการใช้จ่ายทั้งหมด และเป็นส่วนสำคัญของงบประมาณและเวลาที่เรากำหนดไว้ ขณะที่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นกำลังทำให้ประสบการณ์ของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ด้านล่างนี้คือ 3 วิถีดิจิทัลที่ไม่เพียงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงระบบซัพพลายเชนของสินค้าเพื่อการบริโภคอีกด้วย 1. การเพิ่มขึ้นของดิจิทัลและความต้องการข้อมูล ในขณะที่กำลังตัดสินใจซื้อผู้บริโภคมีความคาดหวังว่าจะได้รับข้อมูลมากขึ้น ต้องการข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้น แทนที่จะหลับหูหลับตาเชื่อในสิ่งที่แบรนด์ใหญ่ ๆ พูดถึงเรื่องราวของตน ผู้บริโภคฝึกตนเองให้ค้นหาข้อมูลของสิ่งที่พวกเขากำลังจะซื้อ และไม่เพียงแต่จะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์เท่านั้น แต่ผู้บริโภคยังคาดหวังที่จะเข้าถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มากกว่าในอดีต ผู้บริโภคไม่ได้พอใจเพียงแค่ฉลากทั่ว ๆ ไป ที่มีจำนวนแคลอรี่และส่วนผสมเท่านั้น แต่ยังต้องการทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้าว่าขนส่งมาอย่างไร และตอบโจทย์ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนถ้าจำเป็นต้องมีหรือไม่ และยังมีอีกหลากหลายเรื่องราว สิ่งนี้คือสิ่งที่ผู้ขายสินค้าบริโภคและผู้ผลิตอาหารที่รู้เท่าทันความต้องการของผู้บริโภคจะต้องถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องแจ้งรายละเอียดเหล่านี้ให้ผู้บริโภคในยุคดิจิทัลรับทราบ 2. การเชื่อมต่อกับผู้บริโภค ยิ่งผู้บริโภครู้เท่าทันและฉลาดมากขึ้น ยิ่งหมายถึงโอกาสสำหรับผู้ขายสินค้าที่จะเข้าถึงและเชื่อมต่อกับผู้บริโภคมากขึ้น ในยุคดิจิทัลนี้ ผู้ขายสินค้าอุปโภคบริโภค และผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมซัพพลายเชนของสินค้าเพื่อการบริโภคจะได้รับโอกาสที่จะเชื่อมต่อกับผู้ซื้อได้ดียิ่งขึ้น มีความเข้าใจและความใกล้ชิดกับลูกค้าปลายทางมากขึ้น อีกไม่นานผู้บริโภคอาจจะได้รับข้อความดิจิทัลจากแบรนด์อาหารชั้นนำต่าง […]

อินฟอร์แต่งตั้งนายฟาบิโอ ทิวิติ ดำรงตำแหน่งผู้นำประจำภูมิภาคอาเซียน

อินฟอร์แต่งตั้งนายฟาบิโอ ทิวิติ ดำรงตำแหน่งผู้นำประจำภูมิภาคอาเซียน

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 11 ธันวาคม 2562 – อินฟอร์ ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์ระบบคลาวด์สำหรับองค์กรธุรกิจที่ออกแบบอย่างเฉพาะเจาะจงให้กับแต่ละอุตสาหกรรม ประกาศแต่งตั้ง นายฟาบิโอ ทิวิติ ดำรงตำแหน่งรองประธาน เป็นผู้นำธุรกิจและการดำเนินงานในภูมิภาคอาเซียนประจำอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ นายฟาบิโอจะรับผิดชอบด้านการขายและจัดจำหน่ายซอฟต์แวร์โซลูชัน พร้อมทั้งการให้บริการของอินฟอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นางเฮเลน มาสเตอร์ รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ญี่ปุ่น (APJ) อินเดีย ตะวันออกกลางและแอฟริกา (IMEA) ของอินฟอร์ กล่าวว่า “คุณฟาบิโอจะนำความรู้ความเข้าใจเชิงลึกที่สำคัญ เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจอุตสาหกรรม ดิฉันมั่นใจว่าคุณฟาบิโอจะสามารถนำพาลูกค้าไปสู่ความสำเร็จและช่วยเพิ่มผลิตผลให้ในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลากร สินทรัพย์และซัพพลายเชน ทั้งนี้อินฟอร์ยังคงขยายธุรกิจของเราอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคอาเซียนด้วยการช่วยทำให้บริษัทต่าง ๆ ปรับไปสู่ระบบดิจิทัล และช่วยเร่งการเติบโตของธุรกิจผ่านโซลูชันซอฟต์แวร์คลาวด์” นายฟาบิโอมีประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งในอุตสาหกรรมการผลิต และซอฟต์แวร์ เขาเคยร่วมงานกับ SAP เป็นเวลา 12 ปี ดูแลในส่วนของ SME และส่วนพัฒนาธุรกิจต่าง ๆ ก่อนหน้าทำงานที่ SAP นายฟาบิโอเคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการผลิตภัณฑ์ภายในประเทศให้กับเลอกร็องด์กูร์ป์ บริษัท อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ในอิตาลี […]

กลุ่มบริษัทพัทยาฟู้ด ขับเคลื่อนการขยายตัวสู่ตลาดโลกด้วยเทคโนโลยีของอินฟอร์

กลุ่มบริษัทพัทยาฟู้ด ขับเคลื่อนการขยายตัวสู่ตลาดโลกด้วยเทคโนโลยีของอินฟอร์

ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารทะเลของไทย เพิ่มความคล่องตัวในการผลิตและจัดจำหน่ายด้วย Infor CloudSuite F&B (ภาพจากซ้ายไปขวา) คุณวัลลภา เปี่ยมนพเก้า ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและตลาดเกิดใหม่, อินฟอร์, คุณฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน อินฟอร์ อาเซียน, คุณวิชิต อะนะเทพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พัทยาฟู้ดอินดัสตรี จำกัด, คุณสุดาทิพ เกียรติศรีชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีทีที โฮลดิ้ง จำกัด กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 2 ธันวาคม 2562 – อินฟอร์ (Infor) หนึ่งในผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์ระบบคลาวด์สำหรับธุรกิจที่ออกแบบอย่างเฉพาะเจาะจงให้กับแต่ละอุตสาหกรรม ประกาศพิธีลงนามร่วมกับกลุ่มบริษัทพัทยาฟู้ด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารทะเลของประเทศไทย ในการร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อก้าวเข้าสู่การใช้แผนงานระบบดิจิทัล ทั้งนี้ยักษ์ใหญ่ด้านผลิตภัณฑ์อาหารจะใช้โซลูชัน Infor CloudSuite Food & Beverage (F&B), Infor OS และ Infor Birst กับทุกบริษัทในเครือเพื่อช่วยเร่งการเติบโตของธุรกิจ และผลักดันการขยายตัวของกลุ่มพัทยาฟู้ดเข้าสู่ตลาดโลก […]

เทคโนโลยีด้านการบริหารบุคลากรที่ทันสมัย ช่วยขจัดอคติ และสร้างความเท่าเทียมกันให้แก่บุคลากรที่หลากหลาย

การบริหารบุคลากรที่มีความหลากหลายและไม่เลือกปฏิบัติทวีความสำคัญมากขึ้นเพราะการแข่งขันด้านต่างๆ ขององค์กร เช่น ความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถ ความต้องการฐานลูกค้าที่ใหญ่ขึ้น และการแข่งขันกันเพื่อครองส่วนแบ่งทางการตลาด ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ธุรกิจกำลังเผชิญกับความยากลำบากในการสรรหาบุคลากรมาเติมเต็มตำแหน่งงานที่ว่าง และการที่บุคลากรกลุ่มเบบี้บูมเมอร์กำลังเข้าสู่ช่วงเกษียณงาน ธุรกิจในบางอุตสาหกรรม เช่น ภาคการผลิต เทคโนโลยี และสาธารณสุข กำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ที่เรียกว่าอยู่ในระดับวิกฤตกันเลยทีเดียว รายงานของ Code.Org ระบุว่า ภายในปี 2563 ตำแหน่งงานว่างด้านคอมพิวเตอร์จะมีมากกว่าจำนวนผู้ที่มีคุณสมบัติพร้อมที่จะทำงานด้านนี้ถึงหนึ่งล้านตำแหน่ง ไม่เพียงองค์กรต่างๆ ต้องลงทุนเพื่อสร้างทักษะที่รองรับการทำงานในอนาคตให้กับพนักงานในปัจจุบัน และเตรียมความพร้อมสำหรับพนักงานในอนาคตเท่านั้น แต่ยังจำเป็นต้องรับมือกับความท้าทายของนิยามที่ล้าสมัยของคำว่า “ผู้มีความสามารถพิเศษที่เหมาะสม” ว่าคืออย่างไรกันแน่ การขาดการบริหารบุคลากรที่ยึดหลักความหลากหลายและไม่เลือกปฏิบัติ นอกจากจะทำให้สูญเสียบุคลากรที่มีความสามารถแล้ว องค์กรยังจะไม่ได้รับประโยชน์จากบุคลากรอย่างเต็มที่อย่างที่ควร ผลการศึกษาของ McKinsey แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจที่มีที่ทำงานเอื้อต่อการทำงานและมีพนักงานที่มีความหลากหลาย มักมีผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดี เช่น บริษัทที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเพศหรือความหลากหลายทางเชื้อชาติในลำดับที่สูง จะมีแนวโน้มที่จะได้รับผลตอบแทนทางการเงินสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้นๆ ในประเทศของตน ทีมงานที่มีบุคลากรหลากหลายและไม่เลือกปฏิบัติจะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น เมื่อผู้คนที่มาจากสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันมาทำงานร่วมกัน มุมมองที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคนมักจะนำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ ผู้นำที่เห็นคุณค่าของภูมิหลังที่แตกต่างกัน มีแนวโน้มที่จะสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้แสดงความคิดเห็น เพื่อต่อยอดทางความคิด เปิดมุมมองใหม่ๆ และใช้ประโยชน์จากคุณค่าของแนวคิดต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนนวัตกรรมและสร้างแรงกระเพื่อมอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้การเฟ้นหาบุคลากรใหม่ๆ ที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลมีประสิทธิภาพมากขึ้น องค์กรส่วนใหญ่ต่างตระหนักดีว่าการบริหารบุคลากรที่มีความหลากหลายและไม่เลือกปฏิบัตินั้นเป็นผลดีต่อธุรกิจ แม้ว่าองค์กรจะมีความรู้และเจตนารมณ์ที่ดี […]