อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์

วิศวะมหิดล ร่วมกับกลุ่มคลัสเตอร์การแพทย์ครบวงจร ขับเคลื่อนพัฒนาผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกลุ่มคลัสเตอร์การแพทย์ครบวงจร ภายใต้การสนับสนุนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ปี 2563 มุ่งเป้าพัฒนานวัตกรรมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ สนองตอบความต้องการของตลาดวิถีใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพและการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ ณ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นายโฆษิต กรีพร ประธานกลุ่มคลัสเตอร์การแพทย์ครบวงจร กล่าวว่า โครงการพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ปี 2563 เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน – กันยายน 2563 โดยมีผู้ประกอบการกลุ่มคลัสเตอร์การแพทย์พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ผ่านการคัดเลือกจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมโครงการจำนวน 30 ราย วัตถุประสงค์โครงการฯ เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพและความสามารถในการบริหารจัดการโรคโควิด-19 ที่ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพจนได้รับความชื่นชมและเป็นที่ยอมรับจากประชาคมโลก ประเทศไทยยังเป็นฐานการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่มีคุณภาพและหลากหลาย ดังนั้นการส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ของไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ ผสานเทคโนโลยีและนวัตกรรม จะช่วยยกระดับธุรกิจต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต สู่โอกาสและตลาดใหม่ๆ รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึง ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกและนำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆของอาเซียน อุปกรณ์การแพทย์ที่ผลิตเพื่อส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งและใช้เทคโนโลยีไม่ซับซ้อน 84% ของมูลค่าการส่งออกเครื่องมือแพทย์ทั้งหมด แต่เรายังมีโอกาสกว้างไกลในการส่งเสริมนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและมีมูลค่าสูง สำหรับภาพรวมของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ของไทยกำลังเติบโตด้วยดี ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่คาดว่าจะอยู่ที่ 9 -10% ตั้งแต่ปี […]

บีโอไอ สนับสนุนผู้ประกอบการไทย ลงทุนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์

บีโอไอ สนับสนุนผู้ประกอบการไทย ลงทุนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์

บีโอไอ เผยวิกฤติโควิด -19 สร้างโอกาสทองผู้ประกอบการไทย เดินหน้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์ ที่คาดการณ์ปีหน้ามูลค่าตลาดแตะ 342.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ พร้อมประกาศผลักดัน และเชิญชวนผู้ประกอบการ และเอสเอ็มอี ลงทุนผลิตเครื่องมือแพทย์แบบใช้แล้วทิ้ง ระบุงบประมาณการลงทุนไม่สูง ขณะที่ภาครัฐมอบสิทธิประโยชน์เพียบ และ อย. พร้อมออกใบรับรอง สนับสนุนนักลงทุนไทยเต็มที่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และ อินฟอร์มา มาเก็ตส์ (ประเทศไทย) จัดสัมมนาออนไลน์ Subcon Thailand Webinar#1 “พลิกวิกฤตเป็นโอกาส! ทิศทางและโอกาสผู้ประกอบการไทยในการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์” โดย นายสุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการกองบริหารการลงทุน 1 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดเครื่องมือแพทย์ของโลกในปี 2021 คาดการณ์ว่า จะมีมูลค่ารวม 342.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการประเมินจากการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุในอนาคต รวมไปถึงวิถีชีวิตของการดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ ที่ให้ความใส่ใจด้านการดูแลสุขภาพและการรักษาสุขอนามัยมากขึ้น และล่าสุดกับการรับมือไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้การเติบโตของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์พุ่งเกินกว่า 350 ล้านดอลล่าร์สหรัฐได้ไม่ยาก จากผลสำรวจของ Emergo […]

รามาฯ จับมือวิศวะ มหิดล ผนึกพลังผลิตแพทย์นวัตกร ครั้งแรกในประเทศไทย

รามาฯ จับมือวิศวะ มหิดล ผนึกพลังผลิตแพทย์นวัตกร ครั้งแรกในประเทศไทย

ครั้งแรกในประเทศไทย มุ่งสร้าง”แพทย์นวัตกร” ตอบโจทย์ยุคดิสรัพชั่น โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวหลักสูตรร่วมแพทย์–วิศวะ (พ.บ. – วศ. ม.) และลงนามบันทึกความร่วมมือในโครงการร่วม“หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต – วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์” เรียน 3-1-3 ปี สองปริญญา ศักยภาพใหม่ของคนไทยและประเทศไทยในการก้าวเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต โดยตอบรับเป้าหมายเมดิคัลฮับ และนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์.ใน EEC ศ. นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงความสำคัญและความร่วมมือในการจัดตั้งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต – วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ว่า เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการนำดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในทางการแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แพทย์จึงจำเป็นต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นอกจากความรู้ด้านการแพทย์ที่ดีแล้ว ทักษะและความเข้าใจทางด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแพทย์ยุคใหม่ อีกทั้ง คนรุ่นใหม่มีความสามารถและความสนใจทั้งในด้านการแพทย์และวิศวกรรม ดังนั้น หลักสูตรร่วมแพทย์–วิศวะ (พ.บ. – วศ. ม.) จะช่วยดึงศักยภาพและเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ในการสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ จากความรู้ทางด้านแพทย์และวิศวกรรม จุดเด่นของหลักสูตรร่วมแพทย์–วิศวะ (พ.บ. – […]