เบาหวาน

กินหวาน.. เป็นเบาหวานจริงหรือ

      วิถีชีวิตที่เร่งรีบของคนในปัจจุบันรวมถึงอาหารที่เข้าถึงได้ง่ายและได้รับความนิยมโดยส่วนใหญ่ เช่น น้ำหวาน  ชาไข่มุก หรือขนมต่างๆ มักเป็นอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตที่สูง เพื่อจูงใจผู้บริโภคให้อยากซื้อรับประทาน ซึ่งอาหารต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานและโรคอ้วนได้ วันนี้คุณหมอมีคำแนะนำเพื่อลดการเกิดโรคเบาหวานมาฝากกันค่ะ 1.การรับประทานอาหาร การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคเบาหวาน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสชาติหวาน หรืออาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง ได้แก่ แป้ง ข้าวและน้ำตาล หรือรับประทานแต่น้อย รวมถึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 2.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ส่งผลเสียกับสุขภาพร่างกายโดยรวม และทำให้ตับทำงานหนักและเกิดการสะสมของไขมันในตับหรือที่เราเรียกว่า ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty liver) ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดการดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น 3.ความเครียด ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเคอร์ติซอลไปกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยพลังงานออกมาในรูปแบบของน้ำตาล ดังนั้นเมื่อเราเครียดมากๆ ระดับน้ำตาลในเลือดก็ยิ่งสูงมากขึ้นนั่นเอง 4.การออกกำลังกาย ที่พอเหมาะช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น และช่วยให้ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ           การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการควบคุมปริมาณน้ำตาลจากการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม การควบคุมน้ำหนัก และการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่เพียงแต่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานยังช่วยป้องกันการเกิดโรคร้ายอื่นๆ ได้อีกด้วยค่ะ ข้อมูลดีๆ จาก.. พญ.ฟ้ารุ่ง ภูษาทอง อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม คลินิกอายุรกรรม  โรงพยาบาลหัวเฉียว

วิธีดูแลเท้า ที่คนเป็นเบาหวานควรรู้

วิธีดูแลเท้า ที่คนเป็นเบาหวานควรรู้

การดูแลระวังรักษาเท้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลเรื้อรังหรือติดเชื้อรุนแรงมากกว่าคนปกติ และถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพออาจลุกลามถึงขั้นต้องเสียนิ้วหรือเสียขาได้ ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรดูแลเท้าให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้มีแผลเกิดขึ้น ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ ☑️ หมั่นสำรวจเท้าทุกวันว่ามีแผล รอยบวมแดง ตุ่มน้ำใส หรือสีของเล็บ ☑️ ล้างเท้าให้สะอาดทุกวันด้วยสบู่อ่อนๆ หรือน้ำธรรมดา และเช็ดเท้า ซอกนิ้วให้แห้ง อย่าถูแรง ☑️ ทาน้ำมันวาสลินหรือโลชั่น ให้ผิวหนังนุ่มป้องกันผิวแห้ง คันใส่รองเท้าตลอดเวลาทั้งในและนอกบ้าน ระวังเหยียบของมีคม หนาม หรือของร้อน ☑️ ใส่รองเท้าขนาดพอดีไม่คับหรือหลวมเกินไป นิ่ม สบาย ตรวจดูสิ่งแปลกปลอมในรองเท้าก่อนใส่ และใส่ถุงเท้าทุกครั้ง ☑️ เวลาตัดเล็บเท้า ควรตัดตรงๆ ระวังไม่ให้ถูกเนื้อ ☑️ ถ้าเท้าชื้นมีเหงื่อออกต้องเช็ดให้แห้งเสมอ ☑️ บริหารเท้าทุกวันด้วยการแกว่งเท้าไปมา เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปที่เท้าดีขึ้น ☑️ หากเกิดแผล ให้ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือล้างแผล หากเกิดการอักเสบให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีสุขภาพเท้าที่ดี ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เกิดแผลที่เท้าและไม่ลุกลามจนต้องถูกตัดขา… ทำความเข้าใจโรคแผลเบาหวานที่เท้าและวิธีการรักษาโดยไม่ต้องตัดเท้าhttps://www.ram-hosp.co.th/news_detail/40

คำถาม?… ที่คนไข้เบาหวาน ชอบถามหมอบ่อยๆ

คนไข้ : ทำไมต้องคุมอาหาร ทั้งๆ ที่ทานยาอยู่แล้ว? หมอราม : ที่ต้องให้คนไข้ควบคุมอาหารก็เพราะว่า คนที่เป็นเบาหวานจะมีปัญหาในการหลั่งอินซูลิน ยาเป็นตัวช่วยให้ร่างกายผลิตอินซูลินได้ดีขึ้น แต่อาจไม่สามารถดีได้เท่าเดิม คนไข้จึงต้องช่วยดูแลร่างกายตัวเองไปพร้อมๆ กัน ด้วยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน ผลไม้ที่มีรสหวาน น้ำอัดลม คนไข้ : การออกกำลังกายช่วยให้เบาหวานดีขึ้นจริงไม? หมอราม : การออกกำลังกายจะช่วยทำให้เซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ ดึงน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้มากขึ้น ทำให้สามารถคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น แนะนำว่าการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้เบาหวาน คือ เล่นโยคะ เต้นแอโรบิคนานอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงขึ้นไป คนไข้ : รักษาเบาหวานจนดีขึ้นแล้ว ทำไม? ยังต้องไปหาหมออยู่อีก หมอราม : โดยรวมแล้วก็เพื่อตรวจเช็กอาการแทรกซ้อนของโรค แต่ที่สำคัญไปกว่านั้น คือค่าเบาหวานของผู้ป่วยสามารถขึ้นๆ ลงๆได้ตลอดเวลา การใช้ยาตัวเดิมอยู่ตลอดอาจไม่สามารถคุมเบาหวานได้ทุกครั้ง จึงทำให้แพทย์ต้องนัดคนไข้เข้ามาตรวจดูอาการและปรับเปลี่ยนยาอยู่ตลอดนั่นเอง

สัญญาณการมาเยือนของ “โรคเบาหวาน”

สัญญาณการมาเยือนของ “โรคเบาหวาน”

เบาหวานอาจเป็นโรคใกล้ตัวของใครหลายๆ คน เพราะนอกจากจะเป็นโรคที่พบได้บ่อยแล้ว ยังเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย และถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ถ้าเราสามารถตรวจพบเจอได้ตั้งแต่แรกเริ่ม ก็จะทำให้การดูแลรักษาควบคุมโรคเป็นไปได้ด้วยดี โรคก็จะไม่ลุกลามและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่นๆ ตามมา เสี่ยงเป็นเบาหวานหรือไม่?… สามารถสังเกตได้จาก ✔️ ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืน ✔️ หิวน้ำบ่อย ✔️ น้ำหนักขึ้นลง ผิดปกติ ✔️ กินเยอะ ยิ่งกินยิ่งผอม ✔️ ตามัว มองเห็นไม่ค่อยชัด ✔️ เวลาเป็นแผล แผลจะหายช้ากว่าปกติ ใครที่มีอาการดังกล่าว ร่วมกับมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ด้วยการเจาะเลือดตรวจ เพราะหากพบว่าเป็นโรคเบาหวานจะได้รีบรักษาและรับคำแนะนำการดูแลตัวเองที่ถูกต้องจากแพทย์

สัญญาณการมาเยือนของ “โรคเบาหวาน”

สัญญาณการมาเยือนของ “โรคเบาหวาน”

เบาหวานอาจเป็นโรคใกล้ตัวของใครหลายๆ คน เพราะนอกจากจะเป็นโรคที่พบได้บ่อยแล้ว ยังเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย และถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ถ้าเราสามารถตรวจพบเจอได้ตั้งแต่แรกเริ่ม ก็จะทำให้การดูแลรักษาควบคุมโรคเป็นไปได้ด้วยดี โรคก็จะไม่ลุกลามและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่นๆ ตามมา เสี่ยงเป็นเบาหวานหรือไม่?… สามารถสังเกตได้จาก ✔️ ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืน ✔️ หิวน้ำบ่อย ✔️ น้ำหนักขึ้นลง ผิดปกติ ✔️ กินเยอะ ยิ่งกินยิ่งผอม ✔️ ตามัว มองเห็นไม่ค่อยชัด ✔️ เวลาเป็นแผล แผลจะหายช้ากว่าปกติ ใครที่มีอาการดังกล่าว ร่วมกับมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ด้วยการเจาะเลือดตรวจ เพราะหากพบว่าเป็นโรคเบาหวานจะได้รีบรักษาและรับคำแนะนำการดูแลตัวเองที่ถูกต้องจากแพทย์

เบาหวาน เสี่ยงเหงือกอักเสบ

เบาหวาน เสี่ยงเหงือกอักเสบ

เบาหวาน เสี่ยงเหงือกอักเสบ ผู้เป็นเบาหวานมีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแบคทีเรียต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคเหงือกอักเสบ และสูญเสียฟันมากกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก รวมถึงอาการปากแห้ง ปวดแสบปวดร้อน ติดเชื้อในช่องปากง่าย และแผลหายช้า ดังนั้นผู้ที่เป็นเบาหวานหรือมีคนในครอบครัวเป็นเบาหวานควรได้รับความรู้และฝึกทักษะในการดูแลอนามัยช่องปากด้วยตัวเองเป็นประจำทุกวัน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบ การดูแลความสะอาดช่องปากอย่างถูกต้องและได้ผลที่ดีนั้น ควรต้องปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีและจะได้มีฟันที่แข็งแรงเอาไว้ใช้เคี้ยวอาหารได้นานๆ

สังเกตตัวเองอย่างไร?… ว่าเป็นเบาหวาน

สังเกตตัวเองอย่างไร?… ว่าเป็นเบาหวาน

สังเกตตัวเองอย่างไร?… ว่าเป็นเบาหวาน ปัจจุบันพบผู้ป่วยเบาหวานในคนอายุน้อยลงเนื่องจากน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือพบในผู้สูงอายุ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นก็จะมีภาวะดื้ออินซูลินเกิดขึ้นได้ตามอายุ ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอาการ 3 แบบใหญ่ๆ ที่ตรวจพบได้ แบบที่ 1 ดื่มน้ำเยอะ กินเก่งแต่น้ำหนักตัวลดลง ปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน บางคนตื่นมาปัสสาวะทั้งคืน กลุ่มนี้จะรู้สึกอ่อนเพลียไม่มีแรง ในช่วงแรกๆ อาจจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้แต่ในระยะยาวผู้ป่วยกลุ่มนี้จะผอมลง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ก็จะสลายไขมันเป็นพลังงานแทนทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ผอมลงเรื่อยๆ แบบที่ 2 ไม่มีอาการอะไรเลยแต่มาตรวจพบระหว่างตรวจร่างกายซึ่งพบได้บ่อย แบบที่ 3 มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อ เป็นแผลเรื้อรังแล้วไม่หาย เมื่อไปตรวจก็พบว่ามีเบาหวานเกิดขึ้น

ไขข้อสงสัย? สารพัดปัญหาเบาหวาน ที่หลายคนอยากรู้

ไขข้อสงสัย? สารพัดปัญหาเบาหวาน ที่หลายคนอยากรู้

Q: สังเกตตัวเองอย่างไร?… ว่าเป็นเบาหวาน ปัจจุบันพบผู้ป่วยเบาหวานในคนอายุน้อยลงเนื่องจากน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือพบในผู้สูงอายุ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นก็จะมีภาวะดื้ออินซูลินเกิดขึ้นได้ตามอายุ ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอาการ 3 แบบใหญ่ๆ ที่ตรวจพบได้ แบบที่ 1ดื่มน้ำเยอะ กินเก่งแต่น้ำหนักตัวลดลง ปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน บางคนตื่นมาปัสสาวะทั้งคืน กลุ่มนี้จะรู้สึกอ่อนเพลียไม่มีแรง ในช่วงแรกๆ อาจจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้แต่ในระยะยาวผู้ป่วยกลุ่มนี้จะผอมลง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ก็จะสลายไขมันเป็นพลังงานแทนทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ผอมลงเรื่อยๆ แบบที่ 2ไม่มีอาการอะไรเลยแต่มาตรวจพบระหว่างตรวจร่างกายซึ่งพบได้บ่อย แบบที่ 3 มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อ เป็นแผลเรื้อรังแล้วไม่หาย เมื่อไปตรวจก็พบว่ามีเบาหวานเกิดขึ้น Q: เป็นเบาหวานแล้วรักษาหายไหม? เบาหวานจัดว่าเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ต้องการดูแลและการรักษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อเป็นเบาหวานแล้วส่วนใหญ่ต้องอาศัยระเบียบวินัยในการดูแลตัวเองทั้งการกินอาหาร การออกกำลังกาย แล้วก็การกินยา Q:ทำไม? ผู้ป่วยเบาหวานถึงต้องไปพบคุณหมอบ่อยๆ การที่ต้องมาพบแพทย์สม่ำเสมอนั้น เพราะว่าเราทานอาหารแต่ละวันไม่เท่ากันและปริมาณน้ำตาลที่ทานเข้าไปก็ไม่เท่ากัน แต่ปริมาณยาต้องปรับตามน้ำตาล เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติให้มากที่สุด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นจากการที่มีน้ำตาลในเลือดสูงนานๆ โดยแพทย์จะใช้โปรแกรมการตรวจเบาหวาน ที่มีไว้สำหรับตรวจดูคุณภาพการควบคุมเบาหวานที่ผ่านมาว่าผู้ป่วยควบคุมเบาหวานได้ดีมากน้อยแค่ไหน น้ำตาลในเลือดเป็นอย่างไร มีโรคแทรกซ้อนอื่นที่เกี่ยวกับเบาหวานเกิดขึ้นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงตลอดจนโรคแทรกซ้อนเรื้อรังที่อาจเกิดขึ้นจากการเป็นเบาหวานมานาน ซึ่งจะเกิดกับอวัยวะหลายอย่าง เช่น ตา ไต  […]

ชานมไข่มุกน้ำตาลสูง เสี่ยงเบาหวาน

ชานมไข่มุกน้ำตาลสูง เสี่ยงเบาหวาน

ปัจจุบันชานมไข่มุกเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในกลุ่มเด็ก วัยรุ่น ไปจนถึงวัยทำงาน แล้วรู้หรือไม่? ครับว่า… ในชานมไข่มุก 1 แก้วนั้น มีปริมาณน้ำตาลสูงเกินกว่าที่ร่างกายควรได้รับเกือบถึง 2 เท่า โดยความต้องการน้ำตาลต่อวันของคนปกติ คือไม่ควรเกิน 6 ช้อนชา แต่ชานมไข่มุกมีน้ำตาลสูงถึง 8-11 ช้อนชา หรือประมาณข้าว 3-4 ทัพพีซึ่งส่วนประกอบหลักของชานมไข่มุกคือน้ำตาลและแป้ง ที่ให้พลังงานสูงถึง 300-400 กิโลแคลอรี่ หากเราทานเป็นประจำจะทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ นอกจากนี้น้ำตาลที่สูงเกินจะไปสะสมอยู่ที่ตับ หากเกินกว่าร่างกายจะกำจัดได้จะถูกแปลงเป็นไขมัน และทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงตามมาได้ เราจึงไม่ควรดื่มชานมไข่มุกเป็นประจำทุกวัน หากต้องการดื่มก็ควรคำนึงถึงพลังงานที่ได้รับ โดยการลดปริมาณการทานอาหารกลุ่มข้าวแป้งและน้ำตาลจากอาหารชนิดอื่นๆ ในมื้ออื่นๆ ลง หรืออาจลดปริมาณน้ำตาลที่ใส่ในชานมไข่มุกและออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานที่ร่างกายได้รับในแต่ละวันด้วยนะครับ

1 2 3 5