”แพทย์นวัตกร” ครั้งแรกของไทย ตอบโจทย์ยุคดิสรัพชั่น

รามาฯ จับมือวิศวะ มหิดล ผนึกพลังผลิตแพทย์นวัตกร ครั้งแรกในประเทศไทย

รามาฯ จับมือวิศวะ มหิดล ผนึกพลังผลิตแพทย์นวัตกร ครั้งแรกในประเทศไทย

ครั้งแรกในประเทศไทย มุ่งสร้าง”แพทย์นวัตกร” ตอบโจทย์ยุคดิสรัพชั่น โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวหลักสูตรร่วมแพทย์–วิศวะ (พ.บ. – วศ. ม.) และลงนามบันทึกความร่วมมือในโครงการร่วม“หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต – วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์” เรียน 3-1-3 ปี สองปริญญา ศักยภาพใหม่ของคนไทยและประเทศไทยในการก้าวเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต โดยตอบรับเป้าหมายเมดิคัลฮับ และนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์.ใน EEC ศ. นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงความสำคัญและความร่วมมือในการจัดตั้งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต – วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ว่า เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการนำดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในทางการแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แพทย์จึงจำเป็นต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นอกจากความรู้ด้านการแพทย์ที่ดีแล้ว ทักษะและความเข้าใจทางด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแพทย์ยุคใหม่ อีกทั้ง คนรุ่นใหม่มีความสามารถและความสนใจทั้งในด้านการแพทย์และวิศวกรรม ดังนั้น หลักสูตรร่วมแพทย์–วิศวะ (พ.บ. – วศ. ม.) จะช่วยดึงศักยภาพและเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ในการสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ จากความรู้ทางด้านแพทย์และวิศวกรรม จุดเด่นของหลักสูตรร่วมแพทย์–วิศวะ (พ.บ. – […]