โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

นักวิชาการให้กำลังใจ สจล.โครงการพัฒนาริมฝั่งฯ ชูการมีส่วนร่วมและสืบสานมรดกวัฒนธรรม

นักวิชาการให้กำลังใจ สจล.โครงการพัฒนาริมฝั่งฯ ชูการมีส่วนร่วมและสืบสานมรดกวัฒนธรรม

อ.นักวิชาการอิสระ กรรมการกลางสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพรบ.ควบคุมอาคาร ให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (Chao Phraya for All ) ว่าเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ โดยพัฒนาบนฐานมรดกวัฒนธรรม อนุรักษ์-สืบสาน-สร้างสรรค์ โดยบูรณาการทำงานระหว่างทีมประวัติศาสตร์ การสืบค้นข้อมูล แผนที่เก่าเพื่อดูว่าที่นี่เคยเป็นอะไรมาก่อน การมีส่วนร่วมของชุมชน ทีมสิ่งแวดล้อม พฤกษศาสตร์ สถาปัตยกรรม วิศวกรรม ชลศาสตร์ หลากหลายองค์กความรู้มาผสมผสานเป็นการออกแบบร่วมกัน รับฟังข้อคิดเห็น พร้อมไปกับแก้ปัญหาชุมชนและสาธารณูปโภคไปด้วย ตัวอย่างชุมชนที่ได้รับการอนุรักษ์ เช่น ชุมชนวัดเทวราชกุญชร ปากคลองผดุงกรุงเกษม, ชุมชนมิตตคาม 1 (ชาวน้ำแห่งสุดท้ายของเจ้าพระยา), ชุมชนสีคาม (บ้าน 100 ปี ชุมชนจีนที่มาค้าขายดั้งเดิมใกล้ท่าน้ำสามเสน ตั้งแต่สมัย ร.5), หมู่บ้านโปรตุเกสแห่งบางกอก วัดคอนเซ็ปชัญ ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 320 ปี คนส่วนใหญ่ให้กำลังใจ สจล.ทำงานได้ครบมิติและรอบด้านเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ โครงการใหญ่ย่อมมีคนเสียประโยชน์และเสียงค้านเป็นธรรมดา อย่างสมัยก่อน BTS ก็มีคนเดินขบวนค้านกัน มาวันนี้ทุกคนเห็นประโยชน์ ปัจจุบันประชากรในปริมณฑลเพิ่มจำนวนสูงมากจากการขยายตัวของเมือง ทั้งปทุม นนทบุรี สมุทรปราการ เมื่อคิดจะพักผ่อนก็จะไปพัทยา […]

ผังแม่บทพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในงานนิทรรศการ-รับฟังความเห็น ครั้งที่ 2

ผังแม่บทพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในงานนิทรรศการ-รับฟังความเห็น ครั้งที่ 2

รศ.ดร.สกุล ห่อวโนทยาน ผู้จัดการโครงการเป็นประธานเปิดงานนิทรรศการและรับฟังข้อคิดเห็นครั้งที่ 2 โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เผยแบบร่างแนวคิดแผนแม่บทระยะทางสองฝั่งรวม 57 กม. และระยะนำร่องสองฝั่งรวม 14 กม. ณ ลานกิจกรรมใกล้ศูนย์มรดกเจ้าพระยา สะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี จัดโดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาการสำรวจวิจัยและออกแบบ มุ่งการพัฒนาพื้นที่บนฐานมรดกวัฒนธรรมและโบราณคดีชุมชน รวมทั้งโบราณคดีเมือง เพื่อการอนุรักษ์สืบสานและสร้างสรรค์ สู่อนาคต “ เจ้าพระยาเพื่อทุกคน” ส่งเสริมศักยภาพของพื้นที่ชุมชนสองฝั่งเจ้าพระยา การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและรองรับสังคมสูงวัยในอนาคตอันใกล้ เผยพัฒนาชุมชนเทวราชกุญชรเป็นต้นแบบ ความก้าวหน้าของโครงการ รศ.ดร. สกุล ห่อวโนทยาน ผู้จัดการโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ( Chao Phraya for All ) กล่าวว่า การดำเนินงานทุกด้านของโครงการ 4 เดือน ตั้งแต่มีนาคมถึงปัจจุบัน มีความก้าวหน้าตามเป้าหมายที่วางไว้ในด้านการมีส่วนร่วมและโบราณคดีชุมชนได้ลงพื้นที่ 33 ชุมชน ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการออกแบบพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยานั้น เรายังได้ร่วมมือกับกรมศิลปากร และคณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ในการศึกษาแม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่สองฟากฝั่งอันเป็นมรดกวัฒนธรรมสำคัญของประเทศ เพื่อทำให้เข้าใจคุณค่าและนำไปสู่การอนุรักษ์ […]

สจล., มข.ที่ปรึกษาแถลงคืบหน้าโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดรับฟัง 8 ก.ค นี้

สจล., มข.ที่ปรึกษาแถลงคืบหน้าโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดรับฟัง  8 ก.ค นี้

สจล., มข. ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา(Chao Phraya for All) แถลงความคืบหน้าของโครงการฯ และเปิด “ศูนย์ศึกษามรดกเจ้าพระยา” สร้างองค์ความรู้แม่น้ำกับประชาชน เตรียมเปิดเวทีสาธารณะ (ครั้งที่ 2) และชมผังแม่บทแนวคิด 57 กม. และ 14 กม.ในวันที่ 8 ก.ค. 59 (9.00 -12.30 น) ณ ศูนย์ศึกษามรดกเจ้าพระยา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ปรึกษาและสำรวจออกแบบโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (Chao Phraya for All) ซึ่งเป็นการฟื้นฟูแม่น้ำ พัฒนาพื้นที่ภูมิทัศน์และทางเดินเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะ โดยกระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานครมีจุดมุ่งหมายเพื่อมอบพื้นที่สาธารณะให้กับประชาชนทุกคน ทุกระดับ ให้สามารถเข้าถึงแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีดังเช่นในนานาประเทศ โดยมุ่งเน้นและขับเคลื่อนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและยั่งยืน ที่ปรึกษาแจงความคืบหน้าโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ลงพื้นที่ 33 ชุมชน ร่วมออกแบบและพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งเจ้าพระยา พร้อมเปิด ”ศูนย์ศึกษามรดกเจ้าพระยา” เชื่อมโยง 33 ชุมชน สร้างเสริมองค์ความรู้แม่น้ำกับประชาชน เผยแบบแนวคิดตามแผนแม่บท 57 […]

เจาะใจ…อาสาสมัครรักษ์เจ้าพระยา ศูนย์ศึกษามรดกเจ้าพระยา

เจาะใจ…อาสาสมัครรักษ์เจ้าพระยา ศูนย์ศึกษามรดกเจ้าพระยา

ปิดเทอมภาคฤดูร้อนเป็นช่วงเวลาที่วัยโจ๋ต่างรอคอยสำหรับความสนุกสนาน การท่องเที่ยวเดินทาง พักผ่อน บ้างทำงานอดิเรก ฝึกเล่นกีฬาที่ชื่นชอบ บ้างก็กลับไปเยี่ยมภูมิลำเนาเดิม แต่สำหรับเยาวชนคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ 10 กว่าคน เขาเลือกมาเป็นอาสาสมัครรักษ์เจ้าพระยา ของศูนย์ศึกษามรดกเจ้าพระยา ซึ่งตั้งอยู่ใต้สะพานพระราม 8 ในโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (Chao Phraya for All) โดยทำหน้าที่จิตอาสาช่วยพี่ๆในกิจกรรมเรวบรวมข้อมูลและผยแพร่การเรียนรู้เกี่ยวกับแม่น้ำในการพัฒนาชุมชนสองฝั่งเจ้าพระยา หนุ่มสาวรุ่นใหม่เหล่านี้ได้สัมผัสประสบการณ์และเรียนรู้การฟื้นฟูแม่น้ำ สืบสานมรดกวัฒนธรรม และคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน มาคุยกับสามหนุ่มสาววัยสดใสและเปี่ยมจิตอาสาเพื่อแม่น้ำที่เราทุกคนรัก นัฐวุฒิ หนูพุ่ม หรือ กอล์ฟ หนุ่มน้อยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 2 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ช่วงปิดเทอมปีนี้สนุกและได้ความรู้ ผมมาเป็นอาสาสมัครรักษ์เจ้าพระยาเพราะเคยได้ฟังแนวคิดการฟื้นฟูและพัฒนาภูมิทัศน์แม่น้ำของอาจารย์รณฤทธิ์ ธนโกเศศ จึงอยากจะเข้ามามีส่วนร่วมช่วยชุมชนอนุรักษ์ สืบสานและสร้างสรรค์วิถีชีวิตริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีชุมชนรวม 33 ชุมชน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้ติดตามพี่ๆสถาปนิก นักประวัติศาสตร์ชุมชน ลงพื้นที่ชุมชนวัดเทวราชกุญชร ผมได้เรียนรู้การสำรวจและการเก็บข้อมูลการทำโบราณคดีชุมชนของทีมพี่ๆร่วมกับคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบนิเวศน์อย่างแถวนี้เคยมีป่าต้นลำพู มีประวัติศาสตร์ มรดกชุมชนที่น่าสนใจ ความเชื่อ ศูนย์รวมกิจกรรม ชาติพันธ์ แม้แต่โทนสีของชุมชน ลักษณะต่างๆ ที่พบเจอในชุมชน หลายอย่างเราไม่สามารถสังเกตเอาเองได้ จึงสืบค้นจากเป็นคำบอกเล่า ภาพถ่าย […]

โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดเพิ่ม 5 ช่องทางรับฟังความคิดเห็น

โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา  เปิดเพิ่ม 5 ช่องทางรับฟังความคิดเห็น

โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (Chao Phraya for All) โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการ นำโดย ดร.กมล เกียรติเรืองกมลา รองผู้จัดการโครงการ ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี รองผู้จัดการและโฆษก เปิดเพิ่ม 5 ช่องทางรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ได้แก่ เว็บไซต์ www.chaophrayaforall.com ตู้ ปณ.90 บางซื่อ กทม. 10800 เพจ Facebook : Chao Phraya for All หรือทาง Email : Chaophrayaforall@gmail.com และโทร. 091-738-6859 เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และร่วมกันสร้างสรรค์พัฒนาภูมิทัศน์ วัฒนธรรมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างยั่งยืน สำหรับโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นโครงการของกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร มอบหมายให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เป็นที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบ เพื่อฟื้นฟูแม่น้ำ พัฒนาภูมิทัศน์ […]

สจล. ชี้แจงรับงานเป็นที่ปรึกษาโครงการของรัฐ เป็นไปตามกฏหมาย เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ

สจล. ชี้แจงรับงานเป็นที่ปรึกษาโครงการของรัฐ เป็นไปตามกฏหมาย เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ

จากกรณีที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (Chao Phraya for All) ได้รับการกล่าวอ้างว่า สจล. ซึ่งเป็นสถานศึกษา รับดำเนินการเป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาของรัฐ โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วิศวกร พ.ศ. 2542 หมวด 6 เรื่องการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม มาตรา 45-49 สจล. ได้ชี้แจงการรับงานเป็นที่ปรึกษาโครงการของรัฐ เป็นไปตามข้อบังคับ กฎหมาย เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ ทั้งนี้ เคยมีมติ ครม.ปี 2531 และสนง.คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยมีความเห็น 3 ครั้ง ตามเรื่องเสร็จที่ 137/2547แล้วว่า มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นนิติบุคคลมหาชนซึ่งปฏิบัติตามกฏหมายที่ให้อำนาจบัญญัติไว้อยู่แล้วย่อมมีอำนาจดำเนินการได้ โดยไม่ต้องได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกร นอกจากนี้ยังเคยมีความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่วินิจฉัยในทำนองเดียวกัน อาทิ เรื่องเสร็จที่ 236/2517 และเรื่องเสร็จที่ 837/2546 ตามลำดับ 99 ปีที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยในไทย กับ บทบาทร่วมพัฒนาประเทศ รศ.สุพจน์ ศรีนิล คณะทำงานด้านวิศวกรรมโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (Chao […]

โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1

โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1

กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (Chao Phraya for All) ซึ่งดำเนินงานศึกษาวิจัยทางวิชาการ สำรวจ ออกแบบและจัดทำแผนแม่บทระยะ 57 กม. และระยะนำร่อง 14 กม. เพื่อพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ณ ห้องอมรินทร์ โรงแรม เอส. ดี. อเวนิว ปิ่นเกล้า จากภาคประชาชน หน่วยงาน องค์กร และภาคส่วนต่างๆ ในการฟื้นฟูแม่น้ำ พัฒนาภูมิทัศน์วัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และพื้นที่สาธารณะของประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน ให้มีความสมบูรณ์และครอบคลุมถึงประเด็นสำคัญทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยแนวทางสืบสานอนุรักษ์อย่างบูรณาการ พัฒนาจากพื้นฐาน “มรดกวัฒนธรรม” เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน พร้อมลงพื้นที่เพื่อเตรียมการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม IEE และ EIA เมื่อแบบแล้วเสร็จต่อไป รศ.ดร.สกุล ห่อวโนทยาน ผู้จัดการโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา(Chao Phraya for All) กล่าวว่า การจัดเวทีสาธารณะในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำโครงการ […]

โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1

โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1

โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (Chao Phraya for All) โดย กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ที่ปรึกษา ซึ่งดำเนินงานศึกษาวิจัยทางวิชาการ สำรวจ ออกแบบและจัดทำแผนแม่บทระยะ 57 กม. และระยะนำร่อง 14 กม. เพื่อพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ณ ห้องอมรินทร์ โรงแรม เอส. ดี. อเวนิว ปิ่นเกล้า จากภาคประชาชน หน่วยงาน องค์กร และภาคส่วนต่างๆ ในการฟื้นฟูแม่น้ำ พัฒนาภูมิทัศน์วัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และพื้นที่สาธารณะของประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน ให้มีความสมบูรณ์และครอบคลุมถึงประเด็นสำคัญทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยแนวทางสืบสานอนุรักษ์อย่างบูรณาการ พัฒนาจากพื้นฐาน “มรดกวัฒนธรรม” เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน พร้อมลงพื้นที่เพื่อเตรียมการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม IEE และ EIA เมื่อแบบแล้วเสร็จต่อไป รศ.ดร.สกุล ห่อวโนทยาน ผู้จัดการโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา(Chao Phraya for All) […]

ความคืบหน้าโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดเวทีสาธารณะ 22 เมย.59

ความคืบหน้าโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดเวทีสาธารณะ 22 เมย.59

การฟื้นฟูแม่น้ำเจ้าพระยาและพัฒนาภูมิทัศน์ครั้งสำคัญ โดย กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร มีเจตจำนงที่จะสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะให้ประชาชนทุกคนทุกระดับสามารถเข้าถึงแม่น้ำได้อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนทุกคน ดังเช่นในนานาประเทศนั้น โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (Chao Phraya for All) มุ่งขับเคลื่อนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความยั่งยืน โดยมีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นที่ปรึกษาการสำรวจ และออกแบบ แจงความคืบหน้าโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยกระบวนการมีส่วนร่วมและลงพื้นที่ 32 ชุมชน ได้ข้อคิดเห็นจากชุมชนและภาคส่วนต่างๆ เดินหน้างานศึกษา สำรวจและวิเคราะห์พื้นที่ศึกษาด้านภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ ด้านชลศาสตร์และอุทกวิทยา งานออกแบบเบื้องต้น (Preliminary Design) ทางเดิน-ปั่นในระยะทาง 14 กม. พร้อมทั้งเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ในวันที่ 22 เมษายน 2559 ที่โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว ถนนปิ่นเกล้า พร้อมแผนเตรียมเปิด ศูนย์เรียนรู้เจ้าพระยา เพื่อให้คนรุ่นใหม่ ชุมชนและประชาชน ได้ศึกษาวิจัยและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาและการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยตลอดสองฝั่งแม่น้ำ เชื่อมโยงการศึกษา ภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยว พร้อมไปกับการอนุรักษ์และพัฒนาสืบสานชุมชนวัฒนธรรมริมน้ำ รศ.ดร.สกุล ห่อวโนทยาน ผู้จัดการโครงการพัฒนาริมฝั่งเจ้าพระยา กล่าวว่า […]

ร่วมใจพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ประชุมผู้นำชุมชนเตรียมลงพื้นที่สำรวจเขตบางซื่อ

ร่วมใจพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ประชุมผู้นำชุมชนเตรียมลงพื้นที่สำรวจเขตบางซื่อ

โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา หรือ Chaopraya The River For All โดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล. ) ที่ปรึกษาการสำรวจ ออกแบบและจัดทำแผนแม่บท นำโดยรศ.ดร.สกุล ห่อวโนทยาน ผู้จัดการโครงการ ดร. กมล เกียรติเรืองกมลา รองผู้จัดการด้านสถาปัตยกรรม และคณะทำงานได้ เริ่มต้นลงพื้นที่เพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ในโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงนำร่อง 14 กิโลเมตร ณ สำนักงานเขตบางซื่อ จัดประชุมหารือกับผู้นำชุมชนและทีมงานเขตบางซื่อเกี่ยวกับการทำความเข้าใจ ข้อมูลโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน การเตรียมลงชุมชนสำรวจพื้นที่และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในบรรยากาศร่วมแรงร่วมใจกัน ชุมชนริมฝั่งเขตบางซื่อประกอบด้วยผู้นำชุมชนราชทรัพย์ ชุมชนวัดบางโพ ชุมชนเชิงสะพานพิบูลฝั่งซ้าย และชุมชนวัดสร้อยทอง เห็นด้วยกับโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีลักษณะเป็นทางเดิน-ปั่นจักรยานเลียบแม่น้ำ ซึ่งเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียว นันทนาการ วัฒนธรรม และระบบขนส่งสาธารณะรถ เรือ ราง โครงการไม่ใช่ถนนให้รถวิ่งอย่างที่เข้าใจผิดกันแต่ก่อน ชุมชนพร้อมให้ความร่วมมือในการลงสำรวจพื้นที่และรับฟังความคิดเห็นในชุมชน รศ.ดร.สกุล ห่อวโนทยาน ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบพื้นที่สาธารณะแก่ประชาชนและให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงแม่น้ำได้สะดวกและปลอดภัย ฟื้นฟูแม่น้ำ และพัฒนาภูมิทัศน์สวยงามในแต่ละพื้นที่แตกต่างไปตามอัตลักษณ์ของชุมชนและศูนย์รวมกิจกรรมแต่ละพื้นที่ […]