AF

หัวใจเต้นผิดจังหวะ AF สาเหตุหลอดเลือดสมองอุดตัน

หัวใจเต้นผิดจังหวะ AF สาเหตุหลอดเลือดสมองอุดตัน

มีใครเคยรู้ไหม? ครับว่า… โรคหัวใจสามารถทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต จากหลอดเลือดสมองอุดตันได้ ซึ่งโรคหัวใจที่เป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดสมองอุดตัน นั่นก็คือโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่เรียกว่าหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว หรือ AF (Atrial Fibrillation) ขณะที่เป็น AF หัวใจห้องบนจะเต้นเร็วมากกว่า 350 ครั้งต่อนาที การที่หัวใจห้องบนเต้นเร็วขนาดนี้ ทำให้การบีบตัวของหัวใจไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีเลือดตกค้างกลายเป็นลิ่มเลือดอยู่ในหัวใจห้องบน ลิ่มเลือดเหล่านี้อาจหลุดออกและไหลตามกระแสเลือดขึ้นไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้สมองขาดเลือด เกิดภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตเฉียบพลัน (Stroke) แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด และจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันการเป็นอัมพาตอย่างถาวร ข้อมูลเพิ่มเติม https://bit.ly/30oxSvh

หัวใจเต้นผิดจังหวะ AF ภัยเงียบที่ร้ายแรง

หัวใจเต้นผิดจังหวะ AF ภัยเงียบที่ร้ายแรง

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF (Atrial Fibrillation) หรือหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว เป็นอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยที่สุดในทางการแพทย์ เป็นความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจห้องบนที่รุนแรงที่สุด เมื่อเกิดอาการ AF โดยเฉพาะหัวใจห้องบน กล้ามเนื้อหัวใจที่เต้นไม่ประสานกันแบบผิดจังหวะจะทำให้การไหลเวียนเลือดในห้องหัวใจไม่มีประสิทธิภาพ มีเลือดค้างในห้องหัวใจ ในระยะยาวผนังห้องหัวใจอาจเกิดเป็นถุงที่มีเลือดไม่ไหลเวียนตกค้างอยู่ จนเกิดลิ่มเลือดแข็งตัว ที่มีโอกาสหลุดออกไปอุดตันเส้นเลือดในอวัยวะสำคัญเช่น หลอดเลือดปอด หรือหลอดเลือดสมอง จนเกิดอันตรายถึงชีวิตหรือพิการได้ สาเหตุของการเกิด AF นั้น ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จากความเสื่อมของระบบไฟฟ้าหัวใจ แต่สำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่านั้นอาจมาจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจที่มีมาแต่กำเนิด ผู้ที่เริ่มเป็น AF จะมีอาการเป็นๆ หายๆ ในช่วงสั้นๆ จึงทำให้ไม่คิดว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับตัวเองจึงไม่ได้ใส่ใจ ซึ่งหากทิ้งไว้ไม่รักษาอาการก็จะเป็นบ่อยขึ้น นานขึ้น และอาจอันตรายถึงชีวิตได้ การรักษา AF โดยทั่วไปทำได้ด้วยการทานยาเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจไม่ให้เร็วเกินไป ในรายที่รักษาด้วยการทานยาไม่ได้ผลหรือเกิดผลข้างเคียงจากการทานยาหรือไม่ต้องการทานยาไปตลอดชีวิต อาจต้องรักษาโดยการจี้ด้วยคลื่นวิทยุ วิธีนี้ทำได้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม เป็นการรักษาที่ทำให้ AF หายเป็นปกติได้

หัวใจเต้นแรง แฝงไปด้วยอะไร?

หัวใจเต้นแรง แฝงไปด้วยอะไร?

อาการหัวใจเต้นแรงเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ ในกรณีที่เราตื่นเต้นหรือตกใจ แต่ถ้าในเวลาปกติยังมีอาการเหล่านั้นอยู่ ขอเตือนนะครับว่าไม่ดีแน่ๆ เพราะนั่นคือหนึ่งในอาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในรูปแบบของหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ #โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ https://goo.gl/kiHg7w ลองสังเกตตัวเองดูนะครับว่า อาการหัวใจเต้นเร็วที่ว่านี้มีร่วมกับอาการเหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก หรือบางครั้งมีหัวใจเต้นๆ หยุดๆ ตกวูบหรือเปล่า ถ้าใช่แนะนำให้ไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดผลแทรกซ้อนจากหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ร้ายแรง เช่น หัวใจวายเฉียบพลัน หรือลิ่มเลือดไปอุดตันสมองจนเกิดภาวะสมองขาดเลือดได้เลยนะครับ

สทน. ชวนชมคอนเสิร์ตศิลปิน AF พร้อมกิจกรรมรับของที่ระลึกเพียบ ในมหกรรมวิทย์ฯ 60

สทน. ชวนชมคอนเสิร์ตศิลปิน AF พร้อมกิจกรรมรับของที่ระลึกเพียบ ในมหกรรมวิทย์ฯ 60

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. จัดนิทรรศการในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2560 เพื่อเผยแพร่ความรู้และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในด้านต่างๆ ด้วยแนวคิด “การค้นพบโดยบังเอิญ” พร้อมกิจกรรมมากมาย และมินิคอนเสิร์ตจากนักร้อง AF ชื่อดัง ที่มาร่วมให้ความบันเทิงควบคู่ความรู้ ได้แก่ หนิม คนึงพิมพ์ (วันที่ 20 ส.ค.), ปอ อรรณพ (วันที่ 23 ส.ค.), เนสท์ นิศาชล (วันที่ 24 ส.ค.) และ น้ำ กัญญ์กุลณัช (วันที่ 25 ส.ค.) ในเวลา 11.30 น. ณ บูธ สทน. ภายในอาคาร 4 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี นอกจากนี้ยังมีมีเกมสนุกๆ ชิงรางวัลและรับของที่ระลึกได้ฟรีด้วย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.tint.or.th และเฟสบุ๊ค www.facebook.com/Thainuclearclub

7 ชั่วโมง ที่ผมเสียไปในห้องผ่าตัด มันคุ้มจริงๆกับวันนี้

7 ชั่วโมง ที่ผมเสียไปในห้องผ่าตัด มันคุ้มจริงๆกับวันนี้

“ หลังจากที่ผมเข้ารับการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุกหัวใจเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ก็คิดว่าอาการรุนแรงต่าง ๆ จากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะจบลง สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ตามปกติโดยไม่ต้องกังวลว่าอาการจะกำเริบจนอาจเสียชีวิตได้ตลอดเวลา แต่จู่ ๆ เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อผมมีอาการโรคหัวใจกำเริบขึ้นมาโดยไม่รู้สาเหตุ !! ผมจึงตัดสินใจมาที่นี่ พอตรวจก็พบว่าหัวใจขาดโพแทสเซียม ตอนแรกคุณหมอให้ทานยาโพแทสเซียมเสริม แต่มันก็ไม่หายขาด สุดท้ายแล้วคุณหมอจึงแนะนำให้รักษาด้วยเทคโนโลยีจี้สลายระบบไฟฟ้า จากที่ได้ฟัง มันน่าจะช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้นได้ เลยตัดสินใจทำ” ซึ่งหมอต้องบอกเลยนะครับ ว่าวิธีการนี้ถือเป็นวิธีการที่ค่อนข้างซับซ้อนและอาจต้องใช้เวลานาน แพทย์ที่ทำการรักษาต้องมีความเชี่ยวชาญอย่างมาก และอุปกรณ์ต้องพร้อม เพราะหากเกิดความผิดพลาดอาจทำให้ผู้ป่วยหัวใจทะลุจนเสียชีวิตได้ สำหรับคุณปิยะนั้นใช้เวลาในการจี้นานถึง 7 ชั่วโมง สามารถรักษาได้ไปถึง 2 จุดใหญ่ ๆ และยังเหลืออีก 2 จุดเล็กที่ไม่สามารถจี้ได้ทันที คุณหมอจึงได้ทำพิจารณาการรักษาอีก 2 จุดภายหลัง หลังจากที่ผ่าตัดกลับมาคุณปิยะสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม เพราะทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ด้วยการทานยาสม่ำเสมอ ลดความเครียดจากการทำงานลง หมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรงไม่เกิดขึ้นอีกเลย แม้ว่าจะต้องเดินทางไปต่างประเทศถึง 15 ชั่วโมง อาการก็ยังปกติดีอยู่ หมอรามดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งให้คุณปิยะหายจากอาการดังกล่าว ทำให้ได้ใช้ชีวิตอย่างอุ่นใจและปลอดภัยมากขึ้นนะครับ #อบอุ่น #เชี่ยวชาญ […]