Investigative Interviewing

TIJ จับมือตำรวจนอร์เวย์ และ DSI ร่วมยกระดับกระบวนการยุติธรรม ด้วย know-how “ซักถามเพื่อทำความจริงให้ปรากฏ”

TIJ จับมือตำรวจนอร์เวย์ และ DSI ร่วมยกระดับกระบวนการยุติธรรม ด้วย know-how “ซักถามเพื่อทำความจริงให้ปรากฏ”

มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ว่าการกดดันและการทรมานผู้ต้องสงสัย เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการค้นหาความจริงอย่างไรก็ดี จากการศึกษาข้อมูลที่ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า วิธีนี้ให้ผลที่ไม่น่าเชื่อถือเพราะมี “ผู้ต้องขัง” มากกว่า 25% ที่หลังจากใช้โทษไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง สามารถพิสูจน์ได้จากหลักฐาน DNA ภายหลังว่าแท้จริงเป็นผู้บริสุทธิ์ พวกเขาเป็นผู้ถูกกล่าวหาที่ยอม “รับสารภาพในความผิดที่ตนไม่ได้ก่อ” คนเหล่านี้มักเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีโอกาสน้อยกว่าคนทั่วไปในสังคม และถ้าศึกษาตัวเลขเฉพาะในกลุ่มเยาวชน จะพบว่าการสารภาพโดยไม่ได้กระทำผิด เพิ่มสูงเป็น 75% ทีเดียว (ที่มา : The Innocence Project) ตัวเลขที่น่าตกใจข้างต้น เป็นหนึ่งในสัญญาณที่บอกว่า ขั้นตอนการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน มีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้มาก และมีผลต่อการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนอย่างมีนัยยะสำคัญ ด้วยเหตุนี้ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) จึงได้ร่วมกับ Rule of Law and Development Fellows (RoLD Fellows) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ศูนย์สิทธิมนุษยชนแห่งนอร์เวย์ (Norwegian Centre for Human Rights) และวิทยาลัยตำรวจนอร์เวย์ (Norwegian Police […]