กฎหมาย

กสร. แจงประกาศกระทรวงแรงงาน ห้ามปิดงาน-นัดหยุดงาน เจตนาเพื่อระงับข้อพิพาทแรงงานในห้วงที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

กสร. แจงประกาศกระทรวงแรงงาน ห้ามปิดงาน-นัดหยุดงาน  เจตนาเพื่อระงับข้อพิพาทแรงงานในห้วงที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แจงการออกประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ให้ข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เข้าสู่การชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และห้ามนายจ้างปิดงานหรือหรือลูกจ้างนัดหยุดงานในระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เจตนาลดความเดือดร้อนนายจ้างลูกจ้างจากข้อพิพาทแรงงานช่วงสถานการณ์โควิด -19 หากนายจ้างลูกจ้างมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นผู้ชี้ขาด นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึงการออกประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ให้ข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เข้าสู่การชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และห้ามนายจ้างปิดงานหรือหรือลูกจ้างนัดหยุดงานในระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่า เนื่องจากกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ได้กำหนดให้นายจ้างมีสิทธิปิดงานและลูกจ้างมีสิทธินัดหยุดงานหากมีข้อพิพาทแรงงานที่ไม่สามารถตกลงกันได้ แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หากทั้งสองฝ่ายใช้สิทธิดังกล่าวก็จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อทั้งการประกอบการของนายจ้าง และมีผลกระทบต่อลูกจ้างที่ต้องขาดรายได้ อีกทั้งการรวมตัวกัน เพื่อหยุดงานอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และไม่เป็นไปตามมาตรการการเว้นระยะห่างเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าว ออกตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการหยุดกิจการเพราะเหตุจำเป็นซึ่งไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตามมาตรา 75 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไม่ใช่การปิดงานหรือนัดหยุดงานตามประกาศนี้ อธิบดีกสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า หากที่มีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดขึ้น นายจ้าง สหภาพแรงงานหรือลูกจ้าง สามารถให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งเป็นคณะกรรมการไตรภาคีตามพระราชบัญญัติแรงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานได้ กรณีที่มีการปิดงานหรือนัดหยุดงานอยู่ก่อนวันที่มีประกาศนี้ใช้บังคับ ให้นายจ้างซึ่งปิดงานรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน และให้ลูกจ้างที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงาน สำหรับระยะใช้บังคับของประกาศดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2563 […]

อธิบดี กสร.เผยผลตรวจแรงงานประมง ศูนย์ PIPO พบผิดลดลง

อธิบดี กสร.เผยผลตรวจแรงงานประมง ศูนย์ PIPO พบผิดลดลง

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เผยผลตรวจคุ้มครองแรงงานในกิจการประมงทะเล พบนายจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพรบ.คุ้มครองแรงงานลดลงต่อเนื่อง คาดมาจากการรับรู้กฎหมายที่เพิ่มขึ้นและการเคร่งครัดในการดำเนินการตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึงผลการตรวจคุ้มครองแรงงานในกิจการประมงทะเล ในปีงบประมาณ 2563 (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 31 มีนาคม 2563) ว่า กสร. ได้จัดส่งพนักงานตรวจแรงงานร่วมเป็นชุดตรวจสหวิชาชีพในการตรวจแรงงานภาคประมงร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง โดยกสร.มีหน้าที่ตรวจสอบสภาพการจ้างและสภาพการทำงานบนเรือประมงให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจากการตรวจพบการกระทำผิดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบในช่วงเวลาเดียวกัน โดยในปี 2563 ตรวจแรงงาน ในทะเล 245 ครั้ง พบปฏิบัติไม่ถูกต้อง 2 ครั้ง ขณะที่ปี 2562 ตรวจแรงงานในทะเล 529 ครั้ง พบปฏิบัติไม่ถูกต้อง 14 ครั้ง และปี 2561 ตรวจแรงงานในทะเล 480 ครั้ง พบการปฏิบัติไม่ถูกต้อง 33 ครั้ง สำหรับการตรวจคุ้มครองแรงงาน […]

กสร. เพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาคีด้านการคุ้มครองแรงงานทางทะเล

กสร. เพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาคีด้านการคุ้มครองแรงงานทางทะเล

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) พัฒนาศักยภาพพนักงานเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาคีด้านการคุ้มครองแรงงานทางทะเล รวมถึงเจ้าของเรือ และคนประจำเรือ ให้มีองค์ความรู้ใหม่ ทันต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในกิจการเดินเรือทะเลระหว่างประเทศ นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติขึ้นโดยมีเจตนารมณ์ที่จะคุ้มครองคนประจำเรือ ให้มีสภาพการจ้าง สภาพการทำงานที่ดีสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เนื่องจากการทำงานบนเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ มีสภาพการจ้าง และการทำงานแตกต่างจากปกติ รวมทั้งมีความเสี่ยงภัยจากภัยธรรมชาติและโจรสลัด จึงต้องนำอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล พ.ศ. ๒๕๔๙ และมาตรฐานอื่นๆ ในการเดินเรือในทะเลมาปฏิบัติ เพื่อเป็นการรับรองว่าแรงงานทางทะเลจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ดังนั้นเพื่อให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวเกิดประสิทธิภาพ และส่งเสริม คุ้มครองให้เจ้าของเรือปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย คนประจำเรือได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการคุ้มครองแรงงาน มีความปลอดภัยในการทำงานบนเรือ ป้องกันการค้ามนุษย์ในกิจการเดินเรือระหว่างประเทศ มีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงจำเป็นต้องมีกลไกประชารัฐ คือ มีความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และเอกชน อธิบดี กสร. กล่าวต่อว่า การพัฒนาศักยภาพให้พนักงานเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานทางทะเล ให้มีองค์ความรู้ใหม่ที่ทันต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ถือเป็นช่องทางที่สำคัญในการส่งเสริมการคุ้มครอง สิทธิประโยชน์ของแรงงานทางทะเล ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในกิจการเดินเรือทะเลระหว่างประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการให้คำปรึกษาและการรับคำร้อง กรมจึงได้เชิญพนักงานเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงเจ้าของเรือ และคนประจำเรือ รวมจำนวนทั้งสิ้น 40 […]

กสร.เผยผลเลือกตั้งนายจ้าง ลูกจ้าง เป็นกรรมการในสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ

กสร.เผยผลเลือกตั้งนายจ้าง ลูกจ้าง  เป็นกรรมการในสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เผยผลการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ชุดที่ 19 นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงง่าน (กสร.) เปิดเผยว่า กรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ เป็นคณะกรรมการไตรภาคีสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ประกอบด้วย กรรมการ 20 คน ได้แก่ กรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาล 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง ฝ่ายละ 5 คน มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี เนื่องจากกรรมการชุดปัจจุบันได้หมดวาระลง กสร. จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง เพื่อเป็นคณะกรรมการในสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 ผลการเลือกตั้งปรากฏดังนี้ กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างผู้ได้รับการเลือกตั้ง ได้แก่ 1.นายพลพัฒ กรรณสูต 2.นายสมชัย วรจรรยาวงศ์ 3.นายสุรชัย โฆษิตบวรชัย 4.นายนันทพล วงศ์เรืองวิศาล และ5.นายกานต์ สุมาลี กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างผู้ได้รับการเลือกตั้ง ได้แก่ 1.นายอาทิตย์ […]

กสร. สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายคุ้มครองแรงงาน ช่วยเป็นหูเป็นตา เฝ้าระวัง ดูแลแรงงานต่างด้าวให้ได้รับสิทธิตามกฎหมาย

กสร. สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายคุ้มครองแรงงาน ช่วยเป็นหูเป็นตา เฝ้าระวัง ดูแลแรงงานต่างด้าวให้ได้รับสิทธิตามกฎหมาย

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เสริมสร้างองค์ความรู้ในการบริหารชมรมเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวให้เข้มแข็ง เพิ่มทักษะด้านการสอดส่อง ดูแล เฝ้าระวัง และเบาะแสการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าวให้เป็นธรรม ทั่วถึงและเท่าเทียม นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กรมได้ดำเนินการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานในระบบ และเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว เพื่อทำหน้าที่สอดส่อง ดูแล เฝ้าระวัง และแจ้งเบาะแส เมื่อพบเห็นการใช้แรงงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งแรงงานเด็ก และการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ตลอดจนช่วยประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครองแรงาน ให้แก่ นายจ้าง ลูกจ้าง และประชาชนทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันมีบุคคลหลากหลายภาคส่วนของสังคมได้เข้ามาเป็นเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานเป็นจำนวนมาก และกระจายอยู่ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 2,206 คน ซึ่งบุคคลเหล่านี้เข้ามาปฏิบัติงานช่วยเหลือภาครัฐด้วยความเสียสละ ดังนั้น เพื่อให้เครือข่ายดังกล่าวเกิดความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน จึงได้จัด Workshop เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ในการบริหารชมรมเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว และองค์ความรู้ที่สำคัญที่จะได้นำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของเครือข่ายให้เกิดประสิทธิภาพ อาทิ บทบาทหน้าที่เครือข่ายการคุ้มครองแรงงานในสถานการณ์ในปัจจุบัน กฎหมายคุ้มครองแรงงานไทยกับมาตรฐานสากล เป็นต้น อธิบดี กสร. กล่าวต่อว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในครั้งนี้เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายคุ้มครองแรงงาน ที่จะเป็นหูเป็นตา เป็นกระบอกเสียงให้แก่กรม โดยการช่วยประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ นายจ้าง […]

กสร. เตรียมรับมือปรับขึ้นค่าจ้าง 1 ม.ค 63

กสร. เตรียมรับมือปรับขึ้นค่าจ้าง 1 ม.ค 63

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สั่งพนักงานตรวจแรงงานเร่งทำความเข้าใจนายจ้างลูกจ้างก่อนปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 1 ม.ค. นี้ พร้อมตรวจติดตามหลังปรับขึ้นค่าจ้าง ย้ำนายจ้างต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง สงสัยโทร 1506 กด 3 นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า ตามที่ครม. มีมติรับทราบประกาศคณะกรรมการค่าจ้างปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ ค่าจ้างขั้นต่ำมีการปรับเพิ่มขึ้นจำนวน 5 – 6 บาท โดยจะแตกต่างกันในแต่ละจังหวัด ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2563 เป็นต้นไปนั้น กสร. ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงานทั่วประเทศ เร่งลงพื้นที่เพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจกับนายจ้าง ลูกจ้างให้รับทราบสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย และภายหลังจากค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่มีผลบังคับใช้แล้วพนักงานตรวจแรงงานจะเข้าไปตรวจติดตามการจ่ายค่าจ้างของสถานประกอบกิจการ หากพบว่าปฏิบัติไม่ถูกต้องพนักงานตรวจแรงงานจะดำเนินการออกคำสั่งให้จ่ายค่าจ้างให้ถูกต้องตามกฎหมายทันที อธิบดีกสร. กล่าวต่อว่า ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอัตราค่าจ้างพื้นฐานสำหรับลูกจ้างที่เริ่มเข้าทำงาน สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีการจ่ายค่าจ้างเท่ากับหรือมากกว่าที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับใหม่ถือว่าปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม นายจ้างอาจจะพิจารณาปรับค่าจ้างตามอัตราส่วนให้กับลูกจ้างที่ทำงานกับสถานประกอบกิจการมานานเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับลูกจ้าง ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่กรุงเทพมหานคร 10 พื้นที่ หรือสายด่วน 1506 กด 3

กสร. ย้ำนายจ้างไม่แจ้งอุบัติเหตุ มีความผิด

กสร. ย้ำนายจ้างไม่แจ้งอุบัติเหตุ มีความผิด

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ย้ำนายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน กรณีเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงหรือลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงานจนเสียชีวิตต้องแจ้งพนักงานตรวจความปลอดภัยทันที ฝ่าฝืนมีความผิดตามกฎหมาย นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า จากการที่พนักงานตรวจความปลอดภัยได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอุบัติเหตุจากการทำงานที่เกิดขึ้น หลายครั้งพบว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่มีลูกจ้างเสียชีวิตจากอุบัติเหตุดังกล่าว นายจ้างมักจะไม่ได้แจ้งให้พนักงานตรวจความปลอดภัยทราบ ซึ่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 กำหนดให้นายจ้างต้องแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยทราบในทันทีกรณีที่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง หรือลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงานจนเป็นเหตุให้ลูกจ้างเสียชีวิต โดยจะแจ้งโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิธีอื่นใดที่มีรายละเอียดพอสมควรก็ได้ และจะต้องแจ้งรายละเอียดและสาเหตุเป็นหนังสือภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างเสียชีวิต สำหรับกรณีที่สถานประกอบกิจการได้รับความเสียหายหรือต้องหยุดการผลิต หรือมีบุคคลในสถานประกอบกิจการประสบอันตรายหรือได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากเพลิงไหม้ การระเบิด สารเคมีรั่วไหล หรืออุบัติภัยร้ายแรงอื่น จะต้องแจ้งเป็นหนังสือโดยระบุการแก้ไขและวิธีการป้องกันการเกิดซ้ำอีกภายใน 7 วัน นับแต่วันเกิดเหตุเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ หากนายจ้างหากไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดโดยมีโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท อธิบดีกสร. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ความผิดตามพ.ร.บ.ความปลอดภัยที่พบบ่อยครั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานคือ นายจ้างไม่ได้จัดทำและแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่จะเข้าทำงาน เปลี่ยนงานหรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน และไม่ได้จัดให้ลูกจ้างได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งความผิดดังกล่าวจะมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ถึงปรับไม่เกิน 2 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 6 […]

กสร. เร่งช่วย 230 ลูกจ้างนิตพอยน์ นครปฐม

กสร. เร่งช่วย 230 ลูกจ้างนิตพอยน์ นครปฐม

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เร่งช่วย 230 ลูกจ้าง บริษัท นิตพอยน์ จ.นครปฐม ถูกลอยแพหลังนายจ้างปิดกิจการ ยันสั่งติดตามค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชยโดยเร็ว พร้อมแจ้งสิทธิรับเงินกองทุนสงเคราะห์ ประสานหางาน ฝึกอาชีพ ดูแลสิทธิผู้ประกันตนประกันสังคม นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึงกรณีบริษัท นิตพอยน์ จำกัด จังหวัดนครปฐม ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 96 หมู่ที่ 3 ตำบลถนนขาด อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ประกอบกิจการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ปิดกิจการและลอยแพลูกจ้าง 230 คน ว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครปฐม ดำเนินการให้การช่วยเหลือในการติดตามค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยแก่ลูกจ้างแล้วตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยลูกจ้างจำนวน 182 คนได้ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครปฐมไว้แล้วพร้อมแต่งตั้งผู้แทนลูกจ้างจำนวน 4 คนเพื่อให้ข้อเท็จจริงในเรื่องนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้าง ทั้งนี้ พนักงานตรวจแรงงานได้ชี้แจงข้อกฎหมายและขั้นตอนการดำเนินการ และการยื่นคำร้อง ตลอดจนชี้แจงสิทธิ การขอรับเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ลูกจ้างด้วย อย่างไรก็ตาม กสร. จะเร่งประสานให้ลูกจ้างที่เหลือมายื่นคำร้องให้ครบถ้วน และได้สั่งการให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครปฐม ติดตามให้ความช่วยเหลือลูกจ้างอย่างใกล้ชิด และเร่งดำเนินการเพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายโดยเร็ว นายอภิญญา กล่าวต่อว่า […]

อบรม “กฎหมายและข้อบังคับสากลเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์และสิ่งแวดล้อมเพื่อกลยุทธ์การแข่งขัน สำหรับธุรกิจ”

เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมอบรม “กฎหมายและข้อบังคับสากลเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์และสิ่งแวดล้อมเพื่อกลยุทธ์การแข่งขันสำหรับธุรกิจ” ระหว่างวันที่ 23-24 เม.ย. 62 ณ รร.เซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่าลาดพร้าว โดยวิทยากรรับเชิญจากต่างประเทศ Prof. Gordon Robertson, University of Queensland, Australia จัดโดย ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมัครออนไลน์ได้ที่ >> https://goo.gl/qvGb8c ค่าใช้จ่าย 7,500 บาท/ท่าน (2 วัน) รับจำนวนจำกัดเพียง 50 ที่นั่ง สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0858333454 Download เอกสารประชาสัมพันธ์ >> https://goo.gl/bN2zQN

กสร. ชี้แจงกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่

กสร. ชี้แจงกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ชี้แจงร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. …. มาจากการพิจารณายกร่างโดยคณะกรรมการไตรภาคี และเปิดรับฟังความคิดเห็นวิเคราะห์อย่างรอบคอบโดยคำนึงถึงทุกฝ่าย เตรียมส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจแก่นายจ้าง ลูกจ้าง นายวิวัฒน์ ตังหงส์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงประเด็นที่มีข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีความเห็นชอบเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2561 โดยชี้แจงว่า การยกร่างกฎหมายดังกล่าวทำโดยคณะกรรมการไตรภาคี ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง และผู้แทนฝ่ายภาครัฐ และได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแล้ว เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นจากหน่วยงานภาคเอกชน ภาครัฐ และประชาชนทั่วไป จำนวน 297 คน รวมทั้งได้เปิดรับฟังผ่านทางเว็บไชต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (www.labour.go.th) ในช่วงระหว่างวันที่ 24 เมษายน ถึง 26 พฤษภาคม 2560 มีผู้สนใจเข้าชมเพื่อศึกษาร่างกฎหมาย จำนวน 235 คน โดยความเห็นที่ผ่านทั้งสองช่องทางส่วนใหญ่เห็นด้วยในหลักการเนื่องจากเป็นการขยายการคุ้มครองลูกจ้างมากขึ้น […]

1 2 3 4