มจพ.

นักวิจัย มจพ. ปลื้ม คว้า 1 ทอง 2 ทองแดง งาน SIIF2019 กรุงโซล เกาหลีใต้

นักวิจัย มจพ. ปลื้ม คว้า 1 ทอง 2 ทองแดง งาน SIIF2019 กรุงโซล เกาหลีใต้

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เป็นปลื้มคว้า 1 เหรียญทอง 2 เหรียญทองแดง จากงานแสดงผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์นานาชาติ Seoul International Invention Fair 2019 หรือ SIIF 2019 ที่ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ณ COEX กรุงโซล เกาหลีใต้ ผลงานที่ได้รับรางวัลมี ดังนี้ 1 เหรียญทอง 1 Special Prize (ซาอุฯ) ได้แก่ ผลงานชื่อ Anti-Ant and insect Masterbatch – มาสเตอร์แบช ผลิตภัณฑ์ป้องกันมดและแมลง โดย รศ.ดร.ระพีพันธ์ แดงตันกี TGGS 2 เหรียญทองแดง ได้แก่ ผลงานชื่อ 1) Simulation Pregnancy Box […]

มจพ.แสดงความยินดีแด่ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปีการศึกษา 2561

มจพ.แสดงความยินดีแด่ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปีการศึกษา 2561

ศาสตราจารย์ ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เป็นประธานพิธีเปิดงานและกล่าวต้อนรับในงานเลี้ยงแสดงความยินดีแด่ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปีการศึกษา 2561 พร้อมด้วย ดร.ศิริธัช โรจนพฤกษ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี มจพ. มอบของที่ระลึกและช่อดอกไม้ เพื่อเป็นเกียรติและร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 1) นายแสงชัย โชติช่วงชัชวาล ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ 2) Prof. Dr.-Ing. Habil. Herwig Unger ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) Prof. Dr. Gerhard Maximilian Feldmeier ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม

มจพ. ร่วมงานสัมมนา “AUTOMATION : ทางรอดของอุตสาหกรรมไทย ในยุค 4.0 จริงหรือ?

มจพ. ร่วมงานสัมมนา “AUTOMATION : ทางรอดของอุตสาหกรรมไทย ในยุค 4.0 จริงหรือ?

รศ.ดร. เชษฐวุฒิ ภูมิพิพัฒน์พงศ์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้รับเกียรติให้บรรยาย ในหัวข้อ “AUTOMATION : ทางรอดของอุตสาหกรรมไทย ในยุค 4.0 จริงหรือ?” เมื่อวัที่ 26 พฤศจิกายน 2562 ณ SME Bank Tower (สถานีรถไฟฟ้าอารีย์) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจให้ทุกๆภาคส่วนเห็นความสำคัญระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มีส่วนเข้ามาเสริมศักยภาพและสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรม และเมื่อมีความต้องการใช้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์จะสามารถเกิดขึ้นในประเทศไทยได้ กลุ่มเป้าหมายในการสัมนา เป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกประเภทอุตสาหกรรม ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดงานดังกล่าว ซึ่งได้รับความสนใจเป็นจำนวนมากจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ร่วมงาน “เมทัลเล็กซ์ 2019”

สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ร่วมงาน “เมทัลเล็กซ์ 2019”

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 ณ ห้องประชุม MR 213-214 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทคบางนา กรุงเทพฯ สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมงาน “เมทัลเล็กซ์ 2019 (Metalex 2019)” ซึ่งในปีนี้สถาบันฯ ได้จัดงานเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพกับการพัฒนาคุณภาพและเส้นทางอาชีพช่างเชื่อมไทย” โดยได้รับเกียรติจาก คุณนิธิวัชร์ ศิริปริยพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารคุณวุฒิวิชาชีพ 3 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) คุณวัชรพงษ์ มุขเชิด ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองความรู้ความสามารถ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน คุณนิพนธ์ ศิลาเลิศ กรรมการผู้จัดการบริษัทพีเอ็มศิลาเลิศ จำกัด คุณโฆสิต ทิพปภานาท จากบริษัท ดานีลี่ จำกัด ผศ.ดร.ปริยสุทธิ์ วัฒนธรรม และ ผศ.ดร.กฤตธี เอียดเหตุ อาจารย์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เป็นวิทยากรในการเสวนาครั้งนี้ จากนั้นได้มีพิธีมอบใบรับรองความรู้ความสามารถแก่ผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรโครงการผลิตบัณฑิตพันธ์ใหม่ ประจำปี […]

ภาพข่าว : สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ร่วมงาน “เมทัลเล็กซ์ 2019”

ภาพข่าว : สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ร่วมงาน “เมทัลเล็กซ์ 2019”

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 ณ ห้องประชุม MR 213-214 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพฯ สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมงาน “เมทัลเล็กซ์ 2019 (Metalex 2019)” ซึ่งในปีนี้สถาบันฯ ได้จัดงานเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพกับการพัฒนาคุณภาพและเส้นทางอาชีพช่างเชื่อมไทย” โดยได้รับเกียรติจาก คุณนิธิวัชร์ ศิริปริยพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารคุณวุฒิวิชาชีพ 3 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) คุณวัชรพงษ์ มุขเชิด ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองความรู้ความสามารถ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน คุณนิพนธ์ ศิลาเลิศ กรรมการผู้จัดการบริษัทพีเอ็มศิลาเลิศ จำกัด คุณโฆสิต ทิพปภานาท จากบริษัท ดานีลี่ จำกัด ผศ.ดร.ปริยสุทธิ์ วัฒนธรรม และ ผศ.ดร.กฤตธี เอียดเหตุ อาจารย์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เป็นวิทยากรในการเสวนาครั้งนี้ จากนั้นได้มีพิธีมอบใบรับรองความรู้ความสามารถแก่ผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรโครงการผลิตบัณฑิตพันธ์ใหม่ ประจำปี 2561 […]

เลโก้” คือ“แรงบันดาลใจในการออกแบบ สานฝันจินตนาการสู่เส้นทางการแข่งขันหุ่นยนต์

เลโก้” คือ“แรงบันดาลใจในการออกแบบ สานฝันจินตนาการสู่เส้นทางการแข่งขันหุ่นยนต์

นายธีรโชติ เมืองจำนงค์ ชื่อเล่น “เอิร์ธ” ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วันนี้พามาพูดคุยกับหนุ่มเอิร์ธที่มาพร้อมกับบุคลิก “นิ่งๆ มาดขรึม” เป็นเทรนด์ผู้ชายนิ่งเงียบในยุคนี้เลย “เอิร์ธ” จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนโยธินบูรณะ ซึ่งในขณะนั้นมีความสนใจด้านหุ่นยนต์อยู่แล้ว พอจบจากมัธยมต้นผมก็ได้มาเข้าที่ มจพ. เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้อยากเรียนแค่ในห้องเรียนอย่างเดียว อยากลงมือทำ เรียนปฏิบัติให้มากขึ้น โรงเรียนที่ผมมาเข้ามีชื่อว่า “โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นไงบ้างครับแค่ชื่อก็เท่ห์แล้วครับ!!! ผมเข้ามาได้จากโควตาครับ พอมาอยู่มหาวิทยาลัยนี้มีชื่อเสียงด้านหุ่นยนต์อยู่แล้ว ผมเป็นปลื้มและมุ่งสู่หนทางหุ่นยนต์ที่ชุมนุมหุ่นยนต์เพื่อพัฒนาตัวเอง เมื่อได้คุยกับ “เอิร์ธ” บอกได้เลยว่ามีไอเดียความคิดที่ไม่ธรรมดา มีจินตนาการกับความคิดสร้างสรรค์ เห็นอะไรก็อยากจะลงมือทำโดยจุดเริ่มต้นจาก “เลโก้” (Lego) เป็นของเล่นที่ครองใจเด็กและผู้ใหญ่มาทุกยุคทุกสมัย ผมเองมีความชื่นชอบและหลงใหล “เลโก้”เป็นต่อตัวต่อที่สร้างสรรค์จินตนาการได้ดี มีความสนุกเพลิดเพลิน ซึ่งผมสามารถเสนอไอเดียเซตตัวต่อเลโก้ในแบบของผมได้ และช่วยและพัฒนาไอเดียของตนเองได้ เชื่อว่าเลโก้เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเสนอไอเดียและจินตนาการสามารถต่อยอดนำไปผลิตได้ “เอิร์ธ” เล่าว่า ผมมาสร้างหุ่นยนต์ได้ยังไงนั้นคงต้องย้อนกลับสักนิดในวัยเด็กสมัยอนุบาล ทุกเช้าแม่ผมจะเดินไปส่งที่โรงเรียนซึ่งจะผ่านตลาด อยู่มาวันหนึ่งผมได้เหลียวไปเห็นของชิ้นหนึ่งที่ร้านของเล่น ตอนนั้นจำได้ว่าอยากได้มากๆ ของชิ้นนั้นคือ “เลโก้” นั่นเองครับ ตัวต่อที่สามารถต่ออะไรก็ได้ที่เราต้องการ เช่น […]

“เลโก้” คือแรงบันดาลใจในการออกแบบ สานฝันจินตนาการสู่เส้นทางการแข่งขันหุ่นยนต์

“เลโก้” คือแรงบันดาลใจในการออกแบบ สานฝันจินตนาการสู่เส้นทางการแข่งขันหุ่นยนต์

นายธีรโชติ เมืองจำนงค์ ชื่อเล่น “เอิร์ธ” ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วันนี้พามาพูดคุยกับหนุ่มเอิร์ธที่มาพร้อมกับบุคลิก “นิ่งๆ มาดขรึม” เป็นเทรนด์ผู้ชายนิ่งเงียบในยุคนี้เลย “เอิร์ธ” จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนโยธินบูรณะ ซึ่งในขณะนั้นมีความสนใจด้านหุ่นยนต์อยู่แล้ว พอจบจากมัธยมต้นผมก็ได้มาเข้าที่ มจพ. เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้อยากเรียนแค่ในห้องเรียนอย่างเดียว อยากลงมือทำ เรียนปฏิบัติให้มากขึ้น โรงเรียนที่ผมมาเข้ามีชื่อว่า “โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นไงบ้างครับแค่ชื่อก็เท่ห์แล้วครับ!!! ผมเข้ามาได้จากโควตาครับ พอมาอยู่มหาวิทยาลัยนี้มีชื่อเสียงด้านหุ่นยนต์อยู่แล้ว ผมเป็นปลื้มและมุ่งสู่หนทางหุ่นยนต์ที่ชุมนุมหุ่นยนต์เพื่อพัฒนาตัวเอง เมื่อได้คุยกับ “เอิร์ธ” บอกได้เลยว่ามีไอเดียความคิดที่ไม่ธรรมดา มีจินตนาการกับความคิดสร้างสรรค์ เห็นอะไรก็อยากจะลงมือทำโดยจุดเริ่มต้นจาก “เลโก้” (Lego) เป็นของเล่นที่ครองใจเด็กและผู้ใหญ่มาทุกยุคทุกสมัย ผมเองมีความชื่นชอบและหลงใหล “เลโก้”เป็นต่อตัวต่อที่สร้างสรรค์จินตนาการได้ดี มีความสนุกเพลิดเพลิน ซึ่งผมสามารถเสนอไอเดียเซตตัวต่อเลโก้ในแบบของผมได้ และช่วยและพัฒนาไอเดียของตนเองได้ เชื่อว่าเลโก้เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเสนอไอเดียและจินตนาการสามารถต่อยอดนำไปผลิตได้ “เอิร์ธ” เล่าว่า ผมมาสร้างหุ่นยนต์ได้ยังไงนั้นคงต้องย้อนกลับสักนิดในวัยเด็กสมัยอนุบาล ทุกเช้าแม่ผมจะเดินไปส่งที่โรงเรียนซึ่งจะผ่านตลาด อยู่มาวันหนึ่งผมได้เหลียวไปเห็นของชิ้นหนึ่งที่ร้านของเล่น ตอนนั้นจำได้ว่าอยากได้มากๆ ของชิ้นนั้นคือ “เลโก้” นั่นเองครับ ตัวต่อที่สามารถต่ออะไรก็ได้ที่เราต้องการ เช่น […]

สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส จัดอบรมการติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร

สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส จัดอบรมการติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร

สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) โดยฝ่ายเทคโนโลยีไฟฟ้าและพลังงาน จัดฝึกอบรมหลักสูตร การติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร (Interior Electrical Installation) รุ่นที่ 8/2562 ให้กับช่างที่ติดตั้งไฟฟ้าที่ต้องการใบอนุญาตเพื่อนำไปประกอบอาชีพ โดยจัดฝึกอบรมระหว่างวันที่ 12-13, 15 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ณ อาคารสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มจพ. หากท่านใดสนใจเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยี ไทย – ฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) โทรศัพท์ 02 555-2000 ต่อ 2501, 2502

วทอ. มจพ. จัดนิทรรศการ และรับฟังสัมมนาเชิงวิชาการ “อิเล็กทรอนิกส์ และการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์”

วทอ. มจพ. จัดนิทรรศการ และรับฟังสัมมนาเชิงวิชาการ “อิเล็กทรอนิกส์  และการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์”

วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จัด นิทรรศการ และรับฟังสัมมนาเชิงวิชาการในหัวข้อเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ และการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ เปิดมุมมองความคิด สู่โลกยุคดิจิตอล (Electronics and Digital Broadcast Technology 2019) วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.30 – 16.30 น. ณ หอประชุมอเนกประสงค์ อาคารต่อเติมวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม งานนี้ฟรีตลอดงาน รายละเอียดดังนี้ เวลา 09.30 – 12.00 น. Project Day เวลา 12.00 – 14.30 น. เทคโนโลยีปัจจุบันของบริษัทชั้นนำด้านอิเล็กทรอนิกส์ เวลา 14.30 – 15.30 น. ดร.รัศมิทัต แผนสมบูรณ์ ” Smart Electronics กับ เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง” เวลา […]

หลักสูตรฝึกอบรม สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ปี 2563

หลักสูตรฝึกอบรม สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ปี 2563

สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เผยหลักสูตรการฝึกอบรม ประจำปีการศึกษา 2563 จัดแน่นจัดเต็มทุกหลักสูตร เพื่อถ่ายทอดความรู้ในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ด้วยการวิจัย ฝึกอบรม ด้านการตรวจสอบและทดสอบตามมาตรฐานสากล ตลอดระยะเวลา 29 ปี สถาบันฯ ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนากำลังคน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้มีศักยภาพและมีขีดความสามารถในระดับสากล เพื่อก้าวเข้าสู่การแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ยังเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากสถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย (Welding Institute of Thailand, WIT) ให้มีสิทธิ์จัดฝึกอบรมในหลักสูตรสาขาวิศวกรรมงานเชื่อมต่างๆ ตามข้อกำหนดของสถาบันการเชื่อมสากล (International Institute of Welding, IIW) ซึ่งเป็นที่ยอมรับใน 70 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้สถาบันฯ ยังได้ส่งเสริมงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อยับยั้งการกัดกร่อน โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มบริษัทสำรวจและผลิตน้ำมันและก๊าซชั้นนำของโลก เช่น PTTEP, TOTAL E&P Thailand อีกทั้งมีความร่วมมือกับบริษัท ชไนเดอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ในด้านระบบการผลิตอัตโนมัติ เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้จัดตั้งศูนย์วิจัยพลังงานทดแทน (Renewable Energy Research Center, RERC) […]