แรงงานสัมพันธ์

กสร. เผยนายจ้าง ลูกจ้างใส่ใจแรงงานสัมพันธ์ทวิภาคีเพิ่มขึ้น

กสร. เผยนายจ้าง ลูกจ้างใส่ใจแรงงานสัมพันธ์ทวิภาคีเพิ่มขึ้น

กรมสวัสดิการและคุ้มครอง เผยสถานประกอบกิจการเข้าร่วมประกวดสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แรงงาน ชี้นายจ้าง ลูกจ้างให้ความสำคัญการพัฒนาแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานแบบทวิภาคี นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กสร. ได้จัดทำโครงการส่งเสริมสถานประกอบกิจการให้มีระบบบริหารจัดการที่ดีด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ผ่านกิจกรรมการประกวดสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน อย่างต่อเนื่อง ทั้งเพื่อให้นายจ้างและลูกจ้างได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเสริมสร้างแรงงานสัมพันธ์และการจัดสวัสดิการแรงงานในสถานประกอบกิจการ และร่วมมือกันพัฒนารูปแบบของการแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานที่ดีได้มาตรฐานในสถานประกอบกิจการ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี และจากข้อมูลสถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมกิจกรรมการประกวดสถ่านประกอบกิจการดีเด่นฯ ระหว่างปี 2559 ถึง 2561 พบว่า มีสถานประกอบกิจการให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2559 มีสถานประกอบกิจการเข้าร่วมกิจกรรม 943 แห่ง ปี 2560 มีสถานประกอบกิจการเข้าร่วมกิจกรรม 1,060 แห่ง และในปี 2561 มีสถานประกอบกิจการเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 1,095 แห่ง แสดงให้เห็นว่านายจ้าง ลูกจ้าง ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบแรงงานสัมพันธ์ในรูปแบบทวิภาคเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากหลักเกณฑ์สำคัญในการประกวดสถานกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานก็คือความร่วมมือของนายจ้าง ลูกจ้างในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานผ่านการบริหารจัดการด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ นายอนันต์ชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานประกอบกิจการที่ผ่านเกณฑ์ประเมินเป็นสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ประจำปี 2561 จะเป็นต้นแบบให้กับสถานประกอบกิจการอื่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของลูกจ้างผ่านการบริหารจัดการด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานในรูปแบบทวิภาคีซึ่งจะยังประโยชน์ให้กับนายจ้างและลูกจ้างได้อย่างแท้จริง

กสร. ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนให้นายจ้าง ลูกจ้างพร้อมรับมือ AI

กสร. ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนให้นายจ้าง ลูกจ้างพร้อมรับมือ AI

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เร่งส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์แบบหุ้นส่วน สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง ในการบริหารแรงงานสัมพันธ์รองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมในอนาคต เพิ่มผลิตภาพแรงงาน นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต  เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในอนาคตอันใกล้นี้มีการคาดการณ์ว่าจะมีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาใช้ในระบบอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนแรงงาน ทั้งนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและรูปแบบการจ้างแรงงาน และอาจส่งผลให้เกิดข้อขัดแย้งด้านแรงงานได้ ด้วยเหตุนี้ กสร. ได้ดำเนินการส่งเสริมโมเดลแรงงานสัมพันธ์ 4.0 ซึ่งเน้นการบริหารแรงงานสัมพันธ์แบบหุ้นส่วน      โดยเน้นการมีส่วนร่วมของนายจ้างและลูกจ้างในการออกแบบสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน โดยต้องคำนึงถึงบริบทของการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการลดปัญหาด้านแรงงานที่อาจเกิดขึ้น และเตรียมพร้อมการก้าวสู่ Thailand 4.0 นายอนันต์ชัย กล่าวต่อไปว่า การแรงงานสัมพันธ์ที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตลูกจ้างในสถานประกอบการ ส่งผลดีต่อการพัฒนาธุรกิจของนายจ้าง รวมถึงการลงทุนของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา กสร. ได้ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนมาโดยตลอด และสำหรับในปีงบประมาณ 2561 ตั้งเป้าส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนให้กับสถานประกอบกิจการเพิ่มเติมอีก 1,342 แห่ง 185,480 คน

กสร. ชวนนายจ้างประเมิน“ภาวะสันติสุข”ลดข้อขัดแย้งในองค์กร

กสร. ชวนนายจ้างประเมิน“ภาวะสันติสุข”ลดข้อขัดแย้งในองค์กร

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ชวนนายจ้าง ตรวจสุขภาพด้านแรงงานสัมพันธ์ ผ่านเครื่องมือวัดภาวะสันติสุขในสถานประกอบกิจการ ลดข้อขัดแย้งในองค์กร เพิ่มคุณภาพชีวิตลูกจ้างและเสริมความเข้มแข็งในการประกอบการให้กับนายจ้าง นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้จัดทำแบบประเมินข้อมูลพื้นฐานด้านแรงงานสัมพันธ์แบบหุ้นส่วน(Labour relation partnership Checklist : LC) เพื่อเป็นเครื่องมือวัดภาวะสันติสุขในสถานประกอบกิจการโดยแบบประเมินดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการประเมินสถานการณ์ด้านแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการด้านต่าง ๆ ซึ่งหากสถานประกอบการตรวจสอบแล้วพบว่าขาดการดำเนินการในเรื่องใด หรือการดำเนินการยังมีข้อบกพร่อง เช่น ขาดการสื่อสารระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ไม่มีกระบวนการยุติข้อร้องทุกข์ ก็สามารถแก้ไข ปรับปรุงหรือจัดให้มีขึ้นได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการลดและการป้องกันข้อขัดแย้งในองค์กร ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง และส่งผลดีต่อผลผลิตและธุรกิจของผู้ประกอบการ นายอนันต์ชัย กล่าวต่อไปว่า การที่สถานประกอบกิจการนำแบบประเมินข้อมูลพื้นฐานด้านแรงงานสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนหรือ LC ไปใช้นอกจากจะเป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ของนายจ้างและลูกจ้างแล้ว ผลการประเมินจากสถานประกอบกิจการต่าง ๆ จะเป็นข้อมูลที่จะช่วยให้การบริหารจัดการด้านแรงงานสัมพันธ์ในภาพรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย สถานประกอบกิจการที่สนใจสามารถดาวโหลดแบบประเมินได้ที่ http://relation.labour.go.th/new สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่สำนักแรงงานสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2643 4471, 0 2643 4477 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่