โควิด

กสร. รับมือโควิด-19 เปิดช่องออนไลน์ให้นายจ้างแจ้งใช้ม.75

กสร. รับมือโควิด-19 เปิดช่องออนไลน์ให้นายจ้างแจ้งใช้ม.75

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ปรับระบบรองรับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 อำนวยความสะดวกนายจ้าง แจ้งใช้มาตรา 75 ผ่านช่องทางออนไลน์ นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ขยายเป็นวงกว้าง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสถานประกอบกิจการบางแห่งทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติเป็นเหตุให้ต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนชั่วคราวและจำเป็นต้องใช้มาตรา 75 ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพื่อประคับประคองกิจการให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งการใช้มาตรา 75 นายจ้างจะต้องแจ้งต่อพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่และลูกจ้างเป็นหนังสือก่อนหยุดกิจการไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่นายจ้างในการแจ้งต่อพนักงานตรวจแรงงาน รวมทั้งลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อโรคในที่สาธารณะ กสร. จึงได้เปิดให้บริการแจ้งการใช้มาตรา 75 ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยสามารถดำเนินการได้ที่หน้าเว็บไซต์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน www.labour.go.th อธิบดีกสร. กล่าวต่อว่า สำหรับนายจ้าง ลูกจ้างที่มีข้อสงสัย หรือต้องการขอรับคำปรึกษานอกจากหมายเลขโทรศัพท์ สายด่วน 1506 กด 3 แล้ว ยังสามารถใช้บริการได้ที่ เว็บไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน www.labour.go.th, E-mail (info@labour.mail.go.th), Facebook กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (https://www.facebook.com/theDLPW/)

อธิบดีกสร. ย้ำ นายจ้างใช้มาตรา 75 ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่/ลูกจ้างก่อน

อธิบดีกสร. ย้ำ นายจ้างใช้มาตรา 75 ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่/ลูกจ้างก่อน

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ห่วงลูกจ้าง นายจ้างได้รับผลกระทบโควิด-19 ย้ำ ใช้มาตรา 75 ช่วงหยุดกิจการชั่วคราวต้องแจ้งลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ก่อน 3 วัน พร้อมเตือนนายจ้างลดค่าจ้าง ลดวันทำงานต้องให้ลูกจ้างยินยอมด้วย นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงการดูแลลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ว่า หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยนายจ้าง ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งสถานประกอบกิจการบางแห่งได้รับผลกระทบจนทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติเป็นเหตุให้ต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนชั่วคราว โดยมีการใช้มาตรา 75 ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้คำแนะนำแก่สถานประกอบกิจการในการดำเนินการตามมาตรา 75 รวมทั้งกำกับดูแลให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ สถานประกอบกิจการที่ใช้มาตรา 75 จะต้องแจ้งพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่และลูกจ้างทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนเริ่มวันหยุดกิจการไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน นายอภิญญา กล่าวต่อว่า สำหรับสถานประกอบกิจการที่ให้ลูกจ้างมาทำงานจะต้องจ่ายค่าจ้างตามปกติ และหากนายจ้างตกลงกับลูกจ้างในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เช่น ลดวันทำงาน ลดค่าจ้าง ก็สามารถทำได้แต่จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วย อย่างไรก็ดีสำหรับการจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างต้องไม่จ่ายต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ทั้งนี้ กสร. ขอให้นายจ้าง ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบปรึกษาหารือร่วมกัน และพูดคุยกันด้วยหลักสุจริตใจเพื่อร่วมกันฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด […]

ฟอร์ติเน็ตเร่งช่วยองค์กรสร้างวิธีการทำงานจากบ้านอย่างปลอดภัยสู้ COVID 19 ชี้ลูกค้าที่ใช้ไฟร์วอลล์ฟอร์ติเกตอยู่แล้ว เปิดใช้งานเบื้องต้นได้ทันที

ฟอร์ติเน็ตเร่งช่วยองค์กรสร้างวิธีการทำงานจากบ้านอย่างปลอดภัยสู้ COVID 19  ชี้ลูกค้าที่ใช้ไฟร์วอลล์ฟอร์ติเกตอยู่แล้ว เปิดใช้งานเบื้องต้นได้ทันที

ฟอร์ติเน็ตผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ครบวงแบบอัตโนมัติและครบวงจรแนะนำโซลูชั่นซีเคียวรีโมทเวอร์คฟอร์ส (Secure Remote Workforce) สำหรับองค์กรในประเทศไทยในการสร้างระบบการทำงานจากบ้านให้กับพนักงานของตนได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย เพิ่มความต่อเนื่องให้กับธุรกิจ โดยข้อมูลที่ส่งผ่านในเครือข่ายนี้จะได้รับการปกป้องให้ปลอดภัย องค์กรสามารถปรับขยายเครือข่ายตามจำนวนผู้ใช้งานได้อย่างคล่องตัว ทั้งนี้ เน้นว่าลูกค้าที่ใช้ไฟร์วอลล์ฟอร์ติเกตอยู่แล้ว สามารถเปิดใช้งานเบื้องต้นได้ทันที นายชาญวิทย์ อิทธิวัฒนะ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แห่งฟอร์ติเน็ตเปิดเผยว่า “องค์กรทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยต่างเร่งวางกลยุทธ์ที่ช่วยให้พนักงานระบบการทำงานจากบ้านให้กับพนักงานของตนในสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID 19 ขณะนี้ ฟอร์ติเน็ตจึงแนะนำว่า ในการวางกลยุทธ์ที่เหมาะสมนั้น องค์กรจะต้องคำนึงถีงผู้ใช้งาน 3 ประเภทที่ต้องการความปลอดภัยในระดับที่ต่างกัน ได้แก่ พนักงานทำงานนอกองค์กรทั่วไป (General roaming) คือพนักงานที่ทำงานที่ใดก็ได้นอกสถานที่ ซึ่งเป็นจำนวนมากถึง 90% ของผู้ใช้งานทั้งหมด แต่เดิมนั้นข้อมูลของผู้ใช้งานกลุ่มนี้จะอยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์และที่สำนักงาน ซึ่งต่อไปข้อมูลจะถูกรับ-ส่งและเก็บไว้บนคลาวด์ กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มพาวเวอร์ยูสเซอร์ (Power users) เป็นกลุ่มพนักงานที่ต้องเข้าใช้ข้อมูลขององค์กรมากขึ้น เช่น ทีมวิศวกรสนับสนุนบริการ เจ้าหน้าที่ดูแลเครือข่าย ซึ่งมีจำนวน 8% และกลุ่มซุปเปอร์ยูสเซอร์ (Super users) ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลสำคัญๆ ขององค์กรได้ทุกประเภท เช่น ผู้บริหารระดับสูง ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ดูแลเครือข่าย ซึ่งมีจำนวน […]