ไทยแลนด์ 4.0

วิศวลาดกระบัง ลงนามความร่วมมือวิจัยกับ มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา

วิศวลาดกระบัง ลงนามความร่วมมือวิจัยกับ มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา

ก้าวไกลสู่อุตสาหกรรมและไทยแลนด์ 4.0 มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ (The University of Maryland) แห่ง สหรัฐอเมริกา โดย ศาสตราจารย์ อาชวานี เค.คุปตา (Ashwani K.Gupta)ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ร่วมลงนามความร่วมมือการทำวิจัยร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย รศ.ดร.คมสัน มาลีสี (Komson Maleesee) คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิชาการด้านวิศวกรรมเครื่องกล ผลักดันการศึกษาและความร่วมมือค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของสังคมและเศรษฐกิจในประเทศและภูมิภาค พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์องค์ความรู้และความร่วมมือระหว่างเครือข่ายภาคการศึกษานานาประเทศด้วย มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ คอลเลจพาร์ค (University of Maryland, College Park) มักจะรู้จักในชื่อ “มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์” เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในเมืองคอลเลจพาร์ค รัฐแมรี่แลนด์ โดยอยู่ใกล้เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปีค.ศ.1856 นับเป็นเวลากว่า 160 ปี โดดเด่นในงานวิชาการและงานวิจัยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ปัจจุบันมีนักศึกษาประมาณ 36,000 คน โดยมีคณาจารย์ประมาณ 3,700 คน ความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัยระหว่างสองมหาวิทยาลัยของไทยและสหรัฐอเมริกา […]

Delta Electronics ต้อนรับ นศ.เกษตรศาสตร์ ก้าวไปกับ Industrial Automation

Delta Electronics ต้อนรับ นศ.เกษตรศาสตร์ ก้าวไปกับ Industrial Automation

เพื่อเยาวชนไทยก้าวไกลไปกับเทคโนโลยีใหม่ๆ รองรับอนาคตไทยแลนด์ 4.0 มร.เซีย เชน เยน ประธานบริหาร บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ “DELTA” หนึ่งในผู้นำอิเลคทรอนิคส์และไอซีทีของโลก เป็นประธานเปิดงานและต้อนรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโครงการ Delta Industrial Automation Training Program ณ สำนักงานใหญ่เดลต้าฯ กรุงเทพฯวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของนักศึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีออโตเมชั่นและหุ่นยนต์ที่เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรม 4.0 ส่งเสริมความก้าวหน้าของการเรียนการสอนวิศวกรรมศาสตร์ของไทย ที่ผสมผสานวิชาการการ ความคิดสร้างสรรค์ และนักศึกษาได้ปฏิบัติจริง กระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เหตุใดคนรุ่นใหม่ และผู้ประกอบการจึงต้องก้าวไกลไปกับ Industry 4.0 เนื่องจากกระบวนการผลิตที่สำคัญในโลกอนาคต คือ เทคโนโลยีออโตเมชั่น (Industrial Automation) ประกอบด้วย เครื่องจักรกลอัตโนมัติ (Automation Machine) โรงงานอัตโนมัติ (Factory Automation) และกระบวนการผลิตอัตโนมัติ (Process Automation) ในการผลิตจะประกอบไปด้วยเครื่องจักร สิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น คือ ตัวควบคุมการทำงานที่เรียกว่า PLC (Programmable […]

วิศวกรรมอาหาร ทดสอบนวัตกรรม ไครโอ“ดี”ฟรีซเซอร์ เพื่ออาหาร 4.0 สู่ตลาดโลก

วิศวกรรมอาหาร ทดสอบนวัตกรรม ไครโอ“ดี”ฟรีซเซอร์ เพื่ออาหาร 4.0 สู่ตลาดโลก

โอกาสของแบรนด์อาหารไทยสู่ตลาดโลก เมื่อก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและองค์ความรู้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย ส่วนวิจัยด้านวิศวกรรมอาหารและกระบวนการทางชีวภาพ ศูนย์พัฒนานวัตกรรมและบริการทางวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร รวมพลังกับภาคเอกชน กลุ่มบริษัท ไอ.ที.ซี ตอบโจทย์อาหาร 4.0 เปิดตัวเทคโนโลยี ไครโอ “ดี” ฟรีซเซอร์ (Kryo “D” Freezer) นำนวัตกรรมมาถนอมอาหารโดยทำแห้งแช่เยือกแข็งสุญญากาศแบบใหม่ซึ่งไม่ทำลายเนื้อเยื่อ เปลี่ยนอาหารจานเด็ดเป็น “ก้อนผลึกอาหารแห้งเบา” ที่คงคุณค่าทางอาหารและสามารถที่จะคืนรูป รส กลิ่น สีเหมือนต้นฉบับเพื่อการบริโภคภายในไม่กี่นาที ทุกที่ทุกเวลา สร้างมูลค่าเพิ่มและโอกาสให้แบรนด์เชฟและอาหารไทยส่งขายและเติบโตได้ทั่วทุกมุมโลก ตอบสนองไลฟ์สไตล์คนเมือง ซุปเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อ นักท่องเที่ยว ผู้ป่วยและผู้รักสุขภาพ ประหยัดค่าขนส่งและประหยัดพลังงานในการผลิตถึง 15 % รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า กลุ่มอาหาร เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพเป็นหนึ่งใน 5 อุตสาหกรรมหลักที่รัฐบาลมุ่งให้ความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีและคิดเป็นรายได้ GDP สูงสุด ประมาณ 2 ล้านล้านบาท […]

กรั๊บบอต (GRUBBOT) หุ่นยนต์จอมช้อป..

กรั๊บบอต (GRUBBOT)  หุ่นยนต์จอมช้อป..

หุ่นยนต์กรั๊บบอต (Grubbot) ผลงาน 3 นักศึกษาคณะวิศวลาดกระบัง คว้ารางวัลชนะเลิศจากเวทีประกวดนวัตกรรมในงานวันนักประดิษฐ์ ปี 2559 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตอบรับยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ใช้วิทยาการเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพในไลฟ์สไตล์ประจำวันและการบริการในธุรกิจอุตสาหกรรม หุ่นยนต์นับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาหลายร้อยปีมาแล้วจากจินตนาการมาสู่ความเป็นจริง และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสำหรับการใช้งานที่หลากหลายต่างๆ เช่น งานทางการแพทย์ งานหนักในไลน์อุตสาหกรรม หรืองานที่เสี่ยงอันตราย จนถึงงานบริการในวิถีชีวิตประจำวัน รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.กล่าวว่า “กรั๊บบอต (GRUBBOT) หุ่นยนต์จอมช้อป เพื่อนคู่คิดชีวิตยุคไทยแลนด์ 4.0 นี้เป็นผลงานนวัตกรรมจากความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสามหนุ่มคนรุ่นใหม่ ประกอบด้วย เอกพัฒน์ เอกนรพันธ์ , ธารินทร์ ยุทธนาการ ,ธิติพงษ์ สุหัตถาพร ชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมการวัดและควบคุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) นับเป็นแรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่ในการออกแบบและสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองการใช้งานตามความต้องการของผู้บริโภค และธุรกิจค้าปลีกซึ่งนับวันจะมีการแข่งขันสูง บทบาทของหุ่นยนต์ต่อชีวิตในอนาคตเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ดังที่นักวิทยาศาสตร์และอนาคตศาสตร์ วิเคราะห์ว่า เรากำลังก้าวสู่ยุคการใช้หุ่นยนต์ หรือ เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ […]

4 กูรูคนดัง ในเสวนา“รวมพลังอุดมศึกษาไทย…ร่วมขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0”

4 กูรูคนดัง ในเสวนา“รวมพลังอุดมศึกษาไทย…ร่วมขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0”

ไทยแลนด์ 4.0 เป็นวิสัยทัศน์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมภายใต้การกระชับความร่วมมือของภาครัฐ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ภาคประชาชน และสถาบันการศึกษา ที่มีภารกิจสำคัญในการขัพัฒนาปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆเพื่อก้าวพ้นกับดักของความเหลือมล้ำและกับดักของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทางประเทศไทย สู่เป้าหมายความก้าวหน้าที่ยั่งยืน และทัดเทียมกับนานาประเทศ เมื่อเร็วๆนี้ สภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกมหาวิทยาลัย 61 แห่ง ได้จัดงานเสวนา เรื่อง “รวมพลังอุดมศึกษาไทย…ขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0” ณ ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา โดย 4 ผู้นำทางความคิดมาร่วมเวที และมีผู้สนใจและคณบดีจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศมาร่วมงาน ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรีและเป็นนักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่า การที่ประเทศไทยจะก้าวพ้นกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง จากความเหนื่อยยาก ขายผลผลิตที่ใช้ทรัพยากรไปมากมายแต่รายได้นิดเดียว เปลี่ยนไปเป็นผู้นำเชิงนวัตกรรมของโลกเราสามารถทำได้ไม่ยาก รัฐบาลเองก็พร้อมส่งเสริมให้ก้าวไปพร้อมนวัตกรรม ภาคการศึกษารัฐและภาคอุตสาหกรรมเองต้องจับมือให้มั่นในการเสริมสร้างเด็กไทยรุ่นใหม่เป็นผู้นำและสร้างสรรค์นวัตกรรม เด็กไทยเก่งไม่แพ้ชาติอื่น ถ้าประเทศอื่นทำได้เราก็ทำได้ วันนี้ถือว่าเป็นการแนะแนวทางให้เราก้าวไปแบบไทยแลนด์ 4.0 อนาคตประเทศไทยต้องเป็นแชมป์เทคโนโลยี เราต้องร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน นักศึกษาต้องมีความคิดปลดล็อกตัวเองให้เป็น มุ่งสู่การเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อเป็นสตาร์ทอัพเจ้าของหรือผู้ประกอบการที่ใช้องค์ความรู้ใหม่ๆมาต่อยอด ในอนาคตมีเทคโนโลยีของเขาเองและตอบสนองโจทย์ความต้องการของสังคมและโลก รัฐบาลเอาจริงกับไทยแลนด์ 4.0 ทางออกจากการที่เป็นลูกจ้าง ก็ไปเป็นเจ้าของนวัตกรรมเอง […]

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ร่วมกับผู้นำอีเลคโทรนิคส์โลก เปิดห้องเรียนอัจฉริยะ Smart Classroom

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ร่วมกับผู้นำอีเลคโทรนิคส์โลก เปิดห้องเรียนอัจฉริยะ Smart Classroom

ประเทศไทยกำลังมุ่งเข็มสู่ ไทยแลนด์ 4.0 หรือการขับเคลื่อนประเทศสู่ความก้าวหน้ายั่งยืนด้วยนวัตกรรมและองค์ความรู้ ในภาคการศึกษาก็เช่นกัน เมื่อเร็วๆนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมมือกับ บจม.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ผู้นำของโลกในการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์เพาเวอร์ซัพพลายและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำ เปิดห้องเรียนอัจฉริยะ (Delta Smart Classroom) ด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ก้าวล้ำด้วยสื่อและการเรียนการสอน พลิกโฉมสู่การเรียนรู้มิติใหม่ของศตวรรษที่ 21 มุ่งสร้างวิศวกรผู้นำที่มีศักยภาพในอาเซียนและนานาชาติ ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาคนรุ่นใหม่อย่างครบวงจร เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยนวัตกรรมและองค์ความรู้ โดยผนึกความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี คณะวิศวลาดกระบังเผยในอนาคตจะพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นคณะอัจฉริยะ หรือ Smart Faculty ร่วมขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไกลบนเวทีอาเซียนและโลก รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ทำให้ประเทศไทยกำลังมุ่งขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมและองค์ความรู้ ก้าวสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ในอนาคต คณะวิศวลาดกระบัง สจล.จีงได้เปิดห้องเรียนอัจฉริยะ (Delta Smart Classroom) และพัฒนาการเรียนการสอนแบบ Active Learning การเรียนรู้แบบมุ่งผลลัพธ์และเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในกิจกรรม […]

เครื่องวัดความอ่อน-แก่ของทุเรียน โดยวิศวลาดกระบัง คว้ารางวัลโลก

เครื่องวัดความอ่อน-แก่ของทุเรียน โดยวิศวลาดกระบัง คว้ารางวัลโลก

ตอบรับยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่จะขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมและองค์ความรู้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โชว์ 458 นวัตกรรม ซึ่ง 1 ในนั้นมีนวัตกรรมที่โดดเด่นฝีมือคนไทย คือ เครื่องวัดความอ่อน- แก่ของทุเรียนด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Durian Maturity Inspection) เป็นผลงานของทีมวิจัย นำโดย ผศ.ดร.ศรวัฒน์ ชิวปรีชา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม และทีมนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. สร้างชื่อเสียงโด่งดังได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จากเวทีสิ่งประดิษฐ์ระดับโลกในงาน 44th International Exhibition and Invention of Geneva 2016 ณ สมาพันธรัฐสวิส เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อเร้วๆนี้ ซึ่งถือเป็นงานประกวดนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของโลกโดยในแต่ละปีจะมีผลงานนวัตกรรมจัดแสดงมากกว่า 1,000 ชิ้นจาก 48 ประเทศทั่วโลก อีกทั้งผลงานเครื่องวัดความอ่อน-แก่ของทุเรียนด้วยคลื่นไมโครเวฟนี้ยังได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนในต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยสำนักข่าว BBC ของอังกฤษได้ยกย่องให้เป็น 1ใน7 ของสิ่งประดิษฐ์ที่ดีที่สุดและน่าทึ่งของโลก “Seven of the Best […]