กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ ERIA และ IEE Japan ศึกษามาตรฐานควบคุมมลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ประเทศไทย ดีที่สุดในอาเซียน

กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ ERIA และ IEE Japan
ศึกษามาตรฐานควบคุมมลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ประเทศไทย ดีที่สุดในอาเซียน
……………………………………………..

กระทรวงพลังงาน โดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังางน ร่วมกับ ERIA และ IEE Japan ทำการศึกษามาตรฐานควบคุมมลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน เปรียบเทียบมาตฐานสิ่งแวดล้อมโรงไฟฟ้าถ่านหิน เยอรมนี สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และประเทศในกลุ่มอาเซียน+6 พบว่าประเทศไทยมีมาตรฐานในระดับ ดีที่สุดในอาเซียน

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research Institute for ASEAN and East ASIA – ERIA) ได้มีจัดการประชุม “Improving an Emission Regulation for Coal-Fired Power Plant in ASEAN เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 โดยได้นำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานการดูแลสิ่งแวดล้อมของประเทศในแถบอาเซียน ในเรื่องของประสิทธิภาพของข้อกำหนดการกำกับการปล่อยมลพิษของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ในอาเซียน

กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ได้ร่วมมือกับ 2 หน่วยงาน ERIA (Economic Research Institute for ASEAN and EAST Asia) และ IEEJ (Institute of Energy Economics, Japan) ทำการศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ของประเทศในอาเซียน โดยศึกษาได้เปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว 4 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เยอรมนี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และในประเทศอาเซียน+6 ในการควบคุมมลภาวะที่เกิดจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยศึกษาในประเทศหลัก 8 ประเทศ ประกอบด้วย กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ญี่ปุ่น และ อินเดีย ซึ่งจากผลประเมินโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย โดยเฉพาะที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ อยู่ในระดับดีมากถึงดีมาก เนื่องจากที่ผ่านมา มีการปรับปรุงมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง แต่ในด้านกระบวนการตรวจสอบ ประเทศไทยปรับปรุงให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้

“มาตรฐานการตรวจสอบการปลดปล่อยมลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. Emission Standard (มาตรฐานการปลดปล่อยไอเสีย) และ 2. Review Process (มาตรฐานด้านกระบวนการตรวจสอบและติดตามประเมิน โดยมาตรฐานการปล่อยไอเสียนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น 1.คุณสมบัติของถ่านหินที่ใช้ 2. เทคโนโลยีที่ใช้ของโรงไฟฟ้า 3. เม็ดเงินการลงทุน เมื่อมีการลงทุนสูง ก็คาดว่าจะมีการควบคุมมลพิษที่ดีขึ้น และ 4. ความสามารถในการกำกับให้การดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานการปล่อยมลพิษของโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน ประเทศไทย อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและนับว่าดีกว่าทั้งหมด แต่ในส่วนของกระบวนการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยยังสามารถปรับปรุงให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้” ผอ.สนพ.กล่าวเพิ่มเติม

Mr.Shigeru Kimura, Special Adviser to the President on Energy Affairs จาก Economic Research Institute for ASEAN and East Asia : ERIA กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่จะวิเคราะห์ประสิทธิภาพของข้อกำหนดของการกำกับการปล่อยมลพิษของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ในอาเซียนและระบุถึงวิธีการที่จะพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งการศึกษานี้จะแบ่งออกเป็นสองระยะ คือ ระยะที่ 1 ปี 2559 และระยะที่ 2 ปี 2560 และกล่าวถึงข้อแนะนำเกี่ยวกับนโยบายที่คาดหวังไว้ คาดว่าผลการศึกษาจะเสร็จสิ้นในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2560

ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทยมีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมดีขึ้นมาก เป็นเพราะว่าได้มีการปรับปรุงมาตลอดโดยตั้งแต่ปี 2539 ถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ที่ได้มีการรื้อถอนโรงไฟฟ้าเก่า เพื่อปรับปรุงสร้างใหม่ให้เป็นโรงไฟฟ้าที่มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อม โดยเน้นให้มีการปรับปรุงเทคโนโลยีชั้นสูงใหม่ทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่าเทคโนโลยีใหม่ในปัจจุบันสามารถที่จะลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

………………………………………………………….

เผยแพร่ข่าวโดย:

พีอาร์ บุฟเฟ่ต์ www.prbuffet.com ข่าวประชาสัมพันธ์ online







Leave a Reply

Your email address will not be published.

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.