สถาปนิกสยามฯ นำสมาชิกดูแบบการก่อสร้างพระเมรุมาศ ในหลวงรัชกาลที่ 9

สถาปนิกสยามฯ นำสมาชิกดูแบบการก่อสร้างพระเมรุมาศ ในหลวงรัชกาลที่ 9

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA) โดย สุรยุทธ์ วิริยะดำรงค์ กรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม และปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส หัวหน้าศูนย์สำนักมรดกเมือง นำสมาชิกเข้าดูแบบของการก่อสร้างพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 ที่ ท้องสนามหลวง โดยก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรม ผู้เป็นเจ้าของแบบร่าง “พระเมรุมาศ” เป็นวิทยากรกิตติมศักดิ์ ร่วมด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากร มาบรรยายรายละเอียดของแบบร่าง ไปจนถึงขั้นตอนการก่อสร้าง รวมทั้งได้นำเยี่ยมชมพระเมรุมาศ ณ สถานที่จริง

ก่อเกียรติ ทองผุด ผู้เป็นเจ้าของแบบร่าง “พระเมรุมาศ” ได้เล่าถึง 14 ชั่วโมงของการคิดและออกแบบ ภายใต้โจทย์ ที่ต้องยึดตามพระราชประเพณี สมพระเกียรติ และไม่เหมือนที่เคยมีมา ทั้งหมดนี้ ได้วิชามาจาก “พล.อ.ต. อาวุธ เงินชูกลิ่น” ศิลปินแห่งชาติด้านทัศนศิลป์ และเป็นผู้ออกแบบแบบพระเมรุมาศถวายแก่เจ้านายมาหลายพระองค์ ที่ส่งต่อมาให้ แบบพระเมรุมาศครั้งนี้ถือเป็นสถาปัตยกรรมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์โดยแท้จริง ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมร่วมสมัยในรัชกาลที่ 9 เป็นพระเมรุมาศทรงบุษบกสูง 50.49 เมตร มีชั้นเชิงกลอน 7 ชั้น ผังพื้นที่ใช้งานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 60 เมตร มีบันไดทั้งสี่ด้าน ฐานยกพื้นสูง มี 3 ชั้น ชั้นบน ที่มุมทั้งสี่ประกอบด้วยซ่างทรงบุษบก ชั้นเชิงกลอนห้าชั้น สำหรับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ฐานชั้นที่ 2 ประกอบด้วยซุ้มทรงบุษบกรูปแบบเดียวกัน รวมสิ่งก่อสร้างมีเครื่องยอด นับรวมได้ 9 ยอด สีพระเมรุมาศจะมีทั้งสิ้น 5 สี ได้แก่ สีทองเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ สีขาวคือธรรมแห่งการปกครอง สีน้ำเงินแทนพระมหากษัตริย์ สีชมพูเสริมความมงคล และสีเขียวหมายถึงทรงนำความอุดมสมบูรณ์มาสู่แผ่นดินไทย

พระเมรุมาศถือเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สะท้อนถึงพระเกียรติยศของทั้งพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ และพระมหากษัตริย์ ตามคติความเชื่อตั้งแต่อดีตมา พระเมรุนั้นเปรียบได้กับเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นที่สถิตของทวยเทพ เปรียบกษัตริย์เป็นดั่งพระนารายณ์ที่อวตารลงมา พอพระองค์ท่านเสด็จสวรรคต ก็เสด็จกลับไปยังเขาพระสุเมรุ การออกแบบพระเมรุมาศในทุกยุคสมัย จึงเป็นการสร้างสรรค์อย่างสุดฝีมือของช่างทุกสำนักทุกแขนง ช่างฝีมือแต่ละท่านก็จะหยิบยกสัญลักษณ์ต่างๆ ที่สื่อถึงเขาพระสุเมรุมาประกอบไว้ในงานออกแบบ รูปแบบหรือสไตล์ของงานก็สืบทอดต่อกันมาในสกุลช่าง งานพระเมรุมาศในอดีตก็จะเป็นการร่วมกันทำงานของช่างจากหลายๆ สำนักจึงมีลายเส้นที่ไม่เหมือนกัน เกิดการสืบทอดวิชาจากบรมครูสู่ศิษย์เป็นรุ่นๆ สืบต่อกันมา โครงสร้างหลักของพระเมรุมาศประกอบด้วย ส่วนยอด ตัวเรือน และฐานราก นับตั้งแต่อดีตพระเมรุมาศในแต่ละยุคสมัยล้วนปรับเปลี่ยนไปตามรูปแบบของความสร้างสรรค์ของช่าง และเทคโนโลยีการก่อสร้างที่พัฒนาไป ในงานพระราชพิธีครั้งนี้ สำนักช่างสิบหมู่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบจัดสร้างพระเมรุมาศ ปัจจุบันแล้วเสร็จประมาณ 85 เปอร์เซ็น ส่วนงานสร้างประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศ อาทิ การปั้นตกแต่งรายละเอียด เครื่องทรงเทวดายืนรอบพระเมรุมาศ จิตรกรรมฉากบังเพลิง รวมถึงการปรับภูมิทัศน์โดยรอบ รวมถึงบริเวณโครงการในพระราชดำรินั้น กำลังเร่งดำเนินการตามแบบ โดยมั่นใจว่าจะแล้วเสร็จทันตามกำหนดการณ์

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA) โดย สุรยุทธ์ วิริยะดำรงค์ กรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม และปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส หัวหน้าศูนย์สำนักมรดกเมือง นำสมาชิกเข้าดูแบบการก่อสร้างพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 ที่ ท้องสนามหลวง โดย ก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรม ผู้เป็นเจ้าของแบบร่าง “พระเมรุมาศ” เป็นวิทยากรกิตติมศักดิ์ ร่วมด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากร มาบรรยายรายละเอียดของแบบร่าง ไปจนถึงขั้นตอนการก่อสร้าง รวมทั้งได้นำเยี่ยมชมพระเมรุมาศ ณ สถานที่จริง

สื่อมวลชนสอบถามเพิ่มเติม : มนัสวิน สิงหา โทร. 081-438-7353,081-191-6779 , เตชินี แก้วดวงงาม โทร. 061-991-6154

เผยแพร่ข่าวโดย:

พีอาร์ บุฟเฟ่ต์ www.prbuffet.com ข่าวประชาสัมพันธ์ online







Leave a Reply

Your email address will not be published.

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.