ไฟล์ท ออฟ เดอะ กิบบอน เริ่มปลูกป่าประจำปี 2560 แล้วที่แม่กำปอง

ไฟล์ท ออฟ เดอะ กิบบอน (Flight of the Gibbon) ผู้นำอันดับหนึ่งในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้วยการผจญภัยโหนสลิง หนึ่งเดียวในป่าแม่กำปอง ได้จัดกิจกรรมปลูกป่าประจำปี 2560 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2560 ณ ป่าชุมชนหมู่บ้านแม่กำปอง

Mr. Ian Leonard ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร กล่าวว่า ในปี 2560 บริษัทฯ ให้บริการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วยการผจญภัย โหนสลิงเหินเวหา ครบรอบปีที่ 10 ซึ่งเรามีความมุ่งมั่นที่จะร่วมปกป้องและฟื้นฟูผืนป่าของเมืองไทย เรามีแผนที่จะปลูกต้นไม้ จำนวน 15,000 ต้น ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ ป่าชุมชนหมู่บ้านแม่กำปอง จ.เชียงใหม่ จำนวน 2,220 ต้น อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ จ. เชียงใหม่ จำนวน 7,780 ต้น และอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท จังหวัดลำปาง จำนวน 5,000 ต้น

จากกิจกรรมฟื้นฟูป่าที่หมู่บ้านแม่กำปองในปีที่ผ่านมา เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความสนใจจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นพ่อหลวงและชาวบ้านแม่กำปอง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนและอุทยาน แห่งชาติแม่ตะไคร้ กรมป่าไม้ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาเฟสติวัล เชียงใหม่ และกาดสวนแก้ว ตัวแทนการค้าด้านการท่องเที่ยว (Travel Agents) ในจังหวัด
เชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนตำบล ห้วยแก้ว เครือข่ายจิตอาสาทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ แฟนเพจในเฟสบุ๊ค รวมทั้งสื่อต่างๆ

เราคัดเลือกต้นไม้จำนวน 26 สายพันธุ์สำหรับโครงการปลูกป่าที่หมู่บ้านแม่กำปองซึ่งล้วนเป็นไม้ท้องถิ่นที่เจริญเติบโตได้ดี มีอัตราการรอดสูง ให้ร่มเงากว้างเพื่อยับยั้งการเจริญของวัชพืชในแปลงปลูก รวมทั้งยังให้ผลที่เป็นอาหารของสัตว์ป่า นอกจากนี้บางชนิดยังเป็นพืชหายากที่พบได้เฉพาะทางภาคเหนือของไทยได้แก่ ขี้ผึ้งหลวง และอีกหลากหลายพันธุ์ เช่น หมีเหม็น นางพญาเสือโคร่ง มะกัก มะยาง มะเม่าดง เติม สลีนก หว้าขี้กวาง ทองหลางป่า ตองแตน คำแสด มะเดื่อปล้อง แคหางค่าง ขนุนป่า ฝาละมี ทังใบช่อ มะซัก เสี้ยวดอกขาว และพญาไม้ เป็นต้น

ไฟล์ท ออฟ เดอะ กิบบอน มีเป้าหมายระยะยาว ที่จะเพิ่มพื้นที่ผืนป่าของเมืองไทยให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ห่วงโซ่อาหารของสัตว์ป่า และเพิ่มความสามารถของการบริการของระบบนิเวศให้แก่ผืนป่า และเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิง
อนุรักษ์ให้ยั่งยืน

เผยแพร่ข่าวโดย:

พีอาร์ บุฟเฟ่ต์ www.prbuffet.com ข่าวประชาสัมพันธ์ online







Leave a Reply

Your email address will not be published.

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.