HIMSS Asia Pacific เผยการพลิกโฉมวงการแพทย์ระดับภูมิภาคเริ่มต้นจากความก้าวหน้าในระดับประเทศ

สิงคโปร์–4 ก.ค.–พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้รับการรับรองมาตรฐาน HIMSS Analytics EMRAM Stage 6 ขึ้นแท่นโรงพยาบาลแห่งที่สองของประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐานระดับสูงในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อระบบสุขภาพเพื่อยกระดับบริการดูแลผู้ป่วย ความสำเร็จดังกล่าวมีขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ไม่นาน โรงพยาบาลปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ ได้ก้าวขึ้นเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของไทย ที่ได้รับมาตรฐานเดียวกันนี้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อระบบสุขภาพ (HIT) ของไทยนั้นไม่สอดคล้องกันเท่าไรนัก โดยถึงแม้มีภาคเอกชนเป็นผู้กรุยทาง แต่เครือโรงพยาบาลรายใหญ่ก็ยังคงเผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่อง เมื่อต้องมีการใช้โซลูชั่นข้ามแผนกและทั่วทั้งเครือโรงพยาบาล เนื่องด้วยปัจจัยทางการเมือง ต้นทุน และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ นอกจากนี้ เครือโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่กว่ายังมีความแตกต่างกันในแง่ของผู้นำและจุดประสงค์ในการดำเนินงาน ส่งผลให้การประสานงานและการตกลงในการเลือกผู้ให้บริการโซลูชั่นและโซลูชั่นที่ดีที่สุดนั้นเป็นไปได้ยาก

ทว่าในความมืดมนยังมีแสงสว่าง โดยในการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาด HIT ในไทยนั้น พบว่ามีปัจจัยหนึ่งที่สำคัญยิ่ง ได้แก่ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในระดับประเทศ คุณไชมอน หลิน ผู้อำนวยการบริหารของ HIMSS Asia Pacific กล่าวว่า “ตลอด 18 เดือนที่ผ่านมา HIMSS ได้ร่วมมือกับองค์กรบริการสุขภาพรายใหญ่หลายแห่ง และได้พบว่า แม้ขณะนี้ยังคงมีความท้าทายปรากฏให้เห็นอยู่มาก แต่บุคลากรยังคงถือเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักเบื้องหลังโครงการเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่นในประเทศไทย ซึ่งมีผู้ประสบความสำเร็จด้าน HIT คอยผลักดันขีดจำกัด พร้อมขับเคลื่อนนวัตกรรมและการใช้ HIT แท้จริงแล้ว วันนี้เรามองเห็นบุคลากรเหล่านี้ที่มีพันธกิจเดียวกันกับ HIMSS ในการกำหนดอนาคตให้กับวงการบริการสุขภาพของไทย”

นพ.สมศักดิ์ หวานกิจเจริญ CIO ของโรงพยาบาลกรุงเทพ และบุคคลสำคัญเบื้องหลังการได้รับมาตรฐาน EMRAM Stage 6 เป็นบุคคลหนึ่งที่เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จด้าน HIT ของไทย โดยเขากล่าวว่า “เรามีเป้าหมายที่จะพลิกโฉมบริการสุขภาพ ด้วยการก้าวขึ้นเป็นโรงพยาบาลชั้นนำที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล HIMSS Analytics EMRAM ได้กลายเป็นแผนแม่บทที่เราใช้ในการบรรลุเป้าหมายนี้ เพื่อยกระดับบริการทางคลินิกของโรงพยาบาลให้เทียบชั้นมาตรฐานโลก” นพ.สมศักดิ์ เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ ทั้งยังได้สั่งสมความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน HIT ด้วยตนเอง และสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยี HIT มาตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 90 ทั้งในชีวิตส่วนตัวและอาชีพการงาน

ด้านนพ.นรินทร สุรสินธน ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และผู้แทนฝ่ายโซเชียลมีเดียประจำการประชุม HIMSS AsiaPac16 ยังได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของโซเชียลมีเดียในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำหรับแพทย์ในการให้ความรู้ นพ.นรินทร เป็นที่ชื่นชอบและรู้จักในชื่อ “หมอหมี” จากการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพทางทวิตเตอร์ โดยมียอดผู้ติดตามเกือบ 400,000 คน นพ.นรินทร กล่าวว่า “ที่โรงพยาบาลสมิติเวช เราอุทิศตนให้กับการพัฒนาคุณภาพบริการและขยายบริการสู่ภายนอกอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การที่ผมเป็นทั้งชาวโซเชียลและแพทย์นั้น ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้ป่วยและโรงพยาบาล”

ไม่นานมานี้ที่ประเทศนิวซีแลนด์ HIMSS ได้ลงนามในข้อตกลง Association Affiliate ฉบับแรกกับ Health Informatics New Zealand (HiNZ) เพื่อเปิดบทใหม่แห่งการพัฒนา HIT โดยคุณคิม มุนดัลล์ ประธานบริหารของ HiNZ กล่าวว่า “แวดวงการแพทย์ดิจิทัลของนิวซีแลนด์ขยายตัวอย่างรวดเร็วและคึกคัก โดยเราเล็งเห็นว่า การร่วมมือระหว่าง HiNZ กับ HIMSS เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเครือข่ายสมาชิกและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ดิจิทัลทั่วโลก”

การพลิกโฉมในระดับภูมิภาคนั้นจำเป็นต้องใช้เวลา แต่ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม เช่น การจัดโรดโชว์ทั่วภูมิภาค การเปิดตัวประชาคม HIMSS Asia Pacific ที่กำลังจะมีขึ้นเร็วๆนี้ เช่นเดียวกับการประชุม HIMSS AsiaPac16 ที่กรุงเทพฯ ในเดือนสิงหาคมนี้ จะทำให้ HIMSS Asia Pacific เดินหน้าสนับสนุนผู้ประสบความสำเร็จด้าน HIT รวมถึงผู้ใช้เทคโนโลยี และการหารือแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อยกระดับการดูแลสุขภาพในอนาคตข้างหน้า

สำหรับการเยี่ยมชมโรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สามารถลงทะเบียนได้ทาง [url=http://www.himssasiapacconference.org/]HIMSS AsiaPac16[/url] เพียงที่เดียวเท่านั้น โดยจะปิดรับลงทะเบียนล่วงหน้าวันที่ 22 กรกฎาคมนี้

เผยแพร่ข่าวโดย:

พีอาร์ บุฟเฟ่ต์ www.prbuffet.com ข่าวประชาสัมพันธ์ online







Leave a Reply

Your email address will not be published.

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.