คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เลือกเทคโนโลยีเอ็นเตอร์ไพรซ์คลาวด์ของนูทานิคซ์

24 – 25 สค. 62 วิศวะมหิดล จัดอบรมเวิร์คช้อป “เทคโนโลยี Blockchain และ Smart Contract “

24 – 25 สค. 62 วิศวะมหิดล จัดอบรมเวิร์คช้อป “เทคโนโลยี Blockchain และ Smart Contract “

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ ร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย จัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “เทคโนโลยี Blockchain และ Smart Contract Workshop” ระหว่าง วันที่ 24 – 25 สิงหาคม 2562 เวลา 9.00 – 16.30 น. ณ อาคาร 1 ชั้น 4 ห้อง R403 กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ http://bit.ly/2YjpcYC ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม 086-775-2572 E-mail : training.egitm@gmail.com ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับความรู้และเปิดประสบการณ์ Blockchain ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีระบบจัดเก็บฐานข้อมูลแบบกระจาย สามารถยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรม การแลกเปลี่ยน หรือการโอนเงิน ไม่ต้องพึ่งพาคนกลางมาคอยทำหน้าที่ประสานงาน และเป็นระบบที่สามารถตรวจสอบได้และมีความปลอดภัยสูง ปัจจุบันนิยมใช้ Blockchain […]

วิศวะมหิดลวิเคราะห์ความเสี่ยงแผ่นดินไหว…เขย่าเมืองโบราณเชียงแสนบนรอยเลื่อนแม่จัน

โลกยังคงผวากับภัยแผ่นดินไหว คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากการสนับสนุนทุนวิจัยของ สนง.คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เผยผลวิจัยพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว เมืองโบราณเชียงแสน บนรอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งมีพลังและยาวที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย นักวิชาการชี้การเตรียมตัวและพัฒนาเมืองให้คงทนยืดหยุ่นรองรับแผ่นดินไหวเป็นทางออกที่ยั่งยืน ผศ.ดร. จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในนานาประเทศต่างพยายามทุ่มเท ค้นคว้าเทคโนโลยีในการเตือนภัยแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นภัยธรรมชาติที่มนุษย์ยังไม่สามารถรู้ล่วงหน้าเกินกว่า 4 วินาที แม้แต่ชาวญี่ปุ่นซึ่งเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์กับแผ่นดินไหวมายาวนาน การเตือนภัยแผ่นดินไหวเป็นเรื่องคาดการณ์ได้ยาก ดังนั้น งานวิจัยและพัฒนาเพื่อคลี่ความเร้นลับในรอยเลื่อนที่มีพลัง เช่น แม่จัน มาเป็นองค์ความรู้แก่คนไทย และสำคัญที่สุด คือ การเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา การบริหารจัดการและมาตรการต่าง ๆ กลไกการเกิดแผ่นดินไหว ผลกระทบที่จะตามมา การใช้นวัตกรรมและการฟื้นฟูเมือง รวมถึงการกำหนดเกณฑ์ปลอดภัยในการก่อสร้างอาคารและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ อันจะช่วยลดการสูญเสียจากภัยแผ่นดินไหว ดร.วศพร เตชะพีรพานิช หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การศึกษาวิจัย เรื่อง ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว เมืองโบราณเชียงแสนบนรอยเลื่อนแม่จัน จ.เชียงราย ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว เมืองโบราณเชียงแสนบนรอยเลื่อนแม่จัน จ.เชียงราย […]

วิศวะมหิดล -มหาวิทยาลัยแมคควอรี่ ผนึกความร่วมมือวิจัย ไทย-ออสเตรเลีย

วิศวะมหิดล -มหาวิทยาลัยแมคควอรี่ ผนึกความร่วมมือวิจัย ไทย-ออสเตรเลีย

เดินหน้าความร่วมมือวิจัย ไทย-ออสเตรเลีย ผศ.ดร. จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับ ศาสตราจารย์ ฟิโลมิน่า เลิง รองคณบดีฝ่ายต่างประเทศ คณะธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ และ รศ.เจมส์ ดาวส์ รองคณบดีฝ่ายการเรียนรู้และการสอน คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม มหาวิทยาลัยแมคควอรี่ (Macquarie University) ซึ่งมีชื่อเสียงแห่งออสเตรเลีย ในโอกาสเดินทางมาประเทศไทยและหารือโครงการวิจัยร่วมกันพร้อมทั้งเยี่ยมชมศูนย์เมคเกอร์สเปซอัจฉริยะ อินโนจิเนียร์ (Innogineer Studio) , ห้องปฏิบัติการนิติวิศวกรรม (Digital Forensic) และบาร์ทแล็บ (BART Lab) ศูนย์วิจัยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร. จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ” ภายใต้ข้อตกลง MOU ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยแมคควอรี่ ทั้งสององค์กรร่วมกันพัฒนาความเข้มแข็งทางด้านวิชาการและนวัตกรรมเกี่ยวกับวิศวกรรมและเทคโนโลยีระหว่างไทย – ออสเตรเลีย ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อความก้าวหน้าทางการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 ตอบรับโลกธุรกิจอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในยุคดิจิทัลดิสรัปชัน”

วิศวะมหิดล ผนึกกำลัง 6 องค์กร พัฒนาพลเมืองด้านการเข้าใจดิจิทัล(Digital Literacy)

วิศวะมหิดล ผนึกกำลัง 6 องค์กร พัฒนาพลเมืองด้านการเข้าใจดิจิทัล(Digital Literacy)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี และ ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน นายกสมาคมอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย และหัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ ลงนาม MOU บันทึกข้อตกลงผนึกความร่วมมือ “การพัฒนาพลเมืองด้านการเข้าใจดิจิทัล ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความเข้าใจดิจิทัล” ร่วมกับ 6 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, สมาคมวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย และสมาคมอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสังคมคุณภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล พัฒนากำลังคนให้เข้าพร้อมสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล โดยสนับสนุนการส่งเสริมด้านความเข้าใจ เพิ่มขีดความสามารถแก่ประชาชนให้สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งวิจัยพัฒนาสู่มาตรฐานสากลต่อไป ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ดร. ปิยนุช วุฒิสอน เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กล่าวว่า สดช. ดำเนินงานด้าน Digital Literacy หรือการเข้าใจดิจิทัลที่มุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาสังคมดิจิทัลตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ของนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 […]

วิศวะมหิดล -ม.ทัมกังแห่งไต้หวัน เปิดหลักสูตร 2 ปริญญา ข้ามประเทศ ป.โทวิศวอุตสาหการ ปี 63

วิศวะมหิดล -ม.ทัมกังแห่งไต้หวัน เปิดหลักสูตร 2 ปริญญา ข้ามประเทศ ป.โทวิศวอุตสาหการ ปี 63

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับ ดร.หยิน เทียน หวัง (Dr. Yin-Tien Wang) คณะวิศวกรรมศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยทัมกัง (Tamkang University) แห่งไต้หวัน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยไทย – ไต้หวัน และเจรจาความร่วมมือเปิดการเรียนการสอนหลักสูตร 2 ปริญญา 2 ประเทศ (Dual Degree) เริ่มด้วย ป.โทวิศวกรรมอุตสาหการในปีการศึกษา 2563 ผศ.ดร. จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้นำงานวิจัยบูรณาการและวิศวกรรมศาสตร์ระดับโลก กล่าวว่า ไต้หวันเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีความก้าวหน้าด้าน Intelligent Industries ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทัมกัง แห่งไต้หวันในการเปิด หลักสูตร 2 ปริญญา 2 ประเทศ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจของการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalized Education) และสนองตอบความต้องการและแก้ข้อจำกัดอุปสรรคหลายอย่างของผู้เรียนได้ มหาวิทยาลัยทัมกัง แห่งไต้หวัน […]

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เลือกเทคโนโลยีเอ็นเตอร์ไพรซ์คลาวด์ของนูทานิคซ์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เลือกเทคโนโลยีเอ็นเตอร์ไพรซ์คลาวด์ของนูทานิคซ์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เลือกเทคโนโลยีเอ็นเตอร์ไพรซ์คลาวด์ของนูทานิคซ์ เสริมศักยภาพระบบไอที เป้าหมายเริ่มต้นเป็น Infrastructure-as-a-Service เพื่อสนับสนุนการให้บริการทางการศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 11 กรกฎาคม 2560 – นูทานิคซ์ (NASDAQ: NTNX) ผู้นำด้าน เอ็นเตอร์ไพรซ์คลาวด์คอมพิวติ้งได้รับความไว้วางใจจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เลือกใช้เอ็นเตอร์ไพรซ์คลาวด์โซลูชั่นของนูทานิคซ์ เสริมศักยภาพการเรียนการสอนและการทำวิจัยของคณะฯ ให้สามารถให้บริการบุคลากรได้อย่างคล่องตัว มีความยืดหยุ่น ลดข้อจำกัดด้านงบประมาณ ลดพื้นที่การจัดเก็บ สามารถสร้างเวอร์ชวลแมชชีนได้อย่างไร้ขีดจำกัด การติดตั้งแพลทฟอร์มของนูทานิคซ์ของคณะฯ ใช้เวลาเพียงหนึ่งวัน ประหยัดเนื้อที่ในการจัดวางอุปกรณ์ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ และยังประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อได้ประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ เทคโนโลยีในปัจจุบันเปลี่ยนโลกให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันอย่างรวดเร็วอย่างไม่เคยมีมาก่อน ตั้งแต่ส่วนเล็กที่สุดในระดับบุคคลจนถึงระดับประเทศ และระดับโลก ทุกภาคส่วนต่างเร่งนำประโยชน์จากเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการพัฒนาประเทศและองค์กรของตน ภาคการศึกษาโดยกระทรวงศึกษาธิการเองก็ได้กำหนดให้“ICT เพื่อการศึกษา” เป็นหนึ่งในหกยุทธ์ศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เขมะฑัต วิภาตะวนิช รองคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารองค์กร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ให้ข้อมูลว่า “คณะฯ […]