ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

บทความพิเศษ เรื่อง : หญ้า…..ที่ไม่ใช่แค่วัชพืชเสมอไป

บทความพิเศษ เรื่อง : หญ้า…..ที่ไม่ใช่แค่วัชพืชเสมอไป

จากสถิติของสำนักเศรษฐกิจการเกษตรเกี่ยวกับเรื่องการนำเข้ายาฆ่าหญ้า และยาคุมหญ้าในแต่ปีมีมูลค่าเป็นหมื่นๆ ล้านบาท (11,924 ล้านบาท จากปี 2557) ซึ่งมากกว่าการนำเข้ายาฆ่าแมลงและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชรวมกันเสียอีก แสดงว่าทัศนคติของพี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่มองว่าหญ้าและวัชพืชที่อยู่ในแปลงเรือกสวนไร่นาเป็นศัตรูตัวร้าย จะเห็นได้จากร้านขายปุ๋ยขายยาทั้งที่เปิดมานานหลายชั่วอายุคน หรือเพิ่งเปิดแบบร้านใหม่ป้ายแดง ถ้าลองสังเกตดูจะเห็นได้ว่าสินค้าที่วางโชว์อยู่หน้าร้าน หรือตามชั้นวางสินค้าที่มีมากที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นยาคุมหญ้าหรือยาฆ่าหญ้า เพราะซื้อง่ายขายคล่อง อาจจะจัดได้ว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านสำหรับพี่น้องเกษตรกรอีกชนิดหนึ่งก็ว่าได้ วันนี้อยากให้ท่านผู้อ่านและพี่น้องเกษตรได้เห็นอีกด้านหนึ่งของหญ้าหรือวัชพืช ในแง่ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในแปลงเรือกสวนไร่นา อย่างเช่นต้นหญ้าหรือวัชพืชนั้นช่วยทำให้เกิดร่มเงาความชุ่มชื้นแก่พื้นดิน ทำให้ดินนั้นโปร่ง ฟู ร่วนซุย แบบธรรมชาติ เพราะว่าการที่มีหญ้าหรือวัชพืชที่เขียวขจี มีร่มเงาอยู่บนพื้นดินนั้น ก็เปรียบเหมือนกับว่าเป็นบ้านเป็นที่อยู่อาศัยให้แก่จุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในดิน ช่วยทำให้ดินมีกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตต่างๆ อยู่ตลอดเวลา (symbiosis) และดิน ณ ที่นั้นๆ ไม่เป็น “ดินตาย” เพราะหญ้านั้นจัดได้ว่าเป็นพืชชนิดหนึ่ง ถ้าหากเรากระหน่ำซ้ำเติม ราดรดยาฆ่าและคุมหญ้าอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน สารเคมีเหล่านี้ก็จะสะสมตกค้างจนมีความเข้มข้นมากพอที่จะทำให้พืชหลักที่เราปลูกไว้นั้น ได้รับผลกระทบจนเกิดความเสียหายได้ เพราะพืชหลักที่เราปลูกก็ล้วนแต่เป็นพืชเหมือนกัน เพียงแต่ว่าลำต้นและขนาดอาจจะแตกต่างกันเท่านั้น แต่ถ้ายาคุมและฆ่าหญ้ามีปริมาณการสะสมที่มากขึ้น ก็อาจจะทำให้พืชที่เราปลูกไม่โตดังที่ตั้งใจ (Antibiosis) ต้องสิ้นเปลืองปุ๋ยยาฮอร์โมนในการฉีดพ่นเร่งให้พืชโตมากขึ้นอีก บางคนคิดว่าต้นหญ้าหรือวัชพืชนั้นจะแย่งอาหารหรือปุ๋ยของพืชหลักที่ปลูกเอาไว้ โดยหารู้ไม่ว่าหญ้านั้นเขาก็กินและสะสมอาหารในดินได้เท่าที่ลำต้นเล็กๆของเขาจะนำเข้าไปได้ และถ้าเราหมั่นตัดหญ้าให้ดูสวยงาม สั้นประมาณเหนือตาตุ่ม เศษซากหญ้าที่ถูกตัดขาดก็จะค่อยๆย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยคืนไปสู่ผืนดิน ที่ดูดกินเข้าไปเท่าไร ก็จะปล่อยคืนออกมาให้ได้เท่านั้น ประโยชน์ของการที่มีหญ้าอยู่นั้นนอกจากจะทำให้ดินนุ่มชุ่มชื้นแล้ว ยังช่วยทำหน้าที่ลดการสูญเสียน้ำไปจากผิวดิน เมื่อตัดหญ้า […]

จุลินทรีย์ปราบหนอนในพืชผัก

จุลินทรีย์ปราบหนอนในพืชผัก

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษภายใต้ บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด หรือ TGA Group ผู้นำด้านเกษตรปลอดสารพิษครบวงจร อันดับหนึ่งในประเทศไทย แนะนำ ไบโอ-แทค (Bio-Tach) จุลินทรีย์ชีวภาพสำหรับกำจัดหนอนในพืชผักต่างๆ เช่น หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนหลอดหอม ฯลฯ ที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงเพื่อทำลายหนอนเท่านั้น ถือเป็นทางเลือกใหม่เพื่อเกษตรกรไทย ทดแทนการใช้สารเคมีที่เป็นพิษ ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตร รวมถึงการทดสอบความเป็นพิษ (LD50) ว่ามีความปลอดภัยมากกว่าน้ำปลาถึง 10 เท่า จึงไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงมาตรฐานการผลิต (QC) ที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ทุกล็อตการผลิต สำหรับเกษตรกรที่สนใจสอบถามได้ที่ตัวแทนทั่วประเทศ โทรศัพท์ 02 986 1680 – 2 หรือ www.thaigreenagro.com สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติมได้นายภูวาดล แสนยากุล ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02 000 8499 , 081 732 7889

บรรยายการใช้สารชีวภัณฑ์

บรรยายการใช้สารชีวภัณฑ์

นายมนตรี บุญจรัส (ที่ 5 จากขวา) ประธานกรรมการชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ผู้นำด้านเกษตรปลอดสารพิษครบวงจรอันดับหนึ่งในประเทศไทย ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษให้กับนักนิสิตปริญญาโทภาควิชาโรคพืช ในหัวข้อ “การต่อยอดใช้สารชีวภัณฑ์ในการเกษตร” โดยให้ความรู้เรื่องจุลินทรีย์ชีวภาพปราบโรคแมลงศัตรูพืช เพื่อเป็นแนวทางใหม่ในการทำเกษตรที่ปลอดภัย ทดแทนการใช้สารพิษ โดยมี ดร.สุพจน์ กาเซ็ม อาจารย์ประจำภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร ให้การต้อนรับ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติมได้นายภูวาดล แสนยากุล ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02 000 8499 , 081 732 7889

พืชผักปลอดสารพิษและเชื้อรา

พืชผักปลอดสารพิษและเชื้อรา

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษภายใต้ บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด หรือ TGA Group ผู้นำด้านเกษตรปลอดสารพิษครบวงจร อันดับหนึ่งในประเทศไทย เชิญชวนเกษตรกรร่วมใส่ใจสารพิษตกค้างในอาหาร ด้วยการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ อินดิวเซอร์ (Inducer) หรือไตรโคเดอร์ม่า ที่ควบคุม ทำลาย ยับยั้งเชื้อราทุกชนิดทั้งราชั้นสูงและราชั้นต่ำ ถือเป็นทางเลือกใหม่ที่ปลอดภัยไร้สารพิษ ทดแทนการใช้สารเคมีที่เป็นพิษ ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตร รวมถึงการทดสอบความเป็นพิษ (LD50) ว่ามีความปลอดภัยมากกว่าน้ำปลาถึง 10 เท่า จึงไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงมาตรฐานการผลิต (QC) ที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ทุกล็อตการผลิต สำหรับเกษตรกรที่สนใจสอบถามได้จากตัวแทนทั่วประเทศ โทรศัพท์ 02 986 1680 – 2www.thaigreenagro.com สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติมได้นายภูวาดล แสนยากุล ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02 000 8499 , 081 732 7889

บทความพิเศษเรื่อง ลดการใช้สารพิษ ด้วยจุลินทรีย์ชีวภาพของไทย

บทความพิเศษเรื่อง ลดการใช้สารพิษ ด้วยจุลินทรีย์ชีวภาพของไทย

จากกรณีที่ลาวต้องออกกฎหมายควบคุม และห้ามขยายพื้นที่เพาะปลูกจนกว่ารัฐบาลจะตรวจสอบและอนุญาตเสียก่อน เนื่องมาจากการรุกรานพื้นที่เพาะปลูกของนักลงทุนจีน ที่บุกไปปลูกกล้วยในประเทศลาวพื้นที่ประมาณ 10,000 เฮกตาร์ หรือราวๆ 62,500 ไร่ และมีการลักลอบนำเข้าปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ที่มีพิษรุนแรง รวมถึงแรงงานเครื่องจักรต่างล้วนมาจากประเทศตนเองเสียเกือบหมด ทำให้ทางการลาวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องรีบออกมาดูแลแก้ไขกฎหมายเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้เสียหายมากไปกว่านี้ เพราะประชาชนคนลาวแทบจะไม่ได้ประโยชน์อะไรใดๆ นอกจากการอาบชโลมสารเคมีลงไปในผืนดินแผ่นน้ำอย่างไม่บันยะบันยังทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงทุกที ประเทศไทยเองก็ใช่ว่าจะหนีห่างจากทุนจีนได้ ทางจังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงของ ก็มีการร้องเรียนเกี่ยวกับบริษัทคนจีนใช้คนไทยจัดตั้งบริษัทบังหน้าไม่กี่คน เป็นนอมินี แล้วเอาคนจีน แรงงานจีนเข้ามาบริหารจัดการ โดยการลักลอบนำสารเคมีจากประเทศของตัวเอง ด้วยการนำเข้ามาทางเส้นทางเศรษฐกิจ R3A หลังจากใช้ทรัพยากรบนผืนแผ่นดินไทยอย่างคุ้มค่า แล้วก็ขนผลผลิตกลับไปยังประเทศตนเอง ก่อนที่หน่วยงานรัฐจะเข้าไปตรวจเลือดหาสารพิษก็พบหลายราย และมีการขยายผลออกไป เพื่อระงับยับยั้งนายทุนจีนกลุ่มนี้ที่ไร้สำนึกความรับผิดชอบต่อการลงทุนในบ้านเมืองคนอื่น ในประเทศไทยเองแต่ละปีมีตัวเลขการนำเข้าสารเคมีที่เป็นพิษเกือบแสนล้านบาท หรือมีปริมาณกว่า 5 ล้านตัน ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณมหาศาลที่พี่น้องเกษตรกรนำไปใช้อาบชโลมป่าทั้งป่า เขาทั้งเขา ให้ชุ่มฉ่ำไปด้วยสารพิษ เมื่อฝนตกก็ไหลลงไปสู่ต้นน้ำ และลงไปสู่เขื่อนผ่านไปยังปลายน้ำ ทำให้ระบบนิเวศน์ กุ้ง หอย ปู ปลา รวมถึงสัตว์ป่าล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก มนุษย์เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ทุกชีวิตต้องมามีอันเป็นไปเพราะสารเคมีที่เป็นพิษ ปัจจุบันชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ได้เล็งเห็นถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรและผู้บริโภคในอนาคต จึงมีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ชีวภาพปราบโรคแมลงศัตรูพืชแบบปลอดภัยไร้สารพิษ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องจากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่านการรับรองระบบการจัดการคุณภาพ […]

ปรับทิศทางเกษตรปลอดสารพิษ

ปรับทิศทางเกษตรปลอดสารพิษ

นายมนตรี บุญจรัส (นั่งกลาง) ประธานกรรมการชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ผู้นำด้านเกษตรปลอดสารพิษครบวงจรอันดับหนึ่งในประเทศไทย พร้อมทีมงานร่วมกันจัดประชุมใหญ่กำหนดทิศทางประจำปี ด้วยนโยบายเข้าถึงเกษตรกรเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการทำเกษตรแบบปลอดภัยไร้สารพิษ ภายใต้แนวคิดอาหารปลอดภัยจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ รวมถึงวิธีรับมือภัยแล้งด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืน ณ ฟาร์มชมรมเกษตรปลอดสารพิษ จังหวัดอ่างทอง สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติมได้ที่คุณภูวาดล แสนยากุล ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02 000 8499 , 081 732 7889

อบรมหลักสูตรชาวนาสู้แล้ง

อบรมหลักสูตรชาวนาสู้แล้ง

นายมนตรี บุญจรัส (กลาง) ประธานกรรมการชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ผู้นำด้านเกษตรปลอดสารพิษครบวงจรอันดับหนึ่งในประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง จัดบรรยายพิเศษเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการทำนา ภายใต้แนวคิดอาหารปลอดภัยจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ พร้อมวิธีรับมือและลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง ที่สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง โดยมีเกษตรกรให้ความสนใจเข้าร่วมฟัง ณ โรงเรียนชาวนา ตำบลโพสะ จังหวัดอ่างทอง สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติมได้ที่คุณภูวาดล แสนยากุล ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02 000 8499 , 081 732 7889

บทความพิเศษเรื่อง กักเก็บน้ำผิวดินในแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน

บทความพิเศษเรื่อง กักเก็บน้ำผิวดินในแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน

เมื่อมีเวลาแล้วนึกย้อนกลับไปในอดีต ยุคที่ปู่ย่า ตายายของเราทำอาชีพเกษตรกรรมในรูปแบบที่ยังไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยเหมือนกับปัจจุบันนี้ ไม่มีปุ๋ยเคมี ไม่มียาฆ่าแมลง ไม่มียาฆ่าหญ้า ไม่มีรถแทรกเตอร์ แต่ท่านก็ทำของท่านมาได้ สามารถเลี้ยงบุตรหลานให้เติบโตมาเป็นเจ้าคนนายคน สืบสานวัฒนธรรมการเกษตรไทยโดยที่ยังมีความสุขมากกว่าผู้คนหรือสังคมปัจจุบันด้วยซ้ำ การทำการเกษตรในยุคเก่านั้น ส่วนใหญ่ก็จะมีเพียงจอบ เสียม พลั่วเป็นหลัก ไม่มีเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ น้ำหนักมากมากดทับดิน ดินในอดีตจึงไม่แน่นแข็ง โดยเฉพาะดินชั้นล่างที่ลึกลงไปประมาณ 30-50 เซนติเมตร จากการไถพรวนของรถไถ รถแทรกเตอร์ทำให้ดินร่วนซุยแต่เฉพาะด้านบน แต่ดินชั้นล่างถูกน้ำหนักของรถกดทับจนแน่นเป็นชั้นดาน ก่อให้เกิดการระบายถ่ายเทน้ำไม่ดีจนสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงการไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าจึงทำให้ไม่มีสารพิษที่สะสมอยู่ในดินคอยควบคุมการเจริญเติบโตของพืช เพราะอย่าลืมว่ายาฆ่าหญ้าที่คุมหญ้า ก็สามารถส่งผลกระทบกับพืชหลักได้ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะหญ้าก็จัดว่าเป็นพืชชนิดหนึ่งเหมือนกัน ถึงแม้ว่าจะส่งผลกระทบได้ไม่มากในระยะแรก แต่ในระยะยาวการสะสมที่มากขึ้นก็สามารถทำให้พืชอานชะงักงันได้เช่นเดียวกัน การย้อนกลับมาทำการเกษตรแบบเก่าตามภูมิปัญญาชาวบ้านก็น่าจะดีไม่น้อยกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ที่มีโซนพอเพียงของตนเองแค่ 1 ถึง 2 ไร่ก็เพียงพอ ไม่ว่าจะมีพื้นที่มากมายเป็น 100 ไร่ 1,000 ไร่ก็ไม่สำคัญ ขอเพียงแบ่งมาทำโซนพอพียงแก่ตนเองสัก 1 ไร่ เพื่อให้ความสุขแก่ตนเอง โดยอาศัยหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือ 30% สำหรับสระน้ำ 30% สำหรับนาข้าว 30% สำหรับป่า 3 อย่าง ประโยชน์ […]

บรรยายพิเศษรับมือภัยแล้ง

บรรยายพิเศษรับมือภัยแล้ง

นายมนตรี บุญจรัส (เสื้อเขียวซ้าย) ประธานกรรมการชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ผู้นำด้านเกษตรปลอดสารพิษครบวงจรอันดับหนึ่งในประเทศไทย เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษแก่เกษตรกร โดยให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง เช่น การทำสระน้ำประจำไร่นา การใช้สารอุ้มน้ำแก้ไขปัญหาน้ำน้อยในพืชผล รวมถึงแนะนำวิธีการเพาะเห็ดสร้างรายได้เสริม เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแบบบูรณาการ โดยมีเกษตรกรให้ความสนใจเข้าร่วมฟังเป็นจำนวนมาก ณ โรงเรียนชาวนา ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติมได้ที่คุณภูวาดล แสนยากุล ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02 000 8499 , 081 732 7889

บทความพิเศษ เรื่องเทคโนโลยีและภูมิปัญญาไทย แก้ปัญหาภัยแล้งระดับชาติ ( ตอนที่ 2 )

บทความพิเศษ เรื่องเทคโนโลยีและภูมิปัญญาไทย แก้ปัญหาภัยแล้งระดับชาติ ( ตอนที่ 2 )

ฉบับที่แล้วได้เกริ่นถึงภาพรวมและปัญหาภัยแล้งระดับชาติ มาฉบับนี้จะเข้าสู่เรื่องการรับมือภัยแล้งด้วยเทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขอน้อมนำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาใช้ ด้วยการทำสระน้ำประจำไร่นา สระน้ำแก้มลิง ให้เพียงพอต่อการเพาะปลูกในพื้นที่ เรียกได้ว่าเป็นสระน้ำประจำฟาร์มส่วนตัวของเกษตรกรเพื่อรองรับปริมาณน้ำฝน แต่อย่างว่าไม่มีอะไรจะได้มาง่ายๆ เพราะบางพื้นที่พี่น้องเกษตรกรก็เจอปัญหาสระน้ำรั่วซึมกักเก็บน้ำไม่อยู่ เนื่องจากใต้ผิวดินลึกลงไปเป็นพื้นที่ดินทราย ดินร่วน มีรูรั่วซึม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้น้ำในบ่อหรือสระนั้นๆ ไม่สามารถที่จะกักเก็บน้ำให้อยู่ได้ยาวนานเพียงพอ วันนี้จึงขอแนะนำวิธีการแก้ปัญหาเพื่อเป็นวิทยาทาน และการใช้เครื่องมือสำหรับต้านภัยแล้ง โดยการใช้สารอุดบ่อ (polyacrylamide) ร่วมกับหินแร่ภูเขาไฟ เบนโธไนท์ สเม็คไทต์ ในอัตรา 2 กิโลกรัมต่อ หินแร่ภูเขาไฟ 100 กิโลกรัม หว่านกระจายลงไปให้ทั่วบ่อ แล้วทำการหว่านทรายหยาบ ทรายละเอียด หรือ จะเป็นดินที่ขอบบ่อหลังจากขุดใหม่ๆ มาหว่านโปรยเกลี่ยทับให้ทั่ว แล้วทำการทับ บด อัด ให้แน่นด้วยขอนไม้หรือสามเกลอ หลังจากมีน้ำในสระแล้วสารอุดบ่อจะทำปฏิกิริยาในการพองขยายตัวและประสานกันเป็นตาข่ายหรือร่างแห เมื่อน้ำแทรกซึมเข้าไปในโมเลกุลของสารอุดบ่อแล้ว น้ำสามารถยึดเกาะกับโมเลกุลของสารอุดบ่อได้จากหมู่ของเอมีน (-NH2) ของสารโพลิอะคริลามีด ที่สร้าง “พันธะไฮโดรเจน” กับโมเลกุลน้ำ (H2O) แรงนี้เป็นแรงดึงดูดอย่างอ่อนที่เกิดเฉพาะอะตอมของไฮโดรเจนกับอะตอมของออกซิเจน (O) หรือไนโตรเจน (N) หรือฟลูออรีน (F) คุณสมบัตินี้ของสารอุดบ่อจะถูกทำให้คลายขยายตัวออกช่วยอุดประสานรูรั่ว หลังจากนั้นนำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหว่านกระจายให้ทั่วพื้นบ่อก่อนปล่อยน้ำลงไป เพื่อสร้างเมือกธรรมชาติให้อุดรอยรั่วของบ่อ […]