ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

บทความพิเศษ เรื่องเทคโนโลยีและภูมิปัญญาไทย แก้ปัญหาภัยแล้งระดับชาติ ( ตอนที่ 1 )

บทความพิเศษ เรื่องเทคโนโลยีและภูมิปัญญาไทย แก้ปัญหาภัยแล้งระดับชาติ ( ตอนที่ 1 )

ปริมาณน้ำฝนที่ตกในประเทศไทยเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,700 มิลลิเมตร คิดเป็นปริมาณมวลน้ำก็จะอยู่ประมาณ 800,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่อย่าเพิ่งดีใจไปว่าเยอะเพราะบางส่วนซึมลงสู่ชั้นใต้ดินบ้าง และระเหยคืนกลับสู่ชั้นบรรยากาศบ้าง เหลือเพียง 200,000 ล้านลูกบาศก์เมตรหรือประมาณเกือบ 30% ที่กระจัดกระจายไปตามเขื่อนใหญ่และเขื่อนขนาดกลางต่างๆ กว่า 650 แห่ง รวมถึงเช็คแดม ห้วย หนอง คลอง บึงต่างๆ เฉลี่ยแล้วเก็บน้ำได้เพียงปีละ 70,800 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำฝนที่ตกมาทั้งหมด ซึ่งน้ำส่วนที่เหลือตามนี้ก็ยังถูกปล่อยทิ้งลงสู่ทะเลไปแบบไร้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จากข้อมูลดังกล่าว ประเทศไทยเราจึงอยู่บนความเสี่ยงที่จะเจอกับปัญหาภัยแล้งมาก โดยเฉพาะตัวเลขสถิติที่สามารถจับต้องได้จากกรมทรัพยากรน้ำ ก็ยิ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภัยแล้งมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชไร่ไม้ผล ที่มีความจำเป็นจะต้องใช้น้ำเป็นปัจจัยหลักในการเพาะปลูก และนอกจากปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องของปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่เกิดขึ้นในทุก 4-5 ปี แต่บางทีก็อาจไม่ได้เกิดจากเอลนีโญไปเสียทั้งหมด เพราะจากภัยแล้งต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ปี 2557 ยังคาดการณ์กันว่าน่าจะแล้งยาวไปจนถึงเดือนพฤษภาคมปี 2559 นี้ ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของสถานการณ์โลกร้อน (Global Warming) และเรื่องของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง (Climate Change) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ตามสภาพแวดล้อมและปัจจัยของโลก ที่ไม่น่าจะเหมือนเดิมอีกต่อไปหรืออาจจะเรียกว่าเลวร้ายกว่าเดิม โดยเราสามารถสังเกตความแปรปรวนนี้ได้จากช่วงปลายเดือนมกราคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กับอุณหภูมิตั้งแต่ติดลบไปจนถึงสิบกว่าองศาเซลเซียส […]

แนะแนวหลักสูตรโรงเรียนชาวนา

แนะแนวหลักสูตรโรงเรียนชาวนา

นายมนตรี บุญจรัส (กลาง) ประธานกรรมการชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ผู้นำด้านเกษตรปลอดสารพิษครบวงจรอันดับหนึ่งในประเทศไทย เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษให้ความรู้แก่เกษตรกร เพื่อแนะแนวทางการทำนาแผนใหม่ แบบปลอดภัยไร้สารพิษ โดยเน้นการลดต้นทุนผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ รวมถึงวิธีการรับมือปัญหาภัยแล้ง ตามหลักสูตรโรงเรียนชาวนา เพื่อสืบสานวิถีเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของในหลวง ณ โรงเรียนชาวนา สำนักงานเกษตรอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02 000 8499 , 081 732 7889

แนะนำอาชีพสู้ภัยแล้ง ในงานเกษตรแฟร์ 59

แนะนำอาชีพสู้ภัยแล้ง ในงานเกษตรแฟร์ 59

นายมนตรี บุญจรัส (กลาง) ประธานกรรมการชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ผู้นำด้านเกษตรปลอดสารพิษครบวงจรอันดับหนึ่งในประเทศไทย นำทีมออกบูธในงาน ” เกษตรแฟร์ ประจำปี 2559 ” เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรปลอดสารพิษ ที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อลดผลกระทบจากภัยแล้ง ผ่านผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สารอุดบ่อสำหรับสระน้ำประจำไร่นา สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ หินแร่ภูเขาไฟ เป็นต้น รวมถึงแนะนำการเพาะเห็ดครบวงจรเพื่อประกอบเป็นอาชีพสู้ภัยแล้งให้แก่ผู้สนใจ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

บทความพิเศษ เรื่อง สร้างมาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์ไทย รองรับตลาดโลก

บทความพิเศษ เรื่อง สร้างมาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์ไทย รองรับตลาดโลก

จากปัญหาไข้หวัดนกในปี 2547 ทั่วโลกต่างยกเลิกการนำเข้าไก่สดแช่แข็งของไทย จนกระทั่งปลายปี 2556 ญี่ปุ่นได้มีการนำเข้าอีกครั้ง หลังจากนั้นประเทศจีน ไต้หวัน สิงคโปร์ และกลุ่มแอฟริกาใต้ จึงมีการนำเข้าตามมาเป็นระลอก ซึ่งก็เป็นไปตามหลักของเศรษฐศาสตร์และธรรมชาติ ที่เมื่อมีประเทศที่มุ่งเน้นมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยสูง อนุญาตให้นำเข้าไก่สดแช่ได้ ประเทศที่ต้องการความปลอดภัยเหมือนกัน แต่อาจจะมีศักยภาพในการประเมินต่ำกว่า เพราะฉะนั้นญี่ปุ่นซื้อได้ เขาก็ต้องซื้อได้ด้วยเช่นกัน และอีกหนึ่งโอกาสทางการค้าที่ตกมายังประเทศไทยและอีกหลายประเทศทางฝั่งเอเชียไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย และกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะจีนนั้นค่อนข้างที่จะชัดเจน จากการร่วมมือกันแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างสินค้าต่างๆ กับก๊าซธรรมชาติของรัสเซีย สำหรับประเทศไทยนั้นรัสเซียก็ให้ความสนใจในเรื่องของภาคปศุสัตว์และประมงทั้งเนื้อวัว หมู ไก่ กุ้ง ฯลฯ โดยมีเจ้าหน้าที่ได้เข้ามาสำรวจตรวจสอบมาตรฐานตามฟาร์มต่างๆ ของไทยแล้ว รอแต่เพียงการอนุมัติข้อตกลงก็จะส่งออกได้ทันที เนื่องมาจากสาเหตุที่รัสเซียถูกคว่ำบาตรจากอียูและอเมริกา กรณีเข้าไปชักใยไกล่เกลี่ยประชาชนในแคว้นไครเมีย ที่ก่อนหน้าขึ้นกับประเทศยูเครน ดังนั้นก็เป็นธรรมดาที่อภิมหาอำนาจทางฝั่งตะวันตกย่อมไม่พอใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว เมื่อมีโอกาสจึงต้องหันมามองถึงมาตรฐานของการเลี้ยงสัตว์ในบ้านเรา ซึ่งถ้าไม่ใช่ฟาร์มที่ใหญ่จริงๆ จะมีการบริหารจัดการก็ที่ยังไม่ได้มาตรฐาน เพราะฉะนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีเฉพาะสำหรับฟาร์มใหญ่ แต่ก็มีบางครั้งที่รับซื้อต่อจากฟาร์มเล็กอีกทอดหนึ่ง เพราะสินค้าที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอ ซึ่งหลายครั้งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาที่ไม่คาดคิด โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพสินค้า และสารปนเปื้อนตกค้างสะสม เนื่องจากเกษตรกรมักจะไม่ให้ความสำคัญในเรื่องความสะอาดในพื้นที่คอก พื้นบ่อ หรือโรงเรือน ทำให้เกิดการหมักหมมเน่าเสียของมูลสัตว์ และเศษอาหารที่ตกค้าง จนเกิดแก๊สที่รบกวนระบบต่างๆ ของสัตว์เลี้ยง ทั้งแก๊สแอมโมเนีย (NH4+) แก๊สไข่เน่า […]

บทความพิเศษเรื่อง ฤาว่าสงครามโลกครั้งที่ 3 กำลังก่อหวอดเราจะอยู่รอดปลอดภัยด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง

บทความพิเศษเรื่อง ฤาว่าสงครามโลกครั้งที่ 3 กำลังก่อหวอดเราจะอยู่รอดปลอดภัยด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง

หลายๆเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นมาตลอดระยะเวลาในห้วงช่วง 10 ปีมานี้ ดูเหมือนว่าจะเป็นเหตุแห่งชนวนของการเกิดสงครามที่เราหลายคนอาจจะไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแก่งแย่งในเรื่องพื้นที่เหนือมหาสมุทรระหว่างญี่ปุ่นกับจีน เกี่ยวกับหมู่เกาะเตียวหวีไถ (ชาวจีนเรียก) หรือหมู่เกาะเซ็นกากุ (ชาวญี่ปุ่นเรียก) ต่างก็อ้างกรรมสิทธิ์ว่าเป็นของตนเอง จนนำมาซึ่งเหตุการณ์ประท้วงระหว่างชาวจีนและญี่ปุ่น รวมถึงเหตุการณ์ระหว่างจีนกับน้องๆอาเซียน อย่างเช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ก็มีปัญหาเกี่ยวกับเกาะแก่งในทะเลจีน ซึ่งทำให้เวียดนามถึงกับยุติการส่งผักผลไม้ไปขายให้จีน ส่วนฟิลิปปินส์กับอินโดนีเซีย ต้องขอให้อเมริกาเข้ามาช่วยดูแลแก้ปัญหา ถึงขั้นเอาเรือรบมาลาดตระเวนหยั่งเชิงท่าทีกับจีน จนเกือบจะรบกันก็มีมาแล้ว จีนนั้นพยายามที่จะแผ่อิทธิพลในฝั่งเอเชียให้รวดเร็ว และเพิ่มมากขึ้น มีการร่วมมือกับรัสเซียเพื่อสร้างพันธมิตร โดยการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัสเซียขายก๊าซและน้ำมันให้จีน แต่ให้จีนส่งสินค้าเกษตรเข้ารัสเซีย อเมริกาพอรู้ทางอยู่บ้างเลยดัดหลังรัสเซีย เพราะรู้ว่ารัสเซียนั้นใช้นโยบายไข่หลายฟองในตะกร้าเดียวกัน คืออเมริการู้ว่ารัสเซียมีรายได้หลักส่วนใหญ่มาจากการขายก๊าซและพลังงาน อเมริกาจึงขุดแร่ธาตุก๊าซพลังงานที่เรียกว่า เชลล์แก๊ส หรือน้ำมันในชั้นหินดินดานในประเทศตนเองออกมาใช้ โดยอ้างว่าเพิ่งขุดพบ โดยแท้จริงแล้วก็ทราบมาตั้งนานแล้ว แต่ตั้งใจนำออกมาเพิ่มซัพพลายแชร์ในตลาดโอเปก ให้มีน้ำมันมากขึ้น ทำให้เกิดโอเวอร์ซัพพลาย ราคาน้ำมันจึงดิ่งลงจาก 100 เหรียญต่อบาร์เรล เหลือ 40 – 50 เหรียญต่อบาร์เรล ส่งผลกระทบต่อรัสเซียทำให้มีรายได้ลดลง จึงเป็นเรื่องแปลกอยู่เหมือนกันว่าในช่วงที่ไทยเศรษฐกิจแย่ รัสเซียซึ่งกำลังจะมาซื้อหาสินค้าเกษตรจากไทย ทั้งไก่ กุ้ง ผัก ผลไม้ […]

ชมรมเกษตรฯ ร่วมแข่งกอล์ฟการกุศล

ชมรมเกษตรฯ ร่วมแข่งกอล์ฟการกุศล

นายมนตรี บุญจรัส (ที่ 4 จากขวา) ประธานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ นำทีมเข้าร่วมการแข่งขันกอล์ฟการกุศลชิงถ้วยเกียรติยศจาก ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี ที่จัดโดยสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของสื่อมวลชน ในการพัฒนาส่งเสริมข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรสู่เกษตรกร และประเทศชาติ รวมถึงเป็นการสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีระหว่างกัน ณ ศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก รามอินทรา @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@ สอบถามข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์ได้ที่ บริษัท ซูม พีอาร์ จำกัด โทรศัพท์ 0 2000 8499 , 081 732 7889

ข่าวซุบซิบ ปรับยุทธศาสตร์ปลอดสารพิษ

ข่าวซุบซิบ ปรับยุทธศาสตร์ปลอดสารพิษ

…แม้ปีที่ผ่านมาเจอทั้งภัยแล้ง และพิษเศรษฐกิจสาหัสแค่ไหน….แต่กูรูเกษตรปลอดสารพิษ มนตรี บุญจรัส ประธานชมรมฯ ยังประกาศสู้ต่อ….พร้อมเปลี่ยนยุทธศาสตร์การตลาดครั้งใหญ่ เน้นเพาะเห็ดแบบครบวงจร และสร้างมาตรฐานผักปลอดสารฯเข้าสู่ระบบ ที่สำคัญยังเพิ่มช่องทางการจำหน่ายทางออนไลน์ด้วย ….แต่ถึงอย่างไร …. ชมรมเกษตรฯ ยังคงเดินหน้าสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิก และเครือข่ายพันธมิตรทั่วประเทศ (CRM) เพื่อรักษาสัมพันธภาพที่ดีตลอดไป…

บทความพิเศษเรื่อง เทคนิควิธีการล้างสารพิษตกค้างในผักผลไม้แบบชาวบ้าน

บทความพิเศษเรื่อง เทคนิควิธีการล้างสารพิษตกค้างในผักผลไม้แบบชาวบ้าน

ในการลด ละ เลี่ยง เลิก ในการใช้สารพิษ ถือเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา หลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้ผลิตหรือเกษตรกรเอง ต้องมีความเข้าใจและให้ความร่วมมือกัน ตั้งแต่ระดับต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เราจึงจะมีแหล่งอาหารที่สะอาด ปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม วันนี้คนไทยยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ได้ จึงขอแนะนำเทคนิคเกี่ยวกับการทำความสะอาดพืชผักผลไม้ให้มั่นใจก่อนรับประทานดังนี้ 1. การแช่น้ำ เริ่มด้วยการล้างผักรอบแรกให้สะอาดเสียก่อน หลังจากนั้นเด็ดผักออกเป็นใบๆ แล้วนำมาแช่ในภาชนะที่เตรียมไว้ประมาณ 15 นาที วิธีนี้จะช่วยลดสารพิษจากฆ่ายาแมลงได้ประมาณ 7-33% 2. ล้างผักในน้ำที่ไหลผ่านอย่างเช่นน้ำก๊อก ประมาณ 2-5 นาที โดยเด็ดผักออกเป็นใบ ๆ นำมาใส่ในตะกร้าหรือตะแกรงโปร่ง แล้วเปิดน้ำให้แรงพอประมาณ ระหว่างล้างให้ใช้มือช่วยคลี่ใบผักและถูไปมาบนผิวใบของผักผลไม้ไปด้วยประมาณ 2 นาที วิธีนี้จะช่วยลดสารพิษจากยาฆ่าแมลงได้ประมาณ 25-63% (วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมและได้ผลดีมากวิธีหนึ่ง แต่จะมีข้อเสียในเรื่องของการใช้เวลานานในการล้างและต้องใช้น้ำสะอาดปริมาณมาก) 3. ปอกเปลือก วิธีนี้ให้นำผักหรือผลไม้มาปอกเปลือกหรือการลอกใบผักชั้นนอกออก เช่น กะหล่ำปลี ฯลฯ โดยให้ลอกเปลือกหรือกาบด้านนอกออกทิ้งสัก 2-3 ใบ เพราะสารพิษส่วนใหญ่จะสะสมตกค้างบริเวณเปลือกด้านนอกหรือบริเวณกาบ แล้วจึงนำไปแช่ในน้ำสะอาดอีกประมาณ 5-10 นาที หลังจากนั้นก็ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณของสารพิษตกค้างได้ประมาณ […]

ชมรมเกษตรฯ เผยภาพรวมภาคเกษตรไม่โตจากหลายปัจจัย

ชมรมเกษตรฯ เผยภาพรวมภาคเกษตรไม่โตจากหลายปัจจัย

ชมรมเกษตรฯ เผยภาพรวมภาคเกษตรไม่โตจากหลายปัจจัย จ่อเพิ่มไลน์ผลิตปีหน้า เน้นรุกกลุ่มเพาะเห็ด และผักปลอดสารพิษ ภาวะเศรษฐกิจโลกทรุด ส่งผลให้ภาพรวมตลาดเกษตรถดถอย ชมรมฯ หันจับตลาดเห็ดครบวงจร พร้อมสร้างมาตรฐานการผลิตผักปลอดสารพิษสู่ระบบ รองรับ เออีซี นายมนตรี บุญจรัส ประธานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ภายใต้บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ปัญหาภัยแล้งที่ยาวนาน รวมถึงนโยบายรัฐบาลที่ให้เกษตรกรลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าว ส่งผลให้มูลค่าภาพรวมของภาคเกษตรไทยลดลงอย่างมาก และกระทบโดยตรงต่อกลุ่มเกษตรกรทั้งชาวไร่ และชาวนา ที่ส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายของชมรมฯ ทั้งสิ้น ทำให้กระทบต่อการเดินหน้าของชมรมฯอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่สามารถดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้อย่างเต็มที่ ในปีหน้าจึงมีการปรับยุทธศาสตร์ทางการตลาดครั้งใหญ่ โดยขยายไลน์ผลิตด้วยการทำตลาดเพาะเห็ดแบบครบวงจร รวมถึงสร้างมาตรฐานการผลิตผักปลอดสารพิษสู่ระบบให้มากที่สุด รองรับตลาดเออีซี และเพื่อขับเคลื่อนให้ภาวะเศรษฐกิจกลับมาคึกคักอีกครั้ง “ จากปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้ทุกภาคส่วนต่างได้รับผลกระทบกันทั่วหน้า ไม่ว่าจะทางตรง หรือทางอ้อม แต่ที่หนักสุดน่าจะเป็นภาคเกษตรของไทยเมื่อเทียบจากหลายปีที่ผ่านมา และสำหรับชมรมเกษตรฯ คาดว่าผลประกอบการทั้งปีจะลดลงประมาณ 15 % จากปีที่แล้วที่มีมูลค่ารวมกว่า 100 ล้านบาท เพราะความเชื่อมั่นในมาตรฐานและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ตราใบไม้ลายธงชาติ จากกลุ่มสมาชิกทั่วประเทศ จึงทำให้เราสามารถฟันฝ่าผ่านพ้นมาได้ สำหรับทิศทางการตลาดในปี 59 ชมรมฯมีการปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ โดยจะโฟกัสในเรื่องตลาดเพาะเห็ดแบบครบวงจร […]

ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเกษตรยั่งยืน

ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเกษตรยั่งยืน

นายมนตรี บุญจรัส ประธานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ผู้นำด้านเกษตรปลอดสารพิษครบวงจรในประเทศไทย ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ในเรื่อง “ การขับเคลื่อนเกษตรกรรมให้ยั่งยืนสู่การปฏิบัติ ” เพื่อร่วมระดมความคิดเห็นร่วมกับนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน รวมถึงเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ให้เกิดความชัดเจนในแต่ละประเด็น ก่อนจะเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธาน กรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ให้เกียรติเป็นประธานพิธี ณ โรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซด์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เมื่อเร็วๆ นี้ @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@ สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02 000 8499

1 4 5 6