น้ำวุ้นในตาเสื่อม

แสงอะไรแว็บๆ อยู่ในตา อย่ารอช้ารีบรักษาก่อนสายเกิน

แสงอะไรแว็บๆ อยู่ในตา อย่ารอช้ารีบรักษาก่อนสายเกิน

หลายท่านอาจเคยมีประสบการณ์ มองอะไรเพลินๆ อยู่ดีๆ ก็มีแสงแว็บๆ อย่างกับแฟลชเข้ามาในตา อย่างกับเราเป็นดารามีคนมาคอยถ่ายรูปซะอย่างนั้น หรือบางทีเห็นเหมือนแมลงหวี่บินไปมาอยู่ข้างหน้า เอามือเอื้อมจะคว้าจับก็ไม่มีอะไร อาการเช่นนี้จะเป็นอันตรายต่อดวงตาของเราหรือไม่ พญ.พิมพ์สิริ ชมะนันทน์ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำวุ้น และจอประสาทตา จาก TRSC ศูนย์เลสิคนานาชาติ จะมาไขข้อข้องใจนี้ค่ะ อาการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอาการของภาวะ “น้ำวุ้นในตาเสื่อม”(Vitreous degeneration) ในลูกตาของคนเรา จะมีน้ำวุ้นตา (Vitreous) ลักษณะคล้ายเจลใสบรรจุอยู่ภายในลูกตาด้านหลัง น้ำวุ้นตาทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้แสงผ่าน และพยุงลูกตาให้เป็นทรง โดยธรรมชาติเมื่อคนเราอายุมากขึ้น น้ำวุ้นตาจะเกิดการละลาย (Vitreous Liquifaction) กลายเป็นน้ำ บางส่วนอาจจับตัวกันเป็นตะกอน เมื่อแสงส่องผ่านเข้ามาในลูกตากระทบตะกอนนี้จะเกิดเงาบนจอประสาทตา ทำให้เราเห็นคล้ายมีจุด หรือคล้ายแมลงบินไปมา (Vitreous floaters) และขยับได้ตามการกลอกตาของเรา เมื่อน้ำวุ้นตาละลายมากขึ้น จะเกิดการร่อนตัวของน้ำวุ้นตาออกจากจอประสาทตา (Posterior vitreous detachment) ซึ่งทำให้มีอาการเห็นแสงคล้ายฟ้าแลบ หรือคล้ายแสงแฟลชจากกล้องถ่ายรูป แล้วตามมาด้วยเห็นจำนวนหยากไย่ หรือจุดลอยไปมามากกว่าเดิม หรือชิ้นใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นเพราะน้ำวุ้นตาส่วนที่ร่อนออกมามักมีลักษณะทึบแสงกว่าบริเวณอื่น ทำให้เกิดเห็นจำนวนตะกอนที่ลอยมากขึ้น หรือชิ้นใหญ่ขึ้น ส่วนใหญ่ภาวะน้ำวุ้นตาเสื่อมจะเกิดขึ้นเมื่ออายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป แต่มีภาวะบางอย่างที่อาจทำให้เกิดเร็วกว่านี้ได้ […]