บทเรียนเรื่องเปรี้ยว

บทเรียนเรื่อง “เปรี้ยว” ที่พ่อแม่ต้องรู้ เพราะลูกใครก็เป็นได้

บทเรียนเรื่อง “เปรี้ยว” ที่พ่อแม่ต้องรู้ เพราะลูกใครก็เป็นได้

ข่าวร้ายที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ถือเป็นเรื่องสะเทือนขวัญและกระทบกระเทือนความรู้สึกของคนที่รับรู้เป็นอย่างมาก เหตุการณ์การทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ชีวิตทั้งยังซ่อนเร้นอำพรางความผิด สามารถสร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดขึ้นในสังคมได้เสมอ ไม่ว่าเรื่องเหล่านี้จะเกิดกับใคร อาจจะเป็นคนที่อ่อนแอ คนไม่มีทางสู้ อาจเป็นการแก้แค้น การจัดการปัญหาโดยขาดสติ หรืออาจเป็นความเคยชินของการใช้ความรุนแรงที่พบเห็นได้อย่างง่ายดายในชีวิตประจำวัน ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยถ้าหากลองมองย้อนกลับมาดูที่ตัวเราเองในฐานะผู้รับสื่อ ในช่วงระหว่างที่เสพข่าวร้ายๆ เกี่ยวกับเปรี้ยว หรืออาชญากรรมที่ร้ายแรงเยอะๆ เราก็จะเห็นว่าชาว Netizen มีคอมเมนต์เต็มไปหมดว่า “เจอตัวแล้วตื้บให้ด้วยนะอย่าให้รอด” หรือ “ประหารให้ตายสถานเดียว” … ในจังหวะที่พักการเสพข่าว แล้วมีโอกาสได้ดึงสติกลับมาคิดทบทวนอย่างละเอียดอีกครั้ง ก็จะพบความจริงว่าอินเนอร์ข้างในของพวกเรานั้นไม่ได้ต่างอะไรกับแก๊งของเปรี้ยวเลย ที่เจอปัญหาขวางหูขวางตา เราก็อยากใช้ความรุนแรงจัดการปัญหาให้หายไป ยุกันให้ใช้ความรุนแรงจัดการปัญหาหัวใจ เราคิด เราใช้อารมณ์ เรารู้สึกว่ามันสาสมแล้ว และเรามีสิทธิ์ที่จะคิดแบบนี้ … ดังนั้นมันเป็นความจริงที่ว่าถ้า Triggers ที่เหมาะสมต่างๆ มารวมตัวกันถึงจุดหนึ่ง คนเราก็มีโอกาสที่จะใช้ความรุนแรงอย่างเช่นกรณีของเปรี้ยวก็เป็นได้ สิ่งที่จะช่วยให้เด็ก ๆ หรือแม้แต่ตัวเราเองไม่กลายเป็นคนที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา คือการตระหนักว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญมาก ลูกที่คุณพ่อคุณแม่รู้จัก จริงๆ เห็นพฤติกรรมได้จริงๆ และแก้ไขโดยที่ลูกยังฟังคุณพ่อคุณแม่อยู่จริงๆ จะอยู่ในวัยไม่เกินช่วง 12 – 14 ปี หรือเอาง่ายๆ ว่า ขึ้น ม.1 […]