รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย

วสท.ถอดบทเรียนแผ่นดินไหว ญี่ปุ่น เอกวาดอร์ …ประเทศไทยบนความเสี่ยง?

วสท.ถอดบทเรียนแผ่นดินไหว ญี่ปุ่น เอกวาดอร์ …ประเทศไทยบนความเสี่ยง?

เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง คือภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน ในตำแหน่ง “วงแหวนแห่งไฟ” ของสองฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันที่ 14 เม.ย. 59 ในประเทศญี่ปุ่น และเอกวาดอร์ ในวันที่ 17 เม.ย. 59 ทำให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก ประชาชนที่ได้รับข่าวสารเกิดความหวั่นวิตกว่าประเทศไทยจะมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีกหรือไม่และจะเตรียมตัวอย่างไรหากเกิดภัยพิบัตินี้ขึ้น วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ร่วมกับ สภาวิศวกร กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรุงเทพมหานคร ได้เห็นความสำคัญของความมั่นคงปลอดภัยแก่ประชาชน สังคม เศรษฐกิจ เปิดเวทีเสวนาเรื่อง “กรณีแผ่นดินไหว ญี่ปุ่น เอกวาดอร์…ประเทศไทยบนความเสี่ยง ?” รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อุปนายก วสท. และประธานคณะอนุกรรมการ สาขาวิศวกรรมปฐพี วสท. กล่าวว่า จากกรณีแผ่นดินไหวจากประเทศญี่ปุ่นและเอกวาดอร์ ถือว่าอยู่ในระดับที่รุนแรง สร้างความเสียหายมหาศาล พร้อมกับคำถามจากนานาประเทศที่ว่ากรณีการเกิดแผ่นดินไหวทั้ง 2 ครั้ง มีความเชื่อมโยงกันหรือไม่ สำหรับญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวเกือบทุกปีมักเกิดจากรอยต่อเปลือกโลกเคลื่อนตัวในทะเล แต่การเกิดแผ่นดินไหวในญี่ปุ่นที่เมืองคุมาโมโตะครั้งนี้เกิดจากรอยเลื่อนที่อยู่บนแผ่นดิน จากการลงพื้นที่สำรวจความเสียหายในประเทศญี่ปุ่นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบการวิบัติเสียหายของอาคารและบ้านแบบเก่าเป็นจำนวนมากที่เมืองคุมาโมโตะ และมีดินถล่มลงมาหลายจุด แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ยังทำให้รถไฟชินคันเซนขบวนหนึ่งตกราง ส่วนการเกิดแผ่นดินไหวที่เอกวาดอร์ถือว่ามีความรุนแรงเช่นกัน เนื่องจากทั้ง 2 […]