สวรส.

วิจัยประเมินภาวะสมองเสื่อม ความหวังใหม่ของผู้ป่วย เพื่อการป้องกัน รักษาอัลไซเมอร์ที่แม่นยำ

วิจัยประเมินภาวะสมองเสื่อม ความหวังใหม่ของผู้ป่วย เพื่อการป้องกัน รักษาอัลไซเมอร์ที่แม่นยำ

ภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ เป็นปัญหาสุขภาพที่พบมากในผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะถดถอยในด้านความจำและพฤติกรรม เกิดเป็นภาวะพึ่งพาที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด มีค่าใช้จ่ายการรักษาสูง อาจกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ และจิตใจของคนในครอบครัวตามมา ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2558 ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ประมาณ 6 แสนคน และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1.1 ล้านคนในปี 2573 จากการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ฉะนั้นการเร่งพัฒนาองค์ความรู้ทางการแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยโรค จึงเป็นงานท้าทายและมีความสำคัญ เพื่อขยายความครอบคลุมการบริการรักษา ตลอดจนป้องกันภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในอนาคตอันใกล้นี้ อาจสามารถตรวจวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ได้ในระยะเริ่มแรก รวมถึงใช้ผลในการวางแผนรักษาได้ต่อไป ซึ่งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สนับสนุนการศึกษาวิจัย “ประโยชน์ของการตรวจวินิจฉัยทางรังสี ด้วย F-18 florbetapir (F-18-AV-45) เพื่อประเมินการสะสมของโปรตีนเบต้าอะมัยลอยด์ในสมองในผู้ป่วยสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์, ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเล็กน้อยของความสามารถของสมองและผู้สูงอายุปกติ ในระยะที่ 1” โดยพบว่า การตรวจวินิจฉัยทางรังสีด้วยสารเภสัชรังสี F-18-AV-45 ที่มีการสังเคราะห์เองโดยนักวิจัยไทย จากการทดลองกับอาสาสมัครให้ผลการตรวจวินิจฉัยไปในทิศทางที่สัมพันธ์กับผลทดสอบทางจิตประสาท และวิธีการวินิจฉัยอื่นๆ รศ.พญ.ธัญญลักษณ์ เธียรธัญญกิจ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นักวิจัยเครือข่าย สวรส. กล่าวว่า ส่วนใหญ่การตรวจวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ ในทางคลินิกแพทย์จะใช้วิธีการซักประวัติ […]

สวรส.-สจ.พัฒนาเครื่องมือรับมือเด็กสมาธิสั้น มอบเป็นของขวัญปีใหม่ 61

สวรส.-สจ.พัฒนาเครื่องมือรับมือเด็กสมาธิสั้น มอบเป็นของขวัญปีใหม่ 61

ปัญหาสุขภาพจิต ถือเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญของคนไทย โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่นที่พบได้บ่อยและกำลังได้รับความสนใจมากขึ้นในกลุ่มผู้ปกครองและครู คือ โรคสมาธิสั้น หรือ Attention-deficit hyperactivity disorder (ADHD) ทั้งนี้ ในปี 2555 พบความชุกของโรคสมาธิสั้นในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 ถึงร้อยละ 8.1 หรือประมาณการได้ว่ามีเด็กนักเรียนไทยที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นอยู่ถึง 1 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 ทั่วประเทศ โดยพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ใน อัตราส่วน 3:1 ซึ่งมีความใกล้เคียงกับข้อมูลจากรายงานการสำรวจสุขภาพเด็กประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2552 พบว่าเด็กอายุ 3-17 ปี มีความชุกของโรคสมาธิสั้น อยู่ที่ร้อยละ 9 หรือประมาณ 5 ล้านคน (ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต) โรคสมาธิสั้น เป็นโรคที่เกิดจากความบกพร่องของพัฒนาการ ส่งผลต่อการทำหน้าที่ของสมองทำให้มีปัญหาทางพฤติกรรมทางด้านสมาธิและการควบคุมตนเอง และยังส่งผลต่อครอบครัวและมีผลกระทบระดับประเทศจากการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและงบประมาณการดูแลรักษาจำนวนมาก รวมทั้งในระบบบริการในระดับปฐมภูมิยังมีช่องว่าง ทั้งในด้านบุคลากรสาธารณสุขที่ยังขาดการฝึกอบรมทักษะในการบำบัดรักษาที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการติดตามผู้ป่วยร่วมกันระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชนยังทำได้น้อย นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า […]