องค์การสวนพฤกษศาสตร์

นักวิจัยองค์การสวนพฤกษศาสตร์ คิดค้นผลิตภัณฑ์ทรงคุณค่าจากพืชสกุลมหาหงส์

นักวิจัยองค์การสวนพฤกษศาสตร์ คิดค้นผลิตภัณฑ์ทรงคุณค่าจากพืชสกุลมหาหงส์

พรรณพืชวงศ์ขิงข่า (Zingiberaceae) ประกอบด้วยชนิดพืชที่มีความหลากหลายสูง สำหรับในประเทศไทยมีความหลากหลายของพืชวงศ์ขิงข่ามากที่สุดในโลก โดยพบพืชในวงศ์นี้ 24 สกุลจาก 48 สกุล ประมาณ 300 ชนิดจาก 1,400 ชนิด โดยมนุษย์ได้นำพืชในวงศ์ขิงข่านี้มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งในด้านอาหาร สมุนไพร เครื่องเทศ ยารักษาโรค ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ แบบรุ่นสู่รุ่น และมีการสืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน หลังจากที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาการใช้พืชสมุนไพรเหล่านี้ในรูปของสารสกัดจากพืช (plant extracts) น้ำมันหอมระเหย (essential oil) ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง น้ำหอม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องดื่ม แม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทำให้มีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยมีส่วนผสมของพืชสมุนไพรเกิดขึ้นมากมายและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายเนื่องจากปลอดภัยกว่าการใช้สารสังเคราะห์ทางเคมีไม่มีพิษต่อผู้ใช้และสภาพแวดล้อม ประกอบกับประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และมีพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายชนิด สำหรับพืชในสกุล “มหาหงส์” (Hedychium) ซึ่งจัดเป็นพืชสกุลหนึ่งในวงศ์ขิงข่าที่พบในประเทศไทยประมาณ 23 ชนิด สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้มีการรวบรวมพันธุ์ของมหาหงส์ชนิดต่างๆ และได้ทำการศึกษาวิจัยโดยดร. รัชชุพร สุขสถาน นักวิจัยขององค์การพฤกษศาสตร์ และทีมงาน เพื่อพัฒนาความรู้และการใช้ประโยชน์ของพืชในสกุลนี้ร่วมกับผู้ร่วมวิจัยพันธมิตรจากมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน โดยจากการศึกษาวิจัยได้ทำการคัดเลือกพืชในสกุลมหาหงส์จำนวน 3 ชนิด […]

เรียนรู้กล้วยไม้ผ่านชุดหนังสือพรรณไม้เมืองไทย องค์การสวนพฤกษศาสตร์

เรียนรู้กล้วยไม้ผ่านชุดหนังสือพรรณไม้เมืองไทย องค์การสวนพฤกษศาสตร์

กล้วยไม้เป็นพืชที่มีความสวยงาม สามารถพบได้ทุกภูมิภาคในโลก ยกเว้นพื้นที่ขั้วโลกมีจำนวนรวมกันทั่วโลกประมาณ 350 สกุล 30,000 ชนิด โดยในบริเวณเขตร้อนชื้นจะมีความหลากหลายของกล้วยไม้มากที่สุด ในประเทศไทยมีกล้วยไม้พื้นเมืองอยู่ประมาณ 1,200 ชนิด จากลักษณะลำต้น ใบ ดอก ที่มีอยู่หลากหลายและสวยงามทำให้กล้วยไม้เป็นที่นิยมสำหรับผู้คนจำนวนไม่น้อย ในการปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับหรือการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ อาทิ การใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง น้ำหอม รวมถึงใช้แต่งกลิ่นอาหาร สำหรับหนังสือชุดกล้วยไม้เล่ม 1-4 ขององค์การสวนพฤกษศาสตร์นั้น เป็นหนึ่งในหนังสือชุดพรรณไม้เมืองไทย ซึ่งจัดทำขึ้นโดย สุรางค์รัชต์ อินทะมุสิก และสันติ วัฒฐานะ นักวิชาการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ เพื่อรวบรวมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้ไทย โดยเนื้อหาในแต่ละเล่มประกอบด้วยชื่อพฤกษศาสตร์และข้อมูลกล้วยไม้ไทยจำนวน 50 ชนิด และบทนำที่ให้ความรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้ในแง่มุมต่างๆ อาทิ กล้วยไม้เล่ม 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการแบ่งกลุ่มกล้วยไม้ทั้งการแบ่งกลุ่มตามลักษณะวิสัยที่พบในสภาพธรรมชาติหรือการแบ่งกลุ่มตามลักษณะการเจริญเติบโต การจัดจำแนกกล้วยไม้ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกล้วยไม้ การอนุรักษ์กล้วยไม้พื้นเมือง การนำกล้วยไม้จิ๋วออกขวดเพาะเลี้ยงและหลักในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เบื้องต้น กล้วยไม้เล่ม 2 ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับเรื่องชื่อของกล้วยไม้ ทั้งชื่อท้องถิ่น ชื่อสามัญและชื่อพฤกษศาสตร์ ซึ่งชื่อเหล่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการสื่อความหมายถึงกล้วยไม้ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าชื่อนั้นหมายถึงกล้วยไม้ชนิดใด โดยส่วนใหญ่แล้วชื่อของกล้วยไม้มักจะแฝงความหมายของลักษณะเฉพาะหรือลักษณะเด่นเพื่อให้สามารถจดจำได้ง่ายหรือสื่อถึงประวัติความสำคัญของกล้วยไม้ชนิดนั้นๆ อีกด้วย กล้วยไม้เล่ม 3 […]

เปิดตัวหนังสือ “ดอกไม้กินได้ในภาคเหนือ” ฤดูฝน ในงานนักเขียนพบผู้อ่าน มช.

เปิดตัวหนังสือ “ดอกไม้กินได้ในภาคเหนือ” ฤดูฝน ในงานนักเขียนพบผู้อ่าน มช.

วันที่ 27 มกราคม 2560 ดร.รัชชุพร สุขสถาน ผู้จัดการห้องปฏิบัติการพฤกษเคมี พร้อมด้วย นายเมธี วงศ์หนัก นักวิชาการ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ร่วมเปิดตัวหนังสือ “ดอกไม้กินได้ในภาคเหนือ” ฤดูฝน (Edible Flowers in Northern Thailand: the Rainy season edition) ในงาน นักเขียนพบผู้อ่าน CMU Book Fair ครั้งที่ 23 ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย หนังสือ “ดอกไม้กินได้ในภาคเหนือ” ฤดูฝน ได้จัดทำร่วมกับ ดร.สรณะ สมโน อ.ยุทธศักดิ์ ฉัตรแก้วนภานนท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีเนื้อหาเป็น 2 ภาษา เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ นำเสนอความรู้ด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน และพฤกษเคมี ผ่านแง่มุมของวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย และทำให้วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่จับต้องได้

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดโครงการ “เก๋ายกก๊วนฯ” เยี่ยมชมสวนพฤกษศาสตร์ฯ

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดโครงการ “เก๋ายกก๊วนฯ” เยี่ยมชมสวนพฤกษศาสตร์ฯ

วันที่ 28 มกราคม 2560 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ ร่วมกับ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ จัดคาราวานส่งเสริมการท่องเที่ยวโครงการ “เก๋ายกก๊วน ชวนวัดใจ เยือนยอดไม้ แลขุนเขานครพิงค์” เพื่อส่งเสริมกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายผ่านกิจกรรมเส้นทางตามรอยพระบาทในพื้นที่อำเภอแม่ริม และอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน เยี่ยมชมสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งรวบรวมและอนุรักษ์พรรณพืชไทย โดยมีเจ้าหน้าที่ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ ให้การต้อนรับและนำชมสวนพฤกษศาสตร์ฯ #เก๋ายกก๊วนนครพิงค์ #ททท

อ.ส.พ. ร่วมจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติปี 2560 ทำเนียบรัฐบาล

อ.ส.พ. ร่วมจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติปี 2560 ทำเนียบรัฐบาล

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2560 องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมจัดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2560 ณ บริเวณหน้าตึกสันติไมตรีทำเนียบรัฐบาล ภายใต้แนวคิด “ดินแดนแห่งความสุขตามศาสตร์พระราชา” โดย อ.ส.พ. ได้จัดกิจกรรม “บอลบินหรรษา พาค้นหาพรรณไม้ในพระนาม” เพื่อสร้างความสุขและความสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับเด็กๆ และเยาวชน ซึ่งวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2560 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบคำขวัญให้กับเด็กๆ ทุกคนว่า “เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง”

ผลิตภัณฑ์ต่อยอดงานวิจัยจากพืชสกุลมหาหงส์ (Butterfly Lily)

ผลิตภัณฑ์ต่อยอดงานวิจัยจากพืชสกุลมหาหงส์ (Butterfly Lily)

ประเทศไทยมีความหลากหลายของพืชวงศ์ขิงข่ามากที่สุดในโลก โดยพบพืชในวงศ์นี้ 24 สกุล จาก 48 สกุล ประมาณ 300 ชนิด จาก 1,400 ชนิด และมหาหงส์ ซึ่งจัดเป็นพืชสกุลหนึ่งที่พบในประเทศไทยประมาณ 23 ชนิด ส่วนใหญ่มีดอกที่ให้กลิ่นหอมหวาน มีการนำมาใช้บูชาพระ ประดับผม และใช้เป็นไม้ประดับ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้รวบรวมพันธุ์ของมหาหงส์ชนิดต่างๆ ไว้ และได้ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของกลิ่นดอกมหาหงส์ชนิดต่างๆ พบว่า มีสารที่ช่วยคลายเครียด ช่วยให้นอนหลับสนิท จึงได้ตัดเลือกพืชสกุลมหาหงส์ จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ มหาหงส์เหลือง ตาเหินภู และตาเหินหลวง มาเป็นต้นแบบในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แต่งกลิ่นมหาหงส์ ซึ่งเป็นการบูรณาการต่อยอดงานวิจัยร่วมกับ ผศ.ดร.สุนีย์ จันทร์สกาว คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.บังอร เกียรติธนากร บริษัทอุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีน จำกัด และอาจารย์ ดร.ปิยาภรณ์ เชื่อมชัยตระกูล สถาบันชา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อเพิ่มคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของประเทศไทยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยปัจจุบันสินค้าที่ได้ผลิตและจำหน่ายภายใต้ Golden […]

ขยายเวลาการจัดงาน Botanic Festival 2017 “ปลูกสวนงาม ตามรอยพ่อ”

ขยายเวลาการจัดงาน Botanic Festival 2017 “ปลูกสวนงาม ตามรอยพ่อ”

สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ขยายเวลาการจัดงาน Botanic Festival 2017 “ปลูกสวนงาม ตามรอยพ่อ” ออกไปจนถึงวันที่ 9 มกราคม 2560 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.30 น. เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดเชียงใหม่ ได้เที่ยวชมธรรมชาติสัมผัสบรรยากาศเย็นสบายท่ามกลางสีสันพรรณไม้งามที่ผลิบานในช่วงฤดูหนาวและเก็บภาพประทับใจในสวนสวย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ โทรศัพท์ 053-841234 และ Facebook สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

อ.ส.พ. จับมือ ททท.และ จ.เชียงใหม่ แถลงข่าว “เก๋ายกก๊วน ชวนวัดใจ เยือนยอดไม้ แลขุนเขานครพิงค์”

อ.ส.พ. จับมือ ททท.และ จ.เชียงใหม่ แถลงข่าว “เก๋ายกก๊วน ชวนวัดใจ เยือนยอดไม้ แลขุนเขานครพิงค์”

วันที่ 16 ธันวาคม 2559 องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ( อ.ส.พ.) ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงใหม่ แถลงข่าวโครงการ “เก๋ายกก๊วน ชวนวัดใจ เยือนยอดไม้ แลขุนเขานครพิงค์” ซึ่งเป็นกิจกรรมในการสร้างความสุขให้แก่นักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงวัยได้มีโอกาสทำกิจกรรมและท่องเที่ยวกับครอบครัว โดย ททท.สำนักงานเชียงใหม่ ได้ผลิตคู่มือโครงการฯ ในท้ายเล่มสามารถนำคูปองมาเป็นบัตรเข้าชม สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฟรี 2 ท่าน และยังเป็นส่วนลดซื้อสินค้าของที่ระลึก องค์การฯ ในราคาพิเศษส่วนลด 10 % นอกจากนี้ ในระหว่างวันที่ 24 ธันวาคม 2559 – 2 มกราคม 2560 สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดงาน Botanic Festival 2017 “ปลูกสวนงาม ตามรอยพ่อ” เพื่อสร้างสีสันบรรยากาศการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ชูเสน่ห์ความงดงามของพรรณไม้อวดสายตานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยมี นายภาษเดช หงส์ลดารมภ์ นายอำเภอแม่ริม นายวิสูตร บัวชุม […]

เชิญเที่ยวงาน Botanic Festival 2017 “ปลูกสวนงาม ตามรอยพ่อ”

เชิญเที่ยวงาน Botanic Festival 2017 “ปลูกสวนงาม ตามรอยพ่อ”

เชิญเที่ยวงาน Botanic Festival 2017 “ปลูกสวนงาม ตามรอยพ่อ” ระหว่างวันที่ 24 ธันวาคม 2559 – 2 มกราคม 2560 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.30 น. ณ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ สัมผัสบรรยากาศเย็นสบายท่ามกลางสีสันพรรณไม้งามที่ผลิบานในช่วงฤดูหนาวและเก็บภาพประทับใจในสวนสวย ชมนิทรรศการวิถีพอเพียงตามรอยพ่อ ผลงานวิจัยพืชสกุลมหาหงส์ ชมและชิมสาธิตการทำอาหารจากดอกไม้การทำอาหารพื้นเมือง สาธิตการนำกล้วยไม้ออกจากขวด เพลิดเพลินไปกับกิจกรรมทำการ์ดอวยพรจากพรรณไม้แห้ง กิจกรรมเพ้นท์เสื้อและกระถางดอกไม้ เพลินใจไปกับเสียงดนตรีไพเราะใน สวนสวย พร้อมกับจิบชาพฤกษาหอม จับจ่ายสินค้าวิสาหกิจชุมชน ร้านจำหน่ายพรรณไม้สนุกสนานไปกับเกมส์สันทนาการต่างๆ ลุ้นรางวัลมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ โทรศัพท์ 053-841234 และ Facebook สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

สวนพฤกษศาสตร์เชิญเที่ยวชม เส้นทางรวบรวมพันธุ์กล้วย BANANA AVENUE

สวนพฤกษศาสตร์เชิญเที่ยวชม เส้นทางรวบรวมพันธุ์กล้วย BANANA AVENUE

BANANA AVENUE เป็นเส้นทางรวบรวมและจัดแสดงพันธุ์กล้วยที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือของประเทศ ตั้งอยู่ภายใน สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยขนาดพื้นที่ 5 ไร่ เป็นแหล่งเรียนรู้เส้นทางใหม่ที่รวบรวมและจัดแสดงพันธุ์กล้วยต่างๆ ที่น่าสนใจและหาชมได้ยากไว้อย่างสวยงาม ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติของป่าเขาที่บริสุทธิ์สดชื่น โดยได้รวบรวมพันธุ์กล้วยไว้ จำนวน 139 สายพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่มีแหล่งกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งดูนกนานาชนิด อีกด้วย ตามเส้นทาง BANANA AVENUE จะพบกับพันธุ์กล้วยหายากหลากหลายสายพันธุ์ อาทิ กล้วยนวล กล้วยพื้นเมืองหายากของไทย กระจายพันธุ์ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออก ลักษณะจะขึ้นเป็นต้นเดี่ยวโคนขนาดใหญ่แตกต่างจากกล้วยชนิดอื่น ที่ขึ้นเป็นกอ กล้วยเสือพราน กล้วยพื้นเมืองของอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ทางภาคใต้ที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส มีใบเป็นลายสวยงามและโดดเด่นสีเขียวปนสีแดงอมม่วง กล้วยเทพรส กล้วยพื้นเมืองของไทย หรือเรียกอีกชื่อว่า กล้วยปลีหาย เนื่องจากไม่มีเกสรเพศผู้ จึงติดผลเห็นแต่หวีลอยอยู่แต่ส่วนปลายจะไม่มีปลี กล้วยเทพนม กล้วยพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ มีความโดดเด่นที่ หวี 1 หวี จะมีผลกล้วยติดกันหมดลักษณะคล้ายคนพนมมือไหว้และผลไม่มีเมล็ด กล้วยงาช้าง กล้วยพื้นเมืองทางภาคใต้ ลำต้นด้านนอกมีสีชมพูแดง เมื่อติดผลส่วนใหญ่ 1 เครือจะมี 1 […]