เข้าใจองค์ความรู้สมองวัยรุ่นให้ถึง “กึ๋น” ก่อนตัดสินชะตาชีวิตว่า ‘นอกคอก’

เข้าใจองค์ความรู้สมองวัยรุ่นให้ถึง “กึ๋น” ก่อนตัดสินชะตาชีวิตว่า ‘นอกคอก’

เข้าใจองค์ความรู้สมองวัยรุ่นให้ถึง “กึ๋น” ก่อนตัดสินชะตาชีวิตว่า ‘นอกคอก’ ยอมรับไหม…บางทีคุณก็หลงลืมไปว่าก่อนจะเป็นผู้ใหญ่ คุณก็เคยเป็นวัยรุ่นมาก่อน ถึงรู้อย่างนั้นแต่เรายังไม่เข้าใจอยู่ดีว่า “ทำไมวัยรุ่นต้องสร้างปัญหาให้ผู้ใหญ่ต้องปวดหัวเสมอ” แม้จะพยายามเปิดใจว่า “ก็เพราะพวกเขาเป็นวัยรุ่นไงล่ะ” แต่เราก็ยังไม่ยอมรับความแตกต่างของวัยรุ่นได้อย่างเต็มใจ ดังนั้นคงต้องย้อนกลับมาทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ข้างในสมองของวัยรุ่นเป็นอย่างไร สิ่งใดที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นบ้าง เพื่อให้เราหาทางเลือกมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม นางสาวจุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมวัยรุ่น สถาบันรามจิตติ เปิดเผยว่า หากมองให้ลึกถึงต้นตอของปัญหาวัยรุ่น อาจต้องพิจารณาถึงการทำงานของสมองย้อนไปตั้งแต่วัยเด็ก สมองส่วนหลังจะทำงานก่อนเพื่อให้มนุษย์อยู่รอดด้วยสัญชาตญาณ จากนั้นสมองส่วนกลางหรือสมองชั้นใน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ พฤติกรรม ความจำและการเรียนรู้ จะเติบโตเต็มที่ในช่วงวัยรุ่นอายุประมาณ 12-13 ปี ซึ่งซ่อนสมองส่วนอยากหรือลิมบิกเอาไว้ด้วย ถัดไปสมองเปลือกนอกก็จะถูกพัฒนาอย่างมากในช่วงอายุ 20-30 ปี โดยมุ่งเน้นควบคุมสติปัญญา ใช้ความคิดแบบมีเหตุผล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสมองจะถูกพัฒนาไปในทางใดนั้น ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ หากมุ่งเน้นที่สมองช่วงวัยรุ่นแล้ว พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ทางประสาทวิทยา ซึ่งเราเรียกระยะนี้ว่า การกำเนิดใหม่ (Reborn) เนื่องมาจากสาเหตุหลัก 2 ประการ อันดับแรก การพัฒนาสมองส่วนอยากหรือลิมบิก ซึ่งเกี่ยวข้องกับอารมณ์เจริญรุดหน้า ในขณะที่สมองส่วนคิดอยู่ระหว่างการพัฒนา ทำให้วัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะใช้อารมณ์นำเหตุผล จึงชอบความท้าทายและต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนวัยเดียวกัน ขณะเดียวกันสมองทุกส่วนจะแอคทีฟและประสาทสัมผัสเชื่อมโยงอย่างมาก ส่งผลให้วัยรุ่นอยากรู้อยากเห็นโลก เริ่มพัฒนาทักษะความเข้าใจต่างๆ […]