ในการทำงาน

กสร. ติวเข้ม นายจ้าง ลูกจ้าง ป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน

กสร. ติวเข้ม นายจ้าง ลูกจ้าง ป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติวเข้มนายจ้าง ลูกจ้างไทย-ต่างด้าว ให้มีความรู้ด้านความปลอดภัย    ในการทำงาน ร่วมสร้างจิตสำนึกป้องกันอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า ความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานถือเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรก ๆ ที่ทุกฝ่ายต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นแรงงานไทย หรือแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยย่อมต้องได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมกัน กสร. ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการคุ้มครองแรงงานให้มีความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานจึงได้ให้ความสำคัญและมุ่งเน้นการสร้างการรับรู้ สิทธิด้านความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อให้แรงงานไทย แรงงานต่างด้าว รวมไปถึงนายจ้างมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน และเพื่อปลูกจิตสำนึกในการป้องกันอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานโดยการจัดอบรมให้ความรู้ และจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปชี้แจง ให้ความรู้แก่แรงงานและนายจ้างในสถานประกอบกิจการ โดยมีเป้าหมายหลักคืออัตราการประสบอันตรายจากการทำงานของประเทศไทยต้องลดลง “การดูแลแรงงานที่ทำงานในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นแรงงานไทยหรือแรงงานต่างด้าวให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความปลอดภัยในการทำงาน เป็นความมุ่งมั่นของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ภายใต้นโยบาย Safety Thailand ซึ่งเป็นนโยบายหลักของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตลอดจนสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ที่กำหนดให้ดูแลแรงงานทุกคนให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานสามารถตอบสนองการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตของประเทศไทยในอนาคตต่อไป” อธิบดีกสร.กล่าว

กสร.ห่วงนักศึกษาฝึกงานกำชับนายจ้างดูแลความปลอดภัย

กสร.ห่วงนักศึกษาฝึกงานกำชับนายจ้างดูแลความปลอดภัย

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ห่วงใยนักเรียน นักศึกษาฝึกงาน ขอนายจ้างกำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ป้องกันอันตรายระหว่างฝึกงาน นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข่าวนักศึกษาฝึกงานได้รับบาดเจ็บจากการฝึกปฎิบัติงาน กสร.มีความห่วงใยนักเรียน นักศึกษาที่เข้าไปฝึกงานในสถานประกอบกิจการ จึงขอความร่วมมือนายจ้าง เจ้าของสถานประกอบกิจการประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงาน และมอบหมายงานที่ไม่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายให้กับนักเรียนนักศึกษาที่มาฝึกปฏิบัติงาน รวมทั้งกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ให้กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้เรียนรู้ มีประสบการณ์ และไม่ได้รับอันตรายระหว่างการฝึกปฏิบัติงาน รวมไปถึงมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยตามลักษณะของงานนั้น ๆ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดี นำไปสู่วัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน อธิบดี กสร. กล่าวต่อไปว่า อันตรายจากการทำงานอาจเกิดขึ้นในกิจการทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นกิจการประเภทอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม จึงอยากให้นายจ้างคำนึงถึงความปลอดภัยฯ และมาตรการในการดูแล ป้องกันเป็นอันดับแรกเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างและผู้เกี่ยวข้อง หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่กองความปลอดภัยแรงงาน โทรศัพท์ 0 2448 9128 – 39 หรือที่หน่วยงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทั่วประเทศ

กสร. เผยผลสอบนายจ้างก่อสร้างทำเนียบ ผิดกฎหมายความปลอดภัยจริง

กสร. เผยผลสอบนายจ้างก่อสร้างทำเนียบ ผิดกฎหมายความปลอดภัยจริง

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สั่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายโดยเร็ว หลังนายจ้างก่อสร้างปรับปรุงอาคารตึกบัญชาการ 1-2 ทำเนียบรัฐบาล รับยังไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน เป็นเหตุให้ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บ นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่าในวันนี้ (25 ธันวาคม 2560) พนักงานตรวจความปลอดภัยได้สอบข้อเท็จจริงนายจ้าง บริษัท กันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ซึ่งดำเนินการปรับปรุงอาคารตึกบัญชาการ 1-2 ในบริเวณทำเนียบรัฐบาล กรณีลูกจ้างตกจากนั่งร้านขณะปฏิบัติงานได้บาดเจ็บ ซึ่งนายจ้างยอมรับว่ายังไม่ได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 คือไม่ได้จัดทําราวกั้นหรือรั้วกันตก ตาขาย สิ่งปดกั้น หรืออุปกรณป้องกันอื่นใด ที่มีลักษณะเดียวกัน เพื่อปองกันการพลัดตกของลูกจ้างหรือสิ่งของ และจัดให มีการใชสายหรือเชือกชวยชีวิตและเข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ หรือเครื่องปองกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกันใหลูกจ้างใชในการทํางานเพื่อใหเกิดความปลอดภัย ทั้งนี้ได้สั่งการให้พนักงานตรวจความปลอดภัยรวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการตามกฎหมายกับนายจ้างรายนี้ต่อไป “ขอฝากเตือนไปยังนายจ้างที่มีลักษณะของการทำงานเช่นเดียวกันนี้ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันเหตุซ้ำรอย นายจ้างที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายความปลอดภัยสอบถามได้ที่  กองความปลอดภัยแรงงานโทรศัพท์ 0 2448 9128-39 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 10 พื้นที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือที่โทรศัพท์สายด่วน 1546” อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกล่าว