Sacict

ร่วมรักษาหัตถกรรมชั้น “ครู” ที่ใกล้สูญหาย ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา ผ่านมุมมองของครูช่างผู้สืบทอดมรดกแห่งกาลเวลา ทั้ง 11 งานศิลปะ

ร่วมรักษาหัตถกรรมชั้น “ครู” ที่ใกล้สูญหาย ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา ผ่านมุมมองของครูช่างผู้สืบทอดมรดกแห่งกาลเวลา ทั้ง 11 งานศิลปะ

ร่วมรักษาหัตถกรรมชั้น “ครู” ที่ใกล้สูญหาย ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา ผ่านมุมมองของครูช่างผู้สืบทอดมรดกแห่งกาลเวลา ทั้ง 11 งานศิลปะ งานศิลปหัตถกรรม คือหนึ่งสิ่งที่สามารถสะท้อนประวัติศาสตร์ของชาติออกมาได้เป็นรูปธรรมที่สุด บนหัตถกรรมหนึ่งชิ้นไม่ได้มีเพียงแต่ผิวสัมผัสรูปธรรมที่บ่งบอกอายุของมันเท่านั้น เพราะทุกลวดลาย ทุกสีสัน ทุกรูปทรง ล้วนแต่เป็นเหมือนหลักฐานที่บันทึกประวัติศาสตร์จากอดีตที่ส่งต่อผ่านกาลเวลามาให้คนรุ่นหลังได้รู้ถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต ไปจนถึงความเชื่อแต่กาลก่อนทั้งนั้น บทความนี้จะนำพาไปทำความรู้จักกับมรดกแห่งกาลเวลาที่ใกล้สูญหาย เป็นตัวอย่างแห่งงานศิลปหัตถกรรมที่ใกล้สูญหาย จากบรรดาบุคคลชั้น ครู ที่ได้รับการเชิดชูโดย ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป.) ที่ในวันนี้ ถือเป็นบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญยิ่งที่ยังคงเป็นผู้สืบทอดมรดกแห่งบรรพบุรุษ ผ่านการสรรสร้างและรักษาให้ดำรงคงอยู่โดยไม่สูญหายไปตามกาลเวลา จากนิทรรศการ “หัตถกรรมชั้น “ครู” ที่ใกล้สูญหาย” หนังใหญ่ “…มหรสพที่แสดงถึงศิลปะชั้นสูงที่ใกล้สูญหาย” หนังใหญ่ เป็นมหรสพที่มีมาแต่สมัยโบราณที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นมหรสพชั้นสูง ที่รวมเอาศิลปกรรมหลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน หนังใหญ่ มีชื่อเรียกที่มาจากสิ่งที่ใช้แสดงคือ ตัวหนัง ซึ่งแกะสลักจากหนังวัวหรือหนังควาย จากภูมิปัญญาและทักษะความชำนาญฝีมือช่าง ที่ใช้การแกะหรือตอกตัวหนังขึ้นเป็นรูปที่มีขนาดใหญ่ ปัจจุบันการแสดงหนังใหญ่ ไม่มีให้คนรุ่นหลังได้ชมแล้ว คงเหลือเพียงการแสดงเพื่อศึกษาในบางพื้นที่ อย่างที่ในพิพิธภัณฑ์วัดขนอน จ.ราชบุรี วัดสว่างอารมณ์ จ.สิงห์บุรี และ วัดบ้านดอน จ.ระยอง […]

เปิดนิทรรศการ “หัตถกรรมชั้น “ครู” ที่ใกล้สูญหาย” หวังให้มีการ รื้อฟื้น และสืบสาน ก่อนสูญหายไปจากแผ่นดิน

เปิดนิทรรศการ “หัตถกรรมชั้น “ครู” ที่ใกล้สูญหาย” หวังให้มีการ รื้อฟื้น และสืบสาน ก่อนสูญหายไปจากแผ่นดิน

เปิดนิทรรศการ “หัตถกรรมชั้น “ครู” ที่ใกล้สูญหาย” หวังให้มีการ รื้อฟื้น และสืบสาน ก่อนสูญหายไปจากแผ่นดิน ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน เป็นประธานเปิดนิทรรศการ “หัตถกรรมชั้น “ครู” ที่ใกล้สูญหาย” มีผลงานกว่า 300 ชิ้นที่ใกล้สูญหาย มาจัดแสดงร่วมกับผลงานที่มีอายุกว่า 200 ปี เปิดให้ชมตั้งแต่วันนี้ ถึง 20 กันยายน 2563 หวังให้เป็นพลังผลักดันและสร้างแรงบันดาลใจให้ช่างฝีมือรุ่นหลังร่วมรื้อฟื้น สืบสาน รักษาให้ดำรงคงอยู่ และพัฒนาปรับประยุกต์ ไปสู่ประโยชน์แห่งการใช้สอยในชีวิตประจำวัน เพื่อไม่ให้สูญหายจากผืนแผ่นดินไทยไปตามกาลเวลา โดยมี นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์, นายพรพล เอกอรรถพร, นายอดิศักดิ์ จันทร์วิทัน นางสาวกฤษณา รวยอาจิณ และนายมนู เสตะกลัมพ์ ร่วมงาน ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อเร็วๆ นี้

ศ.ศ.ป. จัดแสดงผลงาน “หัตถกรรมชั้น “ครู” ที่ใกล้สูญหาย” หวังให้มีการ รื้อฟื้น และสืบสาน ก่อนสูญหายไปจากแผ่นดิน

ศ.ศ.ป. จัดแสดงผลงาน “หัตถกรรมชั้น “ครู” ที่ใกล้สูญหาย” หวังให้มีการ รื้อฟื้น และสืบสาน ก่อนสูญหายไปจากแผ่นดิน

ศ.ศ.ป. จัดแสดงผลงาน “หัตถกรรมชั้น “ครู” ที่ใกล้สูญหาย” หวังให้มีการ รื้อฟื้น และสืบสาน ก่อนสูญหายไปจากแผ่นดิน ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป.) เห็นคุณค่าต่องานศิลปหัตถกรรมหลายประเภทที่ใกล้สูญหาย เหลือช่างฝีมืออยู่น้อยราย หวั่นสูญหายไปตามกาลเวลา นำผลงานกว่า 300 ชิ้นที่ใกล้สูญหาย มาจัดแสดงร่วมกับผลงานที่มีอายุกว่า 200 ปี ในนิทรรศการ “หัตถกรรมชั้น “ครู” ที่ใกล้สูญหาย” ตลอด 1 เดือนเต็ม หวังให้เป็นพลังผลักดันและสร้างแรงบันดาลใจให้ช่างฝีมือรุ่นหลังร่วมรื้อฟื้น สืบสาน รักษาให้ดำรงคงอยู่ และพัฒนาปรับประยุกต์ ไปสู่ประโยชน์แห่งการใช้สอยในชีวิตประจำวัน เพื่อไม่ให้สูญหายจากผืนแผ่นดินไทยไปตามกาลเวลา นายพรพล เอกอรรถพร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ เผยว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า งานศิลปหัตถกรรมไทย คือผลงานที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในมรดกของชาติ ด้วยเอกลักษณ์ที่สามารถบอกเล่าถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญชิ้นงานเหล่านี้ ล้วนถูกสร้างด้วยทักษะ ความชำนาญของช่างฝีมือที่มีมาตั้งแต่รุ่นบรรพชน ที่ใช้ทั้งความรู้และภูมิปัญญาขั้นสูงในการสร้างสรรค์ งานศิลปหัตถกรรมหลากหลายแขนงจึงล้วนเป็นศิลปะชั้นสูง ทรงคุณค่า สะท้อนทั้งศาสตร์และศิลป์เชิงช่าง สืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อรักษาให้มรดกแห่งภูมิปัญญาคงไว้ในแผ่นดิน “คุณค่าของงานศิลปหัตถกรรมไทย เป็นงานในอาชีพช่างฝีมือที่มีการสืบทอดกันมานับแต่บรรพบุรุษ […]

รมช.พาณิชย์ เปิดการประชุมสมาชิก SACICT Craft Network ครั้งที่ 3

รมช.พาณิชย์ เปิดการประชุมสมาชิก SACICT Craft Network ครั้งที่ 3

รมช.พาณิชย์ เปิดการประชุมสมาชิก SACICT Craft Network ครั้งที่ 3 ในกลุ่มผู้ประกอบการงานศิลปหัตถกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานเปิดการประชุมสมาชิก SACICT Craft Network ครั้งที่ 3 ในกลุ่มผู้ประกอบการงานศิลปหัตถกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือลุยปลุกตลาดงานหัตถศิลป์แดนอีสาน ชูผ้าไหมเป็นพระเอก ต่อยอดจดลิขสิทธิ์ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตัวสินค้าศิลปหัตถกรรมไทย เร่งนำรายได้กลับสู่ชุมชนสร้างความเข้มแข็งจากท้องถิ่นเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศจากความผันผวนของการค้าโลก โดยมีนางสาวแสงระวี สิงหวิบูลย์ รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ พร้อมด้วยนางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ ประธานกรรมการ ศ.ศ.ป. นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นางสาวพจนา สีมันตร กรรมการ ศ.ศ.ป. และนายสุมนต์ วัฒนะประเสริฐ กรรมการ ศ.ศ.ป. ร่วมงาน ณ โรงแรมอวานี จังหวัดขอนแก่น วันนี้

“วีรศักดิ์” ลุยปลุกตลาดหัตถศิลป์ถิ่นอีสาน

“วีรศักดิ์” ลุยปลุกตลาดหัตถศิลป์ถิ่นอีสาน

“วีรศักดิ์” ลุยปลุกตลาดหัตถศิลป์ถิ่นอีสาน รมช.พาณิชย์ลงพื้นที่เปิดประชุมเครือข่ายผู้ผลิตงานหัตถศิลป์ในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือพร้อมเยี่ยมเยียนครูช่างและทายาท ที่จ.ขอนแก่น ลุยติดปีกเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เติมทักษะทางธุรกิจและนวัตกรรม หวังผลักดันให้งานหัตถศิลป์ไทยเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวัน เพื่อจะสร้างรายได้กลับสู่ผู้ผลิตงานหัตถศิลป์ไทยอย่างยั่งยืน นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การประชุมเครือข่ายผู้ผลิตงานหัตถศิลป์ทั่วประเทศเป็นภารกิจที่สำคัญของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ SACICT ซึ่งการประชุมสมาชิก SACICT Craft Network ครั้งที่ 3 นี้เป็นการประชุมกลุ่มผู้ประกอบการงานศิลปหัตถกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 424 ราย ณ โรงแรมอวานี จังหวัดขอนแก่น มีทั้งผู้ผลิตประเภท งานผ้า งานจักสาน งานโลหะ และเครื่องกระดาษ ส่วนใหญ่เป็นงานผ้า ซึ่งผ้าทอของภาคอีสานขึ้นชื่อเป็นอย่างมากด้านความปราณีตสวยงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ โดยการจัดกิจกรรมของ SACICT ในครั้งนี้เน้นเข้ามาเติมเต็มความรู้ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ทักษะการเป็นผู้ประกอบธุรกิจ ตลอดจนการใส่นวัตกรรมเข้าไปในตัวสินค้า เพื่อเป็นการส่งเสริมและผลักดันให้ผลงานหัตถศิลป์ไทยเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น เป็นการขยายฐานกลุ่มลูกค้า ขณะเดียวกัน การประชุมครั้งนี้ยังถือเป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงเครือข่ายสมาชิกในภูมิภาคให้สามารถทำงานร่วมกัน เพิ่มประสิทธิภาพงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ตามแนวทางศิลปาชีพในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่มุ่งหวังให้อาณาประชาราษฎร์ได้สืบทอดการงานศิลปะ จนเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ให้ประชาชนไทย ตลอดจนสืบสานงานหัตถกรรมที่เป็นภูมิปัญญาให้คงอยู่สืบไป ทำให้สังคมไทยมีความยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม เป็นที่ชื่นชมของนานาประเทศ นายวีรศักดิ์ […]

SACICT ก้าวขึ้นสู่องค์กรคุณภาพเยี่ยม จากการประเมินโดย กพร.

SACICT ก้าวขึ้นสู่องค์กรคุณภาพเยี่ยม จากการประเมินโดย กพร.

SACICT ก้าวขึ้นสู่องค์กรคุณภาพเยี่ยม จากการประเมินโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) SACICT หรือ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ส่งเสริม สนับสนุน และต่อยอดงานศิลปหัตถกรรมไทยต่อเนื่องตลอด 16 ปี ได้รับผลการประเมินจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ปี 2561 ในระดับคุณภาพเยี่ยม นางสาวแสงระวี สิงหวิบูลย์ รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ดำเนินภารกิจสำคัญ ในการอนุรักษ์ ส่งเสริมให้เกิดการสืบสาน และต่อยอดภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทย บุคคลากรภายในองค์กร ร่วมแรง ร่วมใจ ในการปฎิบัติงานโดยตลอด ส่งผลให้ SACICT ได้รับผลการประเมินองค์การมหาชนในระดับคุณภาพเยี่ยม ประจำปี 2561 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) อยู่ในระดับคุณภาพ ระดับ 1 ที่มีผลการดำเนินงานสูงกว่าเป้าหมายของทุกองค์ประกอบตัวชี้วัด ได้แก่ Function Innovation และ Potential Function Innovation และ Potential […]

รมช.พาณิชย์ เปิดงานวันครบรอบ วันสถาปนาของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ(องค์การมหาชน)SACICT

รมช.พาณิชย์ เปิดงานวันครบรอบ วันสถาปนาของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ(องค์การมหาชน)SACICT

รมช.พาณิชย์ เปิดงานวันครบรอบ วันสถาปนาของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ(องค์การมหาชน)SACICT นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานงานวันครบรอบการสถาปนาของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ในการก้าวสู่ปีที่ 17 พร้อมยกระดับประเทศไทย​เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมในภูมิภาคอาเซียน ผลักดันให้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยี​ต่อยอดงานหัตถศิลป์ไทยในเชิงพาณิชย์ มุ่งสร้างการกระจายรายได้ให้กับชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคงเข้มแข้ง และยั่งยืน โดยมี นางสาวแสงระวี สิงหวิบูลย์ รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ พร้อมด้วย นายอัครเดช นาคบัลลังค์, นายสมชัย ส่งวัฒนา และนางสาวสรัญญา สายศิริ ร่วมงาน ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อเร็วๆ นี้

รมช.พาณิชย์ กำชับ SACICT ดันไทยเป็น ฮับงานศิลปหัตถกรรมอาเซียน

รมช.พาณิชย์ กำชับ SACICT ดันไทยเป็น ฮับงานศิลปหัตถกรรมอาเซียน

รมช.พาณิชย์ กำชับ SACICT ดันไทยเป็น ฮับงานศิลปหัตถกรรมอาเซียน “วีรศักดิ์” สั่งการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT กำหนดแผนยกระดับประเทศไทย​เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านงานศิลปหัตถกรรมในภูมิภาคอาเซียน พร้อมดึงเทคโนโลยีเข้ามาแก้โจทย์​การผลิตและขยายตลาดงานศิลปหัตถกรรมไทยเพื่อสร้างยอดขายให้ชุมชน ที่รักษาภูมิปัญญา​ไทยมีรายได้มั่นคงและอยู่​ได้อย่างยั่งยืน นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวในโอกาสวันครบรอบวันสถาปนาของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ว่า SACICT ถือเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทสำคัญด้านการอนุรักษ์ สืบสานและต่อยอดคุณค่างานศิลปหัตถกรรม ที่สืบทอดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ที่สำคัญอย่างยิ่งคือสามารถสร้างงานสร้างโอกาส และรายได้ แก่ผู้ทำงานศิลปหัตถกรรม เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกิดความอยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ภารกิจของ SACICT จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการขับเคลื่อนประเทศ โดยมุ่งเน้นการสร้างความมั่นคง เข้มแข็ง ยั่งยืนแก่เศรษฐกิจฐานราก ขณะเดียวกันทุกภาคส่วนจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป วงการศิลปหัตถกรรมไทยจำต้องหลอมรวมภูมิปัญญา องค์ความรู้งานหัตถศิลป์ไทย ผสานเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มโอกาสทางการตลาด เชื่อมโยงเครือข่ายงานหัตถศิลป์ให้กว้างไกล อันจะช่วยให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมที่แข็งแกร่ง จากภารกิจที่ต้องการสืบสาน พัฒนาและต่อยอดงานศิลปหัตถกรรมไทย เริ่มจากการพัฒนาบุคลากร ผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย ที่ปัจจุบัน SACICT ได้คัดเลือกและเชิดชูกลุ่มผู้ทำงานศิลปหัตถกรรมไทยจากทั่วประเทศ […]

SACICT ก้าวสู่ปีที่ 17 ชวนคนไทยกอดเก็บฐานรากแห่งความเป็นไทย ในงานวันสถาปนาฯ “ศิลปหัตถกรรมแห่งบรรพชน สู่หนทางแห่งอนาคต”

SACICT ก้าวสู่ปีที่ 17 ชวนคนไทยกอดเก็บฐานรากแห่งความเป็นไทย ในงานวันสถาปนาฯ “ศิลปหัตถกรรมแห่งบรรพชน สู่หนทางแห่งอนาคต”

SACICT ก้าวสู่ปีที่ 17 ชวนคนไทยกอดเก็บฐานรากแห่งความเป็นไทย ในงานวันสถาปนาฯ “ศิลปหัตถกรรมแห่งบรรพชน สู่หนทางแห่งอนาคต” ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT เตรียมก้าวเข้าสู่ปีที่ 17 วันสถาปนาบทบาทแห่งการสืบสานคุณค่างานหัตถศิลป์ไทย ชูฐานรากจุดต้นกำเนิดแห่งภูมิปัญญา “From Root to Route” ส่งต่อมรดกศิลปหัตถกรรมสู่มือคนรุ่นหลัง กอดเก็บรักษาศิลปหัตถกรรมแห่งบรรพชน ให้ยืนหยัดท่ามกลางยุคสมัยโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลง พร้อมเปิดประตูชวนคนไทยสัมผัส SACICT Craft Center แสดงผลงานหัตถศิลป์ทั้งยุคเก่าและใหม่ที่หาชมได้ยาก อาทิ งานแกะสลักไม้กลไกครูคำจันทร์, งานเบญจรงค์เบญจกลาย งานเครื่องมุกจากแผ่นซีดี, งานหัวโขนจากเส้นใยนาโนเซลลูโลส และอื่นๆ อีกมากมาย โอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก คุณวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธี โดยในงานพบกับเวทีเสวนา ค้นหาความหมายรากฐานศิลปหัตถกรรม เพื่อร้อยเรียงสู่ภาพความเป็นสากล ในหัวข้อ “ศิลปหัตถกรรมแห่งบรรพชน สู่หนทางแห่งอนาคต” โดยกลุ่มผู้สืบสานงานหัตถศิลป์จากหลากหลายวงการ อาทิ คุณอัครเดช นาคบัลลังค์ นักสะสมผ้าและเจ้าของพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณสบันงา, คุณสมชัย ส่งวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และผู้ก่อตั้งแบรนด์ FLYNOW […]

SACICT เปิดงาน SACICT Mobile Gallery 2019 ครั้งที่ 3

SACICT เปิดงาน SACICT Mobile Gallery 2019 ครั้งที่ 3

SACICT เปิดงาน SACICT Mobile Gallery 2019 ครั้งที่ 3 นายภาวี โพธิ์ยี่ ผู้จัดการสายส่งเสริมคุณค่าหัตถศิลป์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กรมหาชน) เป็นประธานเปิดงาน “SACICT Mobile Gallery 2019” ภายใต้แนวคิด “Sense of Siam : สืบสานมรดกแห่งภูมิปัญญา สัมผัสงานหัตถศิลป์อันล้ำค่าของแผ่นดิน” ถ่ายทอดคุณค่าแห่งมรดกภูมิปัญญาของครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ผ่านชิ้นงานหัตถศิลป์และนวัตศิลป์จาก หอนิทรรศการของ SACICT รวมถึงงานศิลปหัตถกรรมที่เชื่อมโยงความร่วมมือในอาเซียน พร้อมเปิดประสบการณ์ใหม่ในการสืบค้นข้อมูลงานศิลปหัตกรรมบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม (SACICT Archive) แถลงข่าว ณ โถงอาคารสำนักงาน ชั้น G อาคารจัตุรัสจามจุรี เมื่อเร็วๆ นี้

1 2 3 4