กรมวิชาการเกษตร

เปิดบ้านงานวิจัยกรมวิชาการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “พืชผลอินทรีย์ สุขภาพดี รายได้เพิ่ม”

เปิดบ้านงานวิจัยกรมวิชาการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “พืชผลอินทรีย์ สุขภาพดี รายได้เพิ่ม”

กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกลุ่มวังขนาย ขอเชิญเกษตรกร ผู้ประกอบ การ ประชาชน และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป มาร่วม งานเปิดบ้านงานวิจัยกรมวิชาการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “พืชผลอินทรีย์ สุขภาพดี รายได้เพิ่ม” โดยมีนายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน การจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยีด้านการผลิตพืชอินทรีย์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง, เป็นเวทีให้กลุ่มเป้าหมายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์, ประชาสัมพันธ์และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค รวม ทั้งรณรงค์ให้ผู้บริโภครู้จักและเลือกบริโภคสินค้าที่ผ่านการรับรองเกษตรอินทรีย์, เพิ่มช่องทางในการจำ หน่ายและเชื่อมโยงตลาดสินค้า และเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการผลิตพืชอินทรีย์ที่เป็นสินค้าเด่นของกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยยึดพื้นที่บูรณาการตลาดนำการผลิตและดำเนินงานขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคมและภาคเอกชน ภายในงานพบกับการแสดงผลงานวิจัยเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ ชีวภัณฑ์ เทคโนโลยีการเกษตรเครื่องจักรกลการเกษตร และมาตรฐานการตรวจรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์, การแสดงผลิตผลและผลิตภัณฑ์โดยกลุ่มจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “ตลาดนำการผลิต ทะลุเป้าสินค้าเกษตรอินทรีย์”, การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย ฯลฯ โดยงานจัดขึ้นใน ระหว่างวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. ณ […]

ความจริงใจของภาครัฐต่อกรณีแบนสารเคมีเกษตร

ความจริงใจของภาครัฐต่อกรณีแบนสารเคมีเกษตร

กรมวิชาการเกษตรจัดประชุมเพื่อรวบรวมข้อมูลประกอบการพิจารณาการควบคุมวัตถุอันตรายระดมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนข้อมูลวิชาการอย่างสร้างสรรค์ รับฟังเสียงเกษตรกรกรณีแบนสารพาราควอต ,คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเสท ปัจจัยสำคัญภาคการเกษตร กำหนดกรอบการทำงานชัดเจนป้องกันความสับสน หลังเกิดข่าวกระพือแบนสาร 2 ชนิดดันต้นทุนเกษตรพุ่ง ปัจจุบันไทยนำเข้าสารเคมีในปี 2559 ที่ผ่านมา 154,568 ตัน คิดเป็นเม็ดเงินกว่า 20,000 ล้านบาท ในขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)ย้ำว่าปี 2559 ประเทศไทยมีพื้นที่ภาคเกษตรประมาณ 149 ล้านไร่ มีแรงงานอยู่ในภาคการเกษตรประมาณ 17 ล้านคน สามารถผลิตสินค้าเกษตรเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ และยังสามารถทำรายได้จากการส่งออกถึงปีละ 1.22 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ มีพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์(ไม่ใช้สารเคมี)เพียง 3 แสนไร่ หรือคิดเป็น 0.17 เปอร์เซ็นต์ของพื้นทีทั้งหมดหรือ 148.7 ล้านไร่ที่มีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพราะ “ภาคการเกษตร” คืออู่ข้าวอู่น้ำ ปากท้องของชนชั้นการผลิตของประเทศไทย แต่ทันทีที่นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูงแถลงความคืบหน้าของการทำงานพร้อมระบุว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ยกเลิกการใช้สารเคมีเกษตร 2 ตัวคือพาราควอต กับ คลอร์ไพริฟอส โดยให้จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ไม่อนุญาตให้ใช้ […]

กรมวิชาการเกษตร ลงนามผนึก 4 พันธมิตร ครอปไลฟ์เอเชีย – DSI – ปคบ. เอาจริง!!แจ้งเตือน ผิดจริง จับ อายัด ปรับ ตัดสิทธิ์ …ผู้ค้าปัจจัยการผลิตเกษตรทั่วประเทศ

กรมวิชาการเกษตร ลงนามผนึก 4 พันธมิตร ครอปไลฟ์เอเชีย – DSI – ปคบ. เอาจริง!!แจ้งเตือน  ผิดจริง จับ อายัด ปรับ ตัดสิทธิ์ …ผู้ค้าปัจจัยการผลิตเกษตรทั่วประเทศ

กรมวิชาการเกษตรผนึก 4 พันธมิตรลงนามความร่วมมือหนังสือแจ้งผู้ประกอบการค้าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในการรณรงค์ต่อต้านใช้ปุ๋ย ยา เมล็ดพันธุ์ถูกกฎหมาย เรียกเชื่อมั่นผู้บริโภค ส่งผลบวกถึงภาพลักษณ์สินค้าเกษตรไทยในสากล นางสาววัชรีภรณ์ พันธุ์ภูมิพฤกษ์ นายกสมาคมอารักขาพืชไทย เปิดเผยว่า การลงนามความร่วมมือในหนังสือแจ้งผู้ประกอบการค้าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในการรณรงค์ต่อต้านสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ผิดกฎหมายครั้งนี้ เกิดขึ้นภายใต้การสนับสนุนของ ครอปไลฟ์เอเชีย ที่ต้องการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ปัจจัยทางการเกษตรที่ได้มาตรฐานการผลิตและถูกต้องตามหลักสากล ถือเป็นภาพเชิงสัญลักษณ์ของการบูรณาการร่วมกัน ทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่จะประสานแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อให้ เฝ้าระวัง ป้องปราม การผลิต จัดจำหน่าย และใช้ปัจจัยทางการเกษตรที่ผิดกฎหมาย ไม่ได้มาตรฐาน ตลอดจนเร่งรณรงค์ถึงผลกระทบของการใช้ปัจจัยการผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน ที่อาจส่งผลให้ผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน ทำลายความเชื่อมั่นต่อผลิตผลทางการเกษตรของไทย ตลอดจนทำลายระบบนิเวศน์ และคุณภาพชีวิต มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ หากเกษตรกรใช้อย่างไม่ถูกต้องขาดความเข้าใจ กระทั่งทำลายระบบเศรษฐกิจการเกษตรของไทยในที่สุด โดยภายในงานยังได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ผิดกฎหมายและวิธีการตรวจสอบด้วยเทคนิค Fourier Transform Infrared (FTIP) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชนในเรื่องการตรวจสอบวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ผิดกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการปราบปรามผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย ทั้งจากกรมวิชาการเกษตร กรมสอบสวนคดีพิเศษ กองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคหรือ (ปคบ.) ตลอดจนภาคเอกชน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยเป็นประโยชน์ในการ เฝ้าระวัง ป้องปราม และเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ภายใต้กรอบหนังสือความร่วมมือดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น ทางด้านนายธีระ รัตนพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เสริมว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ […]

ซินเจนทาผนึกพันธมิตรให้ความรู้เกษตรกรสวนปาล์ม เข้าสู่มาตรฐาน RSPO การผลิตปาล์มอย่างยั่งยืน

ซินเจนทาผนึกพันธมิตรให้ความรู้เกษตรกรสวนปาล์ม เข้าสู่มาตรฐาน RSPO การผลิตปาล์มอย่างยั่งยืน

ซินเจนทา จับมือกรมวิชาการเกษตร ภาควิชาอาชีวอนามัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล เดินหน้าให้ความรู้ชาวสวนปาล์มใช้สารอารักขาพืช และอุปกรณ์ป้องกันระหว่างฉีดพ่นถูกวิธี หนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนปาล์มภาคใต้เข้าสู่มาตรฐานการผลิตปาล์มยั่งยืนสากล RSPO ดร.เบญจรงค์ วังคะฮาด ผู้จัดการฝ่ายดูแลผลิตภัณฑ์ประจำประเทศไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด เปิดเผยถึงโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้สารพาราควอตอย่างถูกต้องและปลอดภัยให้แก่นักวิชาการของบริษัทน้ำมันปาล์ม เกษตรกรและกลุ่มผู้รับเหมาฉีดพ่นสารอารักขาพืช สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคใต้ โดยโครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นกับกรมวิชาการเกษตร และภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ต้องการให้นักวิชาการของบริษัทน้ำมันปาล์ม เกษตรกรชาวสวนปาล์ม และกลุ่มผู้รับจ้างฉีดพ่นสารอารักขาพืช ได้เรียนรู้เทคนิคการฉีดพ่น และการใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวเองที่ถูกต้อง ตลอดจนสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเกษตรกรชาวสวนปาล์มและผู้มีอาชีพรับจ้างฉีดพ่นสารอารักขาพืชใน 3 จังหวัดคือชุมพร กระบี่ และสุราษฎร์ธานี ที่เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มสำคัญของประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับมาตรฐาน Roundtable on Sustainable Palm Oil หรือ RSPO ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตปาล์มอย่างยั่งยืนระดับสากล ที่บริษัท ซินเจนทาได้สนับสนุนให้ชาวสวนปาล์มเข้าสู่มาตรฐานดังกล่าวตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา สำหรับโครงการดังกล่าวจะให้การอบรมต่อเนื่องตลอดถึงสิ้นปี 2559 ในพื้นที่เป้าหมาย คาดว่าจะสามารถอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรชาวสวนปาล์มกว่า 1500 […]

ซินเจนทาผนึกพันธมิตรให้ความรู้เกษตรกรสวนปาล์ม เข้าสู่มาตรฐาน RSPO การผลิตปาล์มอย่างยั่งยืน

ซินเจนทาผนึกพันธมิตรให้ความรู้เกษตรกรสวนปาล์ม เข้าสู่มาตรฐาน RSPO การผลิตปาล์มอย่างยั่งยืน

ซินเจนทา จับมือกรมวิชาการเกษตร ภาควิชาอาชีวอนามัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล เดินหน้าให้ความรู้ชาวสวนปาล์มใช้สารอารักขาพืช และอุปกรณ์ป้องกันระหว่างฉีดพ่นถูกวิธี หนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนปาล์มภาคใต้เข้าสู่มาตรฐานการผลิตปาล์มยั่งยืนสากล RSPO นางสาววัชรีภรณ์ พันธุ์ภูมิพฤกษ์ ผู้จัดการฝ่ายดูแลผลิตภัณฑ์บริษัทซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด เปิดเผยถึงโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการฉีดพ่นและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพผู้ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดวัชพืช สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคใต้ ว่าเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นกับกรมวิชาการเกษตร และภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ต้องการให้เกษตรกรชาวสวนปาล์ม เรียนรู้เทคนิคการฉีดพ่น และการใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวเองที่ถูกต้อง ตลอดจนสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากมีเหตุฉุกเฉิน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเกษตรกรชาวสวนปาล์มและผู้มีอาชีพรับจ้างฉีดพ่นสารอารักขาพืชใน 2 จังหวัดคือ กระบี่ และสุราษฎร์ธานี ที่เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มสำคัญของประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับมาตรฐานRoundtable on Sustainable Palm Oilหรือ RSPO ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตปาล์มอย่างยั่งยืนสากล ที่บริษัทซินเจนทาได้สนับสนุนให้ชาวสวนปาล์มเข้าสู่มาตรฐานดังกล่าวตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา สำหรับโครงการดังกล่าวจะให้การอบรมต่อเนื่องตลอดสิ้นปี 2558 ในพื้นที่เป้าหมายซึ่งที่ผ่านมาได้ให้การอบรมแก่เกษตรกรชาวสวนปาล์มแล้วกว่า 150 คน จากการสำรวจข้อมูลเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันพบว่าเกษตรกรมีพฤติกรรมการเพาะปลูกและการใช้สารอารักขาพืชเป็นแบบดั้งเดิมสืบทอดมาจากรุ่นก่อน ในขณะที่เทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันมีการพัฒนาต่อเนื่อง การเข้าไปให้อบรมดังกล่าวทำให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจและสามารถสร้างมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันให้เข้าสู่ระดับสากลส่วนการติดตามประเมินผลนั้นจะมีเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนเกษตรกรเพื่อแนะนำและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อประเมินผลการปรับรูปแบบของโครงการให้เหมาะสมกับเกษตรกรในปีต่อไป ++++++++++++++++++++++++++++++++++++ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: (นก) วัชรินทร์ […]