สารเคมีเกษตร

ความจริงใจของภาครัฐต่อกรณีแบนสารเคมีเกษตร

ความจริงใจของภาครัฐต่อกรณีแบนสารเคมีเกษตร

กรมวิชาการเกษตรจัดประชุมเพื่อรวบรวมข้อมูลประกอบการพิจารณาการควบคุมวัตถุอันตรายระดมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนข้อมูลวิชาการอย่างสร้างสรรค์ รับฟังเสียงเกษตรกรกรณีแบนสารพาราควอต ,คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเสท ปัจจัยสำคัญภาคการเกษตร กำหนดกรอบการทำงานชัดเจนป้องกันความสับสน หลังเกิดข่าวกระพือแบนสาร 2 ชนิดดันต้นทุนเกษตรพุ่ง ปัจจุบันไทยนำเข้าสารเคมีในปี 2559 ที่ผ่านมา 154,568 ตัน คิดเป็นเม็ดเงินกว่า 20,000 ล้านบาท ในขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)ย้ำว่าปี 2559 ประเทศไทยมีพื้นที่ภาคเกษตรประมาณ 149 ล้านไร่ มีแรงงานอยู่ในภาคการเกษตรประมาณ 17 ล้านคน สามารถผลิตสินค้าเกษตรเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ และยังสามารถทำรายได้จากการส่งออกถึงปีละ 1.22 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ มีพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์(ไม่ใช้สารเคมี)เพียง 3 แสนไร่ หรือคิดเป็น 0.17 เปอร์เซ็นต์ของพื้นทีทั้งหมดหรือ 148.7 ล้านไร่ที่มีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพราะ “ภาคการเกษตร” คืออู่ข้าวอู่น้ำ ปากท้องของชนชั้นการผลิตของประเทศไทย แต่ทันทีที่นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูงแถลงความคืบหน้าของการทำงานพร้อมระบุว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ยกเลิกการใช้สารเคมีเกษตร 2 ตัวคือพาราควอต กับ คลอร์ไพริฟอส โดยให้จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ไม่อนุญาตให้ใช้ […]