กสร.พลเอก ศฺริชัย ดิษฐกุล

กสร. มุ่งส่งเสริมบุคลากรมีจิตบริการประชาชน พัฒนาตนเองเรียนรู้ทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

กสร. มุ่งส่งเสริมบุคลากรมีจิตบริการประชาชน พัฒนาตนเองเรียนรู้ทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ส่งเสริมบุคลากรในสังกัดให้มี จิตบริการประชาชน มีคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล สนับสนุนให้พัฒนาตนเอง โดยเข้าร่วมโครงการพัฒนากำลังคนภาครัฐด้วยการเรียนรู้ทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักงาน ก.พ. นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน โดยเฉพาะผู้ใช้แรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี กสร.จึงส่งเสริมบุคลากรในสังกัดให้มีจิตบริการประชาชน มีคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีการพัฒนาความรู้ ทักษะ และสมรรถนะเบื้องต้นของการเป็นข้าราชการที่ดี โดยสนับสนุนให้เข้าร่วมโครงการพัฒนากำลังคนภาครัฐด้วยการเรียนรู้ทางไกลผ่าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักงาน ก.พ. ซึ่งเป็นระบบการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงเป็นระบบและต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้กำหนดเปิดให้บริการอบรมบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) จำนวน 132 วิชา/บทเรียน อาทิ การบริการที่เป็นเลิศ คุณธรรมสำหรับข้าราชการ ความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น และ 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรมข้าราชการบรรจุใหม่ และหลักสูตรผู้นำทีมที่มีประสิทธิภาพ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการอบรม และเมื่อผ่านการอบรมตามข้อกำหนดของโครงการจะได้รับประกาศนียบัตร หรือหนังสือรับรองจากสำนักงาน ก.พ. ซึ่งถือเป็นเกียรติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของข้าราชการผู้นั้นด้วย […]

แรงงานคลอดกฎกระทรวง คุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัย หญิงมีครรภ์และเด็กต่ำกว่า 15 ปี ที่รับงานไปทำที่บ้าน

แรงงานคลอดกฎกระทรวง คุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัย หญิงมีครรภ์และเด็กต่ำกว่า 15 ปี ที่รับงานไปทำที่บ้าน

กฎกระทรวง กำหนดงานที่มีลักษณะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของหญิงมีครรภ์หรือเด็กซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบห้าปี พ.ศ.2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว มีผลใช้บังคับทันที นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ได้ลงนามในกฎกระทรวง กำหนดงานที่มีลักษณะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของหญิงมีครรภ์หรือเด็กซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบห้าปี พ.ศ.2560 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 ซึ่งเป็นการออกกฎกระทรวงตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมาตรา 20 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 54 ก ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2560 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว สาระสำคัญของกฎกระทรวงดังกล่าวคือ ห้ามผู้ใดให้หญิงมีครรภ์ทำงานที่มีลักษณะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย เช่น งานเกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องยนต์ ที่อาจเกิดอันตรายจากความสั่นสะเทือน ห้ามให้เด็กทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ งานเกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษ งานเกี่ยวกับแสงจ้า เสียงดัง ความร้อนจัด […]

บิ๊กบี้ ย้ำนายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างลาเพื่อรับราชการทหารกรณีเรียกพล และจ่ายค่าจ้างในวันที่ลาเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน

บิ๊กบี้ ย้ำนายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างลาเพื่อรับราชการทหารกรณีเรียกพล และจ่ายค่าจ้างในวันที่ลาเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน

กระทรวงแรงงาน ขอความร่วมมือนายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เกี่ยวกับการลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพล ต้องอนุญาตให้ลูกจ้างลาและจ่ายค่าจ้างในวันที่ลาเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน และรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราค่าจ้างเดิม พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ได้ทำการเรียกทหารกองหนุนเข้ารับการเรียกพลเพื่อตรวจสอบและฝึกวิชาทหาร ระหว่างเดือน มีนาคม – กรกฎาคม 2560 กระทรวงแรงงานจึงออกประกาศขอความร่วมมือนายจ้างปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 โดยนายจ้างที่มีลูกจ้างซึ่งเป็นทหารกองหนุนทำงานอยู่และ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 35 และมาตรา 58 ในส่วนที่เกี่ยวกับการลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพล เพื่อการตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และในการจ่ายค่าจ้างในวันที่ลาด้วย นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเสริมว่า เมื่อลูกจ้างได้รับคำสั่งเรียกพล (ตพ.17) หรือหมายเรียกพล (ตพ.13) เพื่อตรวจสอบและฝึกวิชาทหาร ประจำปี 2560 ตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 ให้ลูกจ้างนำคำสั่งหรือหมายเรียกดังกล่าวแสดงต่อนายจ้าง พร้อมขออนุญาตลาหยุดงาน โดยนายจ้างต้องอนุญาตให้ลูกจ้างลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลครั้งนี้ […]

ก.แรงงาน เร่งสอบนายจ้าง ก่อสร้างรถไฟฟ้าสีแดงหล่นทับคนงานเสียชีวิต เตรียมดำเนินคดีตามกฎหมายอัตราโทษสูงสุด

ก.แรงงาน เร่งสอบนายจ้าง ก่อสร้างรถไฟฟ้าสีแดงหล่นทับคนงานเสียชีวิต  เตรียมดำเนินคดีตามกฎหมายอัตราโทษสูงสุด

พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ลงพื้นที่ตรวจสอบสาเหตุกรณีชิ้นส่วนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงหล่นทับคนงานเสียชีวิต และหากพบว่าสาเหตุเกิดจากการประมาทของนายจ้างให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ได้สั่งการสำนักงานประกันสังคมเข้าไปดูแลและให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิประโยชน์แก่ลูกจ้างที่เสียชีวิตแล้ว ด้านนายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยว่า วันนี้ (29 เม.ย.) เวลา 09.30 น. ได้เข้าตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุแล้วในเบื้องต้นพบว่า ซัพพอตตัวหน้าเพื่อรองรับโครงทรัสเหล็กซึ่งอยู่ระหว่างติดตั้งที่หัวเสาร่วงลงมาโดยที่มีลูกจ้างที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง 3 คน ซึ่งยืนอยู่บนซัพพอตร่วงลงมาด้วย ทั้งนี้พนักงานตรวจความปลอดภัยได้มีหนังสือเรียกให้นายจ้างมาพบเพื่อสอบข้อเท้จจริงในวันที่ 2 พฤษภาคมนี้ หากพบว่าสาเหตุเกิดจากความประมาทของนายจ้างจะดำเนินคดีโดยอัตราโทษสูงสุดและจะไม่มีการเปรียบเทียบปรับ เนื่องจากเหตุการณ์เช่นเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นหลายครั้งแล้ว ซึ่งกสร.ได้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามฐานความผิดนั้น ๆ ไปแล้ว แต่เมื่อทำผิดซ้ำก็จะไม่อนุญาติให้เปรียบเทียบปรับอีก อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีนี้เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2558 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 4 แสนบาท และขอฝากเตือนไปยังนายจ้าง เจ้าของสถานประกอบกิจการให้เข้มงวดเรื่องความปลอดภัยในการทำงานหากพบการกระทำผิดซ้ำก็จะดำเนินคดีโดยไม่อนุญาติให้มีการเปรียบเทียบปรับเช่นเดียวกัน

แรงงาน เผยผลตรวจเข้ม 5 กิจการ มั่นใจตรวจขนส่งสาธารณะช่วยลดอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ได้

แรงงาน เผยผลตรวจเข้ม 5 กิจการ  มั่นใจตรวจขนส่งสาธารณะช่วยลดอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ได้

กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เผยผลการดำเนินการตรวจเข้ม 5 ประเภทกิจการ ตามแผน 8 วาระปฏิรูปเร่งด่วนของกระทรวงแรงงาน หรือ “แผน 3 – 3 – 2” ตรวจสถานประกอบกิจการกว่า 2,529 แห่ง พบปฏิบัติไม่ถูกต้องกว่า 600 แห่ง พร้อมออกคำสั่งให้ ปฏิบัติตามกฎหมาย สำหรับกิจการขนส่งสาธารณะปฏิบัติไม่ถูกต้อง 51 แห่ง แก้ไขแล้ว 43 แห่ง มั่นใจช่วยลดอุบัติเหตุจากการขนส่งสาธารณะได้ส่วนหนึ่ง นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กสร.ได้ดำเนินการตรวจสถานประกอบกิจการอย่างเข้มข้นใน 5 ประเภทกิจการ ตามนโยบายปฏิรูปแรงงานของพลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน หรือ “แผน 3 – 3 – 2” ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 จนถึงวันที่ 31 […]

แรงงาน เผยผลตรวจเข้ม 5 กิจการ มั่นใจตรวจขนส่งสาธารณะช่วยลดอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ได้

แรงงาน เผยผลตรวจเข้ม 5 กิจการ  มั่นใจตรวจขนส่งสาธารณะช่วยลดอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ได้

กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เผยผลการดำเนินการตรวจเข้ม 5 ประเภทกิจการ ตามแผน 8 วาระปฏิรูปเร่งด่วนของกระทรวงแรงงาน หรือ “แผน 3 – 3 – 2” ตรวจสถานประกอบกิจการกว่า 2,529 แห่ง พบปฏิบัติไม่ถูกต้องกว่า 600 แห่ง พร้อมออกคำสั่งให้ ปฏิบัติตามกฎหมาย สำหรับกิจการขนส่งสาธารณะปฏิบัติไม่ถูกต้อง 51 แห่ง แก้ไขแล้ว 43 แห่ง มั่นใจช่วยลดอุบัติเหตุจากการขนส่งสาธารณะได้ส่วนหนึ่ง นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กสร.ได้ดำเนินการตรวจสถานประกอบกิจการอย่างเข้มข้นใน 5 ประเภทกิจการ ตามนโยบายปฏิรูปแรงงานของพลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน หรือ “แผน 3 – 3 – 2” ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 จนถึงวันที่ 31 […]

สนช.รับหลักการวาระแรก ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ที่ส่งเสริมการจ้างงาน คุ้มครองลูกจ้าง เอื้อนักลงทุน สร้างความมั่นคงคนเกษียณ

สนช.รับหลักการวาระแรก ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ที่ส่งเสริมการจ้างงาน คุ้มครองลูกจ้าง เอื้อนักลงทุน สร้างความมั่นคงคนเกษียณ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติรับหลักการวาระแรกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560 เพื่อส่งเสริมการจ้างงานและการคุ้มครองแรงงานสำหรับลูกจ้างบางประเภท ลดระยะเวลาในกระบวนการเริ่มต้นธุรกิจให้มีความสะดวก รวดเร็ว เป็นกลไกดึงดูดนักลงทุน และสร้างความมั่นคงให้แก่ลูกจ้างหลังเกษียณอายุ พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ชี้แจงว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติ รับหลักการวาระแรกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560 โดยเหตุผลที่ต้องตราร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ เนื่องจาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น จึงต้องเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับกับการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างบางกลุ่มหรือบางประเภท เช่น นักเรียน นักศึกษา คนพิการและผู้สูงอายุ เพื่อให้มีการส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครองแรงงานสำหรับลูกจ้างบางกลุ่มหรือบางประเภทดังกล่าว ซึ่งอาจมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างจากลูกจ้างทั่วไป รวมถึงต้องปรับปรุงบทบัญญัติเรื่องข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพื่อลดภาระของนายจ้างในการส่งสำเนาข้อบังคับดังกล่าว ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้สอดคล้องกันและเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการลดระยะเวลาในกระบวนการเริ่มต้นธุรกิจให้มีความสะดวก รวดเร็ว เป็นกลไกดึงดูดนักลงทุน และเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการเกษียณอายุและการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ เพื่อคุ้มครองลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ สร้างความมั่นคงให้แก่ลูกจ้างหลังเกษียณอายุและเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย […]

ก.แรงงาน มุ่งลดการประสบอันตรายของลูกจ้าง สร้างเครือข่ายความปลอดภัยในการทำงาน

ก.แรงงาน มุ่งลดการประสบอันตรายของลูกจ้าง สร้างเครือข่ายความปลอดภัยในการทำงาน

กระทรวงแรงงาน จัดโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายความปลอดภัยในการทำงาน มุ่งส่งเสริม การรวมกลุ่มเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) พัฒนาศักยภาพเครือข่ายความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวในฐานะประธานในพิธีเปิดงานว่า กระทรวงแรงงานให้ความสำคัญกับการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยมีนโยบายหลัก ๓ ประการ คือ ๑) สร้างการรับรู้และจิตสำนึกด้านความปลอดภัยฯ ๒) เคร่งครัดการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยฯ และ ๓) สร้างกลไกประชารัฐในการดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ ผ่านกลยุทธ์การจัดการภายใต้แผนแม่บทความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานแห่งชาติ และแผนยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ “แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี” ตลอดจนสร้างกลไกการดำเนินงานให้เอื้อต่อการดูแลกลุ่มเป้าหมายในระดับพื้นที่ ที่เชื่อมโยงและสอดรับแนวนโยบายรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของประเทศ คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานขึ้นทะเบียนสะสมกับกระทรวงแรงงาน ทั้งสิ้น ๗๔๓,๙๕๖ คน แบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ๕๑๔,๘๐๑ คน ระดับบริหาร ๑๘๔,๘๙๗ คน […]