ท้องผูก

ไม่ถ่ายเกิน 3 วันเป็นประจำ อันตรายไหม?

ไม่ถ่ายเกิน 3 วันเป็นประจำ อันตรายไหม?

ใครที่ไม่ขับถ่ายนานเกิน 3 วัน ของเสียมีลักษณะเแข็งและยากต่อการขับถ่าย ใช้แรงเบ่งมาก รวมถึงมีอาการท้องอืด ปวดเกร็งบริเวณหน้าท้อง นั่นแสดงว่า คุณอาจกำลังประสบปัญหา “ท้องผูก” เข้าแล้วหล่ะครับ… อาการท้องผูกนอกจากจะทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัวแล้ว หากปล่อยไว้เรื้อรังในระยะยาวอาจทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร แผลที่ทวารหนัก มะเร็งลำไส้ใหญ่​ หรือปัญหาสุขภาพอื่นตามมาได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีกับร่างกาย สาเหตุของอาการท้องผูกที่พบบ่อย ได้แก่ การอั้นอุจจาระ ทานอาหารที่มีกากใยน้อย ขาดการออกกำลังกาย ทานยาบางชนิด เช่น ยาบำรุงที่มีธาตุเหล็ก ดื่มน้ำน้อย ความเครียด นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่น การอุดตันของลำไส้จากเนื้องอก การบีบตัวผิดปกติของลำไส้ หรืออาจเป็นอาการร่วมของโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน, ไทรอยด์ ถ้าคุณมีอาการท้องผูก หรือมีอาการอื่นด้วย เช่น อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงผิดปกติ ถ่ายเป็นมูกเลือด และมีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาโดยเร็ว

ท้องผูกแก้ได้เพียงเปลี่ยนพฤติกรรม

ท้องผูกแก้ได้เพียงเปลี่ยนพฤติกรรม

ไม่ได้ถ่ายทุกวันเรียกว่าท้องผูกหรือไม่? สงสัยไหมครับว่า แบบไหนถึงเรียกว่าท้องผูก? ท้องผูกหมายถึงภาวะที่มีการขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ อุจจาระมีลักษณะแข็งหรือขับถ่ายลำบาก และมีก้อนที่เล็กลง ในกรณีที่ท้องผูกเรื้อรังอาจก่อให้เกิดโรคหลายอย่างตามมา เช่น ริดสีดวงทวาร หรือทวารหนักปริแตก ได้เลยนะครับ ท้องผูกอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การทานอาหารที่ไม่มีกากใย ดื่มน้ำน้อย ไปจนถึงความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร อย่างเช่น การอุดตันของลำไส้จากเนื้องอก การบีบตัวผิดปกติของลำไส้ หรืออาจเป็นอาการร่วมของโรคอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ ขาดการออกกำลังกาย การใช้ยาบางชนิด ความเครียด ฯลฯ ท้องผูกแก้ไม่ยาก แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทานอาหารที่มีกากใยมากๆ ดื่มน้ำเยอะๆ งดดื่มชา กาแฟ ออกกำลังกายเป็นประจำ ขับถ่ายให้เป็นเวลา และหลีกเลี่ยงการใช้ยาระบายโดยไม่จำเป็นด้วยนะครับ หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังมีอาการท้องผูก หรือมีอาการท้องผูกร่วมกับอาการผิดปกติ อาทิ ปวดท้องมาก น้ำหนักลด ถ่ายเป็นมูกเลือด บางครั้งมีประวัติครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ กลุ่มนี้ต้องระมัดระวังให้มากขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอาการอย่างถูกต้องต่อไป