บริษัท อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด

ใครเป็นประธานที่ประชุมใหญ่คอนโด

ใครเป็นประธานที่ประชุมใหญ่คอนโด

นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่าเมื่อผู้ประกอบการได้ขออนุญาตสร้างคอนโดเสร็จแล้วขั้นตอนที่ต้องดำเนินการต่อไปก็คือการขออนุญาตเป็นอาคารชุด เพราะตามกฎหมายอาคารชุด กำหนดไว้ว่าถ้าผู้มีกรรมสิทธ์ในที่ดินและอาคารใด ประสงค์จะจดทะเบียนที่ดินและอาคารนั้นเป็นอาคารชุดให้ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมหลักฐาน ฯลฯ หมายความว่าถ้าไม่นำอาคารไปจดทะเบียนเป็นอาคารชุด อาคารนั้นก็เข้าข่ายการเป็นอาคารชุด เมื่อจดเป็นอาคารชุดแล้ว ถ้าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้กับลูกค้าหรือผู้ซื้อจะต้องไปยื่นจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอาคารชุดและต้องจัดประชุมใหญ่เจ้าของร่วมครั้งแรกภายใน 6 เดือนนับจากวันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอาคารชุด และให้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี เจ้าของร่วมอีกปีละหนึ่งครั้งหลังจากสิ้นปีบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุด คำถามก็คือแล้วใครจะเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ ในกฎหมายอาคารชุดมิได้บัญญัติว่า ในการประชุมใหญ่แต่ละครั้งนั้น ให้บุคคลใดทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม มีแต่กำหนดว่า ห้ามมิให้ผู้จัดการนิติบุคคลหรือคู่สมรส ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมใหญ่เท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นที่เข้าใจได้ว่าเมื่อมีการประชุมใหญ่จะต้องเลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งให้ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแต่ละครั้งเว้นแต่จะมีกำหนดไว้ในข้อบังคับว่าให้ใครเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ก็ให้เป็นไปตามนั้น ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ในข้อบังคับจะระบุให้ประธานคณะกรรมการเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ ยกเว้นการประชุมใหญ่ครั้งแรกเพราะยังไม่มีคณะกรรมการในทางปฏิบัติจะเลือกเจ้าของร่วมคนใดคนหนึ่งมาเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ เมื่อกฎหมายอาคารชุดมิได้กำหนดไว้จึงมีคำถามว่าเราสามารถเลือกบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของร่วมได้หรือไม่ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าก็น่าจะได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้แต่เพื่อเป็นการลดปัญหาความขัดแย้งหรือปัญหาประเด็นการประชุมชอบหรือไม่ชอบกฎหมายควรเขียนไว้ข้อบังคับให้ชัดเจนว่าให้เลือกเจ้าของร่วมคนใดคนหนึ่งเท่านั้นเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ครั้งแรก ส่วนในการประชุมใหญ่ประจำปีก็ระบุในข้อบังคับว่าให้ประธานคณะกรรมการหรือรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ แต่คนที่จะเป็นประธานนั้นจะต้องมีประสบการณ์ในการประชุมมีความรู้เรื่องอาคารชุดและกฎระเบียบและควบคุมการประชุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยได้ ทั้งนี้ IRM มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 24 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรร สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท พีอาร์บูม จำกัด คุณอภิญญา โทร. 081-438-7353 Email: prboomcompany@gmail.com

IRMExtra ลุยรับงานจัดประชุมนิติบุคคล

IRMExtra ลุยรับงานจัดประชุมนิติบุคคล

เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทไออาร์เอ็มเอ็กซ์ตร้าจำกัด ในเครือบริษัทไออาร์เอ็ม อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์จำกัด ได้รับความไว้วางใจจากโครงการV Condo ให้เป็นผู้ดำเนินการจัดประชุมใหญ่ สามัญประจำปีเจ้าของร่วมนิติบุคคล ให้กับอาคารชุด V Condo อาคาร Viva ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา โดยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของทุกปี IRM จะได้รับการคัดเลือกจากโครงการต่างๆ ให้ทำหน้าที่จัดประชุม เนื่องจาก มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 24 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรร สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท พีอาร์บูม จำกัด คุณอภิญญา โทร.081-438-7353 Email: prboomcompany@gmail.com

IRMExtra ลุยรับงานจัดประชุมนิติบุคคล

IRMExtra ลุยรับงานจัดประชุมนิติบุคคล

เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทไออาร์เอ็มเอ็กซ์ตร้าจำกัด ในเครือบริษัทไออาร์เอ็ม อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์จำกัด ได้รับความไว้วางใจจากโครงการV Condo ให้เป็นผู้ดำเนินการจัดประชุมใหญ่ สามัญประจำปีเจ้าของร่วมนิติบุคคล ให้กับอาคารชุด V Condo อาคาร Viva ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา โดยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของทุกปี IRM จะได้รับการคัดเลือกจากโครงการต่างๆ ให้ทำหน้าที่จัดประชุม เนื่องจาก มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 24 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรร สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท พีอาร์บูม จำกัด คุณอภิญญา โทร.081-438-7353 Email: prboomcompany@gmail.com

IRM โชว์ฝีมือจัดประชุมนิติบุคคล

IRM โชว์ฝีมือจัดประชุมนิติบุคคล

เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทไออาร์เอ็มเอ็กตร้า จำกัด ในเครือบริษัทไออาร์เอ็ม อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์จำกัด จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีให้กับนิติบุคคลอาคารชุด City Link อาคาร Milan ซึ่งเป็น 1 ใน 10 อาคารที่ตั้งอยู่ในโครงการ City Link Condo จังหวัดนครราชสีมา โดยการประชุมดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากกรรมการและเจ้าของร่วมเป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะIRM มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 24 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรร สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท พีอาร์บูม จำกัด คุณอภิญญา โทร.081-438-7353 Email: prboomcompany@gmail.com

IRM เคลียร์คำถามซื้อบ้านกับโครงการที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตเสี่ยงหรือไม่

IRM เคลียร์คำถามซื้อบ้านกับโครงการที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตเสี่ยงหรือไม่

IRM เคลียร์คำถามซื้อบ้านกับโครงการที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตเสี่ยงหรือไม่ ชี้ความไม่ชัดเจนของกฎหมายเปิดทางให้ขายก่อนได้รับใบอนุญาตจัดสรร อินเตอร์ เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) เคลียร์ตอบคำถาม “ผู้ประกอบการเปิดขายบ้านและที่ดินจัดสรรก่อนได้รับอนุญาตผิดกฎหมายหรือไม่” แนะผู้บริโภคตรวจสอบชื่อเสียงบริษัทพัฒนาที่ดิน แนะความไม่ชัดเจนของกฎหมายจัดสรรที่ดินทำให้โครงการจัดสรรเปิดขายไปพร้อม ๆ กับการขอใบอนุญาตจัดสรร เตือนซื้อโครงการขนาดเล็กอาจมีความเสี่ยง นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรแต่มีความกังวลใจว่าจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น บ้านสร้างเสร็จช้าไม่เป็นไปตามสัญญา หรือบ้านไม่มีคุณภาพตามที่ต้องการ และปัญหาเรื่องสาธารณูปโภคภายในโครงการฯลฯ โดยเฉพาะการซื้อบ้านกับโครงการขนาดเล็ก ซึ่งปัจจุบันนี้มีนักพัฒนาที่ดินหน้าใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก และปัญหาหนึ่งที่ผู้ซื้อบ้านมักจะตรวจสอบก่อนตัดสินใจซื้อก็คือ เรื่องผู้ประกอบการได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะมักจะมีการสอบถามพนักงานขายหรือขอดูใบเอกสารที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน กรมที่ดิน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาซื้อบ้านแล้วไม่ได้บ้าน ทั้งนี้ โครงการที่เปิดขายมานานมักจะมีใบอนุญาตจัดสรรที่ดินโชว์ให้ลูกค้าดู แต่สำหรับโครงการใหม่มักจะเปิดขายไปพร้อม ๆ กับการดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตจัดสรร เพราะต้องการดำเนินธุรกิจและปิดการขายให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม มีผู้ซื้อบ้านบางรายทราบภายหลังว่าโครงการที่ทำสัญญาซื้อ-ขายไปแล้วนั้นยังไม่ผ่านการอขออนุญาตจัดสรรอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ได้ทำการผ่อนชำระเงินงวดไปแล้วจำนวนหนึ่ง จึงดำเนินการฟ้องร้องเพื่อต้องการเอาเงินดาวน์ที่ผ่อนไปแล้วหลายงวดคืน เพราะเข้าใจว่าโครงการทำผิดกฎหมายจึงขาดความมั่นใจ นายธนันทร์เอกกล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการบ้านจัดสรรส่วนใหญ่มักจะเปิดขายบ้านในระหว่างการขออนุญาตจัดสรร จึงมีคำถามที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการรู้ว่าการที่ผู้ประกอบการเสนอขายบ้านจัดสรรก่อนได้รับอนุญาตนั้นผิดกฎหมายหรือไม่ และถ้าตัดสินใจซื้อไปแล้วจะต้องทำอย่างไร คำตอบนี้จะต้องดูจากพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 […]

IRM เข้าบริหารทรัพย์สินโครงการเดอะพาร์คแลนด์ ศรีนครินทร์ เลคไซค์

IRM เข้าบริหารทรัพย์สินโครงการเดอะพาร์คแลนด์ ศรีนครินทร์ เลคไซค์

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นางสาวกชมน ขาวสะอาด กรรมการผู้จัดการนายสิริเชษฐ์ นุตไพโรจน์ ผู้อำนวยการ และนางสาวอัฌศยามณ หวานฉ่ำ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดบริษัท อินเตอร์ เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) ลงนามในสัญญาว่าจ้างบริหารจัดการ นิติบุคคลอาคารชุด โครงการเดอะพาร์คแลนด์ ศรีนครินทร์ เลคไซค์โดยมีนางสาวเบญจวรรณ ภารเวช ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดฯ และนายราชพร อารยะโกศล ประธานคณะกรรมการ โครงการเดอะพาร์คแลนด์ ศรีนครินทร์ เลคไซค์ร่วมลงนาม เพื่อมอบหมายให้ IRM บริหารทรัพย์สินในโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ IRM มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 24 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรร สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท พีอาร์บูม จำกัด คุณอภิญญา โทร.081-438-7353 Email: prboomcompany@gmail.com

ปัญหาหลากหลายการอยู่อาศัยในคอนโด หากไม่เตรียมความพร้อมมันจะกลายเป็นสลัมลอยฟ้า

ปัญหาหลากหลายการอยู่อาศัยในคอนโด  หากไม่เตรียมความพร้อมมันจะกลายเป็นสลัมลอยฟ้า

นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่าปัญหาที่หลากหลายในการอยู่อาศัยในคอนโด อาจทำให้บ้านกลายเป็นสลัมลอยฟ้าได้ หากคุณอยู่คอนโดฯแล้วเจอเพื่อนบ้านที่ทำให้ปวดหัว เดือดร้อนรำคาญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเลี้ยงสัตว์หรือส่งเสียงดังรบกวนบอกได้คำเดียวว่า “ซวย” เพราะการที่เจอปัญหาดังกล่าวแล้วจะหนีปัญหาด้วยการย้ายที่อยู่ใหม่คงไม่ง่ายอย่างที่คิดแน่นอน และก็ไม่ได้การันตีว่าถ้าซื้อคอนโดราคาแพงปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิด เพราะคนที่อยู่คอนโดหรูราคาแพงไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม โดยเฉพาะเรื่องการเลี้ยงสัตว์ในคอนโดฯ ซึ่งหลายคนสงสัยว่าเลี้ยงได้หรือไม่ทั้ง ๆ ที่คอนโดฯในประเทศไทยเกือบทุกคอนโดมักจะมีกฎระเบียบข้อบังคับว่าด้วยเรื่องการห้ามเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในคอนโด เพราะถ้าเป็นสุนัขก็มีทั้งกลิ่นและการส่งเสียงร้องดังรบกวนการอยู่อาศัย แต่เชื่อไหมว่ามีคนเลี้ยงสุนัขเกือบทุกคอนโดแม้จะมีข้อห้ามก็ตาม บางคนก็เลี้ยงสุนัขประเภทหมากระเป๋า หิ้วขึ้นคอนโด ถ้าไม่สังเกตจะไม่รู้เลยว่ามีคนเอาสุนัขขึ้นคอนโด เรื่องแดงขึ้นมาก็ต่อเมื่อมีห้องข้าง ๆ เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ไม่ชอบเสียงเห่า ไม่ชอบกลิ่น แล้วจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ปัญหานี้มีข้อแนะนำอยู่ 2วิธี คือ 1.ไปเคาะประตูบอกเขาตรง ๆ ว่าเรามีความเดือดร้อนรำคาญ ถ้าโชคดีเขาอาจย้ายสุนัขไปไว้ที่อื่น ๆ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับวิธีนี้ เพราะอาจได้ศัตรูเพิ่มอีกหนึ่งคนวิธีนี้ไม่จำเป็นไม่ควรทำวิธีที่ 2คือแจ้งคนกลาง คือผู้จัดการนิติบุคคลหรือคณะผู้บริหารนิติบุคคล ว่าเรามีปัญหาอะไรถ้านิติบุคคลมีประสบการณ์จะสามารถจัดการปัญหานี้ได้ เช่น นัดคุยกับคนเลี้ยงแจ้งกฎระเบียบหรือให้เวลาในการย้ายสุนัขออกถ้าไม่ปฏิบัติตามจะเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบข้อบังคับ อาจถูกปรับหรืองดใช้สิ่งอำนวยความสะดวกบางอย่าง หลังจากนั้นผู้บริหารต้องติดประกาศการห้ามเลี้ยงสัตว์ไว้อย่างชัดเจนและเข้มงวดกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม หากนักบริหารทรัพย์สินหรือนิติบุคคลมีประสบการณ์น้อย ไม่กล้าเผชิญกับปัญหา คงต้องทนทุกข์ทรมานไปอีกนานแสนนานจนกระทั่งตัดสินใจย้ายคอนโด อย่างไรก็ตามสำหรับท่านที่กำลังจะซื้อคอนโด หรือกำลังจะย้ายคอนโดแนะนำว่าควรศึกษาว่านิติบุคคลนั้น […]

ทำความเข้าใจง่าย ๆกับค่าใช้จ่าย(ส่วนกลาง) คอนโดฯ

ทำความเข้าใจง่าย ๆกับค่าใช้จ่าย(ส่วนกลาง) คอนโดฯ

เมื่อยุดเกษตรกรรมถูกเปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญของบ้านเมืองเข้าสู่ ยุดของทุนนิยม การอยู่อาศัยของผู้คนทั่วไปจึงเปลี่ยนไปตามกาลเวลา จากที่เคยอยู่บ้านไม้ที่ใต้ถุนบ้านโล่ง กลายเป็นหมู่บ้านหรือตึกสูงๆ ที่เรียงรายเป็นรูปแบบที่เหมือนกันหรือที่เราเรียกว่า หมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียมการอยู่อาศัยของคนสมัยก่อนก็ไม่ต้องเสียค่าส่วนกลางเพราะหน้าบ้านก็เป็นสาธารณะรัฐบาลเป็นคนดูแล แต่พอระบบทุนนิยมเข้ามาทำให้มีคนคิดว่าจะทำที่อยู่อาศัยในเมืองในรูปแบบของตึกสูงหรือคอนโดให้คนซื้ออยู่หรือจะเรียกว่าบ้านลอยฟ้า นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทยกล่าวว่า การอยู่อาศัยของคนเมืองในคอนโดมิเนียมหรืออาคารชุด และค่าบริการส่วนกลางที่พวกเขาจ่ายไปต่อเดือนหรือต่อปีเขาคิดกันอย่างไร เพราะหลายคนอยู่คอนโดมาหลายสิบปี ก็ยังไม่รู้เลยว่าที่เขาเก็บเรา ตารางเมตรละ 40 บาทนั้นมันค่าอะไรบ้าง แล้วเขามีหลักเกณฑ์ในการคิดอย่างไร วันนี้จะเล่าสู่กันฟังว่า ค่าส่วนกลางที่เราจ่ายไปนั้นมันมีที่มาที่ไปอย่างไร ตามกฎหมายอาคารชุดกำหนดไว้ว่า เจ้าของร่วมเจ้าของห้องชุดต้องออกค่าใช้จ่าย ค่าดภาษี และค่าใช้จ่ายส่วนกลางดังนี้ 1.ค่าภาษีอากร ที่เกิดจากการดูแลรักษาและการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนกลาง โดยกำหนดให้จ่ายตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่แต่ละคนมีในทรัพย์ส่วนกลาง หมายความว่า ถ้ามีพื้นที่ห้องชุดมากก็จ่ายมากตามปริมาณพื้นที่ 2.ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการบริการส่วนกลาง หมายถึงการบริการที่ทุกห้องได้รับประโยชน์เป็นค่าเก็บขยะ ค่ากระแสไฟฟ้าทางเดินส่วนกลาง ค่าจ้างยามเป็นต้น เจ้าของร่วมต้องจายค่าใช้จ่ายส่วนนี้เท่าเที่ยมกันไม่คำนึ่งว่าแต่ละห้องมีพื้นที่เท่าไร ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ 3.ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ หรือค่ากระแสไฟเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ต้องออกเท่าๆกันตามข้อบังคับ 4.ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลาง หมายถึง ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์งานระบบต่างๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ประปาเป็นต้น ค่าใช่จ่ายส่วนนี้ ต้องออกตามอัตราส่วนพื้นที่ […]

อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์เผยบทลงโทษทางอาญาของผู้ฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาคารชุด

อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์เผยบทลงโทษทางอาญาของผู้ฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาคารชุด

อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์เผยบทลงโทษทางอาญาของผู้ฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาคารชุด แนะเจ้าของโครงการ กรรมการ ผู้อยู่อาศัยและนักบริหารรู้ก่อนสายเกินแก้ อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์(IRM) เผยบทลงโทษทางอาญาของบุคคลที่ดำเนินการฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาคารชุด แนะหากผู้อยู่อาศัยในคอนโดฯถูกเอาเปรียบทั้งจากผู้ประกอบการ กรรมการและนิติบุคคล สามารถร้องเรียนเรียกร้องความเป็นธรรมกับภาครัฐ แจงความผิดและค่าปรับของผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อินเตอร์ เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่าปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับการบริหารทรัพย์สินและการอยู่อาศัยอาคารชุดมักเกิดจากกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของโครงการ คณะกรรมการ ผู้จัดการนิติบุคคล เจ้าของร่วมฯลฯ พ.ร.บ.อาคารชุดจึงกำหนดบทลงโทษและความผิดทางอาญาของผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้น หากผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือถูกเอาเปรียบจากการดำเนินการด้านต่าง ๆ จากบุคคลดังกล่าว สามารถร้องเรียนกับภาครัฐที่กำกับดูแล เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดบทลงโทษไว้อย่างชัดเจน ดังนี้ ในกรณีผู้ประกอบการที่ดำเนินการโดยฝ่าฝันมาตรา 6/1 วรรค 1 และ 6/2 วรรค 1 โดยไม่เก็บสำเนาข้อความและภาพที่ทำการโฆษณา หรือไม่ใช้สัญญามาตราฐานที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือหากฝ่าฝืนมาตรา 6/1 วรรค2 เรื่องการใช้ข้อความโฆษณาไม่ตรงกับที่ยื่นขอจดทะเบียน ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 50,000-100,000 บาท […]

อยู่บ้านจัดสรร ทำไมต้องจ่ายค่าส่วนกลาง

อยู่บ้านจัดสรร ทำไมต้องจ่ายค่าส่วนกลาง นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงประเด็นการอยู่อาศัยในโครงการบ้านจัดสรร “ทำไมต้องจ่ายค่าส่วนกลาง” ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าบ้านเมืองเรามีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจนคนที่เกิดในยุคBabyboomerอย่างเราตามไม่ค่อยทันเพราะสมัยก่อนที่เราอยู่บ้านนอกหรืออยู่ชานเมืองที่มีความเจริญน้อยกว่าในเมืองเราจะรู้จักกันหมดตั้งแต่หัวบ้านยันท้ายบ้าน ปัจจุบันหมู่บ้านจัดสรรต่างๆ เกิดขึ้นในเมืองใหญ่มากมายแต่ผู้คนกลับไม่รู้จักกัน แม้บ้านจะอยู่รั้วติดกันก็ตามที่สำคัญสมัยก่อนเราอยู่ในหมู่บ้านที่มีกำนันผู้ใหญ่บ้านคอยดูแลเราไม่เห็นต้องจ่ายค่าส่วนกลางประจำเดือนเลยแต่พอมาอยู่หมู่บ้านจัดสรรในยุคปัจจุบันทำไมต้องจ่ายค่าส่วนกลาง. วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องการอยู่บ้านจัดสรรทำไมต้องจ่ายค่าส่วนกลางตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินพ.ศ. 2543 กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่าผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะทำการจัดสรรที่ดินเพื่อจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไปตั้งแต่10 แปลงขึ้นไปต้องขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามที่กฎหมายกำหนดและจำหน่ายให้กับลูกค้าแล้ว 50% ขึ้นไปก็สามารถแจ้งให้ลูกค้าคือผู้ซื้อบ้านจัดตั้งเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้และเมื่อลูกค้าจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้เรียบร้อยแล้วก็จะต้องมีการเลือกตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านมาเป็นตัวแทนสมาชิกและต้องกำหนดการจัดเก็บค่าส่วนกลางด้วย ทำไมต้องเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลาง?มีเหตุผลดังนี้ครับเมื่อหมู่บ้านใดจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้วสาธารณูปโภคส่วนกลางเช่น ถนน สวน สโมสร สระว่ายน้ำ เป็นต้น จะตกเป็นทรัพย์สินของหมู่บ้านหน้าที่ในการดูแลบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวจึงตกเป็นของลูกบ้านในหมู่บ้านนั้นๆ มิได้เป็นทรัพย์สินสาธารณะหรือองค์กรอื่นๆ ของรัฐรัฐจึงไม่มีหน้าที่ในการดูแลบำรุงรักษา เพราะเป็นทรัพย์สินของเอกชนลูกบ้านที่อยู่ในหมู่บ้าน จึงมีหน้าที่ในการดูแลบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายประจำเดือน เช่น ค่ายาม ค่าบริหารจัดการค่าคนดูแลสวน ค่าแม่บ้าน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา เป็นต้นโดยเฉลี่ยประมาณเดือนละ 2-3 แสน/เดือน แล้วแต่ขนาดของหมู่บ้าน การที่เราจะรู้ว่ามีค่าใช้จ่ายเดือนละเท่าไรก็ต้องคำนวณมาจากค่าบริการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นว่าเกิดขึ้นเดือนละเท่าไรวิธีการคำนวณก็เอาค่าใช้จ่ายที่เราคำนวณมาตั้งแล้วหารด้วยพื้นที่ของบ้านแต่ละหลังเป็นตารางวาก็จะออกมาต่อหน่วยละเท่าไรใครมีพื้นที่มากก็จะจ่ายมากใครมีพื้นที่น้อยก็จะจ่ายน้อย ยกตัวอย่างหมู่บ้าน ก. มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นเดือนละ 2 แสนบาทมีพื้นที่ของบ้านแปลงย่อยทั้งหมด 1 หมื่นตารางวาก็จัดเก็บค่าส่วนกลางตารางวาละ20 บาท/เดือน […]