บริษัท อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด

IRM เผยกฎหมายจัดสรรที่ดินฉบับใหม่กระทบการจดทะเบียนนิติบุคคล

IRM เผยกฎหมายจัดสรรที่ดินฉบับใหม่กระทบการจดทะเบียนนิติบุคคล

เผยกฎหมายจัดสรรที่ดินฉบับใหม่กระทบการจดทะเบียนนิติบุคคล ย้ำโครงการใหม่มีปัญหาเพราะสำนักงานที่ดินทั่วประเทศยังไม่พร้อม อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ (IRM) เผยสำนักงานที่ดินทั่วประเทศยังจัดบริการไม่สอดคล้องกับกฎหมายจัดสรรที่ดินฉบับใหม่ ยืนยันกระทบการจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรรล่าช้า เหตุไม่แต่งตั้งอนุกรรมการรองรับความต้องการ ย้ำโครงการบ้านจัดสรรใหม่ทั่วประเทศที่จัดประชุมเพื่อจดทะเบียนหลังวันที่ 27 พฤษภาคม 59 มีปัญหาเพราะไม่ผ่านการตรวจสอบสาธารณูปโภคจากภาครัฐ นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่าที่ผ่านมาโครงการจัดสรรต่าง ๆ ดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรรตามกฎหมายที่ดินฉบับเดิมที่ระบุให้ผู้จัดสรรต้องดูแลสาธารณูปโภคครบ 1 ปี แล้วแจ้งให้ผู้ซื้อจัดประชุมเพื่อแต่งตั้งนิติบุคคล และผู้จัดสรรจะต้องให้ผู้ซื้อตรวจสอบความเรียบร้อยต่าง ๆ หลังจากนั้นผู้จัดสรรจึงทำการโอนสาธารณูปโภค เงินกองทุน 7% และเงินค่าส่วนกลางที่เก็บล่วงหน้าที่ยังใช้ไม่หมดให้กับนิติบุคคลบ้านจัดสรร แต่หลังจากที่มีการประกาศใช้ระเบียบจัดสรรที่ดินฉบับใหม่เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ผู้ซื้อไม่สามารถตรวจสอบสาธารณูปโภคได้อีกต่อไป เนื่องจากกฎหมายระบุให้ผู้จัดสรรจะต้องแจ้งคณะกรรมการจัดสรรที่ดินให้แต่งตั้งอนุกรรมการทำหน้าที่ตรวจสอบแทน หลังจากนั้นผู้จัดสรรต้องแจ้งให้ผู้ซื้อจัดประชุมเพื่อจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรร และสาธารณูปโภคต่างๆ จะถูกโอนเป็นของนิติบุคคลโดยอัตโนมัติ เพราะมีอนุกรรมการทำหน้าที่ตรวจสอบในเบื้องต้นแล้ว อย่างไรก็ตาม นักบริหารทรัพย์สินและผู้จัดสรรส่วนใหญ่เพิ่งทราบรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายฉบับใหม่เมื่อเดือนกรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา ทำให้ผลการประชุมเพื่อจัดตั้งนิติบุคคลที่ดำเนินการไปแล้วไม่สามารถนำมาใช้ได้ เนื่องจากทางสำนักงานที่ดินไม่ยอมรับผลการประชุมของโครงการต่าง ๆ ที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินไม่ได้แต่งตั้งอนุกรรมการไปตรวจสอบระบบสาธารณูปโภคของโครงการก่อนการประชุม ดังนั้น ทุกโครงการที่ต้องการจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรรหลังจากวันที่ 27 พฤษภาคม […]

IRM เผยเทรนด์บริหารทรัพย์สินรูปแบบใหม่ “ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้”

IRM เผยเทรนด์บริหารทรัพย์สินรูปแบบใหม่ “ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้”

งัดกลยุทธ์ “บริหารทรัพย์สินต้นทุนต่ำ” เจาะตลาดคอนโดฯ IRM เผยเทรนด์บริหารทรัพย์สินรูปแบบใหม่ “ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้” อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ (IRM) งัดกลยุทธ์บริหารทรัพย์สินแบบต้นทุนต่ำ เจาะกลุ่มเป้าหมายอาคารชุดทำเลปริมณฑลและต่างจังหวัด เผยสามารถลดค่าใช้จ่ายให้โครงการตั้งแต่ 30-50% มั่นใจเป็นเทรนด์การบริหารทรัพย์สินในอนาคต“เน้นลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้” นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ได้ขยายการลงทุนและพัฒนาอาคารชุดบนทำเลปริมณฑลและหัวเมืองใหญ่ของภูมิภาคมากขึ้น ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดีเพราะตั้งอยู่ในชุมชนและใกล้แหล่งงาน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือผู้ประกอบการไม่ได้คำนึงถึงการบริหารหลังการขายมากนัก ทำให้มีข้อจำกัดด้านบริการต่าง ๆ เนื่องจากไม่มีงบประมาณเพียงพอสำหรับจ้างผู้ที่มีประสบการณ์ด้านบริหารทรัพย์สินเพราะค่าใช้ค่าส่วนกลางที่เก็บล่วงหน้า 1-2 ปีไม่ได้มีการคำนวณเรื่องค่าใช้จ่ายจริงในอนาคตทำให้ผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดส่วนใหญ่ไม่พึงพอใจในบริการต่าง ๆ ส่งผลให้โครงการเหล่านี้ประสบปัญหาด้านการอยู่อาศัย IRM จึงได้คิดแคมเปญใหม่เพื่อให้บริการลูกค้ากลุ่มนี้ภายใต้แนวคิด “บริหารทรัพย์สินต้นทุนต่ำ”สำหรับอาคารชุดเหล่านี้ “เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการและผู้อยู่อาศัยในอาคารชุด ที่ต้องการระบบบริหารทรัพย์สินและไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก บริษัทฯ จึงต้องกำหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ทำให้ค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สินมีต้นทุนต่ำมากที่สุด เช่น การลงทุนนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทนคน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว รวมทั้งการออกแบบระบบการทำงานด้านบริการต่าง ๆ ภายในอาคารโดยไม่ต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก แต่ผู้อยู่อาศัยได้รับความสะดวกสบายมากกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น การจ่ายค่าส่วนกลางซึ่งก่อนหน้าต้องจ่ายผ่านพนักงานฝ่ายบัญชี แต่สามารถบริหารจัดการใหม่ให้ลูกค้าจ่ายผ่านธนาคารระบบออนไลน์ รวมทั้งบริการอื่น ๆ ที่สามารถลดค่าจ้างบุคลากรลงได้” นายธนันทร์เอกกล่าว […]

อินเตอร์เรียลตี้ (IRM) แนะบทลงโทษผู้อยู่อาศัยไม่จ่ายค่าส่วนกลาง

อินเตอร์เรียลตี้ (IRM) แนะบทลงโทษผู้อยู่อาศัยไม่จ่ายค่าส่วนกลาง

อินเตอร์เรียลตี้ (IRM) แนะบทลงโทษผู้อยู่อาศัยไม่จ่ายค่าส่วนกลาง ถูกปรับเงินเพิ่มสูงสุด20%ระงับบริการและถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ (IRM) แฉปัญหาในการจัดเก็บค่าส่วนกลางในอาคารชุดและโครงการบ้านจัดสรรยังมีต่อเนื่อง ย้ำส่งผลต่อการอยู่อาศัยและโครงการทรุดโทรม เผยบทลงโทษเจ้าของร่วมเบี้ยวค่าส่วนกลางถูกปรับเงินเพิ่ม ถูกระงับบริการ ไม่มีสิทธิออกเสียง และถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า ที่ผ่านมาการบริหารทรัพย์สินในโครงการอาคารชุดและบ้านจัดสรรยังประสบปัญหาเรื่องการจัดเก็บเงินค่าส่วนกลางอย่างต่อเนื่อง มีทั้งจงใจไม่ยอมจ่าย จ่ายช้าไม่ตรงตามกำหนด และไม่จ่ายโดยอ้างเหตุผลเรื่องความไม่พึงพอใจในบริการหรืออ้างว่าไม่ได้อยู่อาศัยในโครงการ ทำให้เกิดการจัดเก็บค่าใช้จ่ายไม่ครบส่งผลต่องบประมาณในการบริหารจัดการไม่เพียงพอ หากโครงการใดไม่มีวิธีในการสร้างรายได้ต่าง ๆ เพิ่มเติม จะส่งผลความเสียหายต่อการบริหารทรัพย์สิน เช่น ไม่มีเงินจ้าง ร.ป.ภ.และแม่บ้านได้เพียงพอกับความต้องการของผู้อยู่อาศัย หรือแม้กระทั่งไม่มีงบประมาณสำหรับการซ่อมแซมสาธารณูปโภค ทำให้โครงการทรุดโทรมและกระทบต่อการอยู่อาศัยในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะดวกสบายในการใช้บริการพื้นที่ส่วนกลาง รวมทั้งเรื่องความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามที่ผู้อยู่อาศัยนำมาอ้างในการไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมายอาคารชุดและบ้านจัดสรร ซึ่งแต่ละโครงการจะมีบทลงโทษเจ้าของร่วมที่ไม่ชำระเงินที่แตกต่างกัน เช่น หากไม่ชำระตามจำนวนที่กำหนดไว้จะต้องถูกเรียกเก็บเพิ่มอีก12%และหากไม่ชำระตั้งแต่6เดือนขึ้นไปต้องชำระเงินเพิ่มอีก 20%ของจำนวนที่เรียกเก็บปกติ แต่ถ้าได้มีการแจ้งไปแล้วยังเพิกเฉยบางโครงการก็จะมีการระงับการใช้บริการสาธารณะ และไม่มีสิทธิ์ในการออกเสียงในที่ประชุม หากไม่ยอมชำระหลังจากมีการแจ้งเตือนครั้งสุดท้ายจะต้องถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ที่สำคัญกฎหมายจัดสรรที่ดินฉบับแก้ไขใหม่เปิดโอกาสให้นิติบุคคลบ้านจัดสรรและผู้ประกอบการสามารถแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (อายัด) ในที่ดินจัดสรรแปลงที่ค้างชำระค่าส่วนกลางได้แต่ตั้ง 6 เดือนขึ้นไป นายธนันทร์เอกเปิดเผยเพิ่มเติมว่า เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา […]

IRM เผยยังมีกรรมการหมู่บ้าน-อาคารชุดไม่เข้าใจบทบาทและหน้าที่

IRM เผยยังมีกรรมการหมู่บ้าน-อาคารชุดไม่เข้าใจบทบาทและหน้าที่

IRM เผยยังมีกรรมการหมู่บ้าน-อาคารชุดไม่เข้าใจบทบาทและหน้าที่ เตือนผู้บริโภคตื่นตัวเลือกผู้แทนทำหน้าที่บริหารจัดการที่อยู่อาศัย อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ (IRM) ย้ำบทบาทและหน้าที่ของกรรมการหมู่บ้านและคอนโดมิเนียม เผยผู้อยู่อาศัยจำนวนมากยังไม่เข้าใจและละเลยสิทธิในการเลือกตั้งกรรมการ แนะศึกษากฎหมายและข้อบังคับเพราะยังมีกรรมการหมู่บ้านไม่เข้าใจบทบาทของตนเอง ส่งผลต่อปัญหาในการบริการจัดการและความเสียหายต่อการอยู่อาศัย นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีผู้ที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรและอาคารชุดจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจถึงบทบาทของกรรมการหมู่บ้าน จึงไม่ได้ให้ความสำคัญในการเลือกตั้งตัวแทนเพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการซึ่งความจริงแล้วกฎหมายบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมได้ระบุให้ต้องมีตัวแทนหรือกรรมการหมู่บ้านเพื่อทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ โดยคอนโดมิเนียมสามารถมีกรรมการได้ไม่น้อยกว่า 3 คนและไม่เกิน 9 คน ส่วนหมู่บ้านจัดสรรนั้นกฎหมายไม่ได้ระบุจำนวน แต่ขึ้นอยู่กับจำนวนบ้านในโครงการ ทั้งนี้ ทั้งกฎหมายอาคารชุดและบ้านจัดสรรได้ระบุชัดเจนว่ากรรมการหมู่บ้านนั้นจะต้องเป็นเจ้าบ้านหรือคู่สมรส เพราะกฎหมายต้องการให้สมาชิกในโครงการหรือในอาคารเท่านั้นจึงจะเป็นตัวแทนหรือกรรมการได้ ห้ามมิให้บุคคลอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นบิดา มารดา หรือญาติเข้ามาทำหน้าที่แทน ยกเว้นในกรณีที่เจ้าของบ้านจัดสรรและคอนโดฯ ยังไม่รู้นิติภาวะหรือไม่สามารถรับผิดชอบตนเองได้หรือเป็นผู้ไร้ความสามารถ สามารถให้บิดาหรือมารดาทำหน้าที่แทนได้ สำหรับเจ้าของกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นนิติบุคคล จะต้องแต่งตั้งตัวแทนเข้ามาทำหน้าที่กรรมการได้เช่นกัน “กรรมการหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมจะคล้ายกับส.ส. ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกในหมู่บ้านหรือในอาคารนั้น ๆ เพื่อกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการด้านการอยู่อาศัยในชุมชนนั้น ๆ เช่น กำหนดกฎระเบียบในโครงการ และทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดในกรณีเกิดข้อพิพาทระหว่างเจ้าของร่วมหรือผู้อยู่อาศัยในโครงการต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วยังทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้จัดการโครงการในกรณีมีเหตุจำเป็นต่าง ๆ ที่สำคัญยังทำหน้าที่ดูแลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดจากการบริหารจัดการในแต่ละเดือน ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดกรรมการ 2 […]

IRM เผยกฎหมายจัดสรรใหม่เพิ่มอำนาจนิติบุคคลจัดการคนไม่ชำระค่าส่วนกลาง

IRM เผยกฎหมายจัดสรรใหม่เพิ่มอำนาจนิติบุคคลจัดการคนไม่ชำระค่าส่วนกลาง

เผยกฎหมายจัดสรรใหม่เพิ่มอำนาจนิติบุคคลจัดการคนไม่ชำระค่าส่วนกลาง IRM เผยผู้จัดสรรที่ดินมีสิทธิส่งเรื่องอายัดการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ (IRM) เผยเตือนผู้ค้างชำระค่าส่วนกลางบ้านจัดสรร กฎหมายเปิดทางนิติบุคคลและผู้ประกอบการ ส่งเรื่องระงับอายัดการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม นักบริหารทรัพย์สินชี้ส่งผลเสียต่อคุณค่าโครงการและการอยู่อาศัย ย้ำมืออาชีพต้องเน้นความพึงพอใจทั้งด้านความสะอาดและปลอดภัย ป้องกันการอ้างไม่จ่ายค่าส่วนกลาง นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า ที่ผ่านมาโครงการบ้านจัดสรรจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาเรื่องการจัดเก็บค่าส่วนกลาง เนื่องจากผู้อยู่อาศัยอ้างเรื่องความไม่พึงพอใจในบริการ และไม่ได้อยู่อาศัยในโครงการ หรือแม้แต่การจงใจไม่จ่ายฯลฯ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามส่งผลต่อการบริหารทรัพย์สินภายในโครงการ เพราะหากมีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการบำรุงซ่อมแซมสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ จะส่งผลความเสื่อมโทรมของโครงการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าปัญหาเหล่านี้จะค่อย ๆ ลดลงเพราะภาครัฐได้ประกาศใช้กฎหมายจัดสรรที่ดินฉบับแก้ไขใหม่ ซึ่งได้มีการกำหนดหลักการและวิธีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (อายัด) ในกรณีที่ค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ส่งผลให้เจ้าของบ้านไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ กับบ้านของตนเองได้ ทั้งนี้ สาระสำคัญของกฎหมายจัดสรรที่ดินฉบับแก้ไขนี้ ได้เปิดโอกาสให้นิติบุคคลบ้านจัดสรรและผู้ประกอบการสามารถแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (อายัด) ในที่ดินจัดสรรแปลงที่ค้างชำระค่าส่วนกลางได้แต่ตั้ง 6 เดือนขึ้นไป นายธนันทร์เอก กล่าวว่า ในกรณีที่นิติบุคคลบ้านจัดสรรจะดำเนินการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กับที่ดินแปลงที่มีปัญหาเรื่องค่าส่วนกลาง จะต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้างชำระทราบก่อน โดยต้องบอกล่วงหน้าให้ชำระไม่น้อยกว่า 15 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือ และต้องส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนแบบตอบรับเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินสั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (อายัด) หลังจากนั้นทางที่ดินจะมีหนังสือแจ้งให้เจ้าของที่ดินได้รับทราบเรื่องการถูกระงับดังกล่าวหากเจ้าของที่ดินตระหนักถึงการถูกระงับและดำเนินการชำระค่าส่วนกลางแล้ว นิติบุคคลบ้านจัดสรรหรือผู้ประกอบการ […]

IRM รุกตลาดบริหารทรัพย์สินเชียงใหม่

IRM รุกตลาดบริหารทรัพย์สินเชียงใหม่

รุกตลาดบริหารทรัพย์สินเชียงใหม่ นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย (ที่ 2 จากขวา) ร่วมประชุมกับทีมงานบริหารทรัพย์สินสาขาเชียงใหม่ เพื่อกำหนดแนวทางในการทำงานและการให้บริการลูกค้าภายใต้มาตรฐานเดียวกับ IRM สำนักงานใหญ่และสาขาโคราช โดยมีเป้าหมายที่จะเข้าไปบริหารหมู่บ้านจัดสรรและอาคารชุดในจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียง ซึ่งกำลังมีความต้องการมืออาชีพเข้าไปบริหารและจัดการ โดยตั้งเป้าภายในปี 59 จะเข้าไปร่วมงานกับผู้ประกอบการในท้องถิ่นดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 10 โครงการ ทั้งนี้ IRM มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 20 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรร สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท พีอาร์บูม จำกัดคุณอภิญญา โทร.081-438-7353 คุณมนัสวิน 081-191-6779Email: prboomcompany@gmail.com

อินเตอร์เรียลตี้ฯ แนะผู้ประกอบการเตรียมรับมือกฎหมายจัดสรรฉบับใหม่

อินเตอร์เรียลตี้ฯ แนะผู้ประกอบการเตรียมรับมือกฎหมายจัดสรรฉบับใหม่

อินเตอร์เรียลตี้ฯ แนะผู้ประกอบการเตรียมรับมือกฎหมายจัดสรรฉบับใหม่ ย้ำต้องเก็บค่าส่วนกลางให้เพียงพอและดูแลสาธารณูปโภคก่อนจดทะเบียนนิติ อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ (IRM) เผยผู้ประกอบการต้องปรับตัวหลังกฎหมายจัดสรรใหม่ประกาศใช้ ย้ำต้องระบุการเก็บค่าส่วนกลางให้เพียงพอ ยืนยันเก็บมากหรือน้อยมีผลต่อการบริหารจัดการทั้งสิ้น ชี้ผู้ประกอบการต้องซ่อมแซมและบำรุงสาธารณูโภคเพื่อให้หน่วยงานรัฐออกใบรับรองสำหรับจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรร นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังจากกฎหมายจัดสรรที่ดินฉบับแก้ไขใหม่มีผลประกาศบังคับใช้ สาระสำคัญจะมีผลต่อผู้ประกอบการจัดสรรหลายอย่างด้วยกัน โดยเฉพาะเรื่องการกำหนดค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ระบุไว้ในการขออนุญาตจัดสรรว่าจะต้องกำหนดการเก็บค่าส่วนกลางในจำนวนที่สอดคล้องกับระยะเวลาในการก่อสร้างโครงการ เนื่องจากในระหว่างการก่อสร้าง 2-3 ปีผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพนักงานรักษาความปลอดภัย ฯลฯ อย่างไรก็ตาม จะจัดเก็บค่าส่วนกลางมากหรือน้อยเกินไปจะมีผลต่อการดำเนินงานทั้งสิ้น เพราะหากกำหนดการจัดเก็บค่าส่วนกลางน้อยและไม่เพียงพอค่าใช้จ่ายผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด และหากกำหนดค่าส่วนกลางสูงเกินไปก็จะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค นอกจากนี้แล้วยังมีเรื่องข้อบังคับเกี่ยวกับการซ่อมแซมและบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภค รวมทั้งบริการสาธารณะในโครงการจัดสรร ซึ่งกฎหมายใหม่ระบุจะต้องแจ้งให้หน่วยงานภาครัฐเข้าไปตรวจสอบ เพื่อมีใบรับรองว่ามีความสมบูรณ์และสามารถใช้งานได้ เพราะหากไม่มีการซ่อมแซมและดูแลอย่างสม่ำเสมอ จะไม่ผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐ และอาจส่งผลต่อการจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรร เนื่องจากสาธารณูปโภคเหล่านี้จะตกเป็นของนิติบุคคลตามกฎหมาย ดังนั้น จากนี้ไปผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญกับการดูแลทรัพย์สินส่วนกลางอยู่ตลอดเวลา นายธนันทร์เอก เปิดเผยเพิ่มเติมว่ากฎหมายจัดสรรฉบับแก้ไขใหม่ยังได้ระบุการจดทะเบียนนิติบุคคลไว้ 3 เรื่องคือ 1.ที่ประชุมต้องมีมติให้จัดตั้งนิติบุคคล 2.ต้องมีการรับรองข้อบังคับ 3.ต้องแต่งตั้งตัวแทนเพื่อดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งทั้ง 3 ข้อนี้จะต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของที่จำนวนบ้านทั้งหมดในโครงการ ส่วนเรื่องการแต่งตั้งตัวแทนในการจดทะเบียนนิติบุคคลนั้น กฎหมายระบุว่าจะต้องเป็นผู้ดำเนินการจัดประชุมใหญ่อีกครั้ง เพื่อเลือกตั้งกรรมการให้แล้วเสร็จภายใน […]

อินเตอร์เรียลตี้ฯ เปิดแผนการธุรกิจบริหารทรัพย์บุกตลาดภาคเหนือ

อินเตอร์เรียลตี้ฯ เปิดแผนการธุรกิจบริหารทรัพย์บุกตลาดภาคเหนือ

อินเตอร์เรียลตี้ฯ เปิดแผนการธุรกิจบริหารทรัพย์บุกตลาดภาคเหนือ ตั้งเป้าเข้าบริหาร 50 โครงการมั่นใจอสังหาฯ เชียงใหม่ต้องการมืออาชีพ IRM เปิดแผนธุรกิจบริหารทรัพย์สินเบนเข็มบุกตลาดอสังหาริมทรัพย์ภาคเหนือ มั่นใจโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมในจังหวัดเชียงใหม่กว่า 300 โครงการยังต้องการมืออาชีพที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ตั้งเป้าทั้งปีสามารถเข้าไปบริหารไม่ต่ำกว่า 50 โครงการ นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการเปิดสาขาจังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้บริการด้านการบริหารทรัพย์สินในโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ทั้งคอนโดมิเนียมและบ้านจัดสรร เนื่องจากผู้ประกอบการในภูมิภาคดังกล่าวให้ความสนใจในการสร้างภาพลักษณ์ให้กับธุรกิจของตนเอง และธุรกิจที่อยู่อาศัยในภูมิภาคดังกล่าวให้ความสำคัญกับการจดทะเบียนนิติบุคคล การบริหารทรัพย์สินประเภทสโมสรและคลับเฮ้าส์ เห็นได้จากโครงการต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในทำเลเขาใหญ่ โคราช และจังหวัดขอนแก่น ให้ความไว้วางใจ IRM เข้าไปบริหารทรัพย์สินจำนวน 20 โครงการ บริษัทฯ จึงมีแผนที่จะขยายการให้บริการด้านบริหารทรัพย์สินไปยังภาคเหนือ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีโครงการที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นหัวเมืองเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของประเทศแห่งหนึ่ง และเป็นศูนย์รวมของการค้าและการลงทุน จึงทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงมีความคึกคัก เห็นได้จากสถิติการพัฒนาโครงการบ้านใหญ่ที่มีการพัฒนาใหม่กว่า 200 โครงการ และอาคารชุดจำนวน 145 โครงการ หากรวมโครงการที่พัฒนาก่อนหน้านี้ซึ่งมีจำนวนมาก จะเป็นโอกาสที่ดีในการขยายธุรกิจบริหารทรัพย์สินไปสู่ภาคเหนือ “การขยายธุรกิจไปยังจังหวัดเชียงใหม่นั้นเพื่อต้องการเข้าไปบริการโครงการที่อยู่อาศัยในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียง […]

ร่วมเป็นวิทยากรในงานสัมมนากฎหมายจัดสรร

ร่วมเป็นวิทยากรในงานสัมมนากฎหมายจัดสรร

ร่วมเป็นวิทยากรในงานสัมมนากฎหมายจัดสรร นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นวิทยากรในงานสัมมนาเรื่อง “กฎหมายจัดสรรฉบับที่ 2 และระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน ว่าด้วยการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้าน” ในงานดังกล่าวได้รับเกียรติจาก นายชูศักดิ์ ศรีอนุชิต ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรมที่ดิน และนายนคร มุธุศรี อดีตนายกก่อตั้งสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมายดังกล่าวกับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ IRM มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 20 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรร สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท พีอาร์บูม จำกัดคุณอภิญญา โทร.081-438-7353 คุณมนัสวิน 081-191-6779Email: prboomcompany@gmail.com

IRM เผยการแก้ไขพ.ร.บ.จัดสรรที่ดินคุ้มครองทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ

IRM เผยการแก้ไขพ.ร.บ.จัดสรรที่ดินคุ้มครองทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ย้ำสาระสำคัญที่ควรรู้คือเรื่องโฉนดพื้นที่ส่วนกลางและการโอนสาธารณูปโภค อินเตอร์เรียลตี้(IRM)เผยสาระสำคัญของการแก้ไขพ.ร.บ.จัดสรรที่ดินล่าสุด คุ้มครองโฉนดที่ดินพื้นที่ส่วนกลาง และการตรวจสอบความสมบูรณ์ของสาธารณูปโภคก่อนโอนให้กับนิติบุคคลบ้านจัดสรร ยืนยันทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการได้รับประโยชน์ นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ภาครัฐได้มีการแก้ไขพ.ร.บ.จัดสรรที่ดินหลายมาตรา โดยสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้ซื้อบ้านจัดสรรและผู้ประกอบการนั้น คือเรื่องโฉนดที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภคหรือโฉนดที่ดินที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสาธารณะ เช่น สนามหญ้า ทางเดิน สระว่ายน้ำฯลฯ ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้จดแจ้งไว้หลังโฉนดว่าเป็นที่ดินส่วนกลางสำหรับสาธารณะ ซึ่งอาจถูกนำไปโอนให้กับบุคคลอื่นได้ จึงมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค และได้ระบุไว้หลังโฉนดว่าที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดินไม่สามารถโอนได้ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบการนำเอาที่ดินส่วนกลางดังกล่าวไปทำอย่างอื่นหรือโอนให้บุคคลอื่น นอกจากเป็นการโอนที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรหรือตามกฎหมายเวนคืนที่ดิน นอกจากนี้แล้วยังมีการแก้ไขเรื่องการโอนสาธารณูปโภคให้กับนิติบุคคลบ้านจัดสรร เดิมพ.ร.บ.จัดสรรที่ดินปี 2543 ระบุว่า เมื่อผู้ประกอบการสร้างสาธารณูปโภคเสร็จเรียบร้อยและดูแลครบ 1 ปี ให้ผู้ซื้อจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรร และทำการโอนสาธารณูปโภคให้กับนิติบุคคล โดยจะต้องมีการซ่อมแซมให้เกิดความสมบูรณ์ ที่ผ่านมาจึงมีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นและไม่สามารถโอนได้ กฎหมายฉบับนี้ได้เปลี่ยนแปลงว่าเมื่อจัดตั้งนิติบุคคลแล้วสามารถโอนสาธารณูปโภคได้เลย โดยจะมีคณะกรรมการกลางจากภาครัฐเป็นผู้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของสาธารณูปโภคก่อนส่งมอบให้กับนิติบุคคล แต่หากไม่สามารถจดทะเบียนนิติบุคคลได้หรือมีองค์ประชุมไม่ครบ หรือมีมติไม่จัดตั้งนิติบุคคล หากครบ 180 วันแล้วผู้ประกอบการสามารถโอนสาธารณูปโภคให้กับเทศบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทันที นายธนันทร์เอกเปิดเผยเพิ่มเติมว่า การแก้ไขพ.ร.บ.จัดสรรที่ดินในครั้งนี้ […]