มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครและซินนาคอร์ประกาศเปิดตัว Zimbra Innovation Program

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครและซินนาคอร์ประกาศเปิดตัว Zimbra Innovation Program

มุ่งพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มพูนความรู้และความสามารถทางเทคนิคในการสร้างและพัฒนาซอฟต์แวร์บริการต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มอีเมล์และแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกัน กรุงเทพมหานคร ,ประเทศไทย , วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560 – ณ โรงแรมอนันตราสยาม ได้มีการจัดแถลงข่าวและพิธีการลงนามความร่วมมือกัน (mou) ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) และซินนาคอร์ (Nasdaq : SYNC) ในโครงการ Zimbra Innovation Program โครงการนี้มีเป้าหมายมุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางเทคนิคและทักษะในการคิดเชิงวิพากย์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาโซลูชั่นซอฟต์แวร์ให้แก่นักศึกษาเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอด และสนับสนุนความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการก้าวเป็นดิจิทัลฮับแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มุ่งพัฒนาให้บริการของรัฐแก่ภาคการศึกษา การลงทุน การท่องเที่ยว และอื่น ๆ ให้ดีขึ้นโดยใช้ดิจิทัลตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของรัฐบาลไทยที่พึ่งประกาศเมื่อเร็ว ๆ นี้ โครงการนี้จะเป็นหลักสูตรที่ให้ความรู้ครบถ้วนจำเป็นสำหรับอาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (developer) โดยเฉพาะในระบบเปิด (opensource) มีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่ ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ , ระบบเสมือนจริง (virtualization) , messaging platform (Zimbra) , ระบบรักษาความปลอดภัยและระบบเครือข่าย พร้อมทั้งออกใบรับรองความสามารถในการผ่านหลักสูตรให้โดยทางคณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (IST MUT) ให้แก่นักศึกษาและบุคคลทั่วไป ทั้งเป็นหลักสูตรและการเปิดอบรมระยะสั้น […]

เอ็มยูที แนะสาขาวิชาชีพยอดฮิต สร้างอนาคตในอีก 5 ปีข้างหน้า

เอ็มยูที แนะสาขาวิชาชีพยอดฮิต สร้างอนาคตในอีก 5 ปีข้างหน้า

เอ็มยูที แนะเลือกเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการตลาดแรงงานและระบบเศรษฐกิจ ลดความเสี่ยงจากการตกงาน และการแข่งขันในอนาคต เนื่องจากธุรกิจหลายอุตสาหกรรมกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งจากแรงสนับสนุนนโยบายประเทศไทย 4.0 การเปิดเสรีด้านแรงงาน และความร่วมมือของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผศ.ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม รองอธิการบดี ฝ่ายนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หรือ เอ็มยูที เปิดเผยว่า “ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กำหนดเป้าหมาย ประเทศไทย ไว้ว่า จะเป็นประเทศรายได้สูง มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม เป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค เป็นชาติการค้าและบริการ เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน แหล่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมสูงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้ไปตามเป้าหมาย แผนพัฒนาฯ ดังกล่าว ทำให้ทราบถึงความต้องการตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมพื้นฐานขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นที่ต้องการมากในอีก 5 ปีข้างหน้า ได้แก่ วิศวกรรมโลจิสติกส์ วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารเศรษฐกิจดิจิทัล วิศวกรรมเมคคราทรอนิกส์ วิศวกรรมระบบวัดคุม วิศวกรรมไฟฟ้าและโยธา ขณะเดียวกัน ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ แรงงานที่กำลังขาดแคลนอย่างมาก คือ วิศวกรรมไฟฟ้าระบบสมองกลฝังตัว วิศวกรรมเครื่องกลและยานยนต์” นอกเหนือจากองค์ความรู้ด้านวิชาการแล้ว หัวใจสำคัญของบุคลากรในอนาคต ภาคธุรกิจต้องการผู้ที่มีความเข้าใจ รู้เท่าทันเทคโนโลยี สามารถนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ […]