วิศวะมหิดลคิดค้น

วิศวะมหิดลคิดค้น แผ่นปูทางเท้า – ผนังไฟเบอร์บอร์ด…จากขยะโฟม

วิศวะมหิดลคิดค้น แผ่นปูทางเท้า – ผนังไฟเบอร์บอร์ด…จากขยะโฟม

ขยะล้นเมืองเป็นปัญหาทั่วโลก โดยเฉพาะปริมาณขยะจากภาชนะโฟม ที่เรียกว่า โฟมพอลิสไตรีน (Polystyrene Foam) ซึ่งมีสารก่อมะเร็งและสารอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งใช้เวลาย่อยสลายยาวนานถึง 450 ปี จากสถิติของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าในปี 2558 มีปริมาณขยะโฟมพอลิสไตรีนถึง 3,678 ตันต่อวัน และในปี 2559 มีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่า 3,704 ตันต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขณะนี้ขยะเป็นปัญหาใหญ่ในสิ่งแวดล้อมทั้งบนบก ทะเลและอากาศ นักวิจัยและวิศวกรทั่วโลกต่างหาทางที่จะลดขยะที่ก่ออันตรายต่อสิ่งแวดล้อม วัสดุศาสตร์ หรือ Material Science ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาหลายเทคโนโลยี โดยใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุและกระบวนการจากพหุศาสตร์หลายสาขา ตั้งแต่เตรียมวัตถุดิบ กระบวนการขึ้นรูป จนถึงการออกแบบคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุที่ผลิตออกมา โลกของวัสดุศาสตร์ในประเทศไทยวันนี้ก้าวไกลด้วยพลังชองทีมนักวิจัยรุ่นใหม่จากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยอาจารย์และทีมนักศึกษา ได้คิดค้นจากแนวความคิดในการนำขยะโฟมพอลิสไตรีนมารีไซเคิล ด้วยวิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาสร้างนวัตกรรม แผ่นปูทางเท้าเพื่อผู้พิการทางสายตาและไฟเบอร์บอร์ดจากขยะโฟมรีไซเคิล ซึ่งคว้ารางวัลสุดยอดนวัตกรรม Mahidol Engineering Awards 2019 มาแล้ว นายกายสิทธิ์ […]